พยาธิในช่องคลอด ภาวะติดเชื้อปรสิตที่ระบบสืบพันธ์ของสตรี อาการคันหี ช่องคลอดเหม็น ตกขาวเป็นสีเขียว ตกขาวมีฟอง ปวดเวลาฉี่ แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

ตกขาวสีเขียวมีฟอง พยาธิช่องคลอด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคพยาธิในช่องคลอด ( Trichomoniasis ) คือ โรคจากภาวะติดเชื้อโรคที่ระบบสืบพันธ์เพศหญิง เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย ซึ่งอาการที่สำคัญ คือ คันอวัยวะเพศ อวัยวะเพศมีกลิ่นเหม็น ตกขาวผิดปรกติ และ ปวดแสบเวลาปัสสาวะ สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทั้งเพศชายและเพศหญิง ส่วนมากเกิดกับสตรี โรคนี้สามารถกลับมาติดเชื้อซ้ำได้หลังจากรักษาหายแล้ว

สาเหตุของโรคพยาธิในช่องคลอด

โรคนี้เกิดจาก เชื้อโรคโปรโตซัว ชื่อ Trichomonas Vaginalis เป็นพยาธิที่สามารถพบในช่องคลอด หรือ น้ำอสุจิ เชืื้อโรคจะสามารถแพร่จากผู้ป่วยที่มีเชื้อสู่คนอื่นๆได้ จากการมีเพศสัมพันธ์ ซี่งเชื้อโรคจะทำให้เกิดความผิดปรกติที่ระบบสืบพันธ์ ทั้งในช่องคลอดและท่อปัสสาวะ โดยกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงการเกิดโรค มีดังนี้

  • กลุ่มคนที่อายุเกิน 40 ปี
  • กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมชอบมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช้สามีหรือภรรยาของตนเอง
  • กลุ่มคนที่ไม่สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  • กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับบริการทางเพศต่างๆ

อาการของผู้ป่วยโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับคที่ติดพยาธิในช่องคลอด ในระยะแรกของการติดเชื้อ 30 วันแรก ไม่แสดงอาการ แต่หลังจากนั้น ผู้ป่วยจะแสดงอาการผิดปรกติต่างๆ ดังนี้

  • ตกขาวมากผิดปกติ
  • ตกขาวเป็นฟอง ซึ่งตกขาวมีสีต่างๆ เช่น สีขาว สีเทา สีเหลือง หรือ สีเขียว
  • ตกขาวมีมีกลิ่นเหม็นคาวปลา
  • เลือดออกจากช่องคลอด
  • อวัยวะเพศบวม แดง
  • คันที่อวัยวะเพศ
  • ปัสสาวะบ่อยผิดปรกติ
  • ปวดเวลาปัสสาวะ
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์

การตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับการวินิจฉัยโรค เมื่อเกิดอาการผิดปรกติที่ช่องคลอด แพทย์จะทำการวินิจฉัย จากการซักประวัติ และ สังเกตุอาการต่างๆ จากนั้นตรวจร่างกายเบื้องต้น เพื่อการโรคต่างๆ เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบ โรคหูด โรคเริม หนองใน เป็นต้น และ ทำการตรวจภายใน เก็บตัวอย่างน้ำเมือกจากการตกขาว เพื่อตรวจหาพยาธิ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้อง

การรักษาโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ใช้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเป็นหลัก และ การดูแลตนเอง ไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ โดยแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • ให้ยา เมโทรนิดาโซล หรือ ทินิดาโซล ให้รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • ช่วงการรักษาห้ามดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
  • ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการรักษา
  • สำหรับหญิงมีครรภ์ หรือ อยู่ในระหว่าการให้นมบุตร ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาทุกชนิด

การป้องกันโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับการป้องกันโรคพยาธิในช่องคลอด โรคนี้สาเหตุจากการติดเชื้อโรคจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโรค ดังนั้นการป้องกันโรคต้องป้องกันที่สาเหตุของการเกิดโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่มีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอน
  • สวมถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคจากการมีเพศสัมพันธ์
  • หากมีอาการผิดปรกติจากการตกขาว หรือ ปัวสาวะแสบ ให้ปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

พยาธิในช่องคลอด การติดเชื้อปรสิตที่ระบบสืบพันธ์ มีอาการคันหี ช่องคลอดเหม็น ตกขาวเป็นสีเขียว ตกขาวมีฟอง และ ปวดเวลาฉี่ โรคนี้รักษาอย่างไร และ การป้องกันต้องทำอะไรบ้าง

ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม เกิดจากปอดติดเชื้อ อาการอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย รักษาและป้องกันอย่างไร
ปอดบวม ปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ

โรคปอดอักเสบ ( pneumonitis ) ภาวะการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจในส่วนของปอด โรคนี้พบบ่อย ในเด็ก คนแก่ และ คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ สำหรับกลุ่มเสี่ยง สามารถป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้

สาเหตุของโรคปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบ สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุ คือ ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ และ ปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เกิดจากการรับเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ปอด จนเกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อปอด ซึ่งอาการของโรคแตกต่างกันตามสภาพร่างกายของผู้ติดเชื้อ
  • ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยลักษณะของการเกิดกระแทกที่ปอดอย่างรุนแรง หรือ การระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจนานๆ นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะ อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคปอดอักเสบ

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคปอดอักเสบ มีรายละเอียด ดังนี้

  • คนอายุน้อยที่อายุต่ำกว่า 2 ปี
  • กลุ่มคนอายุมากกว่า 65 ปี
  • กลุ่มผู้ป่วยหนักที่เข้ารับการรักษาในห้องไอซียู
  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์  คนที่ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • กลุ่มคนสูบบุหรี่

ปอดอักเสบในผู้สูงอายุ

สำหรับการติดเชื้อที่ปอดของผู้สูงอายุ เกิดจากการเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือ เชื้อรา โดยการรับเชื้อโรคเกิดจากการหายใจเข้าสู้ระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการต่อเนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่

ปอดอักเสบในเด็ก

ภาวะปอดอักเสบในเด็ก เกิดจากสาเหตุทั้ง การติดเชื้อโรคและการไม่ติดเชื้อโรค เนื่องจากเด็กภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้โอกาสการติดเชื้อโรคง่ายขึ้น

อาการของโรคปอดอักเสบ

สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อโรคและไม่ติดเชื้อโรคนั้น มีการแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ แสดงอาการ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการไอและมีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอกเวลาไอ
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว และหายใจหอบ
  • มีไข้สูง มีเหงื่อออก และมีอาการหนาวสั่น
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • มีอาการซึม

การรักษาโรคปอดอักเสบ

สำหรับการรักษาโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการรักษาโรคโดยการใช้ยารักษาโรค การรักษาด้วยการประคับประคองโรค และ การรักษาภาวะแทรกซ้อน ของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคปอดอักเสบ มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับผู้ป่วยในกรณีติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาในปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลาย ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดการดื้นยา
  • การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ สามารถใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น การให้ยาลดไข้ การใช้ยาขยายหลอดลม การให้ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
  • การรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัว เช่น การติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาการฝีในปอด ภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ผู้ป่วยบางรายมีความรุนแรงของโรคมาก ส่งผลต่อการเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การป้องกันโรคปอดอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการปฏิบัติตน ต่อไปนี้

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค การฉีดวัคซีนที่ให้อัตราการเกิดโรคปอดอักเสบลดลง วัคซีนที่ป้องกันโรคปอดอักเสบ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารทที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • รักษาสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม ให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค

โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อปอด เกิดจากการติดเชื้อโรค บางครั้งอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการของปอดบวม ไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย การรักษาโรค และ การป้องกันโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove