มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder cancer มะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ อาการปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ที่เยื่อบุผนังของกระเพาะปัสสาวะ เกิดการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ จนเกิดเนื้องอก และ เป็นเนื้อมะเร็งในที่สุด สามารถลุกลามเข้าสู่อวัยวะอื่นๆได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด และตับ

ชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด ซึ่งการแบ่งชนิดของโรคนั้นแบ่งออกได้ตามลักษณะของเซลล์มะเร็ง โดยชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีรายละเอียด ดังนี้

  • Transitional cell carcinoma ( TCC ) พบมากที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเกิดมะเร็งชนิดนี้
  • Squamous cell carcinoma ( SCC ) พบว่าผู้ป่วยมะเร็งจากชนิดนี้ ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์รูปสี่เหลี่ยม ทำให้ระคายเคือง เช่น พยาธิใบไม้ในเลือด
  • Adenocarcinoma พบว่าผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ เกิดร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • Small cell carcinoma พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ Neuroendocrine cells
  • Sarcomas เป็นชนิดที่พบได้น้อยมาก โดยเกิดในเซลล์กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ยังไม่หาสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่พบว่ามีปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยรายละเอียดของปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรค มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่ หรือ การสูดดมควันบุหรี่
  • การได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น สารอะนิลีน ( Aniline ) สารไฮโดรคาร์บอน  ( Hydrocarbon ) เป็นสารเคมีใช้ในการย้อมผ้า และ ใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ยาง และ สายไฟ
  • การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือด ( Schistosomiasis ) พยาธิชนิดนี้จะวางไข่ฝังที่ผนังของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคืองแบบเรื้อรัง
  • การรับยาเคมีบำบัด เช่น ยา Cyclophosphamide
  • เป็นความผิดปรกของร่างกายจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีระยะของโรค 4 ระยะ คือ ระยะ 1-4 โดยแตกต่างกันที่ระดับความรุนแรงของโรค โดยรายละเอียดดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 1 เกิดมะเร็งบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 2 เนื้อมะเร็งบางส่วนลุกลามเข้าสู่กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 3 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ผนังกระเพาะปัสสาวะ และ เนื้อเยื่อรอบๆกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 4 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ตับ หรือ ปอด เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะแสดงอาการอย่างชัดเจนที่การปัสสาวะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนี้

  • ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด
  • ปัสสาวะมากผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย มีอาการแสบ หรือ ขัดตอนปัสสาวะ
  • มีอาการปวดหลัง
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมโต บริเวณขาหนีบ หรือ ไหปลาร้า
  • อาจมีอาการไอ หายใจลำบาก ปวดกระดูก

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการวินิจฉัยโรคนั้น หากผู้ป่วยมีอาการตามอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ตามที่กล่าวมาในข้างต้น เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ และ ลักษณะของอาการที่เกิดขึ้น จากนั้น ต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดย การตรวจร่างกายและตรวจชิ้นเนื้อ มีรายละเอียด ดังนี้

  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูปริมาณของเม็ดเลือดแดงและเซลล์มะเร็งที่ปะปนมากับปัสสาวะ
  • การส่องกล้องตรวจทางเดินปัสสาวะ เพื่อตรวจดูโครงสร้างภายในของกระเพาะปัสสาวะกับท่อปัสสาวะ เพื่อให้เห็นเนื้องอกได้อย่างชัดเจน
  • การตรวจชิ้นเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ การนำชื้นเนื้อต้องสงสัยไปตรวจ เพื่อดูว่าชิ้นเนื้อนั้นๆ เป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
  • การตรวจทางรังสีวิทยา โดยใช้การ เอกซเรย์ ซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ หรือ อัลตราซาวด์ ตรวจที่บริเวณช่องท้อง เพื่อดูตำแหน่งและขนาดของมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นั้น ต้องทำการรักษาโดยการกำจัดก้อนมะเร็ง บรรเทาอาการของโรค และ การรักษาโดย การใช้ เคมีบำบัด การให้ยาฆ่ามะเร็ง การรังสีบำบัด และ การผ่าตัด แต่การเลือกใช้วิธีการรักษาต้องอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ โดยรายละเอียดของการรักษามะเร็งกระเพาปัสสาวะ มีดังนี้

  • การรักษาด้วนเคมีบำบัด โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะผ่านทางสายสวน เพื่อรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้น อาจใช้การรักษาด้วยรังสีบำบัด ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
  • การให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง จะใช้หลังจากการตัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะออกไปแล้ว ให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำใหม่
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด วิธีนี้ทำเพื่อกำจัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะใกล้เคียง ซึ่งการผ่าตัดนั้นใช้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยส่องกล้องซึ่งผ่านทางท่อปัสสาวะ และ การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะผ่านทางช่องท้อง ซึ่งการผ่าตั้นนั้น แพทย์อาจต้องตัดกระเพาะปัสสาวะบางส่วนออก รวมถึงอวัยวะข้างเคียงออก เช่น ท่อไต ต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกราน ต่อมลูกหมาก ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ มดลูก รังไข่ และ ช่องคลอดบางส่วน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
  • การรักษาด้วยรังสีบำบัด วิธีการรังสีบำบัดนั้นจะทำหลังจากการผ่าตัด หรือ ใช้การเคมีบำบัดร่วม สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สร้างความลำบากต่อร่างกายแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้แย่ขึ้นไปอีก คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งก่อนการรักษาโรคและหลังการรักษาโรค โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วย

  • การเกิดโรคโลหิตจาง
  • เกิดความผิดปรกติเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือ ปัสสาวะไม่ออก
  • เกิดภาวะท่อปัสสาวะตีบตัน ทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือ ปัสสาวะยาก
  • เกิดกรวยไตคั่งปัสสาวะ
  • เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เกิดการลามของมะเร็ง จนเกิดมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด หรือ กระดูก เป็นต้น
  • ทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ทำให้เกิดวัยทองก่อนวัยอันควร

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนั้นยังไม่มีวิธีทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการปฏิบัติมีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ หรือ ไม่สูบบุหรี่ หรือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
  • ไม่เที่ยวสถานท่องเที่ยวกลางคืน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ การที่เราไม่สูบบุหรี่แต่การสูดดมควันบุรหรี่ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้ดื่มน้ำตามปรริมาณความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • หากมีอาการผิดปรกติที่ระบบขัยถ่าย เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ให้รีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Bladder cancer ) คือ มะเร็งเกิดที่กระเพาะปัสสาวะ ส่งผลต่อระบบการปัสสาวะ อาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะทำอย่างไร สาเหตุของการเกิดโรค การป้องกันการเกิดโรค

เชื้อราในช่องคลอด ( Vaginal candidiasis ) ติดเชื้อรากลุ่มแคนดิดา ทำให้คันอวัยวะเพศและภายในช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ช่องคลอดบวมแดง แสบตอนฉี่ เจ็บตอนมีเซ็กซ์ เชื้อราในช่องคลอด โรคเชื้อราในช่องคลอด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ภาวะเชื้อราในช่องคลอด จัดเป็นโรค ที่พบได้บ่อยสำหรับผู้หญิง โรคนี้สามารถติดต่อได้ทางการมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อราในช่องคลอดมีกเกืดร่วมกับการติดเชื้อชนิดอื่นๆ อาทิ โรคเริม โรคเอดส์ เป็นต้น รวมถึงโรคเบาหวานก็เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดเชื้อราในช่องคลอด

สาเหตุของการติดเชื้อราในช่องคลอด

สาเหตุของการเกิดโรค คือ เชื้อราในกลุ่มแคนดิดา ( Candida) เป็นเชื้อราที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบ ซึ่งโดยปกติแล้วเชื้อที่อยู่ในช่องคลอดของสตรีนั้นไม่ทำให้เกิดโรค แต่หากเกิดภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ ก็จะทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนั้นแล้ว โรคเบาหวาน โรคเอดส์ ทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้

รวมถึงความอับชื้นที่อวัยวะเพศนานๆ ก็จะทำให้เชื้อราเกิดโรค เช่น การไม่เปลี่ยนผ้าอนามัย การใส่กางเกงยีนส์ที่คับๆ การอยู่ในที่ร้อนชื้นนานๆ การล้างช่องคลอดอย่างไม่ถูกต้อง ก็เป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องคลอด

สามารถสรุป ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดเชื้อราในช่องคลอด ประกอบด้วย

  • การตั้งครรภ์ ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น น้ำตาลกลูโคสในช่องคลอดก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี
  • ภาวะการเกิดโรคเบาหวาน
  • การได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ทำให้ขาดภาวะความสมดุลของเชื้อราในช่องคลอด
  • การกินยาสเตียรอยด์ ทำให้กดภูมิต้านทานโรค
  • ผู้ป่วยโรคเอดส์ มีภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง
  • การใช้กางเกงที่คับ อับ และ ชื้น นานๆ
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อราในช่องคลอด

อาการโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับผู้ป่วยโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นจะมีอาการที่แสดงออกอย่างชัดเจน คือ คันที่อวัยวะเพศ และ คันในช่องคลอด ตกขาวผิดปรกติ โดยมีลักษณะขาวข้น หรือ สีเหลืองนวล ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ผนังช่องคลอดบวมแดง ช่องคลอดเปื่อยยุ่ยเป็นขุย มีฝ้าขาวที่ช่องคลอด แสบเวลาปัสสาวะ เจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ สามารถสรุปอาการ ได้ดังนี้

  • คันอย่างรุนแรงที่ปากช่องคลอด
  • คันอย่างรุนแรงภายในช่องคลอด
  • เจ็บเวลาปัสสาวะ
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาวผิดปกติ มีลักษณะสีขาวข้น หรือ ขาวข้นจับตัวเป็นก้อน
  • ปากช่องคลอดบวมแดง
  • เกิดผื่นแดงที่ช่องคลอดทั้งภายในและภายนอก และผื่นแดงสามารถกระจายไปบริเวณหัวหน่าว อวัยวะเพศ หรือ ต้นขา ได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นมีภาวะการแทรกซ้อนของโรคอื่นๆไม่มาก แต่การเกิดโรคแทรกซ้อนจเกิดกับแผลถลอก ซึ่งมีดอกาสในการติดเชื้ออื่นๆได้อีก จนเกิดโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด

การวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอด

การวินิจฉัยโรค แพทย์จะวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอด โดยการซักประวัติการตกขาว ตรวจภายใน และ นำสารคัดหลั่งไปตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อตรวจดูเชื้อโรคที่เป็นสาเกตุของการเกิดโรค

การรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นแพทย์จะทำการรักษา 2 ลักษณะ คือ การรักษาด้วยการฆ่าเชื้อรา และ การรักษาสาเหตุของการเกิดโรคอื่นๆ เช่น รักษาเบาหวาน เป็นต้น โดยแนวทางการรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด มีดังนี้

  • รักษาด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อรา เป็นยาสอดทางช่องคลอด ในกลุ่ม imidazole derivatives หรือ ให้ยาชนิดรับประทานกลุ่ม Ketoconazole , Polyene antibiotics หรือ Itraconazole
  • ให้ใช้ยาทาเพื่อบรรเทาอาการคัน
  • รักษาโรคอื่นๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค เช่น โรคเบาหวาน

การป้องกันการเกิดโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอด นั้นเราต้องทราบสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรคก่อน ซึ่งเราจะสรุปแนวทางกการป้องกันการเกิดโรคเชื้อราในช่องคลอด มีดังนี้

  • ไม่สวมกางเกงที่รัดแน่น และ อับชื้น โดยไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่อับชื้นเป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
  • หลีกเลี้ยงการสวนล้างช่องคลอดโดยไม่จำเป็น
  • รับประทานอาหารประเภทโยเกิร์ต จะช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอด
  • ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
  • หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ในช่่วงมีประจำเดือน

โรคเชื้อราในช่องคลอด ( Vaginal candidiasis ) คือ ภาวะการติดเชื้อราที่ช่องคลอด เกิดจากเชื้อราในกลุ่มแคนดิดา ( Candida) ทำให้คันที่อวัยวะเพศและภายในช่องคลอด ตกขาวผิดปรกติ มีกลิ่นเหม็น ผนังช่องคลอดบวมแดง แสบเวลาปัสสาวะ เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุ อาการ การรักษาโรค และ การป้องกันทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove