เกลื้อน ติดเชื้อราที่ผิวหนัง อาการมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เกิดมากกับกลุ่มคนที่มีเหงื่อมาก เช่น คนใช้แรงงานกลางแจ้ง นักกีฬา คนที่ใส่เสื้อที่อับชื้น รักษาและป้องกันเกลื้อน โรคผิวหนัง ผิวหนังติดเชื้อรา เกิดผื่น

โรคเกลื้อน เป็นโรคที่พบมากในประเทศที่มีอากาศเย็น แต่มักมักพบโรคนี้ในฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาว สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศหญิงและเพศชาย พบในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว มากที่สุด สำหรับปัจจัยและสาเหตุของการเกิดโรค มีดังนี้

ปัจจัยของการเกิดโรคเกลื้อน

สำหรับปัจจัยการเกิดโรคเกลื้อน สามารถพบเห็นได้จากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • อายุ เนื่องจากอายุของคนวัยหนุ่มสาว สามารถขับเหงื่อได้มาก ทำให้มีโอกาสเกิดความอับชื้นของเสื้อผ้าได้ง่าย กว่าคนในวัยอื่นๆ หากการรักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้าไม่ดี ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคมากที่สุด
  • ลักษณะทางพันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีความมันของผิวหนังมากกว่าปรกติ สามารถทำให้เกิดปัจจัยความเสี่ยงการเกิดโรคเกลื้อนได้ง่ายกว่าปรกติ
  • ลักษณะการบริโภคที่ไม่สมดุลย์ หากมีการกินอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมันในร่างกายมาก ความมันของผิวหนังก็มีมากกว่าปรกติ ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อราได้ง่ายขึ้น
  • ลักษณะการทำงานที่ส่งผลให้มีเหงื่อออกมาก เช่น คนทำงานกลางแดด คนทำงานแบกหาม คนทำงานในโรงงาน คนที่ทำงานที่ต้องใส่แต่งเครื่องแบบที่ร้อนอบ และ นักกีฬา เป็นต้น
  • การใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยเอดส์
  • ภาวะความเครียด
  • ภาวะโลหิตจาง
  • เกิดภาวะวัณโรค
  • อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ภาวะโรคเบาหวาน

สาเหตุของการเกิดโรคเกลื้อน

การเกิดโรคเกลื้อนเกิดจากเชื้อรา ชื่อ “ มาลาสซีเซีย ” ( Malassezia spp. ) เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ที่ผิวหนังชั้นนอกของคน โดยปรกติแล้วเชื้อราชนิดนี้ไม่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเชื้อรานี้จะทำให้เกิดริ้วรอยบนผิวหนัง สามารถติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง แต่ก็ติดต่อยาก หากมีภาวะอื่นๆ ร่วมจะส่งเสริมให้เกิดโรคง่ายขึ้น เช่น ภาวะความเครียด ภาวะโลหิตจาง การเกิดโรควัณโรค การตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับบางคนที่มีเหงื่อออกมาก เชื้อราชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดี

อาการของโรคเกลื้อน

สำหรับอาการของโรคเกลื้อน จะเริ่มจากการมีรอยักษณะจุด มีขุย ต่อมารอยจะมีสีอ่อนลง และอาจมีสีเข้มขึ้นบริเวณผิวหนังโดยรอบ ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะมีขอบเขตที่ชัดเจน ผื่นจะไม่เข้มขึ้นหากโดนแสงแดด ผื่นที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นและหายไปได้เอง สรุปลักษณะของโรคเกลื้อน มีดังนี้

  • พื้นที่ที่เกิดผื่น จะเกิดขึ้นบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก เช่น หน้าอก หลัง ไหล่ ซอกคอ ลำคอ ต้นแขน หน้าท้อง เป็นต้น แต่พบมากบริเวณแผ่นหลังและหน้าอก
  • รูปร่าง ขนาด และ จำนวน เกลื้อน เป็นลักษณะผื่น กลม ๆ หรือ รูปวงรี ขนาดเล็กๆ ซึ่งผื่นมักจะขึ้นแยกจากกันเป็นดวง ๆ และอาจเชื่อมต่อกันได้จนเป็นแผ่นขนาดใหญ่
  • สีของผื่นจะมีสีที่แตกต่างกัน เช่น สีขาว สีชมพู หรือ สีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับสีของผิวหนังแต่ละคน
  • ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะมีลักษณะแบนราบและมีขอบเขตของผื่นที่ชัดเจน บริเวณที่เกิดผื่นผิวจะไม่เรียบและมีเกล็ดสีขาว น้ำตาล หรือแดงบนผิว

วิธีรักษาโรคเกลื้อน

สำหรับการรักษาโรคเกลื้อนนั้นการรักษาใช้ยาทารักษาเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับลักษณะความรุนแรงของการอาการ โดยการรักษามีรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับอาการผื่นที่ไม่มาก สามารถใช้ยาทารักษาโรคเชื้อราได้ โดยให้ทาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากอาบน้ำเสร็จ ทาติดต่อกันประมาณ 30 วัน
  • สำหรับอาการผื่นลักษณะกว้างที่หนังศรีษะ ให้ใช้ยาสระผมเซลซัน เป็นยาสะผมที่มีตัวยาซีลีเนียมซัลไฟด์ แต่ควรระวังเรื่องการแพ้ยา หากมีอาการบวม แดง คัน หรือ แสบร้อน ให้เลิกใช้ทันที
  • สำหรับอาหารผื่นที่เกิดมากและกินบริเวณกว้าง หรือ เกิดโรคเกลื้อน ชนิดเรื้อรัง แพทย์จะให้กินยา คีโตโคนาโซล ( Ketoconazole ) หรือ ไอทราโคนาโซล ( Itraconazole ) เนื่องจากอาการผื่นขนาดใหญ่การใช้ยาทาจะไม่สะดวก และใช้เวลานานในการรักษา การใช้ยากินช่วยให้รักษาได้เร็วกว่า

สมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคเกลื้อน

สำหรับสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคเกลื้อน มีสมุนไพรหลายชนิดสามารถรักษาโรคเกลื้อนได้ โดยแนะนำได้ เช่น กุ่มบก (Crateva adansonii subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs) ข่า (Alpinia galanga (L.) Willd. ) ชุมเห็ดเทศ (Senna alata (L.) Roxb.) มะคำดีควาย (Sapindus trifoliatus L.) ทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz) อัคคีทวาร (Rotheca serrata (L.) Steane & Mabb.) กระเทียม (Allium sativum Linn.)

การดูแลตนเองและป้องกันโรคเกลื้อนเพื่อไม่ให้กลับมาเกิดโรคซ้ำอีก

สำหรับการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดเกลื้อน มีคำแนะนำดัง ต่อไปนี้

  • ดูและความสะอาดเล็บมือเล็บเท้า โดยให้ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น และหมั่นล้างมือให้สะอาด
  • ต้องรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดเหงื่อไคลหมักหมม สะสมจนเกิดโรคเกลื้อน
  • ควรใช้เสื้อผ้าที่สะอาด รวมถึงผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ต้องไม่ให้ผ้าที่สัมผัสตัวเรามีเชื้อโรคหมักหมม
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่ม่ความหนา และ คับเกินไป
  • ควรใช้ชีวิตอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  • หลังจากการออกกำลังกาย หรือ การทำงานที่มีเหลื่อออกมาก ให้ทำความสะอาดและเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ ไม่ควรใส่เสื้อที่มีความชื้นสะสม
  • ในเด็กที่มีโรคเกลื้อน ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่ควรหายามารักษาเอง เนื่องจากยาของผุ้ใหญ่กับเด็กไม่ควรใช้ร่วมกัน

เกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเชื้อราที่ผิวหนัง ลักษณะอาการ คือ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เกิดมากกับกลุ่มคนที่มีเหงื่อมาก เช่น คนใช้แรงงานกลางแจ้ง นักกีฬา คนที่ใส่เสื้อที่อับชื้น ปัจจัย สาเหตุ วิธีการรักษา และ การป้องกันทำอย่างไร

โรคหิด ( Scabies ) ผิวหนังอักเสบจากตัวหิด ( Scabies mite )กัด อาการตุ่มนูนแข็ง สีแดงขนาดใหญ่ ติดทางเพศสัมพันธ์ได้ โรคหิด มี 2 ประเภท โรคหิคต้นแบบ โรคหิดนอร์เวย์โรคหิด ตัวหิด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

โรคหิด ( Scabies ) คือ ภาวะผิวหนังอักเสบ โดยสาเหตุเกิดจาก ตัวหิด ภาษาอังกฤษ เรียก Scabies mite เป็นสิ่งมีชิวิตชนิด ปรสิต  ( Parasite ) ตัวหิตจะต้องอาศัยอยู่บนตัวคน ใช้ชีวิตอยู่ที่ผิวหนังของคน อาหารของตัวหิด คือ เซลล์ผิวหนังของคน อาการสำคัญของโรคหิด คือ คันและมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง โรคหิดสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสกับคนที่มีตัวหิดอาศัยอยู่ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย โรคหิด มี 2 ประเภท คือ โรคหิดต้นแบบ และ โรคหิดนอร์เวย์ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • โรคหิดต้นแบบ เรียกว่า Classic scabies การเป็นโรคหิดชนิดนี้เกิดจากการสัมผัสผิวหนังคนที่มีภาวะโรคหิดเป็นระยะเวลานาน เช่น การอยู่ในบ้านเดียวกัน นอนหลับด้วยกัน เป็นต้น จะพบว่ามีการติดมากในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี
  • โรคหิดนอร์เวย์ เรียกว่า Norwegian scabies หรือ Crusted scabies เป็นภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง หรือ เกิดจากการได้รับยากดภูมิต้านทาน โรคนี้เกิดครั้งแรกในประเทศนอร์เวย์ จึงถูกเรียกว่า หิดนอร์เวย์ กลุ่มคนที่มีโอกาสติดหิด คือ คนสูงอายุ คนขาดสารอาหาร ผู้ป่วยโรคมะเร็ง คนป่วยอัมพาต คนพิการที่สมอง เป็นต้น

โรคหิด โรคผิวหนัง โรคติดต่อ อาการคันมีผื่น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหิด

สำหรับปัจจัยการเกิดโรคหิด สามารถแยกสาเหตุของการเกิดหิดทั้ง 2 ประเภท ได้โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคหิดชนิดต้นแบบ การอยู่ใกล้ชิดและสัมผัสผิวหนังกับคนที่เป็นหิด โดยกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง คือ คนที่อยู่ในบ้านที่สกปรก เด็ก คนยากจน คนที่ทำงานในสถานพยาบาล บ้านพักคนชรา เรือนจำ ค่ายกักกัน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับคนเป็นหิด นอกจากนี้ การใช้ของร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ก็เป็นปัจจัยของการติดหิดชนิดต้นแบบ
  • โรคหิดนอร์เวย์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหิดชนิดนี้ คือ ความผิดปรกติของร่างกาย โดยเกิดจากภาวะภูมิกันต้านทานโรคบกพร่อง โดยคนที่มีปัจจัยเสียง คือ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง เป็นต้นช่วย

สาเหตุของการเกิดโรคหิด

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหิด เกิดจาด ตัวหิด จัดเป็นปรสิต ที่ต้องอาศัยอยู่บนร่างกายของมนุษย์ และกินเซลล์ผิวหนังของมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งเป็นโรคที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ จากการสัมผัสผิวหนังของคนที่มีตัวหิดอาศัยอยู่ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย และหากหิดติดที่อวัยวะเพศจะมีตุ่มและผื่นคันที่อวัยวะเพศ

อาการของผู้ป่วยโรคหิด

ตัวหิดเมื่อเข้าสู่ผิวหนังของคน จะมีระยะเวลาในการฟักตัว ภายใน 45 วัน ซึ่งในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการ และเมื่อแสดงอาการ จะเกิดปฏิกิริยาที่ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกาย ตัวหิดจะหลั่งสารเคมีต่างๆ สารเคมีเหล่าจะทำให้เกิดอาการ โดยอาการจะแยกตามชนิดของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • โรคหิดชนิดต้นแบบ จะมีอาการตุ่มนูน ลักษณะแข็ง มีสีแดงขนาดใหญ่ ขึ้นตามผิวหนัง เกิดที่รักแร้และขาหนีบ มีอาการคัน และจะคันมากในช่วงกลางคืน ตำแหน่งที่หิดมักจะอยู่ คือ ตามง่ามนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก รอบสะดือ ท้อง เอว ก้น อวัยวะเพศชาย และหัวนม
  • โรคหิดนอร์เวย์ อาการของโรคหิดชนิดนี้ ผู้ป่วยจะสูญเสียความรู้สึกของผิวหนัง ไม่แสดงอาการคัน ไม่มีรอยข่วน ไม่มีตุ่มนูนแดง ไม่มีตุ่มน้ำใสๆ ทำให้ไม่มีใครสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยเป็นหิด เมื่อตัวหิดเพิ่มจำนวนมากขึ้น ผิวหนังชั้นบนของผู้ป่วย จะหนา และมีสะเก็ด เห็นชัดเจนที่ ข้อศอก ข้อเข่า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหิด

การเกิดโรคหิด เป็นเวลานาน หากไม่ทำการรักษาอย่างถูกวิธี ต้องระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยสิ่งที่ต้องระวัง คือ เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยบนผิวหนัง ทำผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลาย จนกลายเป็นโรคผิวหนังอื่นๆ เช่น ผิวหนังอักเสบ เนื้อเยื่ออักเสบ ฝีหนอง เป็นต้น

สำหรับโรคแทรกซ้อนจากโรคหิด เช่น โรคปอดอักเสบ โรคกรวยไตอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

การรักษาโรคหิด

สำหรับการรักษาโรคหิด เนื่องจากปัญหาของโรคหิด เกิดจากตัวหิด ที่ทำให้ เกิดการอักเสบที่ผิวหนัง และ นำไปสู่การติดเชื้อ ซึ่งการรักษาโรคหิด มี 3 ลักษณะ คือ การกำจัดตัวหิด การรักษาอาการคัน และ การป้องกันการติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การฆ่าตัวหิด การทำลายตัวหิด สามารถใช้ยาทา โดยจะต้องทายาให้ทั่วตัว ต้องทาทิ้งไว้ประมาณ 8-12 ชั่วโมง และใช้ยาทา ทาซ้ำอีกครั้งภายใน 10 วัน เพื่อกำจัดหิดตัวอ่อน แต่สำหรับโรคหิดชนิดนอร์เวย์ ต้องรักษาด้วยการใช้ยากิน เช่น Ivermectin  และใช้ยาทาร่วม
  • การรักษาอาการคัน ต้องรักษาด้วยการใช้ยากินแก้คัน หากผู้ป่วยมีตุ่มนูนแดง ต้องรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์
  • การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน โดยการให้ยาปฏิชีวนะ อาจให้เป็นยาทา ยากิน หรือยาฉีด ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

ป้องกันการเกิดโรคหิด

การป้องกันโรคหิด ต้องป้องกันการแพร่กระจายของตัวหิด เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ โดยรายละเอียดของการป้องกันการเกิดโรคหิด มีดังนี้

  • งดการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีโรคหิด หรือ คนที่ไม่ใช่คู่นอนที่เป็นคู่ชีวิตของตน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิด หรือ การสัมผัสคนที่เป็นโรคหิด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ป่วยโรคหิด
  • ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขอนามัย
  • หากต้องสัมผัสผู้ป่วยโรคหิด ต้องใส่เครื่องป้องกัน

โรคหิด ( Scabies ) ผิวหนังอักเสบเกิดจากตัวหิด ( Scabies mite ) มีอาการตุ่มนูน ลักษณะแข็ง สีแดงขนาดใหญ่ตามผิวหนัง อาหารของตัวหิด คือ เซลล์ผิวหนังของคน ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์มี 2 ประเภท โรคหิคต้นแบบ โรคหิดนอร์เวย์


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove