มะเร็งต่อมลูกหมาก Prostate Cancer พบในเพศชาย ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ อาการของโรค เช่น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด แนวทางการรักษาและป้องกันอย่างไรมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็ง โรคระบบขับถ่าย โรคระบบสืบพันธ์

ต่อมลูกหมาก ( prostate gland ) คือ อวัยวะหนึ่งของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะของเพศชาย ต่อมลูกหมากทำหน้าที่ผลิตน้ำหล่อลื่นที่อยู่ในน้ำอสุจิ ( semen ) ต่อมลูกหมากแบ่งเป็นสองซีก (lobe) และ มีท่อปัสสาวะ (urethra) อยู่ตรงกลาง

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) คือ ภาวะการเกิดเนื้องอก เนื้อร้าย ทีพบได้ในเพศชาย โรคนี้จะค่อยๆเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ที่ต่อมลูกหมาก ในบางรายมะเร็งมีความรุนแรง เซลล์มะเร็งจากต่อมลูกหมาก สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกายได้ โดยเฉพาะกระดูกและต่อมน้ำเหลือง โรคนี้ในระยะแรกไม่มีอาการ ระยะต่อมาอาจทำให้เกิดความเจ็บปวด ปัสสาวะลำบาก เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และ เสียชีวิตในที่สุด

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากพบในผุ้ชายอายุประมาณ 70 ปี  ในปัจจุบันสามารถตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้เร็วขึ้น จากการตรวจโดยใช้นิ้วคลำทางทวาร และ การตรวจเลือดหาสาร PSA ผู้ชายอายุประมาณ 45 – 50 ปี ที่มีประวัติญาติพี่น้องป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคนี้จากความรู้ทางการแพทย์ ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่พบว่าเกิดจากเซลล์ในต่อมลูกหมากผิดปกติ เจริญเติบโตรวดเร็วกว่าปกติ และก่อให้เกิดเนื้องอกลุกลามไปยังเนื้อเยื่อรอบข้าง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
สามารถสรุป ปัจจัยของการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • อายุ เพศชายคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น
  • พันธุกรรม ในคนที่มีประวัติญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมากกว่าคนอื่น
  • เชื้อชาติ จากสถิติการเกิดโรคชายในประเทศตะวันตกและยุโรป มีโอกาสเกิดโรคมากกว่าชายเอเชีย
  • การกินอาหาร สำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง และ รับประทานเนื้อแดง มีความเสี่ยงเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้

อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปรกติ แต่เมื่อมะเร็งเกิดขยายตัวขึ้นจนกดทับท่อปัสสาวะ ก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปรกติที่ระบบการปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย แสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด จนถึงปัสสาวะเป็นเลือดได้ ซึ่งอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถสังเกตุได้จาก อาการ ดังต่อไปนี้

  • ปัสสาวะผิดปรกติ เช่น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะแผ่วเบา ปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด
  • น้ำหนักตัวลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • มีอาการบวมตามร่างกายส่วนล่าง
  • ขาอ่อนล้า และ ขยับไม่ได้
  • มีอาการท้องผูก
  • เจ็บบริเวณเชิงกรานและหลังส่วนล่าง

ระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 4 โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 1 พบเกิดมะเร็งเฉพาะที่ต่อมลูกหมากเพียงกลีบเดียว ไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 2 พบว่ามะเร็งมีขนาดใหญ่ และพบมะเร็งเกิดทั้งสองกลีบของต่อมลูกหมาก ซึ่งในระยะนี้ยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 3 พบว่ามะเร็งแพร่กระจายสู่ผิวด้านนอกของต่อมลูกหมาก และ ลุกลามไปยังท่อน้ำเชื้อ
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 4 พบว่ามีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งสู่กระดูกและต่อมน้ำเหลือง

การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับการรักษามะเร็งที่ต่อมลูกหมาก แพทย์จะเลือกวิธีรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด และ การใช้ฮอร์โมน แพทย์จะเลือกใช้วิธีทั้งหมดในการรักษา โดยเลือกตามความเหมาะสม จากปัจจัยต่างๆ เช่น ตำแหน่ง ขนาด ระยะของเซลล์มะเร็ง และ สภาพร่างกายและจิตใจ ของผู้ป่วย รายละเอียดของการรักษา มีดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัด สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัด มี 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง ( laparoscopic radical prostatectomy) และ การผ่าตัดโดยใช้แขนกลช่วยผ่าตัด (robotic–assisted da Vinci surgery หรือ da Vinci® prostatectomy)
  • การฉายรังสี โดยการฝังแร่ที่ต่อมลูกหมาก และ ฉายรังสี
  • การทำเคมีบำบัด ปัจจุบันวิธีการรักษานี้ให้ผลการรักษาที่ดี ผลข้างเคียงน้อย
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน คืิอ การลดฮอร์โมนเพศชาย เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัด ซึ่งการลดฮอร์โมนเพศชาย ทำโดยการใช้ยาต้านฮอร์โมน หรือ ผ่าตัดเอาอัณฑะออก

การป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับแนวทางการปฏิบัติตน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีแนวทางการปฏิบัติตน ดังนี้

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรรับประทานผัก ผลไม้และธัญพืช แต่ยังไม่มีข้อมูลพิสูจน์ได้ว่า ช่วยป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นพื้นฐานการดูแลร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เมื่อถึงระยะอายุที่มีความเสี่ยง

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) คือ เนื้องอกชนิดหนึ่งพบในเพศชาย ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ มีปัจจัยจาก เพศ อายุ เชื้อชาติ และ การกินอาหาร อาการของโรค เช่น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด รักษาอย่างไร และ ป้องกันอย่างไร

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder cancer มะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ อาการปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ที่เยื่อบุผนังของกระเพาะปัสสาวะ เกิดการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ จนเกิดเนื้องอก และ เป็นเนื้อมะเร็งในที่สุด สามารถลุกลามเข้าสู่อวัยวะอื่นๆได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด และตับ

ชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด ซึ่งการแบ่งชนิดของโรคนั้นแบ่งออกได้ตามลักษณะของเซลล์มะเร็ง โดยชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีรายละเอียด ดังนี้

  • Transitional cell carcinoma ( TCC ) พบมากที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเกิดมะเร็งชนิดนี้
  • Squamous cell carcinoma ( SCC ) พบว่าผู้ป่วยมะเร็งจากชนิดนี้ ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์รูปสี่เหลี่ยม ทำให้ระคายเคือง เช่น พยาธิใบไม้ในเลือด
  • Adenocarcinoma พบว่าผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ เกิดร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • Small cell carcinoma พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ Neuroendocrine cells
  • Sarcomas เป็นชนิดที่พบได้น้อยมาก โดยเกิดในเซลล์กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ยังไม่หาสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่พบว่ามีปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยรายละเอียดของปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรค มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่ หรือ การสูดดมควันบุหรี่
  • การได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น สารอะนิลีน ( Aniline ) สารไฮโดรคาร์บอน  ( Hydrocarbon ) เป็นสารเคมีใช้ในการย้อมผ้า และ ใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ยาง และ สายไฟ
  • การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือด ( Schistosomiasis ) พยาธิชนิดนี้จะวางไข่ฝังที่ผนังของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคืองแบบเรื้อรัง
  • การรับยาเคมีบำบัด เช่น ยา Cyclophosphamide
  • เป็นความผิดปรกของร่างกายจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีระยะของโรค 4 ระยะ คือ ระยะ 1-4 โดยแตกต่างกันที่ระดับความรุนแรงของโรค โดยรายละเอียดดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 1 เกิดมะเร็งบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 2 เนื้อมะเร็งบางส่วนลุกลามเข้าสู่กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 3 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ผนังกระเพาะปัสสาวะ และ เนื้อเยื่อรอบๆกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 4 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ตับ หรือ ปอด เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะแสดงอาการอย่างชัดเจนที่การปัสสาวะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนี้

  • ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด
  • ปัสสาวะมากผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย มีอาการแสบ หรือ ขัดตอนปัสสาวะ
  • มีอาการปวดหลัง
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมโต บริเวณขาหนีบ หรือ ไหปลาร้า
  • อาจมีอาการไอ หายใจลำบาก ปวดกระดูก

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการวินิจฉัยโรคนั้น หากผู้ป่วยมีอาการตามอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ตามที่กล่าวมาในข้างต้น เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ และ ลักษณะของอาการที่เกิดขึ้น จากนั้น ต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดย การตรวจร่างกายและตรวจชิ้นเนื้อ มีรายละเอียด ดังนี้

  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูปริมาณของเม็ดเลือดแดงและเซลล์มะเร็งที่ปะปนมากับปัสสาวะ
  • การส่องกล้องตรวจทางเดินปัสสาวะ เพื่อตรวจดูโครงสร้างภายในของกระเพาะปัสสาวะกับท่อปัสสาวะ เพื่อให้เห็นเนื้องอกได้อย่างชัดเจน
  • การตรวจชิ้นเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ การนำชื้นเนื้อต้องสงสัยไปตรวจ เพื่อดูว่าชิ้นเนื้อนั้นๆ เป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
  • การตรวจทางรังสีวิทยา โดยใช้การ เอกซเรย์ ซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ หรือ อัลตราซาวด์ ตรวจที่บริเวณช่องท้อง เพื่อดูตำแหน่งและขนาดของมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นั้น ต้องทำการรักษาโดยการกำจัดก้อนมะเร็ง บรรเทาอาการของโรค และ การรักษาโดย การใช้ เคมีบำบัด การให้ยาฆ่ามะเร็ง การรังสีบำบัด และ การผ่าตัด แต่การเลือกใช้วิธีการรักษาต้องอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ โดยรายละเอียดของการรักษามะเร็งกระเพาปัสสาวะ มีดังนี้

  • การรักษาด้วนเคมีบำบัด โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะผ่านทางสายสวน เพื่อรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้น อาจใช้การรักษาด้วยรังสีบำบัด ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
  • การให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง จะใช้หลังจากการตัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะออกไปแล้ว ให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำใหม่
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด วิธีนี้ทำเพื่อกำจัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะใกล้เคียง ซึ่งการผ่าตัดนั้นใช้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยส่องกล้องซึ่งผ่านทางท่อปัสสาวะ และ การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะผ่านทางช่องท้อง ซึ่งการผ่าตั้นนั้น แพทย์อาจต้องตัดกระเพาะปัสสาวะบางส่วนออก รวมถึงอวัยวะข้างเคียงออก เช่น ท่อไต ต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกราน ต่อมลูกหมาก ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ มดลูก รังไข่ และ ช่องคลอดบางส่วน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
  • การรักษาด้วยรังสีบำบัด วิธีการรังสีบำบัดนั้นจะทำหลังจากการผ่าตัด หรือ ใช้การเคมีบำบัดร่วม สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สร้างความลำบากต่อร่างกายแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้แย่ขึ้นไปอีก คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งก่อนการรักษาโรคและหลังการรักษาโรค โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วย

  • การเกิดโรคโลหิตจาง
  • เกิดความผิดปรกติเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือ ปัสสาวะไม่ออก
  • เกิดภาวะท่อปัสสาวะตีบตัน ทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือ ปัสสาวะยาก
  • เกิดกรวยไตคั่งปัสสาวะ
  • เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เกิดการลามของมะเร็ง จนเกิดมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด หรือ กระดูก เป็นต้น
  • ทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ทำให้เกิดวัยทองก่อนวัยอันควร

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนั้นยังไม่มีวิธีทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการปฏิบัติมีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ หรือ ไม่สูบบุหรี่ หรือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
  • ไม่เที่ยวสถานท่องเที่ยวกลางคืน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ การที่เราไม่สูบบุหรี่แต่การสูดดมควันบุรหรี่ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้ดื่มน้ำตามปรริมาณความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • หากมีอาการผิดปรกติที่ระบบขัยถ่าย เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ให้รีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Bladder cancer ) คือ มะเร็งเกิดที่กระเพาะปัสสาวะ ส่งผลต่อระบบการปัสสาวะ อาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะทำอย่างไร สาเหตุของการเกิดโรค การป้องกันการเกิดโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove