ผักโขม พืชคุณภาพ สมุนไพร ช่วยชะลอวัย บำรุงร่างกาย

ผักโขม สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ผักโขมเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงผิว ลดไขมันในเลือด โทษของผักโขมมีอะไรบ้างผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักโขม

ต้นผักโขม ( Amaranth ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักโขม คือ Amaranthus blitum subsp. oleraceus (L.) Costea สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของผักโขม เช่น ผักโหม ผักหม ผักโหมเกลี้ยง กระเหม่อลอเตอ เป็นต้น ผักโขม จัดอยู่ในพืชตระกูลต้นบานไม่รู้โรย เป็นผักสวนครัว สามารถพบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ เช่น ริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง เทือกสวนไร่ชาวนา เป็นต้น เป็นพืชที่ขึ้นและเติบโตได้ง่าย

สายพันธ์ผักโขม

สำหรับสายพันธ์ผักโขม ที่นิยมปลูกในประเทศไทย มีอยู่หลายสายพันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ผักโขม ผักโขมสวน ผักโขมหัด ผักโขมหนาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ผักโขมบ้าน จะมีลักษณะใบกลมเล็ก มีลำต้นเล็ก ก้านของใบเป็นสีแดง ใบสีเขียวเหลือบแดง สมามรถนำมาใช้ ลดไข้ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ เมื่อต้มเอาน้ำมาอาบ มีสรรพคุณในการแก้คันได้เป็นอย่างดี
  • ผักโขมหนามSpiny amaranth ) จะมีลักษณะลำต้นสูง มีใบใหญ่ มีหนาม ตามช่อของดอก หากจะนำผัดโขมหนามมาทำอาหาร เราจะนำมาใช้เฉพาะยอดอ่อน สามารถนำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้แน่นท้อง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำนม ลดไข้ แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าของเด็ก
  • ผักโขมสวนRed amaranth ) จะมีลักษณะใบสีเขียว  เส้นกลางของใบสีแดง
  • ผักโขมจีน ( Chinese Spinachจะมีลักษณะต้นใหญ่ ใบสีเขียว หยัก มีกลิ่นฉุน

ลักษณะของต้นผักโขม

ต้นผักโขม เป็นไม้พุ่มเตี้ย ชอบดินร่วนซุยและชุ่มชื้น ใบยาวเหมือนขนนกขนาดสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ลักษณะของต้นผักโขม มีดังนี้

  • ลำต้นผักโขม ความสูงประมาณ 30 ถึง 100 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบน้ำ สีเขียว แตกกิ่งก้านสาขามาก โคนลำต้นสีแดงอมน้ำตาล
  • ใบผักโขม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปสามเหลี่ยม ผิวใบเรียบ ขอบใบเรียบ ใบมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หลังใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
  • ดอกผักโขม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีม่วงปนเขียว ดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่ง
  • เมล็ดผักโขม อยู่ที่ดอก เมล็ดมีลักษณะกลม ขนาดเล็ก สีน้ำตาลดำ

คุณค่าทางโภชนาการของผักโขม

ผักโขม นิยมรับประทานใบและลำต้นเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผักโขม โดยผักโขมขนาด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 23 กิโลแคลลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 5.2 กรัม ไขมัน 0.80 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.70 มิลลิกรัม แคลเซียม 341 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 76 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.10 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.37 มิลลิกรัม วิตามินซี 120 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.80 มิลลิกรัม และ เบต้าแคโรทีน 558.76 RE

สรรพคุณของผักโขม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักดขม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ ลำต้น โดยสรรพคุณของผักโขม มีดังนี้

  • ทั้งต้นของผักโขม สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอวัย ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย แก้อาการบิด ลดอาการแน่นท้อง ช่วยขับถ่าย รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้อาการปวดท้องประจำเดือน แก้ผดผื่นคัน รักษาฝี รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลพุพอง แก้อาการช้ำใน ลดความอ้วน บำรุงครรภ์ ช่วยบำรุงน้ำนม
  • รากผักโขม สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ใบสด สรรพคุณช่วยรักษาแผลสด

โทษของผักโขม

สำหรับการรับประทานผักโขม มีข้อควรระวัง เนื่องจากในผักโขมสดมีสารออกซาเลต ( Oxalate ) สูง ซึ่งเป็นสารที่ทำให้กิดนิ่ว และ ทำให้เกิดข้ออักเสบ โรคเกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การรับประทานผักโขมควรทำให้สุกก่อน เพื่อให้สารออกซาเลตลดปริมาณลง

ผักโขม ผักสวนครัว สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของผักโขมเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักโขม บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา  บำรุงเลือด  บำรุงผิว ลดไขมันในเลือด มีเบต้าแคโรทีนสูง โทษของผักโขมมีอะไรบ้าง

Last Updated on March 17, 2021