น้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต โรคเท้านักกีฬา ( Athlete’s foot ) การติดเชื้อราที่ผิวบริเวณเท้า เกิดได้ในทุกคน อาการรอยแดง คันง่ามเท้า เกิดแผลที่เท้า การรักษาอย่างไรน้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต ติดเชื้อที่ผิวหนัง

โรคน้ำกัดเท้า หรือ โรคฮ่องกงฟุต ( Athlete’s foot หรือ Hong Kong foot) เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดียวกับโรคขี้กลาก คือ เชื้อราสายพันธุ์ Dermatophytes เป็นเชื้อราที่เจริญเติบโตได้ดี ในที่อับชื้น เช่น รองเท้าที่มีน้ำขัง พื้นห้องน้ำ เชื้อราชนิดนี้ มักจะอยู่ใน รองเท้า ถุงเท้า ผ้าเช็ดตัว พบบ่อยในผู้ชาย โดยเฉพาะวัยรุ่น โรคน้ำกัดเท้าพบบ่อยในนักกีฬา ที่มีรองเท้าเปียกชื้น เราเรียกโรคนี้ว่า โรคเท้านักกีฬา

สาเหตุของการเกิดโรคน้ำกัดเท้า

โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากการติดเชื้อราสายพันธุ์ Dermatophytes ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดเดียวที่ทำให้เกิดโรคกลาก แต่เป็นการติดเชื้อราที่ผิวหนังบริเวณเท้า โดยมักเกิดที่ง่ามเท้า เชื้อราชนิดนี้ เจริญเติบโตได้ดีในที่อับชื้น ร้องเท้า ถุงเท้า และ ผ้าเช็ดตัว เชื้อราทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง อักเสบ และ เกิดแผล และ แผลที่เกิดขึ้นรักษาไม่หายสักที จะเกิดปัญหาเรื่องการเดิน

กลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคน้ำกันเท้า

สำหรับกลุ่มคนที่ต่างๆเหล่านี้ คือ กลุ่มคนที่ีมีโอกาสในการเกิดโรคน้ำกัดเท้ามากที่สุด มีดังนี้

  • คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคน้ำกัดเท้าง่าง กรรมพันธุ์ก็เป็นโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค
  • คนที่มีภาวะภูมิแพ้ที่ผิวหนังง่าย
  • กลุ่มคนที่มีระบบภูมิต้านทานโรคต่ำ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ ผู้ป่วยที่มีระบบไหลเวียนของโลหิตไม่ดี โดยเฉพาะเลือดส่วนขา

อาการของผู้ป่วยโรคน้ำกัดเท้า

สำหรับอาการที่แสดงออกของโรคน้ำกัดเท้า จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนที่ง่ามเท้า ผิวหนังส่วนที่ติดเชื้อจะมีอาการผิวแห้ง ตกสะ เก็ด มีรอยแตกเป็นร่องแผลสด มีอาการบวม คัน และ เจ็บที่แผล ด้วย ในบางรายเกิกตุ่มน้ำ อาจมีหนองได้  สำหรับอาการของโรคน้ำกัดเท้า จะแสดงอาการต่างๆ ดังนี้

  • เกิดรอยแดง และ มีอาการคันของผิวหนังบริเวณง่ามเท้า
  • มีรอยสะเก็ด ที่ฝ่าเท้า ผิวที่เท้าแตก มีอาการเจ็บปวด
  • เกิดแผลพุพองที่เท้า และ อาจมีน้ำหนอง ด้วย
  • ฝ่าเท้าหนาขึ้น
  • เกิดแผลที่เท้า

การรักษาโรคน้ำกัดเท้า

สำหรับแนวทางการรักษาโรคน้ำกัดเท้า คือ แพทย์จะใช้การรักษาแผลด้วยการใช้ยาทา จำพวกเจล ขี้ผึ้ง หรือ สเปรย์ เพื่อบรรเทาอาการคัน และ ลดการลุกลามของเชื้อรา นอกจาก การใช้ยาทาเพื่อรักษาแผล และ บรรเทาอาการคัน นั้น ให้รักษาความสะอาดของแผลที่เท้า รักษาความสะอาดของรองเท้าและถุงเท้า รวมถึงไม่ทำให้เปียกชื้นด้วย

การป้องกันการเกิดโรคน้ำกัดเท้า

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคน้ำกัดเท้า ต้องรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ไม่อับชื้น เพื่อลดโอกาสการติดเชื้ิอรา โดนแนวทางการป้องกันโรคน้ำกัดเท้า มีดังนี้

  • ล้างเท้าให้สะอาด และ ทำให้เท้าแห้ง หลังจากการออกกำลังกาย หรือ การอยู่ในรองเท้าที่อับชื้นนานๆ
  • ไม้ใช้ถุงเท้าหรือรองเท้า รวมถึงผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
  • ต้องทำความสะอาด ถุงเท้า รองเท้า และ ผ้าเช็ดตัว และ ผึ่งลมให้แห้ง อย่าให้อับชื้น เป็นแหล่งที่อยู่ของเชื้อรา
  • ไม่สวมถุงเท้าที่ยังไม่ซักให้สะอาด

โรคน้ำกัดเท้า โรคฮ่องกงฟุต โรคเท้านักกีฬา ( Athlete’s foot ) คือ ภาวะการติดเชื้อราที่ผิวหนังบริเวณเท้า โรคผิวหนัง สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย อาการน้ำกัดเท้าเป็นอย่างไร การรักษาโรคน้ำพัดเท้า และ การป้องกันการเกิดโรค

กลาก หรือ ขี้กลาก ( Ringworm ) ภาวะติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผม และ เล็บ อักเสบผิวหนัง เป็นวงสีแดง มีขุยสีขาว ติดต่อจากการสัมผัส การรักษาป้องกันโรคทำอย่างไรโรคกลาก ติดเชื้อราที่ผิวหนัง โรคผิวหนัง โรคติดต่อ

โรคกลาก ภาษาทางการแพทย์ เรียก Ringworm คือ โรคติดต่อ จากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งกลากสามารถเกิดได้ตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น หนังหัว ใบหน้า มือ เท้า เล็บ และ ขาหนีบ สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยพบในเด็กมากที่สุด โรคกลาก หากเกิดกับเด็กจะพบว่ามีกลากขึ้นที่ศีรษะมากที่สุด แต่หากเป็นผู้ใหญ่พบว่ากลากขึ้นมากที่เท้า ส่วนในผู้ชายวัยรุ่นมักพบกลากขึ้นที่ขาหนีบ

สาเหตุของการเกิดโรคกลาก

กลาก เกิดจากเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโทไฟท์ ( Dermatophytes ) ที่ผิวหนัง ซึ่งเชื้อราอาศัยอยู่บนผิวหนัง ส่วนเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว  เชื้อราเหล่านี้ไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ เชื้อราชนิดนี้มีลักษณะเป็นสปอร์ขนาดเล็กๆ อาศัยอยู่ตามผิวหนังของมนุษย์ หรือ พื้นดิน สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพอากาศร้อนชื้น เชื้อราสามารถติดต่อสู่คนโดยการสัมผัส

กลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลาก

โดยคนที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลาก คือ กลุ่มคนที่เหงื่อออกง่าย ทำความสะอาดร่างกายไม่สะอาด และ อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อนและมีความชื้นสูง โดยกลุ่มคนเหล่านี้ ประกอบด้วย

  • เด็กอ่อน
  • ผู้สูงอายุ
  • คนอ้วน หรือ คนที่มีน้ำหนักมากกว่ามาตราฐาน
  • กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอชไอวี คนที่ผ่านการทำเคมีบำบัด เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีประวัติเคยติดเชื้อราที่ผิวหนังมาก่อน
  • กลุ่มผู้ป่วยบางโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคกลาก

สำหรับอาการของโรคกลาก คือ เกิดผื่นแดงหรือผื่นสีขาวเป็นขุย ลักษณะเป็นวงกลม มีอาการคัน สามารถลามไปสู่ผิวหนังส่วนต่างๆได้ และ ติดต่อสู่คนอื่นได้ โดยจุดที่มักเกิดกลาก คือ หนังศรีษะ ผิวหนัง เล็บ ขาหนีบ และ เท้า โดยลักษณะของอาการกลากในตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

  • กลากที่หนังศีรษะ จะพบว่าที่หนังศีรษะจะเป็นจุดๆสีขาวตกสะเก็ด คันที่หนังศีรษะ ผมจะร่วงเป็นหย่อมๆ อาจมราตุ่มหนองเล็กๆที่หนังศรีษะ ซึ่งสามารถเป็นแผลขนาดใหญ่ได้
  • กลากที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะคันรอบๆแผลที่อักเสบ ลักษณะของแผลจะเป็นขอบชัดเจน และ สีแดง บางรายแผลเป็นวงขนาดใหญ่ มีตุ่มหนองขึ้นได้
  • กลากที่เล็บ ผู้ป่วยจะมีลักษณะเล็บมีสีขาวขุ่น เล็บหนาขึ้น และ เล็บเปราะหักง่าย รู้สึกเจ็บและระคายเคืองที่นิ้วบริเวณผิวหนังรอบเล็บ
  • กลากที่ขาหนีบ เกิดผื่นแดง และ คัน ที่ผิวหนังที่ขาหนีบ ทำให้ผู้ป่วยเกาจนเกิดแผล เรียกว่า โรคสังคัง ซึ่งผิวหนังที่ขาหนับอาจตกสะเก็ด มีตุ่มหนอง ตุ่มพอง
  • กลากที่เท้า มีอาการคันที่เท้าบริเวณง่ามนิ้ว อาจมีตุ่มหนอง และ ตุ่มพอง จนทำให้รู้สึกเจ็บ เรียกอาการนี้ว่า ฮ่องกงฟุต หรือ น้ำกัดเท้า

การรักษาโรคกลาก

สำหรับการรักษาโรคกลาก คือ แพทย์จะรักษาอาการติดเชื้อรา เป็นการให้ยาทา เพื่อรักษาอาการคัน และ ฆ่าเชื้อรา โดยต้องใช้ประมาณ 15-30 วัน จนกว่าจะฆ่าเชื้อราได้หมด แต่การรักษาโรคกลาก นั้น นอกจากจะใช้ยาทาในการรักษา ตัวผู้ป่วยเอง ต้องปรับสุขอนามัยพื้นฐานของตนเอง ไม่ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดเชื้อรา เช่าน หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าอับชื้นที่มีเชื้อรา ทำความสะอาดเครื่องนอน ทำความสะอาดผิวหนังให้แห้ง

สำหรับการติดเชื้อราที่หนังศีรษะ ต้องใช้ยารับประทานต้านเชื้อรา ได้แก่ กริซีโอฟูลวิน ( Griseofulvin ) โดยต้องรับประทานประมาณ 3 เดือน ส่วนการรักษาเชื้อราที่เล็บ ต้องรักษาสุขอนามัย ของมือและเท้า

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกลาก

สำหรับภาวะแทรกซ้อนของโรคกลาก คือ หากเชื้อราแพร่ไปสู่ผิวหนังชั้นใน อาจทำให้เกิดความรุนแรง และ รักษาให้หายยากขึ้น การลุกลามของกลาก จากจุดหนึ่งไปส่วนต่างๆของร่างกาย ส่งผลต่อบุคคลิกภาพที่เสีย ทำให้สังคมรังเกรียจ ไม่อยากเข้าใกล้

การป้องกันโรคกลาก

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคกลาก นั้นต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโรคกลาก และ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ให้สะอาด เพื่อลดการเกิดเชื้อรา โดยแนวทางการปฏิบัตเพื่อป้องกันโรคกลาก มีดังนี้

  • ล้างมือเป็นประจำ
  • ทำความสะอาดร่างกายทุกวัน และ เช็ดตัวให้แห้ง หากสระผมต้องทำให้ผมและหนังศรีษะแห้ง
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่อับชื้น
  • ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รวมถึงผู้ป่วยโรคกลากด้วย
  • ทำความสะอาดพื้นที่ส่วนรวม ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ให้อับชื้นเป็นที่อยู่ของเชื้อรา
  • ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคกลาก
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยงที่เป็นกลาก
  • หมั่นตัดเล็บมือเล็บเท้า และ ทำความสะอาดเล็บอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่สวมร้องเท้าที่มีความอับชื้น
  • เช็ดร่างกายให้แห้งหลังจากอาบน้ำโดยเฉพาะส่วนขาหนีบ และ ที่สำคัญสวมกางเกงชั้นในที่สะอาด แห้ง ไม่นำกางเกงชั้นในเก่าที่ยังไม่ซักมาใช้งานซ้ำ

โรคกลาก หรือ ขี้กลาก ( Ringworm ) คือ ภาวะติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผม และ เล็บ โดยเกิดการอักเสบที่ผิวหนัง เป็นวงสีแดงหรือ มีขุยสีขาว โรคนี้เป็นโรคติดต่อจากการสัมผัสได้ สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาโรค และ การป้องกันโรค ทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove