สมุนไพร มากกว่า 100 ชนิด พร้อมสรรพคุณ มีอะไรบ้าง พืชสำหรับบำรุงร่างกายและรักษาโรค ประโยชน์โทษ คำแนะนำการใช้อย่างถูกวิธี ภูมิปัญญาการรักษาโรค สมุนไพรพื้นบ้าน
สมุนไพร หมายถึง เภสัชวัตถุที่ใช้นำมาทำยารักษาโรค หรือ บำรุงร่างกาย ซึ่งได้จากธรรมชาติ คือ พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ จากนั้นนำวัตถุดิบต่างๆมาแปรรูปให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ของเหลว ของแข็ง กึ่งของเหลวของแข็ง และ รูปแบบไอน้ำหรือรมควัน เป็นต้น
ข้อมูลของพืชต่างๆที่สามารถใช้ในการรักษาโรค รวบรวมข้อมูล เช่น ข้อมูลทั่วไป ลักษณะของพืช คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณและโทษของพืชนั้นๆ โดยรายละเอียด มีดังนี้
ประวัติสมุนไพรไทย
ความหมายของสมุนไพร
สมุนไพร หมายถึง เภสัชวัตถุที่ใช้นำมาทำยารักษาโรค หรือ บำรุงร่างกาย ซึ่งได้จากธรรมชาติ คือ พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ จากนั้นนำวัตถุดิบต่างๆมาแปรรูปให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ของเหลว ของแข็ง กึ่งของเหลวของแข็ง และ รูปแบบไอน้ำหรือรมควัน เป็นต้น
สมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ คำว่า สมุนไพร เมื่อประกอบกับคำว่า ยา เป็น ยาสมุนไพร มีความหมายตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ว่า ยาที่ได้จากพืช สัตว์ หรือ แร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ ยาสมุนไพร ส่วนใหญ่มาจากพืช หรือ ส่วนของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น ปัจจุบันมีรายการสมุนไพรไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นยาหลักแห่งชาติแล้ว มีเกือบ 100 ชนิด
โดยสรุป สมุนไพร หมายถึง ยารักษาโรคและบำรุงร่างกาย ที่ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ซึ่งการใช้ประโยชน์มีหลายรูปแบบ รวมถึงนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารด้วย การใช้เพื่อรักษาโรคโดยตรงนั้นต้องทำด้วยผู้เชียวชาญที่มีความรู้ทางการแพทย์ เนื่องจากการใช้ต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม
รูปแบบของสมุนไพร
การนำพืช สัตว์ หรือ แร่ธาตุ มาใช้เพื่อเป็นสมุนไพรในการรักษาโรค นั้นวัตถุดิบต่างๆจะถูกแปรรูปให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ 4 ลักษณะ คือ ของเหลว ของแข็ง กึ่งของแข็งของเหลว และ รูปแบบอบไอน้ำหรือรมควัน รายละเอียดของรูปแบบต่างๆ มีดังนี้
- รูปแบบของเหลว ลักษณะของการต้มกับน้ำ หรือ คั้นเอาน้ำจากวัตถุดิบ รวมถึงนำมาดองกับสุราเป็นยาดอง เป็นต้น
- รูปแบบของแข็ง ลักษณะนำวัตถุดิบมาตากแห้ง หรือ ใช้ส่วนที่มีความแข็ง นำส่วนผสมต่างๆมาบดเป็นผงและผสมกับน้ำผึ้งและปั้นเป็นก้อน เรียก ยาลูกกลอน ใช้รับประทานเป็นเม็ด
- รูปแบบกึ่งแข็งกึ่งเหลว ลักษณะยาฟอก โดยนำพืชมาตำให้แหลก ให้มีความชื้น และ พอกที่ร่างกาย
- รูปแบบอบหรือรมคสัน ลักษณะการใช้การต้มหรือเผา และใช้ไอน้ำหรือควันจากพืชนั้นๆมาใช้ในการรักษาโรค
หลักการใช้สมุนไพร
สำหรับการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคหรือบำรุงร่างกาย ต้องใช้อย่างถูกต้องและอย่างเหมาะสม ทั้งคุณภาพของวัตถุดิบ ลักษณะการใช้งาน และ ปริมาณของพืชที่ใช้ในการรักษาโรค สามารถสรุปหลักการใช้สมุนไพรเพื่อประโยชน์สูงสุด มีดังนี้
- หากเกิดอาการแพ้ หรือ ร่างกายผิดปรกติจากการใช้สมุนไพรให้หยุดการใช้งานทันที
- ห้ามใช้ในปริมาณที่มากหรือใช้ติดต่อกันนานเกินไป
- สำหรับอาการของโรคบางโรคไม่ควรใช้สมุนไพรในการรักษา เช่น มีไข้สูงผิดปรกติ มีอาการซึม ไม่รู้สึกตัว มีอาการปวดอย่างรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด ตกเลือด เป็นต้น ลักษณะอาการต่างๆเหล่านี้ควรนำส่งแพทย์เพื่อรับการรักษา
- ไม่ควรใช้รักษาโรคที่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค
ประเภทของสมุนไพร
สำหรับการกำหนดประเภทของสมุนไพรไทย นั้น เราใช้การแบ่งประเภทได้หลายลักษณะ ซึ่งการจำแนกของประเภทสามารถจำแนกจากลักษณะของภูมิประเทศและช่วงเวลา ลักษณะคุณสมบัติของพืชที่ใช้รักษาโรค ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการทำยา และ รสชาติของ โดยรายละเอียด มีดังนี้
ประเภทของสมุนไพรแบ่งตามช่วงเวลาและภูมิประเทศ
การแบ่งสมุนไพรด้วยศาสตร์การแพทย์ตามช่วงสมัย แบ่งได้ 2 ประเภท คือ สมุนไพรแผนโบราณ และ สมุนไพรแผนปัจจุบัน โดยรายละเอียด มีรายดังนี้
- สมุนไพรแผนโบราณ คือ วัตถุดิบที่ใช้ในการรักษาโรคตามตำราโบราณที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษในอดีตสู่ปัจจุบัน ผ่านทางตำราการแพทย์แผนโบราณ และ ภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น สามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ สมุนไพรไทยแผนโบราณ และ สมุนไพรจีนแผนโบราณ
- สมุนไพรแผนปัจจุบัน คือ การรักษาโรคจากการสกัดสารที่มีประโยชน์จากพืช สัตว์ หรือ แร่ธาตุ และแปรรูปให้อยู่ในรูปแบบยาสมัยใหม่ เช่น ยาเม็ดรับประทาน ยาทา เป็นต้น
ประเภทของสมุนไพรแบ่งตามลักษณะของวัตถุดิบ
สำหรับวัตถุดิบในการนำมาใช้เพื่อรักษาโรค เราสามารถแบ่งได้จากแหล่งของวัตถุดิบ คือ พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ โดยรายละเอียด มีดังนี้
- พืชสมุนไพร คือ พืชต่างๆที่ใช้ในการทำยา โดยใช้ส่วนต่างๆของพืชมาทำยารักษาโรค เช่น แกนไม้ ราก ใบ ผล เมล็ด เป็นต้น การแปรรูปพืชเพื่อนำมาใช้รักษาโรคจะอยู่ในลักษณะต่างๆ เช่น ตากแห้ง สับให้มีขนาดเล็กลง บดให้เป็นผง และ สะกัดน้ำมันหอมระเหย เป็นต้น
- สัตว์สมุนไพร คือ การใช้ส่วนประกอบบางอย่างของสัวต์เพื่อนำมาใช้รักษาโรค เช่น เปลือกหอย เขาควาย เนื้อตุ๊กแก ดีงู หูฉลาม รังนกนางแอ่น รังผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นต้น
- แร่ธาตุสมุนไพร คือ การใช้แร่ธาตุจากธรณีเพื่อใช้รักษาโรค เช่น สารส้ม พิมเสน เกลือ เป็นต้น
ประเภทสมุนไพรแบ่งตามรสชาติ
การแบ่งประเภทจ่กรสชาติของวัตถุดิบที่นำมาทำยารักษาโรค พืชต่างๆที่ใช้ในการรักษาโรคมีรสชาติต่างๆหลากหลาย และ รสชาติของพืชสามารถบ่งบอกคุณสมบัติในการรักษาโรคได้ด้วย รายละเอียด ดังนี้
- รสฝาด มีสรรพคุณด้านการรักษาแผล ช่วยสมานแผล ช่วยห้ามเลือด เป็นต้น
- รสหวาน ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มกำลังวังชา ทำให้กระชุ่มกระชวย เป็นต้น
- มีฤทธ์เมา ช่วยในการขับของเสียออกจากร่างกาย แก้พิษ เป็นต้น
- รสขม ช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นต่อมน้ำลาย แก้กระหายน้ำ และ บำรุงเลือด เป็นต้น
- รสเผ็ดร้อน ช่วยบำรุงธาตุขัน ช่วยขับลม บำรุงระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
- รสมัน ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเข่าปวดข้อ เป็นต้น
- รสหอมเย็น ช่วยบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ เป็นต้น
- รสเค็ม ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้ลมพิษ เป็นต้น
- รสเปรี้ยว ช่วยแก้ไอ ขัเสมหะ บำรุงเลือด เป็นต้น
ประเภทของสมุนไพรแบ่งตามความสามารถในการรักษาโรค
สมุนไพรแบ่งตามคุณสมบัติในการรักษาโรค ซึ่งการแบ่งชนิดของโรคแบ่งตามอวัยวะและระบบร่างกายที่เกิดโรค เพื่อให้ง่ายต่อการจัดหมวดหมู่ มีรายละเอียด ดังนี้
- สรรพคุณช่วยขับประจำเดือน
- สรรพคุณลดความอ้วน
- สรรพคุณช่วยแก้นอนไม่หลับ
- สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด
- สรรพคุณช่วยลดไข้
- สรรพคุณสำหรับความงาม
- สรรพคุณช่วยลดความดัน
- สรรพคุณบำรุงสายตา
- สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
- สรรพคุณรักษาหลอดลมอักเสบ
- สรรพคุณรักษาหืดหอบ
- สรรพคุณรักษาแผล
- สรรพคุณบำรุงเลือด
- สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ
- สรรพคุณแก้ท้องอืดและขับลม
- สรรพคุณแก้ท้องเสีย
- สรรพคุณแก้ไอ
- สรรพคุณบำรุงเหงือกและฟัน
- สรรพคุณบำรุงหัวใจ
- สรรพคุณบำรุงระบบประสาทและสมอง
- สรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด
- สรรพคุณบำรุงเส้นผม
- สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
- สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร
- สรรพคุณลดคอเลสเตอรัล
- สรรพคุณรักษาสิว
- สรรพคุณช่วยล้างสารพิษ
- สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ
- สรรพคุณบำรุงระบบทางเดินอาหาร
- สรรพคุณป้องกันมะเร็ง
- สรรพคุณยาระบาย
- สรรพคุณช่วยแก้ปวดและแก้เมื่อย
- สรรพคุณบำรุงข้อและกระดูก
- สรรพคุณขับเสมหะ
การนำสมุนไพรมาใช้เพื่อรักษาโรค
กล่าวถึงการเตรียมวัตถุดิบต่างๆให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมในการใช้เป็นยารักษาโรค ซึ่งสามารถนำมาทำให้เป็น ยาชง ยาดอง ยาลูกกลอน ยาพอก และ ยาน้ำ รายละเอียด ดังนี้
- ยาชง นำส่วนต่างๆของพืชมาตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ชงผสมน้ำร้อนเพื่อดื่ม
- ยาดอง นำส่วนต่างๆของพืชแช่ดองในเหล่า เพ่ือให้สรรพคุณทางยาอยู่ในเหล้า เมื่อดื่มแล้วสามารถบรรเทาอาการของโรคได้
- ยาลูกกลอน นำพืชมาตากแห้งและบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ใช้รับประทาน เพื่อรักษาโรค
- ยาน้ำ นำพืชสดๆมาคั้นเอาน้ำ ใช้รับประทานเพื่อรักษาโรค
- ยาพอก นำพืชสดๆมาตำให้ชื้นและพอกที่ผิว ส่วนมากใช้รักษาแผลหรือโรคผิวหนัง
การเก็บรักษาสมุนไพร
พืชต่างๆมีอายุการใช้งาน และ คุณสมบัติในการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคหากเก็บรักษาไม่ถูกต้อง อาจทำให้คุณสมบัติทางยาลดลงหรือหายไป แนวทางการเก็บรักษาเพื่อให้สรรพคุณทางยาสมบูรณ์ที่สุด มีดังนี้
- ภาชนะในการจัดเก็บ ต้องสามารถป้องกันความชื้น เนื่องจากความชื่น ทำให้ยารักษาโรคเสียได้ง่าย
- การป้องกันแมลงและโรค สถานที่ต้องปราศจากการโจมตีของแมลง และไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อ
- พื้นที่จัดเก็บ ต้องเป็นที่อากาศปลอดโปรง ไม่โดนแสงแดดจัด ไม่มีความชื้นมาก เป็นต้น
ปัญหาของสมุนไพรไทย
ประเทศไทยมีการใช้การรักษาโรคโดยวิธีธรรมชาติมานาน บรรพบุรุษได้สั่งสมองค์ความรู้ด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีการออกประกาศ กระทรวงฯ คุ้มครองตําราการแพทย์แผนไทยของชาติ 198 ตํารา และ ตํารับยาแผนไทยของชาติ 30,000 ตํารับ ตํารายาสมุนไพรที่สําคัญ เช่น แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ซึ่งเป็นตําราที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดําริให้รวบรวมไว้กว่า 1,200 ตํารับ และ ยังมีตํารายาวัดโพธิ์ที่รวบรวมจากจารึก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น ซึ่งจากเอกสารและจารึกเหล่านี้เป็นสิ่งยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ประเทศไทยมีการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรมานาน แต่เมื่อยาเคมีจากต่างชาติเริ่มเข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตคนไทย ทําให้ความนิยมในการรักษาโดยใช้ยาจากธรรมชาติน้อยลง
ประเทศไทยขาดโอกาสทางการแข่งขันในตลาดยารักษาโรค ทั้งที่ประเทศไทยมีวัตถุดิบ คือ สมุนไพรที่มีคุณภาพ มีสารสําคัญที่จะสกัดออกมา แปรรูปเป็นยาที่มีมูลค่าสูง ซึ่งปัญหาสำคัญ คือ การขาดความรู้ และ เทคโนโลยีขั้นสูงในการแยกสารสำคัญจากพืช ซึ่งทําให้ไม่สามารถสร้างนวัตกรรมทางยาได้ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การคุมการปลูกพืชให้ได้คุณภาพ และมีตัวยาสม่ำเสมอ การขาดเทคโนโลยีการสกัดและการผลิตที่ทันสมัยเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานสากล อันจะทําให้สามารถส่งไปจําหน่ายได้ทั่วโลก
บทสรุป
สมุนไพรต่างๆที่ใช้ในการรักษาโรค มีหลายชนิดที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถรักษาโรคได้ และ ยังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่มีผลการวิจัยที่น่าเชื่อถือว่าสามารถรักษาโรคได้ การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค จึงควรอยู่ในคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และ ควรแยกแยะว่าลักษณะอาการป่วยแบบใดควรพบแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างถูกวิธี
สุดยอดสมุนไพรไทยที่ได้รับความนิยมในการทำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
- ว่านหางจระเข้ สรรพคุณรักษาแผล บำรุงผิว รักษาแผลในกระเพาะอาหาร และ บำรุงเส้นผม นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอางค์ สำหรับผิว สำหรับผม
- รางจืด สรรพคุณ ช่วยขับสารพิษ ช่วยสมานแผล ใช้ลดไข้ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้แพ้ผื่นคัน แก้เบาหวาน ลดน้ำตาลในเส้นเลือด
- ดอกคำฝอย สรรพคุณช่วยขับประจำเดือน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ลดไขมันในเลือด ขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง แก้บวม บำรุงระบบประสาท
- ดอกอัญชัน สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ บำรุงเส้นผม และเป็นยาระบายอ่อนๆ แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน ใช้บำรุงความงาม
- ใบเตย สรรพคุณช่วยลดกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ บำรุงสายตา
- ใบบัวบก สรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ลดไข้ตัวร้อน
- ตะไคร้ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย ช่วยให้ผ่อนคลาย
สมุนไพร พืชใกล้ตัวที่ใช้ในการรักษาโรค ภูมิปัญญาด้านการแพทย์ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ประโยชน์และโทษ พร้อมคำแนะนำการใช้อย่างถูกวิธี
สมุนไพรไทยพื้นบ้านโบราณ 108 ชนิด พร้อมสรรพคุณ มีอะไรบ้าง ยาสมุนไพรสำหรับบำรุงร่างกายและการรักษาโรค คำแนะนำการใช้อย่างถูกวิธี ภูมิปัญญาการรักษาโรค
สมุนไพร พร้อมสรรพคุณมีอะไรบ้าง ภูมิปัญญาการรักษาโรค สมุนไพรไทย พืชยาพื้นบ้านต่างๆประโยชน์โทษอย่างไร ยาแผนโบราณ มากกว่า 400 ชนิด พร้อมคำแนะนำการใช้อย่างถูกวิธี
Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา
Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma. The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก