โรคท้องมาน ภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไรโรคท้องมาน โรคท้องโต โรคท้องบวม โรคตับ

ความหมายของโรคท้องมาน จากพจนานุกรมราชบัณฑิตย์สถาน พ.ศ. 2542 ท้องมาน ท้องบวม หมายถึง ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง มีอาการให้ท้องโตเหมือนสตรีมีครรภ์ ภาวะที่เกิดมีน้ำคั่งในช่องท้องมากผิดปกติ จนเป็นสาเหตุให้ท้องขยายใหญ่โตขึ้น

ชนิดของโรคท้องมาน

โรคท้องมาน นั้นโดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) และ ascites neutrophil โดยแบ่งจากปริมาณน้ำในท้องและสาเหตุของการท้องโต รายละเอียด ดังนี้

  • Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) คำนวณจากอัตราส่วนของโปรตีนแอลบูมินในน้ำที่ขังนช่องท้อง เปรียบเทียบกับระดับของโปรตีนแอลบูมินในเลือด
  • ascites neutrophil มากกว่า 250 cells/ml หรือมากกว่า 50% บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง และหากสงสัยว่ามีมะเร็งหรือ pancreatic ascites ก็ควรส่งตรวจ cytology หรือ amylase ร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่มำให้เกิดโรคท้องมาน

การเกิดภาวะน้ำขังในช่องท้องนั้น สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ทั้งชนิด B และ C
  • การดื่มสุราบ่อย จนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โระมะเร็ง และ โรคไต
  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน

จากปัจจัยของการเกิดโรค เราจึงสามามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน ได้ดังนี้

  • โรคตับ ร้อยละ75 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมาน จะมีภาวะป่วยโรคตับแข็ง น้ำในช่องท้องมีผลมาจากความดันเลือดในตับสูงขึ้น ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคตับแข็ง มีภาวะโรคท้องมาน 10 ปี มีอาการท้องบวม เท้าบวม มีน้ำในช่องอก มีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • โรคมะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ หรือ เชื้อมะเร็งที่กระจายเข้าสู่ช่องท้อง เป็นต้น ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคท้องมาน เป็นโรคมะเร็ง
  • มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เป็นผุ้ป่วยโรคไต
  • ขาดสารอาหาร มีภาวะขาดแอลบูมิน เป็น โปรตีนจากไข่ขาว
  • เกิดภาวะการอักเสบที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค โรคภูมิแพ้
  • เกิดภาวะโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุรา หรือ การเกิดอุบัติเหตุกระทยที่ตับอ่อน
  • การอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ที่ตับ

อาการโรคท้องมาน

สำหรับความรุนแรงของโรคท้องมาน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เรียกว่า Grading of ascites โดยรายละเอียดดังนี้

  • ระดับที่ 1 ( Grade 1) มีอาการของโรคท้องมานเพียงเล็กน้อย สามารถตรวจพบได้โดยการอัลตร้าซาวน์
  • ระดับที่ 2 ( Grade 2) มีอาการของโรคปานกลาง การตรวจร่างกายประจำปี สามารถพบได้
  • ระดับที่ 3 ( Grade 3) มีอาการหนัก มีภาวะท้องตึงแน่น

ผู้ป่วยโรคท้องมาน สามารถสังเกตุอาการของโรคได้ โดยมีลักษณะของโรค ดังนี้

  • ท้องโต แน่นท้อง อาจทำให้หนังท้องปริและมีน้ำซึมออกมาได้ ในบางรายพบว่ามีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย
  • มีอาการเหนื่อยหอบและหายใจติดขัด
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • อาการของป่วยจากตับ เช่น ดีซ่าน นมโต ฝ่ามือแดง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยดรคแพทยืจะทำการ ตรวจร่างกาย และ สอบถามประวัติการเกิดโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ ดูดน้ำในช่องท้องออกมาตรวจ อัลตราซาวน์ช่วยในการเจาะดูดสารน้ำในช่องท้อง

การรักษาโรคท้องมาน

การรักษาโรคท้องมาน ต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรค ก่อนและรักษาที่สาเหตุของโรค โดยแนวทางการรักษาโรคท้องมาน การรักษาเพื่อลดระดับน้ำในท้องทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น ช่วยรักษาสมดุลของเกลือ และช่วยในการปรับละดับน้ำในร่างกายและหลอดเลือดมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาอาการท้องมานขึ้นกับโรคที่เป็นสาเหตุ
  • ถ้าเกิดจากโรคมะเร็งแพร่กระจาย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดและเคมีบำบัด
  • ปรับเรื่องการกินอาหาร ลดอาหารที่มีโซเดียม และ อาหารที่มีรสเค็ม
  • รักษาโรคตับ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคตับแข็ง ให้จำกัดปริมาณโซเดียมในร่างกาย
  • ให้ยาขับปัสสาวะ โดยขนาดของยาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการตอบสนอง แลเต้องให้ยาโดยหลีกเลี้ยงการปัสสาวะในเวลากลางคืน
  • เจาะช่องท้องเพื่อระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ถึง 5 ลิตรต่อครั้ง
  • ผ่าตัดเพื่อทำทางระบายน้ำในช่องท้อง
  • ผ่าตัดเปลี่ยนตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะรุนแรง หรือมีภาวะตับวาย

โรคท้องมาน ความผิดปรกติของร่างกายจากภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไร ท้องบวม โรคท้องโตผิดปรกติ

 

ลำไส้เล็กอุดตัน ( Intestinal Obstruction ) เกิดจากการอุดตันของลำไส้ อาการของปวดท้อง อาหารไม่ย่อย มีแก๊สในลำไส้ อาเจียนรุ่นแรง ไม่ถ่าย ต้องพบแพทย์อย่างเร่งด่วนลำไส้เล็กอุดตัน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ โรคลำไส้

โรคลำไส้เล็กอุดตัน หมายถึง อาการของอาหารไม่สามารถเคลื่อนไปตามลำไส้ได้อย่างปกติ ซึ่งอาจจะเป็นอาการอุดตันเพียงบางส่วน หรืออุดตันเต็มพื้นที่ ทำให้ความสามารถในการขับเคลื่อนอาหารที่ลำไส้ได้น้อยลง เรียกอีกอย่างว่า ลำไส้พิการ การอุดตันของลำไส้เล็ดนั้น ส่วนมากจะเกิดที่ลำไส้เล็กส่วนอีเลียม ที่เป็นส่วนของลำไส้ที่แคบที่สุด

ลำไส้เล็กอุดตัน สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย หากมีอาการ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย มีแก๊สในลำไส้มาก ท้องเดิน ไวรัสลงกระเพาะ ยังไม่เป็นอันตรายมากนั้ก แต่หาก มีอาการท้องโตผิดปรกติ ปวดท้องมาก อาเจียนอย่างรุ่นแรง ไม่ถ่าย ไม่ผายลม ลักษณะอาการแบบนี้เป็นอาการของลำไส้เล็กกอุดดัน

ลำไส้ มีส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและระบบประสาทสำหรับการบีบตัว เพื่อดันให้อาหารผ่านไปยังระบทางเดินอาหารส่วนปลาย แต่เมื่อเกิด ภาวะการอุดตันที่ลำไส้ จะทำให้ระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท พยายามบีบตัวมากขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง ลำไส้โป่ง จากน้ำ อาหารและแก๊ซภายในลำไส้

หากไม่ได้รับการรักษา จะส่งผลให้เลือดไม่เลี้ยงลำไส้ เกิด ภาวะลำไส้ขาดเลือด ลำไส้อักเสบและเน่า อาจทำให้ผนังลำไส้บางลง เกิดแตกและเป็นรูรั่ว ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เชื้อโรคที่น่ากลัวสำหรับ โรคระบบทางเดินอาหาร คือ เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งหากติดเชื้อแบคทีเรียเป็นเรื่องอันตราย ซึ่งสามารถลุกลามเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคลำเล็กอุดตัน

เราสามารถสรุป สาเหตุของการเกิดลำไส้เล็กอุดตัน ได้ หลายปัจจัยที่ทำให้ระบบทางเดินอาหารผิดปรกติ รายละเอียดดังต่อไปนั้

  • การเกิดพังผืดในช่องท้อง ปรกติแล้วภายในลำไส้จะไหลลื่น เพื่อลำเลียงอาหารไปยังระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย แต่เมื่อเกิดผังผืด ทำให้การลำเลียงอาหารผืดมากขึ้น เกิดการสะสมของ ของเสีย มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ผังผืดที่ลำไส้เล้กจะทำให้อาหารโดนติดกันและไหลลื่นไม่สะดวก เป็นสาเหตุที่ทำให้ลำไส้ตีบ บิด งอ จนเกิดการตีบตัน
  • การเกิดไส้เลื่อน เมื่อผนังช่องท้องเกิดอ่อน ไม่สามารถความคุมระบบลำไส้ให้อยู่ในช่องท้องได้ตามปรกติ หากลำไส้ไหลออกไปอยู่ในจุดที่ทำให้ลำไส้เกิดหดตับ หรือถูกกดทับ ทำให้อาหารไม่สามารถลำเลียงอาหารไปยังระบบทางเดินอาหารส่วนปลายได้ นอกจากลำไส้อุดตันแล้วยังเสี่ยงการเกิดลำไส้ขาดเลือดด้วย
  • การเกิดก้อนเนื้องอกที่ลำไส้ เมื่อมีก้อนเนื้องอกเกิดขึ้นภายในลำไส้แล้ว การลำเลียงอาหารไปยังระบบทางเดินอาหารส่วนปลายก็เกิดการติดขัดและเกิดสะสมตะกอนจนเกิดการอุดตันได้ แต่ที่น่ากลัวกว่านั้น คือ ก้อนเนื้องอกนั้นหากใหญ่ขึ้นมีโอกาสเป็นมะเร็งได้
  • เกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี น้ำดีจะช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยหล่อลื่นอาหารของลำไส้ หากเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี ร่างกายไม่สามารถหลั่งน้ำดีได้ อาหารในลำไส้เดกิดการผืดเคือง ทำให้ลำไส้เล็กอุดตันในส่วนที่ลำไส้มีรูแคบ มักเกิดกับผุ้สูงวัย หากไม่ยอมรักษา จะเกิดอาการอักเสบของถุงน้ำดี ถุงน้ำดีแตกทะลุจนไปอุดลำไส้เล็ก เกิดปัญหาลำไส้เล้กอุดตัน
  • โรคลำไส้อักเสบ เมื่อเกิดลำไส้อักเสบ อาจทำให้เกิดแผลในลำไส้ ซึ่งแผลอาจไปรัดลำไส้ จนทำให้รูลำไส้เล็กลงจนตีบตันได้
  • การบิดตัวของลำไส้ บางทีอาจเกิดจากลำไส้กลืนกัน เมื่อลำไส้กลืนกัน ทำให้ระบบลำไส้อุดตัน ไม่มีเลือดไหลเวียน อันตรายถึงขั้นลำไส้ขาดเลือดได้
  • ลำไส้เล้กทำงานผิดปรกติ เป็นลักษณะความผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทของลำไส้ ไม่สามารถผลักดันอาหารไปยังระบบทางเดินอาหารส่วนปลายได้ ความผิดปกติในลักษณะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การผ่าตัดช่องท้อง การติดเชื้อ หรือการอักเสบในช่องท้อง  เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคลำไส้เล็กอุดตัน

สำหรับการตรวจเพื่อวินิจฉัย โรคลำไส้อุดตัน นั้น เริ่มจากการสักประวัติ ของผู้ป่วย เช่น พฤติกรรมการบริโภค ประวัติการผ่าตัด จากนั้นทำการเอ็กเรย์ตรวจหาความผิดปรกติของลำไส้ ว่ามีก้อนหรือสิ่งอุดตันอย่างไร

การรักษาผู้ป่วยโรคลำไส้เล็กอุดตัน

สำหรับการรักษา อาการลำไส้เล้กอุดตัน นั้น ใช้การรักษาหลักๆ คือ การให้น้ำเกลือ การดูดและระบายของในลำไส้ออกทางปาก การให้ยารักษาบรรเทาอาการปวด และการรักษาด้วยการผ่าตัด รายละเอียดของการรักษา มีดังนี้

  • ให้น้ำเกลือ เพื่อชดเชยปัญหาร่างกายขาดสารอาหารไปเลี้ยงร่างกาย เนื่องจากระบบทางเดินอาหารไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างปรกติ
  • ดูดอาหารออกจากลำไส้ผ่านทางช่องปาก เมื่อลำไส้ไม่สามารถลำเลียงอาหารไปยังระบบทางเดินอาหารส่วนปลายได้ต้องดูดอาหารออกจากลำไส้ เพื่อลำแรงดันและแรงบีบรัดของลำไส้
  • การให้ยารักษา บรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยาลดการบีบตัวของลำไส้
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาสาเหตุของปัญหา ทำให้โรคหากขาดได้ ซึ่งก่อนการผ่าตัดนั้นผู้ป่วยต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการผ่าตัด จึงจะสามารถผ่าตัดได้

การดูแลผู้ป่วยโรคลำไส้เล้กอุดตัน

สำหรับการดูแลผู้ป่วยปัญหา ลำไส้อุดตัน นั้น มีวิธีในการดูแลแบบพื้นฐานดังต่อไปนี้

  • การนอนนั้น ให้นอนท่าศีรษะสูง เพื่อป้องกันลำไส้ดันกระบังลม
  • งดอาหารและน้ำเพื่อลดการทำงานของลำไส้
  • ให้สารอาหารเสริม เพื่อบรรเทาอาหารขาดสารอาหาร
  • ให้รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ตรวจสอบชีพจรทุก 2 ชั่วโมง เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

โรคลำไส้เล็กอุดตัน ( Intestinal Obstruction ) คือ เกิดจากลำไส้อุดตันเพียงบางส่วน หรือ อุดตันเต็มพื้นที่ อาการของโรคลำไส้อุดตัน คือ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย มีแก๊สในลำไส้มาก ท้องเดิน ไวรัสลงกระเพาะ หากปวดท้องมาก อาเจียนอย่างรุ่นแรง ไม่ถ่าย ไม่ผายลม ต้องพบแพทย์อย่างเร่งด่วน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove