ชะอม พืชมีกลิ่นฉุน เป็นสมุนไพรมีประโยชน์ต่อร่างกาย

ชะอม สมุนไพร พืชสวนครัว นำยนรับประทานใบชะอมเป็นอาหาร สรรพคุณของชะอม เช่น แก้ท้องอืด ช่วยขับลม บำรุงสายตา บำรุงโลหิต เป็นยาระบาย ช่วยลดไข้

ชะอม สมุนไพร

ชะอม ภาษาอังกฤษ เรียก Acacia pennata ชื่อทางวิทยาศาสตร์ชะอม คือ Acacia Pennata (L.) Willd.Subsp.InsuavisNielsen ชื่ออื่นๆของชะอม เช่น ผักหละ ผักลำ ผ้าห้า ผักป่า ผักแก่ ผักขา เป็นต้น ต้นชะอม เป็นพืชที่สังคมไทยรู้จักเป็นอย่างดี ยอดอ่อนชะอมนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร ในแต่ละบ้านของครัวเรือนไทย มักปลูกชะอมริมรั้วบ้าน อาหารไทยที่มีชะอมเป็นส่วนประกอบ เมนูชะอม เช่น ไข่ทอดชะอม แกงส้มชะอม ชะอมลวกจิ้มกับน้ำพริก เป็นต้น

ต้นชะอม เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก ใบแก่และใบอ่อนสามารถนำมาทำสมุนไพรได้ ลำต้นชะอมมีหนาม ใบเล็กและมีกลิ่นฉุน คล้ายใบกระถิน ใบอ่อนของชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ดอกของชะอม มีสีขาว ดอกขนาดเล็ก ผลของชะอมเป็นฝัก

ลักษณะของต้นชะอม

ต้นชะอม เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ ลักษณะของต้นชะอม มีดังนี้

  • ลำต้นและกิ่งก้านของชะอม จะมีหนามแหลม
  • ใบของชะอม ส่วนลักษณะของใบชะอมเป็นใบประกอบสีเขียวขนาดเล็ก มีก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ มีลักษณะคล้ายกับใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ใบอ่อนจะมีกลิ่นฉุน ใบย่อยมีขนาดเล็กออกตรงข้ามกัน คล้ายรูปรีประมาณ 13-28 คู่ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ใบย่อยจะหุบในเวลาเย็น และแผ่ออกเพื่อรับแสงในช่วงกลางวัน
  • ดอกชะอม มีขนาดเล็กออกตามซอกใบ มีสีขาวถึงขาวนวล

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

ชะอมนิยมบริโภคใบชะอมเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของใบชะอม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 57 กิโลแคลอรี่ ซึ่งมีสารอาหารสำคุญประกอบด้วย กากใยอาหาร 5 กรัม แคลแซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะอม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะอมในการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบ และ ราก สรรพคุณของชะอม มีดังนี้

  • ใบชะอม สามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ ใช้ลดไข้  บำรุงเลือด บำรุงกระดูก บำรุงสายตา
  • รากชะอม ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดกรดในกระเพาะอาหาร จุกเสียดแน่นท้อง และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร

โทษของชะอม

สำหรับการรับประทานหรือการใช้ชะอมในการบำรุงร่างกาย และ รักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีบุตรอ่อน ไม่ควรรับประทานผักชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแม่แห้งได้
  • ชะอม ต้องนำมาลวกก่อน หากรับประทานแบบสดๆอาจทำให้มีอาการปวดท้องได้
  • ชะอมมีกรดยูริกสูง เป็นสาเหตุของการเกิดข้ออักเสบ โรคเกาต์ ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Last Updated on March 12, 2024