เชื้อราในช่องคลอด ( Vaginal candidiasis ) ติดเชื้อรากลุ่มแคนดิดา ทำให้คันอวัยวะเพศและภายในช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ช่องคลอดบวมแดง แสบตอนฉี่ เจ็บตอนมีเซ็กซ์ เชื้อราในช่องคลอด โรคเชื้อราในช่องคลอด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ภาวะเชื้อราในช่องคลอด จัดเป็นโรค ที่พบได้บ่อยสำหรับผู้หญิง โรคนี้สามารถติดต่อได้ทางการมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อราในช่องคลอดมีกเกืดร่วมกับการติดเชื้อชนิดอื่นๆ อาทิ โรคเริม โรคเอดส์ เป็นต้น รวมถึงโรคเบาหวานก็เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดเชื้อราในช่องคลอด

สาเหตุของการติดเชื้อราในช่องคลอด

สาเหตุของการเกิดโรค คือ เชื้อราในกลุ่มแคนดิดา ( Candida) เป็นเชื้อราที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบ ซึ่งโดยปกติแล้วเชื้อที่อยู่ในช่องคลอดของสตรีนั้นไม่ทำให้เกิดโรค แต่หากเกิดภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ ก็จะทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนั้นแล้ว โรคเบาหวาน โรคเอดส์ ทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้

รวมถึงความอับชื้นที่อวัยวะเพศนานๆ ก็จะทำให้เชื้อราเกิดโรค เช่น การไม่เปลี่ยนผ้าอนามัย การใส่กางเกงยีนส์ที่คับๆ การอยู่ในที่ร้อนชื้นนานๆ การล้างช่องคลอดอย่างไม่ถูกต้อง ก็เป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องคลอด

สามารถสรุป ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดเชื้อราในช่องคลอด ประกอบด้วย

  • การตั้งครรภ์ ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น น้ำตาลกลูโคสในช่องคลอดก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี
  • ภาวะการเกิดโรคเบาหวาน
  • การได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ทำให้ขาดภาวะความสมดุลของเชื้อราในช่องคลอด
  • การกินยาสเตียรอยด์ ทำให้กดภูมิต้านทานโรค
  • ผู้ป่วยโรคเอดส์ มีภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง
  • การใช้กางเกงที่คับ อับ และ ชื้น นานๆ
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อราในช่องคลอด

อาการโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับผู้ป่วยโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นจะมีอาการที่แสดงออกอย่างชัดเจน คือ คันที่อวัยวะเพศ และ คันในช่องคลอด ตกขาวผิดปรกติ โดยมีลักษณะขาวข้น หรือ สีเหลืองนวล ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ผนังช่องคลอดบวมแดง ช่องคลอดเปื่อยยุ่ยเป็นขุย มีฝ้าขาวที่ช่องคลอด แสบเวลาปัสสาวะ เจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ สามารถสรุปอาการ ได้ดังนี้

  • คันอย่างรุนแรงที่ปากช่องคลอด
  • คันอย่างรุนแรงภายในช่องคลอด
  • เจ็บเวลาปัสสาวะ
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาวผิดปกติ มีลักษณะสีขาวข้น หรือ ขาวข้นจับตัวเป็นก้อน
  • ปากช่องคลอดบวมแดง
  • เกิดผื่นแดงที่ช่องคลอดทั้งภายในและภายนอก และผื่นแดงสามารถกระจายไปบริเวณหัวหน่าว อวัยวะเพศ หรือ ต้นขา ได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นมีภาวะการแทรกซ้อนของโรคอื่นๆไม่มาก แต่การเกิดโรคแทรกซ้อนจเกิดกับแผลถลอก ซึ่งมีดอกาสในการติดเชื้ออื่นๆได้อีก จนเกิดโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด

การวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอด

การวินิจฉัยโรค แพทย์จะวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอด โดยการซักประวัติการตกขาว ตรวจภายใน และ นำสารคัดหลั่งไปตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อตรวจดูเชื้อโรคที่เป็นสาเกตุของการเกิดโรค

การรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นแพทย์จะทำการรักษา 2 ลักษณะ คือ การรักษาด้วยการฆ่าเชื้อรา และ การรักษาสาเหตุของการเกิดโรคอื่นๆ เช่น รักษาเบาหวาน เป็นต้น โดยแนวทางการรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด มีดังนี้

  • รักษาด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อรา เป็นยาสอดทางช่องคลอด ในกลุ่ม imidazole derivatives หรือ ให้ยาชนิดรับประทานกลุ่ม Ketoconazole , Polyene antibiotics หรือ Itraconazole
  • ให้ใช้ยาทาเพื่อบรรเทาอาการคัน
  • รักษาโรคอื่นๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค เช่น โรคเบาหวาน

การป้องกันการเกิดโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอด นั้นเราต้องทราบสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรคก่อน ซึ่งเราจะสรุปแนวทางกการป้องกันการเกิดโรคเชื้อราในช่องคลอด มีดังนี้

  • ไม่สวมกางเกงที่รัดแน่น และ อับชื้น โดยไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่อับชื้นเป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
  • หลีกเลี้ยงการสวนล้างช่องคลอดโดยไม่จำเป็น
  • รับประทานอาหารประเภทโยเกิร์ต จะช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอด
  • ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
  • หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ในช่่วงมีประจำเดือน

โรคเชื้อราในช่องคลอด ( Vaginal candidiasis ) คือ ภาวะการติดเชื้อราที่ช่องคลอด เกิดจากเชื้อราในกลุ่มแคนดิดา ( Candida) ทำให้คันที่อวัยวะเพศและภายในช่องคลอด ตกขาวผิดปรกติ มีกลิ่นเหม็น ผนังช่องคลอดบวมแดง แสบเวลาปัสสาวะ เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุ อาการ การรักษาโรค และ การป้องกันทำอย่างไร

แผลริมอ่อน ( Chancroid ) ติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophillus ducreyi ที่อวัยวะเพศ ทำให้เกิดแผล มีหนองไหล เจ็บปวด เรียก ซิฟิลิสเทียม ติดต่อจากการมีเซ็กซ์ รักษาอย่างไรแผเริมอ่อน โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีแผลที่หำ

สาเหตุของการเกิดแผลริมอ่อน

แผลเริมอ่อน เกิดจากการติดเชื้อ คือ เชื้อแบคทีเรียฮีโมฟิลุสดูเครย์ เป็นเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ที่หนอง สามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง  ซึ่งมักจะเกิดจากการสัมผัสกันระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศ และ มีหนอง โดยเมื่อเชื้อโรคเจ้าสู่ร่างกายจะมีระยะเวลาในการฟักตัวของโรคภายใน 10 วัน จึงแสดงอาการ โดยหากเกิดโรคนี้แล้ว ร่างกายไม่สามารถรักษาให้หายเองได้

อาการของแผลริมอ่อน

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลเริมอ่อน นั้น แจะแสดงอาการที่อวัยวะเพศ โดยมีตุ่มนูน และเจ็บที่อวัยวะเพศ หากเป็นผู้หญิงจะมีแผลที่แคมเล็ก หากเป็นผู้ชายจะมีแผลที่ปลายอวัยวะเพศ มักจะมีหลายแผล ซึ่งในช่วงแรกแผลจะมีขนาดเล็ก ต่อมาขนาดของแผลจะใหญ่ขึ้น ลักษณะของแผล เป็นแผลเปื่อย แฉะและไม่สะอาด จะมีอาการเจ็บที่แผลมาก ต่อมาแผลจะทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบบวม ขาหนีบจะเป็นสีแดงคล้ำ และ บวม อาจแตกและมีหนอง ในผู้ป่วยบางราย จะมีิอาการ มีไข้ หนาวสั่น เบื่ออาหาร และปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ตกขาวมากผิดปรกติ และ ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หากปล่อยให้แผลลาม จะทำให้อวัยวะเพศผิดรูป ได้

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคแผลริมอ่อน

สำหรับโรคแผลเริมอ่อน ต้องระมัดระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนของแผลเริมอ่อน มีดังนี้

  • โรคเอดส์ การมีแผลเริมอ่อนทำให้สามารถติเชื้อเอดส์ได้ง่ายกว่าปรกติ
  • เกิดผังผืดที่อวัยวะเพศ ซึ่งพังผืดอาจทำให้เกิดอุปสรรค์ในการทำกิจกรรมทางเพศ
  • อาจเกิดภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตัน
  • อาจเกิดแผลเป็นที่ขาหนีบ

การรักษาโรคแผลริมอ่อน

สำหรับการรักษาโรคแผลเริมอ่อน นั้น ผู้ป่วยต้องรับยาปฏิชีวนะ ควบคู่ไปกับการดูและรักษาแผล โดยแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การรักษาแผลริมอ่อนด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งสามารถทำให้หายขาดได้ แต่ไม่สามารถใช้กับสตรีมีครรภ์ได้ ดังนั้นการรับยาปฏิชีวนะ ต้องเป็นยาที่ได้จากคำสั่งของพทย์เท่านั้น
  • การรักษาด้วยการดูแลแผล และดูแลตนเองในเบื้องต้น เช่น รักษาแผลด้วยการใช้น้ำเกลือล้าง และ ทำความสะอาดแผลให้แห้งอยู่เสมอ หากมีอาการปวดให้กินยาแก้ปวดบรรเทาอาการ และ งดการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่รักษาแผลอยู่
  • หากผู้ป่วยมีอาการขาหนีบโต จนเกิดหนอง ต้องรักษาด้วยการดูดหนองออก หรือ ผ่าฝีหนองออก

ป้องกันเกิดแผลริมอ่อน

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคแผลริมอ่อน นั้น ต้องป้องกันที่สาเหตุของการเกิดโรค คือ การมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย และ ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคทั้งหมด โดยแนวทางการป้องกันการเกิดโรคแผลเริมอ่อน มีดังนี้

  • การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ กับผู้ป่วยที่มีแผลเริมอ่อน
  • หากมีแผลที่อวัยวะเพศ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลที่อวัยวะเพศ
  • ไม่มีพฤติกรรมการชอบเปลี่ยนคู่นอน
  • ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคหากต้องมีเพศสัมพันธ์
  • หมั่นรักษาความสะอาดอวัยวะเพศ หลังการมีเพศสัมพันธ์เสมอ
  • ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

แผลริมอ่อน ( Chancroid ) ติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophillus ducreyi ที่อวัยวะเพศ ทำให้เกิดแผล มีหนองไหล เจ็บปวด เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคซิฟิลิสเทียม ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ แนวทางการรักษาโรคต้องทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove