อาการโคม่า หลับ ไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น อาการเจ้าชายนิทรา ภาวะผัก สมองสูญเสียการรับรู้ หลับ รู้สึกตัวแต่ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าโคม่า เจ้าชายนิทรา โรคสมอง โรคต่างๆ

เราทำความรู้จักกับ โรคเกี่ยวกับระบบสมอง และ ระบบประสาทมาพอสมควรแล้ว อาการหนึ่งที่ควรทความรู้จักกัน คือ อาการโคม่า อาการโคม่าเป็นอย่างไร สาเหตุของอาการโคม่า การรักษาผู้ป่วยโคม่าทำอย่างไร การดูแลผู้ป่วยอาการโคม่า นอกจากเรื่องของโคม่าแล้ว บทความนี้ จะพูดถึง อาการเจ้าชายนิทรา หรือ อาการเจ้าหญิงนิทรา อาการนี้คืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไร  อาการโคม่า กับอาการเจ้าชานนิทรา มีความเหมือนกัน และมีความแตกต่างกันอย่างไร ในบทความนี้ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โคม่า และ เจ้าชายนิทรากัน

อาการโคม่า คือ ภาวะของผู้ป่วยที่ถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทำให้เกิดการหลับ ไม่รู้สึกตัว ปลุกไม่ตื่น ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทั้งหลายทั้งปวง ผู้ป่วยอาการโคม่าถือว่ามีชีวิตอยู่

สาเหตุของอาการโคม่า
สาเหตุของอาการโคม่า เกิดจากการถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทั้งจากภายใน และภายนอก รายละเอียด ดังนี้

  • เกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงกระทบกระเทือนศรีษะ ส่งผลต่อการทำงานของสมอง
  • เกิดจากการได้รับสารพิษบางชนิดอย่างรุนแรง เช่น การกินยาเกินขนาด การใช้ยาเสพติดเกินขนาด ซึ่งทำให้ร่างกายเกิดภาวะช็อค
  • เกิดจากการเสียเลือดเลือดอย่างรุนแรงทำให้สมองขาดเลือด
  • เกิดจากการติดเชื้ออย่างรุนแรง กระบทกระเทือนต่อหัวใจ การหายใจ หลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง

อาการของผู้ป่วยโคม่า
อาการโคม่าผู้ป่วยจะหลับ โดยไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว ใช้เวลานาน อาจฟื้นตัวขึ้นมาได้ แต่หลังจากฟื้น อาจมีความผิดปรกของร่างกายตามมา มีส่วนน้อยที่สามารถพื้นขึ้นมาได้และใช้ชีวิตร่างกายแข็งแรงตามปรกติ แต่โดยทั่วไปโอกาสเสียชีวิตค่อนข้างสูง

การดูแลผู้ป่วยอาการโคม่า
เนื่องจากผู้ป่วยโคม่าเกิดจากการกระทบบกระเทือนที่สมอง ผู้ป่วยหลับ โดยไม่ตอบสนองแต่สิ่งต่างๆ ซึ่งถือว่าผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ การดูแลผู้ป่วย ต้องดูแลเหมือนผู้ป่วยปรกติ และอาการโคม่าต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดที่โรงพยาบาล

อาการเจ้าชายนิทรา หรือ ภาวะผัก

อาการเจ้าชายนิทรา ภาษาอังกฤษ เรียก Vegetative state อาการเจ้าชายนิทรา ภาวะผัก คือ อาการที่เกิดจากการที่สมองสูญเสียความสามารถในการรับรู้ ทำความเข้าใจและตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว เป็นอาการหลับ มีความรู้สึกตัว แต่ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า

อาการเจ้าชายนิทรา สามารถแบ่งระยะของโรคได้ 3 ระยะ คือ

  • ระยะแรก หรือ สภาวะผัก (Vegetative state) เป็นช่วงเวลาระยะสั้น เป็นช่วงเวลานาน 4 สัปดาห์
  • ระยะเรื้อรัง หรือ สภาวะผักเรื้อรัง (Persistent vegetative state) เป็นอาการเจ้าชายนิทราที่ระยะเวลานานไม่เกิน 1 ปี
  • ระยะถาวร หรือ สภาวะผักถาวร (Permanent vegetative state) เป็นอาการเจ้าชายนิทราที่มีระยะเวลานานกว่า 1 ปี

สาเหตุของอาการเจ้าหญิงหรือเจ้าชายนิทรา สาเหตุของภาวะผัก

สาเหตุของสภาวะผัก สามารถแยกสาเหตุของอาการเจ้าชายนิทราได้ 3 สาเหตุ คือ การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงกระทบกระเทือนต่อสมอง ความพิการแต่กำเนิดของสมอง และ ภาวะการติดเชื้อที่สมอง

การดูแลผู้ป่วยอาการเจ้าชายนิทรา

การดูแลผู้ป่วยอาการเจ้าชายนิทรา เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถช่วยตนเองได้ ต้องป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากอาการผู้ป่วยจะนอนหลับตลอดเวลา การดูแลต้องคอยพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง ป้องกันเกิดอาการแผลกดทับ การให้อาหารต้องให้อาหารทางสายยาง ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดป้องกันการสำลัก ต้องคอยดูดเสมหะ ทำกายภาพบำบัดฟื้นฟู คอยยืดข้อต่างๆ

มาถึงจุดนี้ อาการโคม่า และอาการเจ้าชายนิทรา เป็นอย่างไร เราได้รู้แล้ว เรามาแยกประเด็นความแตกต่างของอาการทั้งสอง ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ความเหมือนของอาการโคม่าและอาการเจ้าชายนิทรา คือ เป็นอาการที่เกิดจากอาการกระทบกระเทือนทางสมอง ทำให้เกิดอาการหลับ

ความแตกต่างของอาการโคม่าและอาการเจ้าชายนิทรา คือ โคม่าเป็นการหลับโดยไม่รู้สึกตัว แต่เจ้าชายนิทราเป็นอาการหลับแต่รู้สึกตัว สามารถเปิดตาได้ การดูแลผู้ป่วยโคม่าต้องดูแลอย่างใกล้ชิดกับแพทย์ที่โรงพยาบาล แต่เจ้าชายนิทราสามารถพาผุ้ป่วยกลับไปดูแลที่บ้านได้

โคม่า คือ ภาวะของผู้ป่วยที่ถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทำให้เกิดการหลับ ไม่รู้สึกตัว ปลุกไม่ตื่น ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทั้งหลายทั้งปวง เจ้าชายนิทรา ภาวะผัก คือ ภาวะสมองสูญเสียความสามารถในการรับรู้ มีอาการหลับ มีความรู้สึกตัว แต่ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า ผู้ป่วยอาการโคม่าถือว่ามีชีวิต ความแตกต่างระหว่าง โคม่า กับ เจ้าชายนิทรา อยู่โรคเกี่ยวกับระบบสมอง อาการโคม่าเป็นอย่างไร สาเหตุของอาการโคม่า การรักษาผู้ป่วยโคม่า การดูแลผู้ป่วยโคม่า อาการเจ้าชายนิทรา เกิดจากอะไร โค่ม่า และ เจ้าชายนิทรา

กลุ่มอาการซีแฮน ต่อมใต้สมองขาดเลือดทำให้ฮอร์โมนน้อย มักเกิดกับสตรีหลังคลอดลูก เสียเลือดมาก ทำให้น้ำนมไม่ไหล ไม่มีประจำเดือน ผมร่วง เหนื่อยอ่อนเพลีย เบื่ออาหารกลุ่มอาการซีแฮน โรคต่อมใต้สมอง โรคต่อมไร้ท่อ ภาวะขาดฮอร์โมนหลังจากคลอดลูก

โรคซีแฮน หรือ โรคกลุ่มอาการชีแฮน ภาษาอังกฤษ เรียก Sheehan Syndrome เกิดจากการที่ ต่อมใต้สมองรขาดเลือด ไปเลี้ยงสมองอย่างเฉียบพลัน ทำให้ ต่อมใต้สมอง เกิดการ ทำงานผิดปรกติ มักจะเกิดกับสตรีที่ เสียเลือดมากหลังจากการคลอดลูก การเสียเลือดมาก เป็นภาวะที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็น โรคกลุ่มอาการซีแฮน การเสียเลือด จำนวนมากจะ ทำให้ผู้ป่วยช็อก ทำให้ ความดันเลือดต่ำลง ทำให้ เลือดไปไม่ถึงสมอง และส่วนต่างๆของร่างกาย ต่อมใต้สมอง ก็จะเกิดผลกระทบจากการที่ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ  ซึ่ง ต่อมใต้สมอง ใช้ ผลิตฮอร์โมน หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ ( Follicular stimulating hormone / FSH , Lutienizing hormone / LH ) ฮอร์โมนการสร้างน้ำนม ( Prolactin ) ฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ( Thyroid stimulat ing hormone / TSH )  เป็นต้น โรค นี้จะเกิดกับกับ สตรีหลังคลอดลูก 5 ใน 100,000 ราย

ภาวะที่มีผลต่อการเสี่ยงการเกิดโรคกลุ่มอาการชีแฮน

  1. การตกเลือดหลังการคลอดลูก การเสียเลือดมาก จากการ คลอดลูก หากไม่ได้รับเลือดและสารอาหารทดแทนการเสียเลือดทันต่อความเสี่ยง ภาวะความดันเลือดต่ำ อาจทำให้เกิด โรคซีแฮน ได้
  2. ภาวะเลือดแข็งตัวผิดปรกติ การที่มี เลือดออก แล้วเกิด เลือดแข็งตัวผิดปรกติ จะทำให้ การแข็งตัวของเลือดช้ากว่าปรกติ ทำให้เสียเลือดมาก การเสียเลือดมาก เป็นสาเหตุของการเกิด โรคกลุ่มอาการซีแฮน
  3. ภาวะเบาหวานในสตรี โรคเบาหวาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อ การขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้

จะเห็นได้ว่า โรคซีแฮนเ กิดจากสาเหตุหลักคือ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้ ต่อมไร้ท่อใต้สมอง ทำงานผิดปรกติ  ดังนั้น ทุกภาวะที่ ทำให้ความดันเลือดต่ำลง การเสียเลือดมาก ส่งผลกระทบกระตุ้นให้เกิด โรคกลุ่มอาการซีแฮน ทั้งหมด

อาการของโรคกลุ่มอาการชีแฮน

ลักษณะของผู้ป่วยที่กำลังมี อาการโรคกลุ่มอาการซีแฮน มีดังนี้

  1. สำหรับสตรีหลังคลอด น้ำนมไม่ไหล เกิดจาก ต่อมใต้สมอง ไม่สามารถสร้างฮอร์โมน ในการผลิตน้ำนม ได้
  2. ไม่มีประจำเดือน ซึ่งการไม่มาของประจำเดือน เกิดจากต่อมใต้สมอง ไม่สามารถผลิตฮอร์โมน ไป กระตุ้นรังไข่  เพื่อ สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ได้
  3. เดินช้า พูดช้า คิดช้า เซื่องซึม กินจุ ผมร่วง เป็น อาการของภาวะขาดออร์โมนไทรอยด์ เกิดจาก ต่อมใต้สมองไม่สามารถสร้างฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ ได้มากพอต่อความต้องการ
  4. ขาดเกลือแร่ เนื่องจาก ต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็น อันตรายต่อชีวิต ได้
  5. เหนื่อย ล้า อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร

การตรวจภาวะโรคกลุ่มซีแฮน

ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจสาเหตุของการเกิดโรค จากการสืบประวัติของผุ้ป่วย การสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และ การตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนในเลือด รายละเอียด ดังนี้

  1. การตรวจประวัติทางการแพทย์ ดู ประวัติการเสียเลือดหลังคลอด และ ความผิดปรกติของร่างกาย ต่างๆ
  2. การตรวจร่างกาย ดูความผิดปรกติต่างๆ ที่มี อาการจากการขาดฮอร์โมน เช่น น้ำนมมาปรกติหรือไม่ ร่างกายบวม หรือไม่ ช่องคลอดแห้ง หรือไม่ และ ผนังช่องคลอดบาง หรือไม่ ซึ่งลักษณะต่างๆเหล่านี้เกิดจาก การขาดฮอร์โมน ทั้งสิ้น
  3. การตรวจเลือด เพื่อดู ระดับฮอร์โมนในเลือด เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำที่สุด

การรักษาโรคกลุ่มอาการชีแฮน

การรักษาสามารถทำได้โดยการให้ฮอร์โมน เพิ่มฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อ ชดเชยฮอร์โมนที่ไม่เพียงพอ เช่น หากฮอร์โมนไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ก็ ให้ฮอร์โมนไทรอยด์เสริม ให้ฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มหากฮอร์โมนเพศไม่เพียงพอ

การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคกลุ่มอาการซีแฮน

ผู้ป่วยต้องรับประทานยาและฮอร์โมนเสริมตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร็งครัด และพบแพทย์ตามนัดของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ นอกจากการพบแพทย์และรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์แล้ว การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นวิธีการดูแลตัวเองที่ดีที่สุด

การป้องกันการเกิดโรคกลุ่มอาการชีแฮน

การป้องกันโรคซีแฮน โรค นี้เป็น โรคที่เกิดจากการเสียเลือด มาก หลังคลอดบุตร การป้องกันการเกิดโรค คือ การบำรุงร่างกายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและแร่ธาตุ ที่ ช่วยบำรุงร่างกายหลังจากการเสียเลือดหลังคลอด

สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอดมีอะไรบ้าง สมุนไพรสำหรับการอยู่ไฟ ของ สตรีหลังคลอด มีดังนี้

แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนาแคนา
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง
ขิง สมุนไพร สรรพคุณของขิง ประโยชน์ของขิงขิง
หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่
มะขาม สมุนไพร สรรพคุณของมะขาม ประโยชน์ของมะขามมะขาม
กานพลู สมุนไพร เครื่องเทศ สรพคุณของกานพลูกานพลู
มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะละกอ
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชายกระชาย

กลุ่มอาการชีแฮน โรคซีแฮน โรคกลุ่มอาการชีแฮน คือ ภาวะการเกิดโรคที่เกิดจากการขาดฮอร์โมน เกิดกับต่อมใต้สมองขาดเลือด ทำให้เกิดความผิดปรกติต่างๆของร่างกาย เกิดกับสตรีหลังคลอดลูก ส่งผลให้เกิดอาการ น้ำนมไม่ไหล ไม่มีประจำเดือน เดินช้า พูดช้า คิดช้า เซื่องซึม กินจุ ผมร่วง เหนื่อย ล้า อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove