ตำลึง ผักสวนครัว นิยมนำมารับประทาน เป็นยารักษาโรคได้

ตำลึง นิยมปลูกริมรั้วบ้าน สรรพคุณของตำลึง ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา รักษาแมงสัตว์กัดต่อย ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาแผล โทษของตำลึงเป็นอย่างไร

ตำลึง สมุนไพร ผักพื้นบ้าน

ต้นตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของตำลึง คือ Cocconia grandis (L.) Voigt สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนิน เป็นต้น สังคมไทยรู้จักผักตำลึงเป็นอย่างดี ผักตำลึงนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ทานเป็นผักสด หรือ นำมาผัด มาต้มกิน ผักตำลึงมีสารเอนไซม์อะไมเลส สรรพคุณช่วยย่อยแป้ง และมีบีตาแคโรทีน ช่วยซ่อมแซมส่วนของร่างกายที่สึกหรอ

ประโยชน์ของตำลึง  สามารถนำมารับประทานและยังนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องประทินผิวและยารักษาโรคในการแพทย์แผนโบราณ เช่น นำเถาและใบมาตำผสมกับปูนแดงใช้ทาบริเวณรักแร้ ช่วยระงับกลิ่นกาย ยอดตำลึงนำมาผสมน้ำผึ้ง นำมาพอกหน้าช่วยให้ผิวพรรณเต่งตึง เป็นต้น สำหรับอาหารไทย นิยมใช้ยอดและใบตำลึงกินเป็นผักสด และใช้ประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น  แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว เป็นต้น

ลักษณะของต้นตำลึง

ต้นตำลึง เป็นพืชล้มลุก ไม้เลื้อยซึ่งลำต้นจะเลื้อยเกาะตามหลัก เช่น แนวรั้วบ้าน ต้นไม้ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นตำลึง มีดังนี้

  • ต้นตำลึง เป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น
  • ใบตำลึง เป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน
  • ดอกตำลึง สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง
  • ผลตำลึง เป็นรูปไข่คล้ายผลแตงกวาแต่เล็กกว่ามาก กว้าง 1 -2 ซม. ยาว 3-4 ซม. เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวมีลายขาว ผลสุกเต็มที่สีแดงสด ภายในมีเมล็ดมากมาย ส่วนตำลึงตัวผู้มีแต่ดอกแต่ไม่มีผล

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

สำหรับการบริโภคตำลึงเป็นอาหารนิยมรับประทานใบและยอดอ่อนตำลึงเป็นอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึงขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็ก

สรรพคุณของตำลึง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตำลึงด้านการบำรุงร้างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ใบ ดอก เมล็ด ราก ลำต้น ซึ่งสรรพคุณของตำลึง มีดังนี้

  • รากของตำลึง สรรพคุณลดไข้ แก้อาเจียน ลดความอ้วน แก้ฝี แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย
  • ลำต้นของตำลึงสรรพคุณแก้อาการวิงเวียนศรีษะ  รักษาโรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ใบของตำลึง สรรพคุณลดวามร้อนในร่างกาย รักษาโรคผิวหนัง แก้ผื่นคันจากหมามุ้ย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด
  • ดอกของตำลึง สรรพคุณรักษาอาการคันผิวหนัง
  • เมล็ดของตำลึง สรรพคุณใช้รักษาหิด

โทษของตำลึง

การรับประทานตึลึงหรือใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ไม่พบอันตรายจากการใช้ประโยชน์จากตำลึงในด้านต่างๆ แต่ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ลดความร้อนในร่างกาย สำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็นอยู่แล้วหากรับประทานตำลึงมากเกินไปอาจทำให้ตัวเย็น เกินอาการชา

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Last Updated on March 12, 2024