เส้นเลือดสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือดและออกซิเจน ทำให้สมองถูกทำลาย สูญเสียการควบคุมร่างกาย เป็นภาวะอันตราย ต้องรับการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด คนสูบบุหรี่เสี่ยงหลอดเลือดสมองแตก เส้นเลือดสมองแตก โรคสมอง อัมพฤษ์

เส้นเลือดสมองแตก จัดเป็นโรคอันตราย ต้องนำผุ็ป่วยส่งโรงพยาบาลให้ทัน โรคนี้คนไทยเป็นเยอะและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆเลยทีเดียวพบมากในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป โรคนี้มักเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดที่สมองจากการเสื่อมตามอายุ ผู้ป่วยที่เส้นเลือดสมองแตกอาจกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กลายเป็นผุ้ป่วยติดเตียงได้ การรักษานอกจากต้องรักษาโรคทางกาย โรคทางใจเป็นสิ่งที่จะควบคู่กันไปกับคนเส้นเลือดสมองแตก

6 สัญญาณเตือนสำหรับโรคเส้นเลือดสมองแตก

  • ความเครียด ความเครียดทำให้ระบบการทำงานของร่างกายขาดความสมดุล หากมีอาการเหนื่อยโดยไม่มีสาเหตุ ควรพบแพทย์ทันที เนื่องจากนี้เป็นสัญญาณของเส้นโลหิตในสมองแตก
  • มีปัญหาของตาข้างใดข้างหนึ่งมองไม่เห็น สมองแต่ละซีกทำงานในการควบคุมการทำงานของร่างกาย เมื่อสมองได้รับการกระทบกระเทือนจากเส้นเลือดในสมองแตก จะทำให้เกิดปัญหาการมองไม่เห็น
  • อ่อนแรง โดยมีอาการแขนขาอ่อนแรงการทำงานของสมองผิดปกติทำให้แขนหรือขาด้านใดด้านหนึ่งชา ถ้ารู้สึกว่าแขนขาชานั้นอาจจะเป็นเรื่องปกติหากหายเองภายใน 2-3 นาที แต่หากไม่หายต้องพบแพทย์ด่วน
  • มีอาการเวียนหัวและพูดติดขัด เรื่องการพูดนั่นเป็นสัญญาณว่าสมองไม่สามารถจะตอบสนองต่อการพูดและเส้นประสาทในการรับผิดชอบในการพูดได้ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • มีความสับสนด้านความคิด เนื่องจากสมองอาจขาดออกซิเจน ทำให้ไม่สามารถจดจำได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่สามารถจะพูดให้คนอื่นเข้าใจได้ อาจจะมีเส้นเลือดในสมองที่แตกอยู่
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง คนที่ไม่เคยมีประวัติเป็นไมเกรนมาก่อน อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ควรเช็คกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

สาเหตุของเส้นเลือดสมองแตก

ภาวะเส้นเลือดในสมองแตก หรือ ตีบตัน นั้นเป็นสาเหตุจากโรคหลอดเลือดในสมอง ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเส้นเลือดสมองแตกเกิดจากลิ่มเลือดอุดตันระบบไหลเวียนของโลหิต หรือ ไขมันอุดตันหลอดเลือดในสมอง ทำให้หลอดเลือดตีบ และ ประสิทธิภาพในการไหลเวียนเลือดลดลง ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงสมองได้ และ อีกร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก เกิดจาก หลอดเลือดสมองแตก หรือ ฉีกขาด เกิดจาก หลอดเลือดที่สมองเปราะบาง เมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูงอาจทำให้เส้นเลือดสมองแตกได้ เส้นเลือดสมองหากแตกถือว่าอันตรายมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดสมองแตก

สามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตก หรือ ตีบตัน นั้น ได้ดังนี้

  • ภาวะความดันโลหิตสูง ความดันดลหิตที่สูงทำให้เกิดแรงดันที่หลอดเลือดหากหลอดเลือดเปราะบางก้สามารถแตกได้ง่าย
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง การมีไขมันในเส้นเลือดสูงทำให้เกิดไขมันสะสมและเกาะตัวที่เส้นเลือดทำให้เกิดความดันเลือดสูงขึ้น
  • มีภาวะโรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูงทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย
  • การสูบบุหรี่และการใช้ยาเสพติด
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
  • มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตก
  • มีความเสี่ยงที่ทำให้ลิ่มเลือดที่จะไปอุดตันหลอดเลือดสมอง
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • การเสื่อมของหลอดเลือดตามอายุ

อาการของโรคเส้นเลือดสมองแตก

สำหรับอาการของโรคนี้สามารแบ่งอาการของโรค ได้ 2 ระยะ คือ ระยะเส้นเลือดสมองเริ่มตีบตัน และ ระยะเส้นเลือดสมองแตกไปแล้ว

  • ระยะเส้นเลือดสมองเริ่มตีบตัน ระบบไหลเวียนเลือดสู่สมองเริ่มติดขัด ทำให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้มีอาการตาพร่ามัว ชาตามร่างกาย อาจมีอาการหมดสติได้
  • ระยะเส้นเลือดในสมองแตก เป็นระยะที่เกิดอาการแล้ว เป็นระยะที่มีความอันตรายมาก เนื่องจากมีเลือดออกในสมอง ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เป็นระยะที่เสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้

ลักษณะความรุนแรงของอาการเส้นเลือดในสมองแตกนั้นแตกต่างกันออกไปตามความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคน และความเสียหายของสมองจากการขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง อาการที่เป็นสัญญาณของเส้นเลือดในสมองแตก ดังนี้

  • มีอาการชาตามตัว แขนขาอ่อนแรง ขยับตัวไม่ได้ อัมพาตครึ่งซีก
  • ใบหน้าบิดเบี้ยว ควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าไม่ได้ สูญเสียการควบคุมใบหน้า เช่น มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก พูดลำบาก พูดติดขัด สื่อสารไม่ได้ มึนงง
  • ทรงตัวไม่ได้ เสียสมดุลการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดินเซ เดินลำบาก ขยับแขนขาลำบาก
  • มีปัญหาด้านสายตา เช่น สายตาพร่ามัว มองไม่เห็น มองเห็นภาพซ้อน ตาบอดข้างเดียว
  • มีอาการเวียหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียนร่วม

เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นตามลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นให้รีบพบแพทย์ทันที

การวินิจฉัยโรคเส้นเลือดสมองแตก

การวินิตฉัยการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตกนั้น แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคได้จาก ลักษณะทางกายภาพที่พบเห็น และ ต้องทำการตรวจร่างกาย เพื่อให้ทราบความชั้ดเจนของโรค โดย

  • ตรวจความดันโลหิต
  • ตรวจเลือด
  • ตรวจเอกซเรย์หลอดเลือดสมอง (Angiogram) แพทย์จะฉีดสารย้อมสีเข้าสู่เส้นเลือด จากนั้นจึงฉายภาพเอกซเรย์ส่วนศีรษะเพื่อหาจุดที่เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน
  • ตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ใช้รังสีจากเครื่อง CT Scan ฉายไปยังบริเวณศีรษะ แล้วสร้างภาพออกมาด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยลักษณะและตำแหน่งที่เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน
  • ตรวจสมองด้วยเครื่องจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) การตรวจคล้ายกับ CT Scan แต่เครื่องจะสร้างภาพจากสนามแม่เหล็กที่ส่งคลื่นไปรอบ ๆ ตัวผู้ป่วยในขณะตรวจ และภาพที่ออกมาจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนกว่า CT Scan
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKG) ด้วยการติดขั้วไฟฟ้าบริเวณหน้าอก แพทย์จะตรวจหาความผิดปกติผ่านทางจอภาพที่แสดงจังหวะการเต้นของหัวใจ
  • ตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Carotid Ultrasound) เป็นการตรวจการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดบริเวณลำคอที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง
  • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)

การรักษาโรคเส้นเลือดสมองแตก

สำหรับการรักษาโรคเส้นเลือดในสมองแตกนั้น มีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน ตามระยะของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคมี ดังนี้

  • การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองแตกในระยะที่หลอดเลือดตีบตัน รักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ
  • การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองในระยะหลอดเลือดสมองแตกไปแล้ว ต้องทำการการควบคุมเลือดที่ออกในสมอง รักษาระดับความดันเลือด และต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายของเนื้อสมอง

เส้นเลือดสมองถูกลิ่มเลือดอุดตันทำให้ระบบไหลเวียนเลือดสู่สมองไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอ การรักษาจะได้ผลดีกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องรีบพบแพทย์ภายใน 4 ชั่วโมงนับจากมีอาการอย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยเกิดเส้นเลือดอุดตันในสมอง เป้าหมายของการรักษา คือ ควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองด้วย

การป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดสมองแตก

เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตกมีหลายประการ การป้องกันการเกิดโรคทำได้ง่ายกว่าการรักษาเนื่องจากหากเกิดขึ้นแล้วการจะกลับมาใช้ชีวิตอย่างปรกติทำได้ยาก แนวทางการป้องกันการเกิดโรค มีดังนี้

  • ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทราบถึงระดับความดันเลือดของตนเอง
  • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับสมดุลย์
  • ตรวจวัดระดับไขมันในเส้นเลือดให้อยู่ในระดับปรกติ
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่สูบบุหรี่
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หวานและมัน

เส้นเลือดสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือด และ ออกซิเจน จากหลอดเลือดสมอง ตีบ อุดตัน หรือ แตก สมองถูกทำลาย สูญเสียการควบคุมร่างกาย โรคอันตราย การป้องกันโรคง่ายกว่าการรักษา

อาการโคม่า หลับ ไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น อาการเจ้าชายนิทรา ภาวะผัก สมองสูญเสียการรับรู้ หลับ รู้สึกตัวแต่ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าโคม่า เจ้าชายนิทรา โรคสมอง โรคต่างๆ

เราทำความรู้จักกับ โรคเกี่ยวกับระบบสมอง และ ระบบประสาทมาพอสมควรแล้ว อาการหนึ่งที่ควรทความรู้จักกัน คือ อาการโคม่า อาการโคม่าเป็นอย่างไร สาเหตุของอาการโคม่า การรักษาผู้ป่วยโคม่าทำอย่างไร การดูแลผู้ป่วยอาการโคม่า นอกจากเรื่องของโคม่าแล้ว บทความนี้ จะพูดถึง อาการเจ้าชายนิทรา หรือ อาการเจ้าหญิงนิทรา อาการนี้คืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไร  อาการโคม่า กับอาการเจ้าชานนิทรา มีความเหมือนกัน และมีความแตกต่างกันอย่างไร ในบทความนี้ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โคม่า และ เจ้าชายนิทรากัน

อาการโคม่า คือ ภาวะของผู้ป่วยที่ถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทำให้เกิดการหลับ ไม่รู้สึกตัว ปลุกไม่ตื่น ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทั้งหลายทั้งปวง ผู้ป่วยอาการโคม่าถือว่ามีชีวิตอยู่

สาเหตุของอาการโคม่า
สาเหตุของอาการโคม่า เกิดจากการถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทั้งจากภายใน และภายนอก รายละเอียด ดังนี้

  • เกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงกระทบกระเทือนศรีษะ ส่งผลต่อการทำงานของสมอง
  • เกิดจากการได้รับสารพิษบางชนิดอย่างรุนแรง เช่น การกินยาเกินขนาด การใช้ยาเสพติดเกินขนาด ซึ่งทำให้ร่างกายเกิดภาวะช็อค
  • เกิดจากการเสียเลือดเลือดอย่างรุนแรงทำให้สมองขาดเลือด
  • เกิดจากการติดเชื้ออย่างรุนแรง กระบทกระเทือนต่อหัวใจ การหายใจ หลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง

อาการของผู้ป่วยโคม่า
อาการโคม่าผู้ป่วยจะหลับ โดยไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว ใช้เวลานาน อาจฟื้นตัวขึ้นมาได้ แต่หลังจากฟื้น อาจมีความผิดปรกของร่างกายตามมา มีส่วนน้อยที่สามารถพื้นขึ้นมาได้และใช้ชีวิตร่างกายแข็งแรงตามปรกติ แต่โดยทั่วไปโอกาสเสียชีวิตค่อนข้างสูง

การดูแลผู้ป่วยอาการโคม่า
เนื่องจากผู้ป่วยโคม่าเกิดจากการกระทบบกระเทือนที่สมอง ผู้ป่วยหลับ โดยไม่ตอบสนองแต่สิ่งต่างๆ ซึ่งถือว่าผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ การดูแลผู้ป่วย ต้องดูแลเหมือนผู้ป่วยปรกติ และอาการโคม่าต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดที่โรงพยาบาล

อาการเจ้าชายนิทรา หรือ ภาวะผัก

อาการเจ้าชายนิทรา ภาษาอังกฤษ เรียก Vegetative state อาการเจ้าชายนิทรา ภาวะผัก คือ อาการที่เกิดจากการที่สมองสูญเสียความสามารถในการรับรู้ ทำความเข้าใจและตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว เป็นอาการหลับ มีความรู้สึกตัว แต่ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า

อาการเจ้าชายนิทรา สามารถแบ่งระยะของโรคได้ 3 ระยะ คือ

  • ระยะแรก หรือ สภาวะผัก (Vegetative state) เป็นช่วงเวลาระยะสั้น เป็นช่วงเวลานาน 4 สัปดาห์
  • ระยะเรื้อรัง หรือ สภาวะผักเรื้อรัง (Persistent vegetative state) เป็นอาการเจ้าชายนิทราที่ระยะเวลานานไม่เกิน 1 ปี
  • ระยะถาวร หรือ สภาวะผักถาวร (Permanent vegetative state) เป็นอาการเจ้าชายนิทราที่มีระยะเวลานานกว่า 1 ปี

สาเหตุของอาการเจ้าหญิงหรือเจ้าชายนิทรา สาเหตุของภาวะผัก

สาเหตุของสภาวะผัก สามารถแยกสาเหตุของอาการเจ้าชายนิทราได้ 3 สาเหตุ คือ การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงกระทบกระเทือนต่อสมอง ความพิการแต่กำเนิดของสมอง และ ภาวะการติดเชื้อที่สมอง

การดูแลผู้ป่วยอาการเจ้าชายนิทรา

การดูแลผู้ป่วยอาการเจ้าชายนิทรา เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถช่วยตนเองได้ ต้องป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากอาการผู้ป่วยจะนอนหลับตลอดเวลา การดูแลต้องคอยพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง ป้องกันเกิดอาการแผลกดทับ การให้อาหารต้องให้อาหารทางสายยาง ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดป้องกันการสำลัก ต้องคอยดูดเสมหะ ทำกายภาพบำบัดฟื้นฟู คอยยืดข้อต่างๆ

มาถึงจุดนี้ อาการโคม่า และอาการเจ้าชายนิทรา เป็นอย่างไร เราได้รู้แล้ว เรามาแยกประเด็นความแตกต่างของอาการทั้งสอง ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ความเหมือนของอาการโคม่าและอาการเจ้าชายนิทรา คือ เป็นอาการที่เกิดจากอาการกระทบกระเทือนทางสมอง ทำให้เกิดอาการหลับ

ความแตกต่างของอาการโคม่าและอาการเจ้าชายนิทรา คือ โคม่าเป็นการหลับโดยไม่รู้สึกตัว แต่เจ้าชายนิทราเป็นอาการหลับแต่รู้สึกตัว สามารถเปิดตาได้ การดูแลผู้ป่วยโคม่าต้องดูแลอย่างใกล้ชิดกับแพทย์ที่โรงพยาบาล แต่เจ้าชายนิทราสามารถพาผุ้ป่วยกลับไปดูแลที่บ้านได้

โคม่า คือ ภาวะของผู้ป่วยที่ถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทำให้เกิดการหลับ ไม่รู้สึกตัว ปลุกไม่ตื่น ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทั้งหลายทั้งปวง เจ้าชายนิทรา ภาวะผัก คือ ภาวะสมองสูญเสียความสามารถในการรับรู้ มีอาการหลับ มีความรู้สึกตัว แต่ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า ผู้ป่วยอาการโคม่าถือว่ามีชีวิต ความแตกต่างระหว่าง โคม่า กับ เจ้าชายนิทรา อยู่โรคเกี่ยวกับระบบสมอง อาการโคม่าเป็นอย่างไร สาเหตุของอาการโคม่า การรักษาผู้ป่วยโคม่า การดูแลผู้ป่วยโคม่า อาการเจ้าชายนิทรา เกิดจากอะไร โค่ม่า และ เจ้าชายนิทรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove