มือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร Enterovirus พบบ่อยเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว มีตุ่มเล็กๆบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในปาก หายได้เอง

โรคมือเท้าปาก โรคติดต่อ โรคเด็ก โรคติดเชื้อ

โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย หรือ โรคมือเท้าปาก คือ โรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เกิดบ่อยในช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ลักษณะอาการของโรคส่วนใหญ่ ไม่มีมีอาการรุนแรง โดยลักษณะอาการ คือ มีไข้ และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และ ในปาก สามารถหายได้เอง แต่ประมาทไม่ได้หากเกิดอาการติดเชื้อขึ้นสมองและมีอาการสมองอักเสบร่วมด้วย จะเป็นอันตรายอาการรุนแรง ทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก หรือ โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ค็อกแซคกีเอและบี ( Coxsackie A , B ), ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 ( Enterovirus 71 – EV71 ) , ไวรัสเอ็คโคไวรัส ( Echovirus )  แต่ไวรัสที่พบว่าเป็นสาเหตุการติดเชื้อมากที่สุด คือ ไวรัสค็อกแซคกีเอชนิด 16  (Coxsackievirus A 16 ) อาการมักจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถหายได้เอง แต่หากติดเชื้อจาก ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 อาการจะหนัก และหากเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

สำหรับช่องทางการติดเชื้อไวรัสสู่ร่างกายมนุษย์เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจาก จมูก ลำคอ ละอองน้ำมูกน้ำลาย หรือ น้ำเหลือง ของผู้มีเชื้อโรค การดูดเลียนิ้วมือ รวมถึงจากการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยสถานที่ที่มักมีการระบาดของโรค เช่น โรงเรียนอนุบาล และ สถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น

ระยะของการเกิดโรคมือเท้าปาก

สำหรับระยะการเกิดโรคมี 2 ระยะ คือ ระยะฟักตัวของโรค และ ระยะเกิดซ้ำ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ระยะฟักตัวของโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 7 วัน ผู้ป่วยจึงจะแสดงอาการ
  • ระยะการเป็นซ้ำ โรคนี้สามารถเกิดซ้ำได้ หากเชื้อไวรัสเป็นคนละสายพันธุ์ กับที่เคยเกิด

อาการของโรคปากเท้าเปื่อย

โรคมือเท้าปากมีระยะฟักตัวของโรคภายใน 7 วัน หลังจากเชื้อโรคฟักตัวผู้ป่วยจะมีอาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว แต่อาการป่วยสามารถหายได้เองได้ภายใน 14 วัน จะเห็นแผลแดงเล็กๆตามปาก ลักษณะเป็นตุ่มน้ำ โรคมือเท้าปาก ต้องระวังการเกิดแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อน ที่ควรสังเกตุ มีดังนี้

  • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
  • บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว
  • มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ
  • ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
  • มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง
  • มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้

แนวทางการรักษาโรคมือเท้าปาก

สำหรับโรคมือเท้าปากปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเฉพาะทาง ซึ่งการรักษาโรคนั้นสามารถทำได้โดยการประคับประครองรักษาตามอาการของโรค และ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้มากๆ และ หากเกิดอาการอ่อนเพลียมากๆเกิดไปให้ไปรับน้ำเกลือที่โรงพยาบาลหรือทานเกลือแร่เสริม

การป้องกันโรคมือเท้าปาก

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อโรค สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันการเกิดโรค คือ การรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อมที่ดี  ลดการเกิดเชื้อโรคในภาวะรอบตัว แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • ควรล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน
  • รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และ ปรุงใหม่ๆ
  • ไม่ใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ และ ขวดนม
  • สำหรับผู้ดูแลเด็ก เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว
  • ทำความสะอาดเสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมให้สะอาด

โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) พบบ่อยเด็ก ลักษณะอาการ คือ มีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก สามารถหายได้เอง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ปอดบวม ภาวะปอดอักเสบจากติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส รา อาการปอดมีหนอง และ มีน้ำอยู่ในถุงลม ทำให้ร่างกายขาดอ๊อคซิเจน อาจทำให้เสียชีวิตได้ สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย

โรคปอดบวม ปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ

สาเหตุของโรคปอดบวม

โรคปอดบวม ( Pneumonia ) เกิดจากเชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือพยาธิ เชื้อที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคปอดบวมมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถแพร่กระจาย ได้โดยการไอหรือจาม  นอกจากเชื้อโรคบางตัวแล้ว พบว่ามีสารเคมี เช่น ไนโตรเจน แอมโมเนีย ไดออกไซด์ การติดเชื้อโรคที่คอ สามารถทำให้เกิดโรคปอดบวมได้ แต่ถ้าร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี ก็จะช่วยได้ การสำลัก น้ำลาย หรือ เศษอาหาร ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการทำให้ปอดติดเชื้อ ในบางกรณีอาจได้จากการ ใช้ แก้วน้ำหรือผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้ป่วย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม

สำหรับ ในกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดบวม ได้แก่

  • อายุ ในเด็กเล็กๆและในผู้สูงอายุ เพราะร่างกายมีความบกพร่องในการป้องกันและกำจัดเชื้อโรค
  • การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และ/หรือรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยารักษาโรคมะ เร็ง (ยาเคมีบำบัด) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค และการกำจัดเชื้อโรค
  • การมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฟันผุ และเหงือกเป็นหนอง โรคไตเรื้อรัง ฯลฯ
  • การไม่รักษาสุขภาพและอนามัย เช่น การขาดอาหาร สุขภาพทรุดโทรม อยู่อาศัยในสถานที่ที่ไม่มีการถ่ายเทอากาศที่ดีพอ ในที่ที่มีมลภาวะที่ต้องหายใจและสูดมลภาวะเข้าไปในปอด

อาการของโรคปอดบวม

ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น เวลาหายใจจะหอบและเหนื่อย เจ็บหน้าอก อาการไอของผู้ป่วยโรคปอดบวมในระยะแรก จะไอแบบแห้งๆ ต่อมาก็จะมีเสมหะเพิ่มมากขึ้น และเสมหะจะเหนียว อาการของปอดบวม ผู้ป่วยจะมีอาการไอ มักมีเสมหะ มีไข้ เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย อา การเหล่านี้อาจมีไม่ครบทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็กเล็กๆ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยทุพพลภาพที่ไม่สามารถช่วยตัวเองและสื่อสารได้จำกัด ควรให้ความสนใจและสงสัยมากกว่าปกติ เนื่องจากอาการอาจไม่ชัดเจน เช่น ในผู้สูงอายุ อาจจะมีเพียงมีไข้ หรือตัวอุ่นๆและซึมลงเท่า นั้น อาจจะไอเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะไม่ไอให้เห็นก็ได้ เนื่องจากมีความจำกัดในการเคลื่อน ไหว หรือกล้ามเนื้อไม่มีแรงพอที่จะไอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เราสามารถตรวจสอบว่าเราเป็นโรคปอดบวมได้ โดยสังเกตุอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น การตรวจเลือด การเอ็กสเรย์ปอด

การรักษาโรคปอดบวม

โรคปอดบวมส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็ก การรักษาต้องให้เด็กดื่มน้ำมากๆ ทานยาตามที่หมอสั่ง  ต้องคอยสังเกตุที่ริมฝีปาก หากพบว่าริมฝีปากคล้ำให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน แพทย์จะรักษาโดย การให้อ๊อคซิเจน ให้ยาปฏิชีวนะ ให้น้ำเกลือ วัคซีนที่สามารถป้องกันโรคปอดบวมได้ เช่น H.influenza, Pertussis, Pneumococcal

  • การให้ยาปฏิชีวนะ หากในรายที่เป็นไม่มากและไม่มีอาการแทรกซ้อนอาจให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกด้วยยาชนิดรับประทาน กรณีนอกจากนี้การรักษาควรให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดแบบผู้ป่วยใน
  • การรักษาประคับประคองตามอาการทั่วๆไปเช่น การให้ยาลดไข้ การให้สารน้ำทางหลอดเลือด การให้ออกซิเจน การให้อาหารเหลวทางสายให้อาหารลงกระเพาะอาหารในรายที่รับประทานอาหารเองไม่เพียงพอ ฯลฯ
  • การรักษาอาการแทรกซ้อนเช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจในรายที่เหนื่อยและหายใจเองไม่เพียงพอ การให้ยาเพิ่มความดันโลหิตหากมีความดันโลหิตลดต่ำลง ฯลฯ

การป้องกันโรคปอดบวม

สมารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน และดูแลสุขอนามัยให้สะอาดถูกหลักอนามัย สามารถป้องกันได้ดังนี้

  • รักษาสุขภาพและอนามัยให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอเช่น การรับประทานอาหาร พักผ่อน ออกกำลังกาย ให้เหมาะสมกับสภาพและวัยของท่าน (รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน/สุขบัญญัติแห่ง ชาติ)
  • การงดและเลิก บุหรี่ สุรา และยาเสพติด
  • หากท่านมีโรคประจำตัวอยู่ ให้รักษาตามแผนและคำแนะนำของการรักษาโรคนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ควรจะเป็นอยู่แล้ว
  • การป้องกันการรับเชื้อโดยการปิดปากและจมูกเมื่อต้องสัมผัสผู้ป่วยที่ไอ หรือจาม และผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือจาม ควรป้องกันการแพร่กระจายฝอยละอองไปยังผู้อื่น ด้วยการปิดปากและจมูกด้วยกระดาษหรือผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัย
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้ได้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง/ยาเคมีบำบัด ฯลฯ ควรพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำปีทุกปี

โรคปอดบวม ภาวะปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือ พยาธิ อาการปอดบวม ปอดจะมีหนอง และ มีน้ำอยู่ในถุงลม ส่งผลให้ร่างกายขาดอ๊อคซิเจน อาจทำให้เสียชีวิตได้ สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove