มะขาม มีประโยชน์มากมาย ทำความรู้จักกับมะขาม

มะขาม Tamarind พืชสารพัดประโยชน์ นิยมกินผลมะขามเ็นอาหาร สรรพของมะขาม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงผิว เป็นยาระบายอ่อนๆ ลักษณะของต้นมะขามเป็นอย่างไร

มะขาม สมุนไพร สรรพคุณของมะขาม

ต้นมะขาม ภาษาอังกฤษ Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขาม คือ Tamardus lndica Linn  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะขาม เช่น ขาม ตะลูบ ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล หมากแกงอำเบียล มะขามไทย อำเปียล เป็นต้น มะขามจัดเป็นพันธุ์ไม้มงคล พืชที่มีคำว่าขาม พ้องกับคำว่า น่าเกรงขาม จึงนิยมปลูกในบ้าน มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์

ประโยชน์ของมะขามมีมากมาย เป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ คุณค่าทางโภชนาการสูง ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาจะเป็นเนื้อฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกของลำต้น (ทั้งสดและแห้ง) และเนื้อในเมล็ด สามารถช่วยรักษาได้หลายโรค เช่น เป็นยาขับเสมหะ แก้อาการท้องเดิน บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะขาม

ต้นมะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี เพาะเมล็ดพันธ์ การตอนกิ่ง เป็นต้น

  • ลำต้นมะขาม ลำต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบมะขาม ลักษณะเป็นใบประกอบ ใบมีเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ปลายใบและโคนใบมน
  • ดอกมะขาม ดอกจะออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลือง
  • ผลมะขาม ลักษณะผลเป็นฝักยาว รูปร่างโค้ง ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา ฝักแก่สีน้ำตาลเกรียม ภายในฝักมีเนื้อสีน้ำตาล เนื้อมีรสเปรี้ยวหรือหวาน ภายในเนื้อฝักมีเมล็ดลักษณะแบนเป็นมันสีน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม

สำหรับการรับประทานมะขามเป็นอาหารสามารถรับประทานใบและเนื้อผลมะขาม ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะขามดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.5 กรัม น้ำตาล 57.4 กรัม กากใยอาหาร 5.1 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม วิตามินบี 1 0.428 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.152 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.938 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 8.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 74 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 92 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 628 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามินเอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี

เนื้อฝักมะขามที่แก่จัดอุดมด้วยกรดอินทรีย์ เช่น กรดซิตริก ( Citric Acid ) กรดทาร์ทาริก ( Tartaric Acid ) หรือ กรดมาลิก ( Malic Acid ) เป็นต้น คุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน คราบไขมันบนผิวหนังได้ดี

สรรพคุณของมะขาม

สำหรับการนำมะขามมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากใบและผลมะขาม สรรพคุณของมะขาม มีดังนี้

  • ใบมะขาม สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณสะอาดและช่วยต้านทานโรค รักษาแผลเรื้อรัง
  • เนื้อผลของมะขาม สรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิว ลดรอยคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใส เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ ขับเสมหะ ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย ช่วยขับน้ำนม สำหรับสตรีหลังคลอด
  • เปลือกของผลมะขาม สรรพคุณช่วยสมานแผล

โทษของมะขาม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะขามมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากมะขาม ดังนี้

  • มะขามมีความเป็นกรด หากมีบาดแผลและโดยเนื้อมะขาม อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง แสบได้
  • มะขามหากกินมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสีย การท้องเสียมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำเป็นอันตรายได้
  • มะขามเปียกใช้ขัดผิว หรือ พอกหน้า แต่หากใช้มะขามเปียกเกินอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้
  • สำหรับการขัดผิว หรือ พอกหน้า ด้วยมะขามปียก อย่าลืมบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ด้วยครีมบำรุงผิว และ ครีมกันแดด
โรคน่ารู้
ปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆนั้น บางปัจจัยสามารถมองเห็นได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ เชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ
ไวรัสโคโลน่า โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ
โรคไวรัสโคโลน่า
โรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ
 โรคกระดูกพรุน
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์
 โรคเก๊าท์
ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก
โรคข้อเสื่อม