ติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( E.coli ) เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง โรคทั่วไปที่พบบ่อยในช่วงอากาศร้อน อาหารเน่าเสียบ่อย การติดเชื้ออีโคไลรักษาอย่างไรE.Coli โรค การติดเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียอีโคไล

แบคทีเรียอีโคไล ภาษาอังกฤษ เรียก Escherichia coli เรียกย่อๆว่า E. coli คือ เชื้อแบคทีเรียประเภทหนึ่งพบในลําไส้ของสิ่งมีชีวิตในสัตว์เลือดอุ่นรวมถึงมนุษย์ โดยปกติแล้วแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะไม่ทําอันตรายต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิต หากอยู่ในลําไส้ของสิ่งมีชีวิตจะมีประโยชน์ช่วยย่อยอาหาร แต่หากแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เข้าสู่อยวัยวะอื่นๆของร่างกาย จะทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง เช่น ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สร้างสารพิษ ซึ่งทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ ซึ่งอาการที่พบบ่อย คือ ท้องร่วง และ อุจจาระมีเลือดปน และในบางรายอาจมีอาการรุนแรง ทำให้เกิดความผิดของไต

กลไกของการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะสร้างชิกา ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ STX1 ( Shiga toxin 1 ) และ STX2 ( Shiga toxin 2 ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะสร้างโปรตีนชื่อ อินติมิน ( Intimin ) ซึ่งโปรตีนอินติมินใช้ในการเข้าไปเกาะเซลล์ที่เยื่อบุผนังของลำไส้ และ จะสร้างสารพิษ ชนิดเอนเทอโรฮีโมลัยซิน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและไตวายในที่สุด

ชนิดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สามารถแบ่งได้ 6 ชนิด ประกอบด้วย  Enterotoxigenic E coli ( ETEC ), Enterohemorrhagic E coli ( EHEC ) , Enteropathogenic E coli ( EPEC ) , Enteroinvasive E coli ( EIEC ) , Enteroaggregative E coli ( EAEC ) , Shiga-toxin producing E coli ( STEC ) รายละเอียดของเชื้อโรคแต่ละชนิด มีดังนี้

  • ETEC ( Enterotoxigenic E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ ทำให้อุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปเกาะที่ผนังของลำไส้เล็กและปล่อยสารพิษเข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้ เป็นสาเหตุของอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EHEC ( Enterohemorrhagic E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ ทำให้มีการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เชื้อโรคชนิดนี้จะสร้างสารพิษในลำไส้ทำให้มีเลือดออกเวลาถ่ายอุจจาระ
  • STEC ( Shiga-toxin producing E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ จะเข้าไปจับที่ผนังของลำไส้ใหญ่ จากนั้นจะปล่อยสารพิษหลายชนิด ซึ่งสารพิษเป็นพิษต่อผนังหลอดเลือด
  • EPEC ( Enteropathogenic E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ จะทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ตามลำไส้เล็ก
  • EIEC ( Enteroinvasive E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ ทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายลำไส้ใหญ่ และปล่อยสารพิษ จนทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EAEC ( Enteroaggregative E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ จะเกาะอยู่ในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก และปล่อยสารพิษ(toxin) เข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้

สาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

โดยปกติแล้วแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะอาศัยอยู่ในลําไส้ของสิ่งมีชิวิต เช่น สุกร โค กระบือ เป็นต้น และ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะถูกขับออกจากสิ่งมีชีวิตผ่านทางอุจจาระ เมื่ออุจจาระลงดินหรือลงสู่แหล่งน้ำ หากสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะแก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ก็จะเป็นแหล่งเพาะแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชั้นดี และ เชื้อเหล่านี้จะสามารถปนเปื้อนอาหารและน้ำดื่ม และสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ในที่สุด

ช่องทางการเข้าสู่ร่างกายของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์โดยทางอาหารหรือการสัมผัส   สามารถสรุปสาเหตุทั่วไปที่อาจทำให้ได้รับเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ได้ดังนี้

  • การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )
  • การสัมผัสเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) และ เข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างๆ เช่น แผล ปาก หู จมูก เป็นต้น
  • การสัมผัสมูลสัตว์ที่มีเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )ปะปน
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )
  • การว่ายน้ำในสระน้ำหรือแหล่งน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )ปะปน

อาการของผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ การแสดงอาการของโรคมีตั้งแต่ไม่แสดงอาการใดๆเลยจนถึงเกิดอาการรุนแรง เช่น ขับถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาการคลื่นไส้อาเจียน มีไข้ต่ำ ปวดท้อง ขับถ่ายมีเลือดปน ซึ่งความรุนแรงต่างๆของอาการนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายของแต่ละคน

หากการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เกิดกับเด็กทารกหรือเด็กเล็ก อาการมักจะไม่แน่นอน บางรายคล้ายอาการของเด็กโต คือ ท้องร่วง ต่อมาจะเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ และหากเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เข้ากระแสเลือด จะทำให้มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาการซึมเศร้า และหากรักษาล่าช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

สำหรับแนวทางการรักษาอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ไม่จำเป้นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เนื่องจากอาการของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สร้างสารพิษออกมา การให้ยาปฏิชีวนะในการรักษาอาจเป็นการกระตุ้นให้ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ปล่อยสารพิษออกมามากขึ้น ซึ่งทำให้อาการของโรคหนักมากขึ้น การรักษาใช้การประคับประครองการสูญเสียน้ำในร่างกายควบคู่กับควบคุมไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ให้น้ำเกลือร่วมกับการให้ยาลดไข้ และร่างกายจะมีกระบวนการในการขับสารพิษออกจากร่างกายทำให้อาการดีขึ้นและหายเป็นปรกติได้เอง

การป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการรับสารพิษหรือสิ่งสกปรกเข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างๆ รวมถึงทำร่างกายให้แข็งแรงสามารถรับมีกับเชื้อโรคได้ ซึ่งสามารถสรุปแนวทางต่างๆได้ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากการเข้าห้องน้ำ รวมถึงหลังจากการสัมผัสสัตว์ ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • ถ่ายอุจจาระลงในห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ โดยไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแหล่งน้ำ
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และถูกสุขลักษณะ
  • ควรเก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไว้ในอุณหภูมิต่ำ เพื่อลดการเกิดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ในเนื้อสัตว์
  • ล้างผักสดให้สะอาด โดยการปล่อยน้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาที
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หากมีอาการท้องเสียขั้นรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน และอย่ารับประทานยาระงับถ่ายอุจจาระ

การติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัว เพราะ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เป็นเชื้อโรคที่พบเป็นปกติทุกคนอยู่แล้ว ก่อโรคแต่ไม่มีความรุนแรง ดังนั้น ไม่ควรจะตื่นตระหนกกับการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ฝีในสมอง ฝีสมอง ( Brain abscess ) ติดเชื้อโรคที่สมองจนเกิดฝี ทำให้สมองอักเสบ โรคอันตรายเสียชีวิตได้ อาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง ชัก หมดสติ ส่งแพทย์ด่วน
โรคฝีในสมอง โรคสมอง โรคติดเชื้อ ฝีที่สมอง

โรคฝีในสมอง เกิดจากการการติดเชื้อที่สมอง ภาษาอังกฤษ เรียก Brain abscess เชื้อโรค คือ เชื้อแบคทีเรีย strephyloccus ทำให้พิการ หรือ เสียชีวิตได้ หากมีอาการ ปวดศรีษะอย่างรุนแรง มีไข้ แขนขาอ่อนแรง ชัก อย่าเบาใจให้รีบพบแพทย์ด่วน

ฝีในสมอง โรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ ที่สมอง โรคนี้ ผู้ป่วยประมาณไม่เกินร้อยละ 20 จะมีฝีที่สมองมากกว่าหนึ่งจุด และร้อยละ 92 ของผู้ป่วยฝีในสมองพบฝีที่สมองเล็กด้านหน้า โรคอันตรายจากเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นอัมพาตครึ่งซีก โรคฝีในสมอง ดาราเคยเป็นข่าวใหญ่คร่าชีวิต บิก ดีทูบี มาแล้ว เรามาทำความรู้จักกับโรคฝีในสมองกันว่า สาเหตุของโรค ปัจจัยเสี่ยง อาการและการรักษาโรคทำอย่างไร

โรคฝีสมอง เป็น ภาวะติดเชื้อ ซึ่งสามารถเกิดจากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียก็ได้ โดยเป็นการสร้างเชื้อโรคจนเกิดอาการอักเสบที่สมอง ส่งผลต่ออาการผิดปกติของระบบประสาท ลักษณะการก่อตัวของเชื้อเป็นแบบฝี หนอง ในเนื้อสมอง อันตรายส่งผลร้ายแรงถึงเสียชีวิต โรคฝีในสมอง นั้นไม่ใช่โรคปรกติที่เกิดกับคนทั่วไป แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในการเกิดอุบัตติเหตุ โรคหูน้ำหนวก และโรคหัวใจพิการ มีอัตราเสี่ยงสูงในการเกิดโรคนี้ เรามาดูสาเหตุของการเกิดโรคฝีในสมองว่ามีสาเหตุจากอะไรบ้าง

สาเหตุของการเกิดฝีในสมอง

สำหรับสาเหตุของการเกิดฝีในสมองนั้น มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมอง ซึ่งเราสามารถแยกสามเหตุหลักๆ ได้ 3 ประการ คือ การติดเชื้อที่อวัยวะที่ใกล้และเกี่ยวข้องกับสมอง การติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อที่สมองโดยตรง รายละเอียดของสาเหตุข้อต่างๆ มีดังนี้

  • การติดเชื้อของอวัยวะใกล้เคียงกับสมอง เป็นลักษณะการแพร่กระจายเชื้อโรคเข้าสู่สมอง อวัยวะที่ต้องป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ เนื่องจากอาจทำให้สมองติดเชื้อได้ คือ หู ฟัน ใบหน้า หัว เป็นต้น
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งการเกิดภาวะพิษที่เลือดสามารถกระจายสู่สมองได้ง่ายมาก การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นโรคอันตรายส่งผลต่อระบบการทำงานทั้งหมดในร่างกาย
  • การติดเชื้อที่สมองโดยตรง เป็นลักษณะของการเกิดอุบัตติเหตุ เกิดการกระแทกอย่างรุนแรง ทำให้เขื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางแผลที่หัว หรือเลือดที่เกิดในอุบัตติเหตุ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดสมอง

กลไกของฝีเกิดขึ้นได้อย่างไร

กระบวนการทางพยาธิวิทยานั้นสามารถกลับมาปรกติได้ใน 3 วัน ตั้งแต่เริ่มเกิดการอักเสบที่สมอง หากการไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้น จะทำให้สมองอักเสบมากขึ้น ซึ่งจะเกิดหนอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองนั้น มีหลายส่วนทั้งที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่เราก็รวมปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองว่ามีอะไรบ้าง เพื่อจะสามารถป้องกันการเกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคได้

  • ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ ซึ่งปัจจัยนี้เกิดจากร่างกายที่อ่อนแอ สามารถควบคุมได้ด้วยการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย
  • ภาวะการติดเชื้อในอวัยวะส่วนที่เชื่อมโยงกับสมองและใกล้สมอง เช่น หู ไซนัส ฟัน เหงือก แผลที่ศรีษะ เป็นต้น
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคหัวใจ
  • การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือภาวะโลหิตเป็นพิษ
  • อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมองอย่างรุนแรง

อาการของผู้ป่วยโรคฝีในสมอง

สำหรับอาการของโรคฝีในสมองจะส่งผลกระทบกับระบบประสาทเป็นหลัก ซึ่งอาการที่พบเห็นในกรณีที่ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้น โคม่า จะพบอาการ คือ เวียนหัว เสียการทรงตัว ปวดหัวอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง สายตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน มีอาการชัก มีหนองไหลจากหู เป็นต้น

หากพบว่ามีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลด่วนที่สุด

การวินิจฉัยโรคฝีในสมอง

การวินิจฉัยเพื่อวิเคราะห์หาโรค ซึ่งโรคฝีสมองนั้น สามารถพิจารณาจากอาการผิดปรกติ ประวัติทางการแพทย์ ที่การตรวจเอกเซเลย์สมอง ทำการแสกนเอ็มอาร์ไอ

การรักษาโรคฝีในสมอง

การรักษาโรคฝีในสมองนั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาโรคฝีในสมอง ที่โรงพยาบาลตลอดเวลาและรักษาในห้องปลอดเชื้อโรค สำหรับการรักษานั้น รักษาด้วยการให้ยาต้านจุลชีพ โดยจะให้ยาต้าลจุลชีพ ประมาณ 45 วัน หรือให้จนกว่าฝีที่สมองจะหาย

ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคฝีในสมองไม่ตอบสนองต่อยาต้านจุลชีพ แพทย์จะทำการผ่าตัดสมอง เพื่อนำก้อนเนื้อฝีออกให้หมด แต่การรักษาต้องรักษาโรคพร้อมกับควบคุมการเกิดโรคแทรกซ้อน อย่าง โรคหูน้ำหนวก โรคหัวใจ เพื่อป้องกันไม่เกิดฝีที่สมองซ้ำอีก การรักษาโรคฝีในสมองนั้น หากรักษาช้าหรือไม่ถูกวิธี ส่วยมากผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย แต่หากรักษาได้ จะพบว่ามีผลข้างเคียงต่อระบบประสาทเช่น แขนขาอ่อนแรง หรือ อาการชัก เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมอง

การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมองนั้น จำเป็นต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างเคร็งคลัด

  • จัดสถานที่ให้สะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีร่างกายที่ผิดปรกติ เช่น แขน ขาอ่อนแรง ต้องจัดสถานที่ให้สะดวกเพื่อป้องกันอุบัตติเหตุ
  • ให้ทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ
  • ต้องพกยากันอาการชักติดตัวเสมอ อย่าให้ขาดยา
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดี เพื่อลดโอกาสการเกิดฝีสมอง อีกครั้ง
  • พาผู้ป่วยพบแทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  • หากพบอาการผิดปรกติมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง แขนขากลับมาอ่อนแรงอีก มีอาการชักบ่อยขึ้น ให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษา

การป้องกันโรคฝีในสมอง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคฝีในสมอง นั้นเราต้องป้องกันปัจจัยทั้งหมดที่สามารถควบคุมได้ โดยการป้องกันโรคฝีในสมองมีดังนี้

  • ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะที่ศีรษะ
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายสามารถมีภูมิต้านทานโรค
  • รับประทาออาหารที่มีประโยชน์และรักษาสุขอนามัยพื้นฐานในสถานที่ที่อยู่อาศัยให้ดี

โรคฝีในสมอง การติดเชื้อที่สมอง เป็นโรคที่คร่าชีวิตดาราชื่อดังอย่าง บิกดีทูบี โรคที่เกิดกับสมองนั้นรุนแรงเสมอไม่ว่าจะโรคอะไร การรักษานั้นก็สามารถทำได้แต่ผู้ป่วยมักไม่เหมือนเดิม หรือ ใช้เวลานานในการเข้าสู่ภาวะปรกติ โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ยังมีอีกหลายโรคที่อยากแนะนำให้รู้จัก โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มีดังนี้

โรคสมอง โรคระบบประสาท โรคพาร์กินสัน พาร์กินสันโรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไม่ติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้ โรคของกลุ่มอาการที่มีการสั่นของมือและการเคลื่อนไหวตัวได้น้อย ความจำเสือม อัลไซล์เมอร์ โรคสมอง โรคความจำโรคอัลไซเมอร์ ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยโรค จะมีอาการ เช่น ความจำเสื่อม หลงลืม
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคสมอง ระบบประสาท หลอดเลือดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเอมจี โรคภูมิต้านทานตัวเอง ชนิดเรื้อรัง ทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลือนไหวของแขน ขา ดวงตา ใบหน้า โคม่า เจ้าชายนิทรา โรคสมอง โรคต่างๆอาการโคม่า โรคเกี่ยวกับระบบสมอง และ ระบบประสาทมาพอสมควรแล้ว อาการหนึ่งที่ควรทความรู้จักกัน คือ อาการโคม่า อาการโคม่าเป็นอย่างไร
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบประสาท โรคกระดูกหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นิ้วเท้าชา อาการของ โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมอง โรคติดเชื้อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อ ภาวะการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง เกิดจากการติดเชื้อ อาการ มีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง ชัก หมดสติ

โรคฝีในสมอง ฝีในสมอง ฝีสมอง ( Brain abscess ) ภาวะติดเชื้อที่สมอง เชื้อรา หรือ เชื้อแบคทีเรีย ทำให้สมองอักเสบ ลักษณะของเชื้อเป็นแบบ ฝี หนอง ในเนื้อสมอง ร้ายแรงทำให้เสียชีวิตได้ การติดเชื้อที่สมอง ปวดศรีษะอย่างรุนแรง มีไข้ แขนขาอ่อนแรง ชัก รีบพบแพทย์ด่วน โรคระบบสมอง สาเหตุ อาการ การรักษา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove