อัญชัน สมุนไพร โทษและสรรพคุณ มีอะไรบ้าง สีน้ำเงินจากธรรมชาติ

อัญชัน นิยมใช้ประโยชน์หลาหลาย สมุนไพร สีผสมอาหาร ต้นอัญชันเป็นอย่างไร สรรพคุณของอัญชัน บำรุงผม บำรุงความงาม บำรุงสายตา ทำให้ผมดกดำ โทษของอัญชันมีอะไรบ้างอัญชัน สมุนไพร สรรพคุณของอัญชัน

ต้นอัญชัน ภาษาอังกฤษ เรียก Butterfly pea ชื่อวิทยาศาสตร์ของอัญชัน คือ Clitore ternatea Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของอัญชัน เช่น แดงชัน ( เชียงใหม่ ) เอื้องชัน ( ภาคเหนือ ) เป็นต้น ต้นอัญชัน สมุนไพรประเภทไม้เลื้อย มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เขตร้อน และมีการแพร่พันธ์ไปในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา จัดเป็นพืชท้องถิ่นที่อยู่คู่กับสังคมไทย มีการนำอัญชันมาใช้ประโยชน์หลากหลาย ทั้งการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย รวมถึงนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร

ดอกอัญชันมีสารที่ชื่อว่า แอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะรากผม ช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณดวงตา ทำให้บำรุงสายตาไปในตัว ลดอาการเหน็บชา นอกจากนั้น สรรพคุณของอัญชัน เช่น ขับปัสสาวะ บำรุงผม ยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน บำรุงความงาม นำมาทำเครื่องสำอางค์ ทำสีผสมอาหารให้สีม่วง

อัญชันในวรรณคดีสมัยก่อนหญิงสาวมักนำอัญชันมาเขียนคิ้วให้ดำขลับ อันชัญนิยมนำไปทำอาหาร โดยปกติจะใช้สีจากการต้มและคั้นน้ำของดอกเพื่อมาผสมกับแป้งต่าง ๆ ทำเป็น ขนมชั้น ทับทิมกรอบ บัวลอย เป็นต้น นอกจากนั้น ดอกอัญชัน สามารถนำมาชุบแป้งทอด พื่อตกแต่งจาน หรือ ทำไข่เจียวอัญชัน ก็ได้

อัญชันที่พบอยู่ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ อัญชันดอกขาว กับ อัญชันดอกน้ำเงิน และบางครั้งอาจพบอัญชัญชนิดดอกสีม่วง ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างสีขาวกับสีน้ำเงิน ดอกอัญชันนำมาคั้นทำสีผสมอาหาร นิยมนำมาผสมขนมไทย เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมขี้หนู ขนมน้ำดอกไม้ น้ำดอกอัญชัน

ลักษณะของต้นอัญชัน

อัญชัน เป็นพืชไม้เลื้อย ขนาดไม่ใหญ่ สามารถปลูกตามรั้วบ้าน หรือ ปลูกเป็นซุ้มประตูให้ความสวยงาม สามารถขยายพันธ์ุโดยการเพาะเมล็ดพันธ์ สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน โตง่าย ลักษณะของต้นอัญชัน มีดังนี้

  • ลำต้นอัญชัน ลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อน เป็นไม้เลื้อย อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพันตามหลักหรือเสา ลำต้นมีขนปกคลุม ลำต้นอ่อนสีเขียว หากลำต้นแก่จะเป็นสีน้ำตาล
  • ใบอัญชัน ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
  • ดอกอัญชัน ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี
  • ผลอัญชัน ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด

สารสำคัญในอัญชัน

สารเคมีจากต้นอัญชัน พบว่ามีสารเคมีสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย ดังนี้

  • สารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • สารแอสตรากาลิน ( astragalin ) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
  • สารเคอร์เซติน (quercetin)  ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • สารแอฟเซลิน ( afzelin )
  • สารอปาราจิติน ( aparajitin )
  • กรดอราไชดิก ( arachidic acid )
  • กรดชินนามิกไฮดรอกซี ( cinnamic acid )
  • สารซิโตสเตอรอล

สรรพคุณของอัญชัน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอัญชัญ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถให้ประโยชน์จาก ใบ ราก เมล็ด และ ดอก ซึ่งสรรพคุณของอัญชัญ มีดังนี้

  • ดอกอัญชัน สรรพคุณช่วยให้ผมดกดำ ผมนุ่มสวย บำรุงเลือด บำรุงสมอง มีสารตานอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา ขับสารพิษในร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด
  • เมล็ดของอัญชัญ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน
  • รากของอัญชัญ มีรสขม นำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และทำยาระบาย แก้อาการปวดฟัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
  • ใบของอัญชัน ช่วยขับปัสสาวะ  ช่วยบำรุงสายตา ขับของเสียออกจากร่างกาย

โทษของอัญชัน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอัญชันในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีข้อควรระวังต่างๆ ดังนี้

  • ดอกอัญชัน หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เนื่องจากไตต้องทำการขับสารสีของอัญชันออก
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง ไม่ควรจะรับประทานอัญชัน เพราะ ดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโลหิตจาง
  • ไม่ควรดื่มน้ำอัญชันในขณะอุณหภูมิร้อนจัด เพราะ อาจจะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งได้ง่าย
  • ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจางห้ามรับประทานดอกอัญชันเด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อย ๆ
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรใด ๆ ชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี
โรคน่ารู้
ปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆนั้น บางปัจจัยสามารถมองเห็นได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ เชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ
ไวรัสโคโลน่า โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ
โรคไวรัสโคโลน่า
โรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ
 โรคกระดูกพรุน
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์
 โรคเก๊าท์
ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก
โรคข้อเสื่อม