แคนดิไดอะซิส ภาวะการติดเชื้อราแคนดิดาเป็นยีสต์ที่พบทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค

โรคแคนดิไดอะซิส โรคติดเชื้อ ติดเชื้อราที่ช่องปาก โรคติดต่อ

เชื้อชนิดนี้พบได้ตามเยื่อเมือกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร อวัยวะเพศหญิง ยีสต์กลุ่มนี้จะไม่ทำให้เกิดโรค แต่ความอับชื้นทำให้ ยีสต์ชนิดนี้มีความรุนแรงจนก่อให้เกิดเป็นโรค โรคแคนดิไดอะซิสพบได้บ่อยเกิดได้ทั่วโลก พบในทุกเพศ ทุกวัย และ พบทารกแรกเกิด และ ผู้สูงอายุ มากที่สุด จากรายงานของโรคพบว่า ร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อมักติดเชื้อที่คอหอย

สาเหตุของการติดเชื้อแคนดิไดอะซิส

โรคแคนดิไดอะซิสเกิดจากติดเชื้อราช่ือแคนดิดา เป็นเชื้อราที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ แต่เชื้อราเกิดการเจริญเติบโตรวดผิดปกติ จนเกิดภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ โดยมักเกิดกับอวัยวะที่มีความชื้นสูง เช่น ช่องคลอด ช่องปาก โรคนี้สามารถแพร่จากคนสู่คน จากการสัมผัสเชื้อโรค และ เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคแคนดิไดอะซิส ได้แก่ กลุ่มคนต่างๆเหล่านี้

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเอดส์ เด็กทารก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีอวัยวะเพศอับชื้น
  • กลุ่มคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สุขอนามัยไม่ดี
  • กลุ่มคนที่ใช้ยาบางประเภทอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาปฏิชีวนะ และ ยากลุ่มCorticosteroid
  • กลุ่มคนใส่ฟันปลอม

อาการของโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับอาการของโรคแคนดิไดอะซิส สามารถแบ่งอาการของโรค 3 ลักษณะ คือ การติดเชื้อเฉพาะที่ การติดเชื้อในกระแสเลือด และ การติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยรายละเอียดของโรคแคนดิไดอะซิส มีดังนี้

  • อาการติดเชื้อเฉพาะที่ จะติดเชื้อบริเวณอวัยวะที่มีเยื่อเมือก เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร ช่องคลอด อวัยวะเพศ โดยอาการของโรคจะแสดงอาการ คือ เกิดเนื้อเยื้อสีขาวข้น ผิวเรียบ เป็นมันเหมือนไขนม รอบๆของเนื้อเยื่อ จะมีลักษณะ แดง เจ็บ แสบ และ คัน  ซึ่งอาการอื่นๆที่พบ คือ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาการมักไม่รุนแรง รักษาให้หายได้
  • อาการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลืือด ซึ่งภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีความรุนแรง อันตรายทำให้เสียชีวิตได้ โดยพบว่ามีการติดเชื้อ ที่หัวใจ สมอง ตับ ไต ร่วมด้วย อาการตอดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะแสดงอาการ คือ มีไข้สูง  อ่อนเพลีย อวัยวะต่างๆอักเสบ ปวดตัว อาการเหล่านี้มักพบคนที่มีภูมิคุ้มต้านทานโรคต่ำ
  • อาการติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตผิดปรกติจนเกิดโรค อาการนี้ขึ้นกับภูมิต้านทานโรคของแต่ละบุคคล

การรักษาโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับแนวทางการรักษาโรคแคนดิไดอะซิส คือ การรักษาที่สาเหตุของการเกิดโรค เช่น การใช้ยาต้านเชื้อรา การหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงการประคับประครองอาการของโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยาต้านเชื้อรา ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และ อาจเป็นการใช้ยาทาเฉพาะที่ ยากิน หรือ ยาฉีด
  • สำหรับสาเหตุของโรคจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ให้ทำการหยุดการใช้ยาที่เป็นสาเหตุของโรค
  • การรักษาโรคด้วยการประคับประคองตามอาการ เช่น การใช้ยาแก้ปวด เพื่อลดอาการปวดจากอวัยวะอักเสบ

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับผู้ป่วนโรคแคนดิไดอะซิส ควรมีแนวทางการดูแลตนเอง ดังต่อไปนี้

  • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้อยู่ในสภาพที่ดี
  • ไม่ควรอยู่ในสถานที่เสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค

การป้องกันการติดเชื้อโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับการป้องกันโรคแคนดิไดอะซิส มีแนวทางการปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  • ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • รักษาความสะอาดของอวัยวะที่มีโอกาสติดเชื้อ เช่น อวัยวะเพศ ช่องปาก
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะ หรือ ยาสเตียรอยด์ เพื่อใช้เอง

โรคแคนดิไดอะซิส ( Candidiasis ) ภาวะการติดเชื้อแคนดิดา เป็นยีสต์ที่พบได้ทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค

ฮีสโตพลาสโมสิส Histoplasmosis ภาวะติดเชื้อรา Histoplasma capsulatum ในขี้นก ขี้ไก่ ขี้ค้างคาว อาการไอ หายใจลำบาก อ่อนแรง ต่อมน้ำเหลืองโต รักษาและป้องกันอย่างไรโรคฮีสโตพลาสโมสิส ติดเชื้อรา ปอดอักเสบ โรคติดเชื้อ

เชื้อราHistoplasma capsulatum พบได้ทั่วโลก เป็นเชื้อรานี้จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง เช่น ดินในถ้ำ เล้าไก่ กรงนก และ สวนสาธารณะ โดยพื้นที่ที่มีนกหรือค้างคาวถ่ายมูลไว้ โรคฮีสโตพลาสโมสิส สามารถโรคที่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่คนสามารถติดเชื้อจากการหาใจ และ การสัมผัสเชื้อโรค โรคมักพบในสัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข เป็นต้น

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงติเชื้อโรคฮีสโตพลาสโมสิส

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเกิดการติดเชื้อโรคฮีสโตพลาสโมสิส ประกอบด้วยกลุ่มคนต่างๆ ดังนี้

  • เกษตรกรกลุ่มกำจัดแมลง
  • เกษตรกลุ่มผู้เลี้ยงเป็ดไก่
  • ช่างก่อสร้าง
  • ช่างหลังคา
  • นักจัดสวน
  • นักสำรวจถ้ำ

สาเหตุของการติดเชื้อฮีสโตพลาสโมสิส

สาเหตุหลักของโรค คือ เชื้อรา Histoplasma capsulatum  เข้าสู่ร่างกาย ผ่านการสูดดม ซึ่งสาเหตุอื่นๆที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การท้องเสียจากการติดพยาธิปากขอ การขยายขนาดของตับ การขยายขนาดของม้าม และ การขยายขนาดของต่อมน้ำเหลือง

อาการของโรคฮีสโตพลาสโมสิส

โรคฮีสโตพลาสโมสิส มีตั้งแต่ระดับอ่อนโดยไม่แสดงอาการจนถึงระดับที่รุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้ อาการของโรคมักแสดงอาการใน 3 ถึง 17 วัน เริ่มจากการเป็นไข้ มีอาการหนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดตัว ไอแห้งๆ เจ็บหน้าอก และบางรายมีอาการปวดข้อและมีผื่นคัน ร่วมด้วย สำหรับอาการของโรคสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • มีอาการไอ
  • หายใจลำบาก
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ออกกำลังกายไม่ได้
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต
  • มีไข้สูง
  • เหงือกซีด
  • มีอาการดีซ่าน
  • ตับและม้ามมีการขยายตัว

อาการของโรคฮีสโตพลาสโมสิส จะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ อาการปอดอักเสบแบบเฉียบพลัน และ อาการปอดอักเสบแบบเรื้อรัง โดยส่วนมาก ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยติดเชื้อโรคฮีสโตพลาสโมสิส เกิดอาการปอดอักเสบแบบเฉียบพลัน

การรักษาโรคฮีสโตพลาสโมสิส

การรักษาโรคฮีสโตพลาสโมสิส ด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อ คือ Amphotericin B และ Itraconazole สำหรับระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและตำแหน่งของอาการติดเชื้อ

การป้องกันโรคฮีสโตพลาสโมสิส

สำหรับแนวทางป้องกันการติดเชื้อรา ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสในการติดเชื้อโรค เช่น ถ้ำ เล้าเป็ด เล้าไก่ สถานที่ที่มีนกหรือค้างคาว หมั่นรักษาความสะอาดเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรค

โรคฮีสโตพลาสโมสิส ( Histoplasmosis ) ภาวะติดเชื้อรา Histoplasma capsulatum เชื้อโรคอยู่ในขี้นก ขี้ไก่ ขี้ค้างคาว อาการของโรค เช่น การไอ หายใจลำบาก อ่อนแรง ต่อมน้ำเหลืองโต รักษาอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove