แคนดิไดอะซิส ภาวะการติดเชื้อราแคนดิดาเป็นยีสต์ที่พบทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค

โรคแคนดิไดอะซิส โรคติดเชื้อ ติดเชื้อราที่ช่องปาก โรคติดต่อ

เชื้อชนิดนี้พบได้ตามเยื่อเมือกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร อวัยวะเพศหญิง ยีสต์กลุ่มนี้จะไม่ทำให้เกิดโรค แต่ความอับชื้นทำให้ ยีสต์ชนิดนี้มีความรุนแรงจนก่อให้เกิดเป็นโรค โรคแคนดิไดอะซิสพบได้บ่อยเกิดได้ทั่วโลก พบในทุกเพศ ทุกวัย และ พบทารกแรกเกิด และ ผู้สูงอายุ มากที่สุด จากรายงานของโรคพบว่า ร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อมักติดเชื้อที่คอหอย

สาเหตุของการติดเชื้อแคนดิไดอะซิส

โรคแคนดิไดอะซิสเกิดจากติดเชื้อราช่ือแคนดิดา เป็นเชื้อราที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ แต่เชื้อราเกิดการเจริญเติบโตรวดผิดปกติ จนเกิดภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ โดยมักเกิดกับอวัยวะที่มีความชื้นสูง เช่น ช่องคลอด ช่องปาก โรคนี้สามารถแพร่จากคนสู่คน จากการสัมผัสเชื้อโรค และ เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคแคนดิไดอะซิส ได้แก่ กลุ่มคนต่างๆเหล่านี้

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเอดส์ เด็กทารก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีอวัยวะเพศอับชื้น
  • กลุ่มคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สุขอนามัยไม่ดี
  • กลุ่มคนที่ใช้ยาบางประเภทอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาปฏิชีวนะ และ ยากลุ่มCorticosteroid
  • กลุ่มคนใส่ฟันปลอม

อาการของโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับอาการของโรคแคนดิไดอะซิส สามารถแบ่งอาการของโรค 3 ลักษณะ คือ การติดเชื้อเฉพาะที่ การติดเชื้อในกระแสเลือด และ การติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยรายละเอียดของโรคแคนดิไดอะซิส มีดังนี้

  • อาการติดเชื้อเฉพาะที่ จะติดเชื้อบริเวณอวัยวะที่มีเยื่อเมือก เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร ช่องคลอด อวัยวะเพศ โดยอาการของโรคจะแสดงอาการ คือ เกิดเนื้อเยื้อสีขาวข้น ผิวเรียบ เป็นมันเหมือนไขนม รอบๆของเนื้อเยื่อ จะมีลักษณะ แดง เจ็บ แสบ และ คัน  ซึ่งอาการอื่นๆที่พบ คือ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาการมักไม่รุนแรง รักษาให้หายได้
  • อาการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลืือด ซึ่งภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีความรุนแรง อันตรายทำให้เสียชีวิตได้ โดยพบว่ามีการติดเชื้อ ที่หัวใจ สมอง ตับ ไต ร่วมด้วย อาการตอดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะแสดงอาการ คือ มีไข้สูง  อ่อนเพลีย อวัยวะต่างๆอักเสบ ปวดตัว อาการเหล่านี้มักพบคนที่มีภูมิคุ้มต้านทานโรคต่ำ
  • อาการติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตผิดปรกติจนเกิดโรค อาการนี้ขึ้นกับภูมิต้านทานโรคของแต่ละบุคคล

การรักษาโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับแนวทางการรักษาโรคแคนดิไดอะซิส คือ การรักษาที่สาเหตุของการเกิดโรค เช่น การใช้ยาต้านเชื้อรา การหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงการประคับประครองอาการของโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยาต้านเชื้อรา ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และ อาจเป็นการใช้ยาทาเฉพาะที่ ยากิน หรือ ยาฉีด
  • สำหรับสาเหตุของโรคจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ให้ทำการหยุดการใช้ยาที่เป็นสาเหตุของโรค
  • การรักษาโรคด้วยการประคับประคองตามอาการ เช่น การใช้ยาแก้ปวด เพื่อลดอาการปวดจากอวัยวะอักเสบ

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับผู้ป่วนโรคแคนดิไดอะซิส ควรมีแนวทางการดูแลตนเอง ดังต่อไปนี้

  • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้อยู่ในสภาพที่ดี
  • ไม่ควรอยู่ในสถานที่เสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค

การป้องกันการติดเชื้อโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับการป้องกันโรคแคนดิไดอะซิส มีแนวทางการปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  • ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • รักษาความสะอาดของอวัยวะที่มีโอกาสติดเชื้อ เช่น อวัยวะเพศ ช่องปาก
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะ หรือ ยาสเตียรอยด์ เพื่อใช้เอง

โรคแคนดิไดอะซิส ( Candidiasis ) ภาวะการติดเชื้อแคนดิดา เป็นยีสต์ที่พบได้ทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค

เกลื้อน ติดเชื้อราที่ผิวหนัง อาการมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เกิดมากกับกลุ่มคนที่มีเหงื่อมาก เช่น คนใช้แรงงานกลางแจ้ง นักกีฬา คนที่ใส่เสื้อที่อับชื้น รักษาและป้องกันเกลื้อน โรคผิวหนัง ผิวหนังติดเชื้อรา เกิดผื่น

โรคเกลื้อน เป็นโรคที่พบมากในประเทศที่มีอากาศเย็น แต่มักมักพบโรคนี้ในฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาว สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศหญิงและเพศชาย พบในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว มากที่สุด สำหรับปัจจัยและสาเหตุของการเกิดโรค มีดังนี้

ปัจจัยของการเกิดโรคเกลื้อน

สำหรับปัจจัยการเกิดโรคเกลื้อน สามารถพบเห็นได้จากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • อายุ เนื่องจากอายุของคนวัยหนุ่มสาว สามารถขับเหงื่อได้มาก ทำให้มีโอกาสเกิดความอับชื้นของเสื้อผ้าได้ง่าย กว่าคนในวัยอื่นๆ หากการรักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้าไม่ดี ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคมากที่สุด
  • ลักษณะทางพันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีความมันของผิวหนังมากกว่าปรกติ สามารถทำให้เกิดปัจจัยความเสี่ยงการเกิดโรคเกลื้อนได้ง่ายกว่าปรกติ
  • ลักษณะการบริโภคที่ไม่สมดุลย์ หากมีการกินอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมันในร่างกายมาก ความมันของผิวหนังก็มีมากกว่าปรกติ ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อราได้ง่ายขึ้น
  • ลักษณะการทำงานที่ส่งผลให้มีเหงื่อออกมาก เช่น คนทำงานกลางแดด คนทำงานแบกหาม คนทำงานในโรงงาน คนที่ทำงานที่ต้องใส่แต่งเครื่องแบบที่ร้อนอบ และ นักกีฬา เป็นต้น
  • การใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยเอดส์
  • ภาวะความเครียด
  • ภาวะโลหิตจาง
  • เกิดภาวะวัณโรค
  • อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ภาวะโรคเบาหวาน

สาเหตุของการเกิดโรคเกลื้อน

การเกิดโรคเกลื้อนเกิดจากเชื้อรา ชื่อ “ มาลาสซีเซีย ” ( Malassezia spp. ) เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ที่ผิวหนังชั้นนอกของคน โดยปรกติแล้วเชื้อราชนิดนี้ไม่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเชื้อรานี้จะทำให้เกิดริ้วรอยบนผิวหนัง สามารถติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง แต่ก็ติดต่อยาก หากมีภาวะอื่นๆ ร่วมจะส่งเสริมให้เกิดโรคง่ายขึ้น เช่น ภาวะความเครียด ภาวะโลหิตจาง การเกิดโรควัณโรค การตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับบางคนที่มีเหงื่อออกมาก เชื้อราชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดี

อาการของโรคเกลื้อน

สำหรับอาการของโรคเกลื้อน จะเริ่มจากการมีรอยักษณะจุด มีขุย ต่อมารอยจะมีสีอ่อนลง และอาจมีสีเข้มขึ้นบริเวณผิวหนังโดยรอบ ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะมีขอบเขตที่ชัดเจน ผื่นจะไม่เข้มขึ้นหากโดนแสงแดด ผื่นที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นและหายไปได้เอง สรุปลักษณะของโรคเกลื้อน มีดังนี้

  • พื้นที่ที่เกิดผื่น จะเกิดขึ้นบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก เช่น หน้าอก หลัง ไหล่ ซอกคอ ลำคอ ต้นแขน หน้าท้อง เป็นต้น แต่พบมากบริเวณแผ่นหลังและหน้าอก
  • รูปร่าง ขนาด และ จำนวน เกลื้อน เป็นลักษณะผื่น กลม ๆ หรือ รูปวงรี ขนาดเล็กๆ ซึ่งผื่นมักจะขึ้นแยกจากกันเป็นดวง ๆ และอาจเชื่อมต่อกันได้จนเป็นแผ่นขนาดใหญ่
  • สีของผื่นจะมีสีที่แตกต่างกัน เช่น สีขาว สีชมพู หรือ สีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับสีของผิวหนังแต่ละคน
  • ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะมีลักษณะแบนราบและมีขอบเขตของผื่นที่ชัดเจน บริเวณที่เกิดผื่นผิวจะไม่เรียบและมีเกล็ดสีขาว น้ำตาล หรือแดงบนผิว

วิธีรักษาโรคเกลื้อน

สำหรับการรักษาโรคเกลื้อนนั้นการรักษาใช้ยาทารักษาเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับลักษณะความรุนแรงของการอาการ โดยการรักษามีรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับอาการผื่นที่ไม่มาก สามารถใช้ยาทารักษาโรคเชื้อราได้ โดยให้ทาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากอาบน้ำเสร็จ ทาติดต่อกันประมาณ 30 วัน
  • สำหรับอาการผื่นลักษณะกว้างที่หนังศรีษะ ให้ใช้ยาสระผมเซลซัน เป็นยาสะผมที่มีตัวยาซีลีเนียมซัลไฟด์ แต่ควรระวังเรื่องการแพ้ยา หากมีอาการบวม แดง คัน หรือ แสบร้อน ให้เลิกใช้ทันที
  • สำหรับอาหารผื่นที่เกิดมากและกินบริเวณกว้าง หรือ เกิดโรคเกลื้อน ชนิดเรื้อรัง แพทย์จะให้กินยา คีโตโคนาโซล ( Ketoconazole ) หรือ ไอทราโคนาโซล ( Itraconazole ) เนื่องจากอาการผื่นขนาดใหญ่การใช้ยาทาจะไม่สะดวก และใช้เวลานานในการรักษา การใช้ยากินช่วยให้รักษาได้เร็วกว่า

สมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคเกลื้อน

สำหรับสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคเกลื้อน มีสมุนไพรหลายชนิดสามารถรักษาโรคเกลื้อนได้ โดยแนะนำได้ เช่น กุ่มบก (Crateva adansonii subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs) ข่า (Alpinia galanga (L.) Willd. ) ชุมเห็ดเทศ (Senna alata (L.) Roxb.) มะคำดีควาย (Sapindus trifoliatus L.) ทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz) อัคคีทวาร (Rotheca serrata (L.) Steane & Mabb.) กระเทียม (Allium sativum Linn.)

การดูแลตนเองและป้องกันโรคเกลื้อนเพื่อไม่ให้กลับมาเกิดโรคซ้ำอีก

สำหรับการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดเกลื้อน มีคำแนะนำดัง ต่อไปนี้

  • ดูและความสะอาดเล็บมือเล็บเท้า โดยให้ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น และหมั่นล้างมือให้สะอาด
  • ต้องรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดเหงื่อไคลหมักหมม สะสมจนเกิดโรคเกลื้อน
  • ควรใช้เสื้อผ้าที่สะอาด รวมถึงผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ต้องไม่ให้ผ้าที่สัมผัสตัวเรามีเชื้อโรคหมักหมม
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่ม่ความหนา และ คับเกินไป
  • ควรใช้ชีวิตอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  • หลังจากการออกกำลังกาย หรือ การทำงานที่มีเหลื่อออกมาก ให้ทำความสะอาดและเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ ไม่ควรใส่เสื้อที่มีความชื้นสะสม
  • ในเด็กที่มีโรคเกลื้อน ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่ควรหายามารักษาเอง เนื่องจากยาของผุ้ใหญ่กับเด็กไม่ควรใช้ร่วมกัน

เกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเชื้อราที่ผิวหนัง ลักษณะอาการ คือ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เกิดมากกับกลุ่มคนที่มีเหงื่อมาก เช่น คนใช้แรงงานกลางแจ้ง นักกีฬา คนที่ใส่เสื้อที่อับชื้น ปัจจัย สาเหตุ วิธีการรักษา และ การป้องกันทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove