โรคลมชัก ( Epilepsy ) เรียก โรคลมบ้าหมู ภาวะทางสมองผิดปรกติ ไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน อาการชักเกร็งไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ แนวทางการรักษาโรคอย่างไร โรคลมชัก โรคลมบ้าหมู โรคระบบประสาทและสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคลมชักแตกต่างจากการชักอย่างไร

ความแตกต่างของโรคลมชักกับการชัก คือ สาเหตุของการชัก การชักจากโรคลมชัก จะมีอาการ ชัก เกร็ง กระตุก น้ำลายฟูมปาก และ กัดลิ้น ส่วนลักษณะสำคัญของอาการชัก คือ เกิดการผิดปกติของระบบประสาท อย่างใดอย่างหนึ่งในระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 3 นาที แต่อาการชักจะเกิดแบบซ้ำๆ

ชนิดของอาการชัก

สำหรับชนิดของอาการชัก สามารถแบ่งได้ 5 ลักษณะของโรค คือ

  • อาการชัก ชนิดเกร็งกระตุกทั้งตัวและหมดสติ เรียกว่า ลมบ้าหมู
  • อาการชัก ชนิดนั่งนิ่งและเหม่อลอย
  • อาการชัก ชนิดทำอะไรโดยไม่รู้สึกตัว
  • อาการชัก ชนิดกระตุกเฉพาะส่วนของร่างกาย แต่รู้สึกตัว
  • อาการชัก ชนิดล้มลงทันที

สาเหตุของโรคลมชักเกิด

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคลมชัก ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่มักเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทั้งการกระทบจากภายในสมองและการกระทบจากภายนอกสมอง โรคลมชัก สามารถแบ่งกลุ่มของสาเหตุได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่สามารถบอกสาเหตุได้ชัดเจน และ กลุ่มที่สามารถบอกสาเหตุได้ชัดเจน รายละเอียด ดังนี้

  • โรคลมชักที่ไม่ทราบสาเหตุ ( Idiopathic หรือ Primary Epilepsy ) สันนิษฐานว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม หรือ ความผิดปรกติของร่างกาย
  • โรคลมชักที่ทราบสาเหตุที่ชัดได้ ( Symptomatic หรือ Secondary Epilepsy ) โดยอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือ เนื้องอกในสมอง อุบัติเหตุกระทบกระเทือนต่อสมอง การเสพยาเสพติด การติดสุรา เป็นต้น สาเหตุเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

จากสาเหตุของโรคที่กล่าวมาข้างต้น เราสามารถสรุปปัจจััยและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ ดังนี้

  • การเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่สมอง
  • โรคหลอดเลือดสมอง เช่น โรคอัมพาต เป็นต้น
  • การติดเชื้อที่สมอง เช่น โรคสมองอักเสบ โรคพยาธิตัวตืด เป็นต้น
  • ความผิดปรกติของสมอง เช่น โรคเนื้องอกสมอง โรคกลีบสมองบริเวณขมับฝ่อ เป็นต้น
  • การกินเหล้าจำนวนมาก การติดเหล้า โรคพิษสุราเรื้อรัง
  • พันธุกรรม
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติชักในวัยเด็ก
  • ได้รับการผ่าตัดที่สมอง

การวินิจฉัยโรคลมชัก

เนื่องจากโรคลมชักไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน การวินิจฉัยโรค ต้องทำการตรวจสอบประวัติอย่างและเอียด เช่น ประวัติการรักษาโรค ประวัติส่วนตัวต่างๆ เช่น ประวัติการใช้ยา การเสพยาเสพติด การดื่มสุรา พร้อมทั้งตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การเอกซเรย์เอ็มอาร์ไอ เป็นต้น

การรักษาโรคลมชัก

สำหรับการรักษาโรคลมชัก การรักษาโรคลมบ้าหมู นั้น ต้องทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน หากพบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากโรคทางสมอง เช่น โรคเนื้องอกในสมอง การติดเชื้อที่สมอง ก็ทำการรักษาโรคนั้นๆตามวิธีการรักษาของโรค หากสาเหตุของโรคไม่แน่ชัดนัก อาจเกิดจากปัญหาอื่นๆ โดยการรักษาแพทย์จะให้ยากันชัก ควบคู่กับการปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิติที่เป็นประโยชน์ต่อสมอง เช่น

  • การพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • การงดการดื่มสุรา
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • ลดการใช้สายตา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • หากมีไข้สูง ต้องปฐมพยาบาลเพื่อลดไข้
  • ไม่ขับรถ และ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัตติเหตุ ทั้งหมด

สำหรับการผ่าตัดสมอง เพื่อรักษาโรคลมชัก นั้น วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชัก มี 2 วัตถุประสงค์ ดังนี้

  • เพื่อกระตุ้นเส้นประสาทสมอง ( Vagus Nerve Stimulation: VNS ) โดยการผ่าตัดเพื่อฝังอุปกรณ์ไว้ใต้ผิวหนัง บริเวณกระดูกไหปลาร้า เพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าไปยังเส้นประสาท
  • เพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก ( Deep Brain Stimulation: DBS ) โดยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าไว้บริเวณสมอง เพื่อลดความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง โดยจะฝังอุปกรณ์ที่ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก อุปกรณ์นี้จะสามารถลดความถี่ของอาการชักได้

การป้องกันโรคลมชัก

เนื่องจากโรคลมชักไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดเจน การป้องกันไม่ให้เกิดอาการชัก จึงจำเป็น โดยมีวิธีการป้องกันอาการชัก มี ดังนี้

  • รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ อย่างอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง
  • นอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • สวมป้ายข้อมือระบุว่าเป็นโรคลมชัก เพื่อให้คนรอบข้างทราบและช่วยเหลือได้ทันท่วงที
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดการกระเทกที่ศรีษะ
  • ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทุกชนิด เช่น ขับขี่อย่างปลอดภัย หรือ ไม่ขับขี่ยานพาหนะ
  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
  • รักษาสุขอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อทุกชนิด

โรคลมชัก ( Epilepsy ) คือ โรคระบบประสาทและสมอง ที่พบบ่อยโรคหนึ่ง เรียกอีกโรคหนึ่งว่า โรคลมบ้าหมู สาเหตุของการเกิดโรคลมชักมีอะไรบ้าง อะไรคือปัจจัยของการเกิดโรค การรักษาโรคลมชักทำอย่างไร การป้องกันการเกิดโรคทำได้อย่างไร

โรคเหน็บชา โรคขาดวิตามินบี1 มี 2 ลักษณะ โรคเหน็บชาในเด็ก โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ เป็นโรคระบบประสาทในประเทศไทยที่พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง กินปลาร้า กินอาหารดิบ

โรคเหน็บชา อาการมือเท้าชา โรคระบบประสาท โรคขาดวิตามินบี1

  • อาการชา หมายถึง ภาวะอวัยวะไม่สามารถรับความรู้สึกได้ หรือ ความสามารถในการสัมผัสบางอย่างเสียไปชั่วขณะหนึ่ง เช่น  ไม่เจ็บ ไม่รู้สึก ไม่ร้อนไม่เย็น เป็นต้น
  • อาการเหน็บ หมายถึง อาการเจ็บ ที่มาจากสาเหตุการกดทับ ขาหรือแขนนานๆ จนบางครั้งมีอาการอ่อนแรงจนเหยียดขาไม่ออกและลุกขึ้นไม่ได้

เหน็บชาในผู้ใหญ่

สำหรับอาการเหน็บชาในผู้ใหญ่ สามารถแบ่งลักษณะของอาการได้ 3 ประเภท คือ เหน็บชาชนิดผอมแห้ง เหน็บชาชนิดเปียก และ เหน็บชาชนิดWernicke-Korsakoff Syndrome  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เหน็บชาชนิดผอมแห็ง ( Dry Beriberi ) มี อาการชาแบบไม่บวม ชาปลายมือและปลายเท้า กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงไม่มีกำลัง โดยเฉพาะที่ขาส่วนล่าง อาจทดสอบได้โดยให้ผู้ป่วยนั่งยอง ๆ แล้วลุกขึ้นเอง ซึ่งผู้ป่วยจะทำไม่ได้ เจ็บปวด พูดไม่ชัด พูดติดขัด อาเจียน มีความผิดปกติทางจิตใจ สับสน ตาขยับเองโดยที่ไม่รู้ตัว อัมพาต
  • เหน็บชาชนิดเปียก ( Wet Beriberi ) มีอาการบวมร่วมกับอาการชาปลายมือปลายเท้า มีอาการบวม น้ำคั่งในช่องท้อง น้ำคั่งในช่องปอด ขาส่วนล่างบวม หอบเหนื่อย หายใจตื้นขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ตื่นนอนขึ้นมามีอาการหายใจตื้น หัวใจโตและเต้นเร็ว อาจทำให้หัวใจวายในกรณีไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
  • เหน็บชา Wernicke-Korsakoff Syndrome พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง เคลื่อนไหวลูกตาได้น้อย เดินเซ มีความผิดปกติทางจิตใจ ผู้ที่เป็นมากอาจทำให้เกิดอาการทางจิตที่เรียกว่า Korsakoff’s Psychosis

สาเหตุของโรคเหน็บชา

โรคเหน็บชานั้นมีสาเหตุมาจาก พฤติกรรมการกินอาหาร โดยร่างกายได้รับวิตามินบี1 ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พฤติกรรมที่ทำให้ขาดวิตามินบี 1 คือ การกินข้าวที่ซาวน้ำออกมากๆ กินอาหารที่มี ใบชา ใบเมี่ยง หมากพลู ปลาร้า ปลาส้มดิบ แหนมดิบ หอยลายดิบ ปลาน้ำจืดดิบ เป็นต้น หรือ ความผิดปรกติของร่างกายจากความสามารถในการเผาพลาญวิตามินบี1 เร็วขึ้น เช่น การตั้งครรภ์ ภาวะหญิงให้นมบุตร เด็กวัยเจริญเติบโต เป็นต้น นอกจากพฤติกรรมการบริโภค การเปรี่ยนแปลงของร่างกาย ยังมีสาเหตุอื่น เช่น การผ่าตัดทางเดินอาหาร การฟอกไต  โรคพิษสุราเรื้อรัง การบกพร่องทางพันธุกรรม เป็นต้น

กลุุ่มคนที่เสี่ยงการเกิดโรคเหน็บชา

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชา เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมเข้ากับสาเหตุของการเกิดโรคที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • สตรีที่ตั้งครรภ์
  • สตรีหลังการตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาการให้นมบุตร
  • เด็กวัยเจริญเติบโต
  • กลุ่มคยวัยทำงานที่ทำงานหนัก เช่น กรรมกร ชาวนา นักกีฬา เป็นต้น
  • คนมีอายุมาก
  • คนที่รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 น้อย
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องฟอกไต
  • บุตรหลานของผู้ที่มีประวัติเป้นโรคเหน็บชา
  • นักดื่ม ที่ชอบดื่มสุราเป็นประจำ รวมถึงผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง

อาการของผู้ป่วยโรคเหน็บชา

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคเหน็บบชานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาการของผู้ป่วยเหน็บชาในเด็ก และ อาการของผู้ป่วยเหน็บชาในผู้ใหญ่ โดยรายละเอียดของอาการของโรค มีดังนี้

  • อาการโรคเหน็บชาในเด็ก ( Infantile beriberi ) จะพบในทารก อายุไม่เกิน 6 เดือน พบได้กับทารกที่กินนมแม่ ที่ขาดสารอาหาร ขาดวิตามินบี1 จะมีอาการซึม หน้าเขียว ตัวเขียว หอบเหนื่อย ตัวบวม ขาบวม หัวใจโต หัวใจเต้นเร็ว ร้องเสียงแหบ ร้องไม่มีเสียง ตากระตุก หนังตาบนตก ชักหมดสติ เป็นต้น
  • อาการโรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ ( Adult beriberi ) ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องอืดเฟ้อ มีอาการชา  ความจำเสื่อม แต่ตรวจร่างกายแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ ต่อมา ผู้ป่วยจะรู้สึกชาบริเวณปลายมือปลายเท้า มีอาการปวดแสบและเสียวแปลบร่วมด้วย บางรายอาจเป็นตะคริว แขนขาไม่มีแรง โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ โรคเหน็บชาชนิดผอมแห้ง โรคเหน็บชาชนิดเปียก และ Wernicke-Korsakoff syndrome

วิธีรักษาโรคเหน็บชา

การรักษาโรคเหน็บชานั้นเกิดจากขาดวิตามินบี 1 การรักษาแพทย์จะให้วิตามินบี 1 เสริมในขนาด 10 ถึง 20 มิลลิกรัม เป็นการเสริมวิตามินโดยการกิน หรือ ฉีดก็ได้ สำหรับในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย ต้องให้ยาฉีดวิตามินบี 1 คู่กับการให้ยาขับปัสสาวะ และจำเป็นอาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเลือด และตรวจพิเศษอื่น ๆ สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมการกิน ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

การป้องกันเหน็บชา

การป้องกันโรคเหน็บชา นั้นสามารถป้องกันจากสาเหตุของการเกิดโรค โดยสามารถสรุปการป้องกันโรคเหน็บชาได้ ดังนี้

  • เพิ่มการกินอาหารประเภทธัญพืช เนื่องจากเป็นอาหารที่มี วิตามินบี 1 สูง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู โดยเฉพาะ เนื้อวัว เนื้อปลา และ เนื้อหมูไม่ติดมัน ตับ ไต และไข่แดง นม เป็นต้น
  • กินผักที่มีวิตมินบี1 สูง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ฟักทอง กะหล่ำดาว ผักโขม เป็นต้น

โรคเหน็บชา เรียกอีกโรค คือ โรคขาดวิตามินบี1 แบ่งได้ 2 ลักษณะ โรคเหน็บชาในเด็ก และ โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาและการป้องกันการเกิดโรค โรคจากระบบประสาทในประเทศไทย พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง กินปลาร้า กินอาหารดิบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove