เชื้อราในช่องคลอด ( Vaginal candidiasis ) ติดเชื้อรากลุ่มแคนดิดา ทำให้คันอวัยวะเพศและภายในช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ช่องคลอดบวมแดง แสบตอนฉี่ เจ็บตอนมีเซ็กซ์ เชื้อราในช่องคลอด โรคเชื้อราในช่องคลอด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ภาวะเชื้อราในช่องคลอด จัดเป็นโรค ที่พบได้บ่อยสำหรับผู้หญิง โรคนี้สามารถติดต่อได้ทางการมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อราในช่องคลอดมีกเกืดร่วมกับการติดเชื้อชนิดอื่นๆ อาทิ โรคเริม โรคเอดส์ เป็นต้น รวมถึงโรคเบาหวานก็เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดเชื้อราในช่องคลอด

สาเหตุของการติดเชื้อราในช่องคลอด

สาเหตุของการเกิดโรค คือ เชื้อราในกลุ่มแคนดิดา ( Candida) เป็นเชื้อราที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบ ซึ่งโดยปกติแล้วเชื้อที่อยู่ในช่องคลอดของสตรีนั้นไม่ทำให้เกิดโรค แต่หากเกิดภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ ก็จะทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนั้นแล้ว โรคเบาหวาน โรคเอดส์ ทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้

รวมถึงความอับชื้นที่อวัยวะเพศนานๆ ก็จะทำให้เชื้อราเกิดโรค เช่น การไม่เปลี่ยนผ้าอนามัย การใส่กางเกงยีนส์ที่คับๆ การอยู่ในที่ร้อนชื้นนานๆ การล้างช่องคลอดอย่างไม่ถูกต้อง ก็เป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องคลอด

สามารถสรุป ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดเชื้อราในช่องคลอด ประกอบด้วย

  • การตั้งครรภ์ ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น น้ำตาลกลูโคสในช่องคลอดก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี
  • ภาวะการเกิดโรคเบาหวาน
  • การได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ทำให้ขาดภาวะความสมดุลของเชื้อราในช่องคลอด
  • การกินยาสเตียรอยด์ ทำให้กดภูมิต้านทานโรค
  • ผู้ป่วยโรคเอดส์ มีภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง
  • การใช้กางเกงที่คับ อับ และ ชื้น นานๆ
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อราในช่องคลอด

อาการโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับผู้ป่วยโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นจะมีอาการที่แสดงออกอย่างชัดเจน คือ คันที่อวัยวะเพศ และ คันในช่องคลอด ตกขาวผิดปรกติ โดยมีลักษณะขาวข้น หรือ สีเหลืองนวล ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ผนังช่องคลอดบวมแดง ช่องคลอดเปื่อยยุ่ยเป็นขุย มีฝ้าขาวที่ช่องคลอด แสบเวลาปัสสาวะ เจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ สามารถสรุปอาการ ได้ดังนี้

  • คันอย่างรุนแรงที่ปากช่องคลอด
  • คันอย่างรุนแรงภายในช่องคลอด
  • เจ็บเวลาปัสสาวะ
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาวผิดปกติ มีลักษณะสีขาวข้น หรือ ขาวข้นจับตัวเป็นก้อน
  • ปากช่องคลอดบวมแดง
  • เกิดผื่นแดงที่ช่องคลอดทั้งภายในและภายนอก และผื่นแดงสามารถกระจายไปบริเวณหัวหน่าว อวัยวะเพศ หรือ ต้นขา ได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นมีภาวะการแทรกซ้อนของโรคอื่นๆไม่มาก แต่การเกิดโรคแทรกซ้อนจเกิดกับแผลถลอก ซึ่งมีดอกาสในการติดเชื้ออื่นๆได้อีก จนเกิดโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด

การวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอด

การวินิจฉัยโรค แพทย์จะวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอด โดยการซักประวัติการตกขาว ตรวจภายใน และ นำสารคัดหลั่งไปตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อตรวจดูเชื้อโรคที่เป็นสาเกตุของการเกิดโรค

การรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นแพทย์จะทำการรักษา 2 ลักษณะ คือ การรักษาด้วยการฆ่าเชื้อรา และ การรักษาสาเหตุของการเกิดโรคอื่นๆ เช่น รักษาเบาหวาน เป็นต้น โดยแนวทางการรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด มีดังนี้

  • รักษาด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อรา เป็นยาสอดทางช่องคลอด ในกลุ่ม imidazole derivatives หรือ ให้ยาชนิดรับประทานกลุ่ม Ketoconazole , Polyene antibiotics หรือ Itraconazole
  • ให้ใช้ยาทาเพื่อบรรเทาอาการคัน
  • รักษาโรคอื่นๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค เช่น โรคเบาหวาน

การป้องกันการเกิดโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอด นั้นเราต้องทราบสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรคก่อน ซึ่งเราจะสรุปแนวทางกการป้องกันการเกิดโรคเชื้อราในช่องคลอด มีดังนี้

  • ไม่สวมกางเกงที่รัดแน่น และ อับชื้น โดยไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่อับชื้นเป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
  • หลีกเลี้ยงการสวนล้างช่องคลอดโดยไม่จำเป็น
  • รับประทานอาหารประเภทโยเกิร์ต จะช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอด
  • ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
  • หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ในช่่วงมีประจำเดือน

โรคเชื้อราในช่องคลอด ( Vaginal candidiasis ) คือ ภาวะการติดเชื้อราที่ช่องคลอด เกิดจากเชื้อราในกลุ่มแคนดิดา ( Candida) ทำให้คันที่อวัยวะเพศและภายในช่องคลอด ตกขาวผิดปรกติ มีกลิ่นเหม็น ผนังช่องคลอดบวมแดง แสบเวลาปัสสาวะ เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุ อาการ การรักษาโรค และ การป้องกันทำอย่างไร

หนองในเทียม ( Chlamydia infection ) ติดเชื้อแบคทีเรีย คลามัยเดีย ทราโคมาทิส ที่อวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้มีลูกยาก อาการมีหนองออกจากอวัยวะเพศ รักษาและป้องกันอย่างไร

โรคหนองในเทียม หนองในเทียม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อ

สาเหตุของหนองในเทียม

สาเหตุของการติดโรคหนองในเทียม เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนเป็นโรคหนองในเทียมอยู่แล้ว โดยไม่มีการป้องกันการเกิดโรค ซึ่งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคหนองในเทียม คือ เชื้อแบคทีเรียคลามัยเดียทราโคมาติส ( Chlamydia Trachomatis )  เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตและแพร่กระจายเชื้อโรคทาง เช่น อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือ ดวงตา โดยเชื้อโรคจะปะปนมมากับสารคัดหลั่งของมนุษย์ โรคนี้ยังสามารถแพร่จากแม่สู่ลูกได้ เป็นอันตรายสำหรับสตรมีครรภ์

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสในการติดโรคหนองในเทียม

สำหรับกลุ่มที่มีโอกาสในการเกิดโรคหนองในเทียม คือ กลุ่มวัยรุ่นที่มักไม่มีการป้องกันในการมีเพศสัมพันธ์ กลุ่่มคนที่นิยมเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ รวมถึงเด็กในครรภ์ที่มีแม่มีเชื้อโรคหนองในเทียมในร่างกายเป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคหนองในเทียม

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียม เชื้อโรคจะมีระยะในการฟักตัว ภายใน 7 – 21 วัน อาการที่พบของโรคโดยทั่วไป จะมีอาการติดเชื้อในลำคอ เจ็บคอเรื้อรัง หรือ ปวดรูตูด มีน้ำหรือเลือดไหลออกจากตูด เป็นอาการที่แสดงออกมาจากแหล่งที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หากเข้าทางปาก จะแสดงอาการที่คอ หากเชื้อโรคเข้าทางทวารหนัก ก็จะแสดงอาการทางทวารหนัก แต่อาการของโรคหนองในเทียมจะแสดงอาการแตกต่างกันในชายและหญิง ซึ่งรายละเอียดของการการของโรค มีดังนี้

อาการหนองในเทียมที่เกิดในผู้หญิง

  • มีอาการตกขาวผิดปกติ
  • ปัสสาวะขัดและมีอาการแสบ
  • ปวดท้องน้อย
  • ปวดหลัง
  • คลื่นไส้ อาเจีน
  • มีไข้
  • เลือดออกผิดปกติระหว่างรอบประจำเดือน

อาการหนองในเทียมที่เกิดในผู้ชาย

  • มีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากอวัยวะเพศ ลักษณะใสหรือขุ่นข้นๆ
  • ปวดแสบเวลาปัสสาวะ
  • ปัสสาวะขัด
  • คันบริเวณอวัยวะเพศ
  • ปวดอันฑะ
  • ลูกอัณฑะบวม

อาการแทรกซ้อนที่เกิดกับโรคหนองในเทียม

ความอันตรายหนึ่งของโรคหนองในเทียม คือ ภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งภาวะแทรกซ้อนนี้มีอาการแตกต่างกันในผู้ชายและผู้หญิง โดย รายละเอียด มีดังนี้

ภาวะแทรกซ้อนในเพศชาย

สำหรับโรคที่เกิดและมีสาเหตุของโรคจากการติดเชื้อหนองในเทียม คือ อัณฑะอักเสบ ติดเชื้อต่อมลูกหมาก ถ้าไม่ทำการรักษาอย่างทันทั่งทีทำให้เป็นหมันได้ โรคข้ออักเสบ โรคหนองในเทียม ทำให้ข้อกระดูกอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ตาอักเสบ เช่นเดียวกัน

ภาวะแทรกซ้อนในเพศหญิง

สำหรับโรคที่เกิดและเป็นสาเหตุมาจากการติดเชื้อหนองในเทียม คือ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นต้น

การรักษาโรคหนองในเทียม

สำหรับการรักษาโรคหนองในเทียมนั้น สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยให้กินยา Azithromycin ขนาด 1 กรัม ครั้งเดียว  หรือ กินยา Doxy cycline สองครั้ง ในเวลา 7 วัน คำแนะนำไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ต้องอยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น นอกจากนั้น ต้องรักษาอาการแทรกซ้อนของโรคด้วยตามอาการที่พบ สำหรับคนที่เคยมีประวัติการติดเชื้อหนองในเทียม ต้องเข้ารับการตรวจโรคซ้ำ 90 วันหลังจากรักษาโรคแล้ว

การป้องกันโรคหนองในเทียม

สำหรับสาเหตุหลักของการติดเชื้อโรคหนองในเทียม คือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองในเทียม โดยขาดการป้องกันที่ดี โดยการป้องกันการเกิดโรคหนองในเทียม มีรายละเอียดดังนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอน ที่ไม่ใช้คู่ของตน ต้องสวมถุงยางอนามันป้องกันทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการการเที่ยวกลางคืนและการหลับนอนกับคนที่เราไม่รู้จักโดยไม่มีการป้องกันโรค
  • การใช้ชิวิตร่วมกับผู้ป่วยโรคหนองในเทียม ต้องป้องกันการติดเชื้อ

โรคหนองในเทียม ( Chlamydia infection ) คือ โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย คลามัยเดีย ทราโคมาทิส ทำลายระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง ทำให้มีลูกยาก อาการของโรค คือ มีหนองไหลออกจากอวัยวะสืบพันธ์ การรักษาโรคหนองในเทียม และ การป้องกันโรคทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove