โรคเหน็บชา โรคขาดวิตามินบี1 มี 2 ลักษณะ โรคเหน็บชาในเด็ก โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ เป็นโรคระบบประสาทในประเทศไทยที่พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง กินปลาร้า กินอาหารดิบ

โรคเหน็บชา อาการมือเท้าชา โรคระบบประสาท โรคขาดวิตามินบี1

  • อาการชา หมายถึง ภาวะอวัยวะไม่สามารถรับความรู้สึกได้ หรือ ความสามารถในการสัมผัสบางอย่างเสียไปชั่วขณะหนึ่ง เช่น  ไม่เจ็บ ไม่รู้สึก ไม่ร้อนไม่เย็น เป็นต้น
  • อาการเหน็บ หมายถึง อาการเจ็บ ที่มาจากสาเหตุการกดทับ ขาหรือแขนนานๆ จนบางครั้งมีอาการอ่อนแรงจนเหยียดขาไม่ออกและลุกขึ้นไม่ได้

เหน็บชาในผู้ใหญ่

สำหรับอาการเหน็บชาในผู้ใหญ่ สามารถแบ่งลักษณะของอาการได้ 3 ประเภท คือ เหน็บชาชนิดผอมแห้ง เหน็บชาชนิดเปียก และ เหน็บชาชนิดWernicke-Korsakoff Syndrome  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เหน็บชาชนิดผอมแห็ง ( Dry Beriberi ) มี อาการชาแบบไม่บวม ชาปลายมือและปลายเท้า กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงไม่มีกำลัง โดยเฉพาะที่ขาส่วนล่าง อาจทดสอบได้โดยให้ผู้ป่วยนั่งยอง ๆ แล้วลุกขึ้นเอง ซึ่งผู้ป่วยจะทำไม่ได้ เจ็บปวด พูดไม่ชัด พูดติดขัด อาเจียน มีความผิดปกติทางจิตใจ สับสน ตาขยับเองโดยที่ไม่รู้ตัว อัมพาต
  • เหน็บชาชนิดเปียก ( Wet Beriberi ) มีอาการบวมร่วมกับอาการชาปลายมือปลายเท้า มีอาการบวม น้ำคั่งในช่องท้อง น้ำคั่งในช่องปอด ขาส่วนล่างบวม หอบเหนื่อย หายใจตื้นขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ตื่นนอนขึ้นมามีอาการหายใจตื้น หัวใจโตและเต้นเร็ว อาจทำให้หัวใจวายในกรณีไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
  • เหน็บชา Wernicke-Korsakoff Syndrome พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง เคลื่อนไหวลูกตาได้น้อย เดินเซ มีความผิดปกติทางจิตใจ ผู้ที่เป็นมากอาจทำให้เกิดอาการทางจิตที่เรียกว่า Korsakoff’s Psychosis

สาเหตุของโรคเหน็บชา

โรคเหน็บชานั้นมีสาเหตุมาจาก พฤติกรรมการกินอาหาร โดยร่างกายได้รับวิตามินบี1 ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พฤติกรรมที่ทำให้ขาดวิตามินบี 1 คือ การกินข้าวที่ซาวน้ำออกมากๆ กินอาหารที่มี ใบชา ใบเมี่ยง หมากพลู ปลาร้า ปลาส้มดิบ แหนมดิบ หอยลายดิบ ปลาน้ำจืดดิบ เป็นต้น หรือ ความผิดปรกติของร่างกายจากความสามารถในการเผาพลาญวิตามินบี1 เร็วขึ้น เช่น การตั้งครรภ์ ภาวะหญิงให้นมบุตร เด็กวัยเจริญเติบโต เป็นต้น นอกจากพฤติกรรมการบริโภค การเปรี่ยนแปลงของร่างกาย ยังมีสาเหตุอื่น เช่น การผ่าตัดทางเดินอาหาร การฟอกไต  โรคพิษสุราเรื้อรัง การบกพร่องทางพันธุกรรม เป็นต้น

กลุุ่มคนที่เสี่ยงการเกิดโรคเหน็บชา

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชา เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมเข้ากับสาเหตุของการเกิดโรคที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • สตรีที่ตั้งครรภ์
  • สตรีหลังการตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาการให้นมบุตร
  • เด็กวัยเจริญเติบโต
  • กลุ่มคยวัยทำงานที่ทำงานหนัก เช่น กรรมกร ชาวนา นักกีฬา เป็นต้น
  • คนมีอายุมาก
  • คนที่รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 น้อย
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องฟอกไต
  • บุตรหลานของผู้ที่มีประวัติเป้นโรคเหน็บชา
  • นักดื่ม ที่ชอบดื่มสุราเป็นประจำ รวมถึงผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง

อาการของผู้ป่วยโรคเหน็บชา

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคเหน็บบชานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาการของผู้ป่วยเหน็บชาในเด็ก และ อาการของผู้ป่วยเหน็บชาในผู้ใหญ่ โดยรายละเอียดของอาการของโรค มีดังนี้

  • อาการโรคเหน็บชาในเด็ก ( Infantile beriberi ) จะพบในทารก อายุไม่เกิน 6 เดือน พบได้กับทารกที่กินนมแม่ ที่ขาดสารอาหาร ขาดวิตามินบี1 จะมีอาการซึม หน้าเขียว ตัวเขียว หอบเหนื่อย ตัวบวม ขาบวม หัวใจโต หัวใจเต้นเร็ว ร้องเสียงแหบ ร้องไม่มีเสียง ตากระตุก หนังตาบนตก ชักหมดสติ เป็นต้น
  • อาการโรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ ( Adult beriberi ) ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องอืดเฟ้อ มีอาการชา  ความจำเสื่อม แต่ตรวจร่างกายแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ ต่อมา ผู้ป่วยจะรู้สึกชาบริเวณปลายมือปลายเท้า มีอาการปวดแสบและเสียวแปลบร่วมด้วย บางรายอาจเป็นตะคริว แขนขาไม่มีแรง โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ โรคเหน็บชาชนิดผอมแห้ง โรคเหน็บชาชนิดเปียก และ Wernicke-Korsakoff syndrome

วิธีรักษาโรคเหน็บชา

การรักษาโรคเหน็บชานั้นเกิดจากขาดวิตามินบี 1 การรักษาแพทย์จะให้วิตามินบี 1 เสริมในขนาด 10 ถึง 20 มิลลิกรัม เป็นการเสริมวิตามินโดยการกิน หรือ ฉีดก็ได้ สำหรับในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย ต้องให้ยาฉีดวิตามินบี 1 คู่กับการให้ยาขับปัสสาวะ และจำเป็นอาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเลือด และตรวจพิเศษอื่น ๆ สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมการกิน ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

การป้องกันเหน็บชา

การป้องกันโรคเหน็บชา นั้นสามารถป้องกันจากสาเหตุของการเกิดโรค โดยสามารถสรุปการป้องกันโรคเหน็บชาได้ ดังนี้

  • เพิ่มการกินอาหารประเภทธัญพืช เนื่องจากเป็นอาหารที่มี วิตามินบี 1 สูง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู โดยเฉพาะ เนื้อวัว เนื้อปลา และ เนื้อหมูไม่ติดมัน ตับ ไต และไข่แดง นม เป็นต้น
  • กินผักที่มีวิตมินบี1 สูง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ฟักทอง กะหล่ำดาว ผักโขม เป็นต้น

โรคเหน็บชา เรียกอีกโรค คือ โรคขาดวิตามินบี1 แบ่งได้ 2 ลักษณะ โรคเหน็บชาในเด็ก และ โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาและการป้องกันการเกิดโรค โรคจากระบบประสาทในประเทศไทย พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง กินปลาร้า กินอาหารดิบ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับ นิ้วเท้าชา เกิดจากการนั่งนานๆ หรือ การกระแทกที่กระดูกสันหลังหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบประสาท โรคกระดูก

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หากท่านมีอาการ อาการปวดหลัง อาการปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง หรือ หลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชา เป็นอาการเริ่มต้นเตือนให้ท่านรู้ว่า อาจเป็น โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้า สามารถทานยา ทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องผ่าตัด ก็สามารถทำได้ เรามาทำความรู้จักกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทให้ละเอียดมากกว่านี้ เพื่อใหรู้เท่าทันโรคนี้ ว่า สาเหตุของการเกิดโรค อาการ และการรักษา ต้องทำอย่างไร ป้องกันการเกิดเส้นประสาทสันหลังเสื่อม และกระดูกสันหลังเคลื่อนไปทับเส้นประสาทที่คอหรือเอวได้

โรคนี้เป็นโรคเสี่ยงของคนวัยทำงาน หรือ เป็นโรคหนึ่งของออฟฟิตซินโดรม ทำไมคนวัยทำงานจึงมีความเสี่ยงเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เนื่องจาก คนในวัยทำงานใช้ร่างหนัก ในขณะที่ไม่สัมพันธ์กับการพักผ่อน รวมถึงการออกเดินทาง ไปในสถานที่ต่างๆ การเคลื่อนไหวร่างกายมีมากกว่าคนในทุกวัย เราได้รวมพฤติกรรมเสี่ยงที่มีโอกาสให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง มีดังนี้

  1. มีกิจกรรมที่ต้อง ก้มๆ เงยๆ มากเกินไป
  2. การยกของหนัก ในท่าทางไที่ไม่ถูกต้อง และต้องยกของหนักในเวลานานๆ
  3. อาชีพบางอาชีพที่ต้องใช้ความแข็งแรงของร่างกายสูง ที่ร่างกายต้องรองรับการกระแทกสูง เช่น งานก่อสร้าง
  4. การมีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว ทำให้ร่างกายต้องใช้ร่างกายและกล้ามเนื้อมาก มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน
  5. การนั้งในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป โดยไม่มีการปรับอิริยาบถ เช่น การนั้งทำงานบนโต้ะทำงานนานเกินไป

พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลังได้ เรามาดูว่าอาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นอย่างไร

อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

การที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการอักเสบอย่างรุนแรง แบบฉับหลัน ได้ แต่ลักษณะอาการจะเกิดขึ้น บริเวณ หลังและขา โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • ปวดหลังในส่วนเอวตอนล่าง อาจปวดทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้ อาการปวนนี้จะปวดเวลานั่ง เนื่องจากท่านั้นหมอนรองกระดูกจะถูกกระทบกระเทือนมากที่สุด
  • มีอาการปวดที่ขา มีอาการขาชา และบางครั้งกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
  • มีอาการปวดหรือชา ตามแนวกระดูกสันหลัง ปวดตั้งแต่ นิ้วเท้า เท้า น่อง ต้นขา ไปถึงเอว มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเส้นประสาท

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นั้นตามที่กล่าวในข้างต้นถึงปัจจัยที่มีความเสียงในการเกิดโรคแล้วนั้น เราจะสรุป สาเหตุของการเกิดโรคนี้ ให้ละเอียดมากขึ้น มีดังนี้

  • การยกของหนัก ในท่าทางการยกที่ไม่ถูกต้อง
  • โรคอ้วน และน้ำหนักตัวที่มากเกิน
  • การนั่งทำงานท่าเดิมนานๆ โดยไม่มีการขยับตัว
  • การเกิดอุบัติเหตุ ที่มีการกระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลัง

สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การป้องการการเกิดโรคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ยิ่งกว่าการรักษา การเกิดโรคนี้ยังมีสิ่งที่ต้องระวังให้มากกว่านี้ คือ การเกิดโรคแทรกซ้อนที่มาจากการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยโรคแทรกซ้อนของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีดังนี้

  • การรักษามีโอกาสในการเกิดอุบัตติเหตุ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของ หลอดลม หลอดอาหาร และเส้นเลือดใหญ่
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ที่มีผลต่อเส้นประสาทกล่องเสียง ทำให้อาจเสียงแหบได้
  • การผ่าตัด อาจทำให้ข้อกระดูกไม่เชื่อม
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ภายหลังการผ่าตัดได้

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

สำหรับการรักษาโรคนี้ ด้วยเทคโลดลยีทางการแพทย์มีมากขึ้น มีการรักษาด้วยการผ่าดับ ด้วยเทคนิค MIS เป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดยส่องกล้องจุลทรรศน์ แบบแผลเล็ก เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัตติเหตุต่อเส้นประสาท โดยการรักษาโรคนี้ยังสามารถรักษาได้หลายวิธี ดังนี้

  • รับประทานยา เป็นการรับประทานยา แก้ปวด แก้อักเสบ และยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกโดยใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี

การป้องกันการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การป้องกันการเกิดโรคทำได้โดยการหลีกเลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งหมด เช่น ไม่ยกของหนัก ยกของในท่าที่ถูกต้อง ไม่ยกของหนักเป็นเวลานาน ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ สำหรับการนั่งทำงานบ่อยๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และออกกำลักกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้องอยู่เป็นประจำ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นิ้วเท้าชา โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากการนั่งอยู่กัยที่นานๆ หรือ การกระแทกที่กระดูกสันหลัง สาเหตุ อาการ การรักษาโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove