เกลื้อน ติดเชื้อราที่ผิวหนัง อาการมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เกิดมากกับกลุ่มคนที่มีเหงื่อมาก เช่น คนใช้แรงงานกลางแจ้ง นักกีฬา คนที่ใส่เสื้อที่อับชื้น รักษาและป้องกันเกลื้อน โรคผิวหนัง ผิวหนังติดเชื้อรา เกิดผื่น

โรคเกลื้อน เป็นโรคที่พบมากในประเทศที่มีอากาศเย็น แต่มักมักพบโรคนี้ในฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาว สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศหญิงและเพศชาย พบในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว มากที่สุด สำหรับปัจจัยและสาเหตุของการเกิดโรค มีดังนี้

ปัจจัยของการเกิดโรคเกลื้อน

สำหรับปัจจัยการเกิดโรคเกลื้อน สามารถพบเห็นได้จากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • อายุ เนื่องจากอายุของคนวัยหนุ่มสาว สามารถขับเหงื่อได้มาก ทำให้มีโอกาสเกิดความอับชื้นของเสื้อผ้าได้ง่าย กว่าคนในวัยอื่นๆ หากการรักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้าไม่ดี ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคมากที่สุด
  • ลักษณะทางพันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีความมันของผิวหนังมากกว่าปรกติ สามารถทำให้เกิดปัจจัยความเสี่ยงการเกิดโรคเกลื้อนได้ง่ายกว่าปรกติ
  • ลักษณะการบริโภคที่ไม่สมดุลย์ หากมีการกินอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมันในร่างกายมาก ความมันของผิวหนังก็มีมากกว่าปรกติ ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อราได้ง่ายขึ้น
  • ลักษณะการทำงานที่ส่งผลให้มีเหงื่อออกมาก เช่น คนทำงานกลางแดด คนทำงานแบกหาม คนทำงานในโรงงาน คนที่ทำงานที่ต้องใส่แต่งเครื่องแบบที่ร้อนอบ และ นักกีฬา เป็นต้น
  • การใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยเอดส์
  • ภาวะความเครียด
  • ภาวะโลหิตจาง
  • เกิดภาวะวัณโรค
  • อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ภาวะโรคเบาหวาน

สาเหตุของการเกิดโรคเกลื้อน

การเกิดโรคเกลื้อนเกิดจากเชื้อรา ชื่อ “ มาลาสซีเซีย ” ( Malassezia spp. ) เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ที่ผิวหนังชั้นนอกของคน โดยปรกติแล้วเชื้อราชนิดนี้ไม่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเชื้อรานี้จะทำให้เกิดริ้วรอยบนผิวหนัง สามารถติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง แต่ก็ติดต่อยาก หากมีภาวะอื่นๆ ร่วมจะส่งเสริมให้เกิดโรคง่ายขึ้น เช่น ภาวะความเครียด ภาวะโลหิตจาง การเกิดโรควัณโรค การตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับบางคนที่มีเหงื่อออกมาก เชื้อราชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดี

อาการของโรคเกลื้อน

สำหรับอาการของโรคเกลื้อน จะเริ่มจากการมีรอยักษณะจุด มีขุย ต่อมารอยจะมีสีอ่อนลง และอาจมีสีเข้มขึ้นบริเวณผิวหนังโดยรอบ ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะมีขอบเขตที่ชัดเจน ผื่นจะไม่เข้มขึ้นหากโดนแสงแดด ผื่นที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นและหายไปได้เอง สรุปลักษณะของโรคเกลื้อน มีดังนี้

  • พื้นที่ที่เกิดผื่น จะเกิดขึ้นบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก เช่น หน้าอก หลัง ไหล่ ซอกคอ ลำคอ ต้นแขน หน้าท้อง เป็นต้น แต่พบมากบริเวณแผ่นหลังและหน้าอก
  • รูปร่าง ขนาด และ จำนวน เกลื้อน เป็นลักษณะผื่น กลม ๆ หรือ รูปวงรี ขนาดเล็กๆ ซึ่งผื่นมักจะขึ้นแยกจากกันเป็นดวง ๆ และอาจเชื่อมต่อกันได้จนเป็นแผ่นขนาดใหญ่
  • สีของผื่นจะมีสีที่แตกต่างกัน เช่น สีขาว สีชมพู หรือ สีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับสีของผิวหนังแต่ละคน
  • ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะมีลักษณะแบนราบและมีขอบเขตของผื่นที่ชัดเจน บริเวณที่เกิดผื่นผิวจะไม่เรียบและมีเกล็ดสีขาว น้ำตาล หรือแดงบนผิว

วิธีรักษาโรคเกลื้อน

สำหรับการรักษาโรคเกลื้อนนั้นการรักษาใช้ยาทารักษาเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับลักษณะความรุนแรงของการอาการ โดยการรักษามีรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับอาการผื่นที่ไม่มาก สามารถใช้ยาทารักษาโรคเชื้อราได้ โดยให้ทาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากอาบน้ำเสร็จ ทาติดต่อกันประมาณ 30 วัน
  • สำหรับอาการผื่นลักษณะกว้างที่หนังศรีษะ ให้ใช้ยาสระผมเซลซัน เป็นยาสะผมที่มีตัวยาซีลีเนียมซัลไฟด์ แต่ควรระวังเรื่องการแพ้ยา หากมีอาการบวม แดง คัน หรือ แสบร้อน ให้เลิกใช้ทันที
  • สำหรับอาหารผื่นที่เกิดมากและกินบริเวณกว้าง หรือ เกิดโรคเกลื้อน ชนิดเรื้อรัง แพทย์จะให้กินยา คีโตโคนาโซล ( Ketoconazole ) หรือ ไอทราโคนาโซล ( Itraconazole ) เนื่องจากอาการผื่นขนาดใหญ่การใช้ยาทาจะไม่สะดวก และใช้เวลานานในการรักษา การใช้ยากินช่วยให้รักษาได้เร็วกว่า

สมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคเกลื้อน

สำหรับสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคเกลื้อน มีสมุนไพรหลายชนิดสามารถรักษาโรคเกลื้อนได้ โดยแนะนำได้ เช่น กุ่มบก (Crateva adansonii subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs) ข่า (Alpinia galanga (L.) Willd. ) ชุมเห็ดเทศ (Senna alata (L.) Roxb.) มะคำดีควาย (Sapindus trifoliatus L.) ทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz) อัคคีทวาร (Rotheca serrata (L.) Steane & Mabb.) กระเทียม (Allium sativum Linn.)

การดูแลตนเองและป้องกันโรคเกลื้อนเพื่อไม่ให้กลับมาเกิดโรคซ้ำอีก

สำหรับการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดเกลื้อน มีคำแนะนำดัง ต่อไปนี้

  • ดูและความสะอาดเล็บมือเล็บเท้า โดยให้ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น และหมั่นล้างมือให้สะอาด
  • ต้องรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดเหงื่อไคลหมักหมม สะสมจนเกิดโรคเกลื้อน
  • ควรใช้เสื้อผ้าที่สะอาด รวมถึงผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ต้องไม่ให้ผ้าที่สัมผัสตัวเรามีเชื้อโรคหมักหมม
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่ม่ความหนา และ คับเกินไป
  • ควรใช้ชีวิตอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  • หลังจากการออกกำลังกาย หรือ การทำงานที่มีเหลื่อออกมาก ให้ทำความสะอาดและเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ ไม่ควรใส่เสื้อที่มีความชื้นสะสม
  • ในเด็กที่มีโรคเกลื้อน ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่ควรหายามารักษาเอง เนื่องจากยาของผุ้ใหญ่กับเด็กไม่ควรใช้ร่วมกัน

เกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเชื้อราที่ผิวหนัง ลักษณะอาการ คือ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เกิดมากกับกลุ่มคนที่มีเหงื่อมาก เช่น คนใช้แรงงานกลางแจ้ง นักกีฬา คนที่ใส่เสื้อที่อับชื้น ปัจจัย สาเหตุ วิธีการรักษา และ การป้องกันทำอย่างไร

โรคท้องมาน ภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไรโรคท้องมาน โรคท้องโต โรคท้องบวม โรคตับ

ความหมายของโรคท้องมาน จากพจนานุกรมราชบัณฑิตย์สถาน พ.ศ. 2542 ท้องมาน ท้องบวม หมายถึง ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง มีอาการให้ท้องโตเหมือนสตรีมีครรภ์ ภาวะที่เกิดมีน้ำคั่งในช่องท้องมากผิดปกติ จนเป็นสาเหตุให้ท้องขยายใหญ่โตขึ้น

ชนิดของโรคท้องมาน

โรคท้องมาน นั้นโดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) และ ascites neutrophil โดยแบ่งจากปริมาณน้ำในท้องและสาเหตุของการท้องโต รายละเอียด ดังนี้

  • Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) คำนวณจากอัตราส่วนของโปรตีนแอลบูมินในน้ำที่ขังนช่องท้อง เปรียบเทียบกับระดับของโปรตีนแอลบูมินในเลือด
  • ascites neutrophil มากกว่า 250 cells/ml หรือมากกว่า 50% บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง และหากสงสัยว่ามีมะเร็งหรือ pancreatic ascites ก็ควรส่งตรวจ cytology หรือ amylase ร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่มำให้เกิดโรคท้องมาน

การเกิดภาวะน้ำขังในช่องท้องนั้น สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ทั้งชนิด B และ C
  • การดื่มสุราบ่อย จนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โระมะเร็ง และ โรคไต
  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน

จากปัจจัยของการเกิดโรค เราจึงสามามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน ได้ดังนี้

  • โรคตับ ร้อยละ75 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมาน จะมีภาวะป่วยโรคตับแข็ง น้ำในช่องท้องมีผลมาจากความดันเลือดในตับสูงขึ้น ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคตับแข็ง มีภาวะโรคท้องมาน 10 ปี มีอาการท้องบวม เท้าบวม มีน้ำในช่องอก มีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • โรคมะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ หรือ เชื้อมะเร็งที่กระจายเข้าสู่ช่องท้อง เป็นต้น ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคท้องมาน เป็นโรคมะเร็ง
  • มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เป็นผุ้ป่วยโรคไต
  • ขาดสารอาหาร มีภาวะขาดแอลบูมิน เป็น โปรตีนจากไข่ขาว
  • เกิดภาวะการอักเสบที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค โรคภูมิแพ้
  • เกิดภาวะโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุรา หรือ การเกิดอุบัติเหตุกระทยที่ตับอ่อน
  • การอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ที่ตับ

อาการโรคท้องมาน

สำหรับความรุนแรงของโรคท้องมาน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เรียกว่า Grading of ascites โดยรายละเอียดดังนี้

  • ระดับที่ 1 ( Grade 1) มีอาการของโรคท้องมานเพียงเล็กน้อย สามารถตรวจพบได้โดยการอัลตร้าซาวน์
  • ระดับที่ 2 ( Grade 2) มีอาการของโรคปานกลาง การตรวจร่างกายประจำปี สามารถพบได้
  • ระดับที่ 3 ( Grade 3) มีอาการหนัก มีภาวะท้องตึงแน่น

ผู้ป่วยโรคท้องมาน สามารถสังเกตุอาการของโรคได้ โดยมีลักษณะของโรค ดังนี้

  • ท้องโต แน่นท้อง อาจทำให้หนังท้องปริและมีน้ำซึมออกมาได้ ในบางรายพบว่ามีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย
  • มีอาการเหนื่อยหอบและหายใจติดขัด
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • อาการของป่วยจากตับ เช่น ดีซ่าน นมโต ฝ่ามือแดง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยดรคแพทยืจะทำการ ตรวจร่างกาย และ สอบถามประวัติการเกิดโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ ดูดน้ำในช่องท้องออกมาตรวจ อัลตราซาวน์ช่วยในการเจาะดูดสารน้ำในช่องท้อง

การรักษาโรคท้องมาน

การรักษาโรคท้องมาน ต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรค ก่อนและรักษาที่สาเหตุของโรค โดยแนวทางการรักษาโรคท้องมาน การรักษาเพื่อลดระดับน้ำในท้องทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น ช่วยรักษาสมดุลของเกลือ และช่วยในการปรับละดับน้ำในร่างกายและหลอดเลือดมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาอาการท้องมานขึ้นกับโรคที่เป็นสาเหตุ
  • ถ้าเกิดจากโรคมะเร็งแพร่กระจาย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดและเคมีบำบัด
  • ปรับเรื่องการกินอาหาร ลดอาหารที่มีโซเดียม และ อาหารที่มีรสเค็ม
  • รักษาโรคตับ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคตับแข็ง ให้จำกัดปริมาณโซเดียมในร่างกาย
  • ให้ยาขับปัสสาวะ โดยขนาดของยาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการตอบสนอง แลเต้องให้ยาโดยหลีกเลี้ยงการปัสสาวะในเวลากลางคืน
  • เจาะช่องท้องเพื่อระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ถึง 5 ลิตรต่อครั้ง
  • ผ่าตัดเพื่อทำทางระบายน้ำในช่องท้อง
  • ผ่าตัดเปลี่ยนตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะรุนแรง หรือมีภาวะตับวาย

โรคท้องมาน ความผิดปรกติของร่างกายจากภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไร ท้องบวม โรคท้องโตผิดปรกติ

 


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove