แผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic ulcer ) อาการปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว เจ็บที่ลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระสีดำ ปวดท้องตอนสายๆและตอนกลางคืนโรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหาร

แผลเพ็ปติก ภาษาอังกฤษ เรียก Peptic ulcer เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคแผลเพ็ปติก เป็นโรคยอดฮิต ของคนบนโลก พบว่าประชากรประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของประชากรโลกมีโอกาสเป็น เป็นโรคนี้ หากปวดท้องเวลากลางคืน ให้สันนิษฐานได้เลยว่า ท่านอยาจจะเกิดโรคแผลเพปติก แล้ว

โรคนี้เป็นอาการผิดปรกติของเยื่อบุกระเพาะอาหาร คือ เกิดแผลที่กระเพาะอาหาร โรคนี้สามารถเรียกอีกโรคหนึ่งว่า โรคแผลกระเพาะอาหาร โรคแผลจียู หรือ โรคแผลลำไส้เล็กส่วนต้น โอกาสของการเกิดโรคนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย แต่จากสิถิติพบว่า คนอายุ 30 ปี ขึ้นไปมีโอกาสเกิดโรคเพ็ปติก มากกว่าคนที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดแผลที่กระเพาะอาหารนั้น เกิดจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร มากในขณะที่ความสามารถในการต่อต้านกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง ทำให้กรดเกิดการกัดเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผล ซึ่งเราได้รวมสาเหตุของสาเหตุการเกิดแผลเพ็ปติก ได้ดังนี้

  1. แผลในกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เอชไพโลไร(H.pylori) เกิดจากการกินอาหารหรือน้ำดื่ม ที่ไม่สะอาด มีสิ่งเจือปน เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะเกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบและมีแผล
  2. แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากการรับประทานยาต้านอาการอักเสบ ยาแก้ปวดเช่น ซึ่งยาในกลุ่มเหล่านี้จะทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารได้ หากใช้ยาเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง อาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น มีอาการเลือดออก แผลในกระเพาะอาหารทะลุ ซึ่งหากผู้ป่วยมีอายุมากขึ้นเท่าไร โอกาสของความรุนแรงของโรคก็มากขึ้นตามไปด้วย
  3. แผลในกระเพาะอาหารจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งพบว่าผู้ที่มีอาการโรคนี้เรื้อรัง ทายาทมีโอกาสเกิดโรคนี้มากถึง 3 เท่า
  4. การสูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเกิดแผลของลำไส้เล็กส่วนต้นได้
  5. กลุ่มคนที่มีความเครียดสูง ความเครียดเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคนี้เป็นแผลกำเริบได้
  6. การดื่มสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน
  7. การรับประทานอาหารที่มีรสจัด และผลไม้ที่มีความเป็นกรดสูง

อาการของผู้ป่วยโรคแผลเพ็ปติก

ลักษณะของอาการโรคแผลเพ็ฟติก นั้น ผู้ป่วยจะปวดท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นๆ หายๆ มีอาการเรื้อรัง มักจะปวดก่อนหรือหลังการรับประทานอาหาร อาการจะ ปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียนและเรอเปรี้ยว สำหรับผู้ป่วยที่เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น จะมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง ปวดท้องตอนสายๆ และปวดท้องตอนกลางคืน ทำให้นอนหลับไม่สบายตัว ลักษณะอาการจะเกิดหลังจากการกินข้าวไปแล้ว 3 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยเป็นหนักๆ จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด มีอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระมีสีดำ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคแผลเพ็ปติก

การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เรื้อรังนั้น จะส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนของการแผลในกระเพาะอาหารนั้นมีความอันตราย ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหารมากอาจเกิดการช็อก จากการเสียเลือด เกิดภาวะการขาดธาตุเหล็ก สังเกตุได้จากอุจจาระเป็นสีดำ อาการแทรกซ้อนยังสามารถเกิด ลำไส้อุด ท้องผูก อาเจียนรุนแรง ปวดท้องรุนแรง ตับอ่อนอักเสบ และมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

การรักษาผู้ป่วยโรคแผลแพ็ปติก

สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคแผลแพ็ปติก นั้นสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาและการผ่าตัด ซึ่งรายละเอีย ดังนี้

  • การรักษาโดยการให้ยาลดในกระเพาะอาหาร ซึ่งยาลดกรดในกระเพาะอาหารนั้น ให้รับประทานก่อนการรับประทานอาหาร
  • การรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุของการเกิดโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยต้องรับประทานอาหารนานติดต่อกัน 2 สัปดาห์
  • การรักษาโดยการให้ยาแก้อาการอักเสบ ซึ่งยาแก้อักเสบนั้น ใช้สำหรับรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหาร ที่เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาโดยการผ่าตัดนั้น จะใช้รักษาในลักษณะของผุ้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง และมีอาการหนัก ไม่สามารถใช้การรักษาด้วยยา หรือจำเป็นต้องรักษาอย่างเร่งด้วย ลักษณะของผู้ป่วยอาการแบบใดที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด คือเมื่อเกิดโรคแผลเพ็ปติกขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยรายละเอียดของอาการที่ต้องระวังมี ดังนี้
    1. หากพบว่ามีอาการอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระสีดำ หน้ามืด จะเป็นลม ให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
    2. หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง  นานเกิน 6 ชั่วโมง มีอาการอาเจียน ท้องแข็ง เป็นอาการแทรกซ้อนจากกระเพาะอาหารทะลุ หรือลำไส้ตีบตัน ต้องเข้ารับการผ่าตันโดยด่วน
    3. หากผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร กลืนลำบาก น้ำหนักลด ตัวซีด ตาเหลือง ตับโต ม้ามโต มีก้อนในท้อง อาเจียนรุนแรง อาจเกิดอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจ สงสัยอาจเป็นโรคหัวใจขาดเลือด นิ่วน้ำดี

ข้อแนะนำในการปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคแผลเพ็บติก

สำหรับอาการโรคแผลเพ็บติก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่สาเหตุหลัก คือ การปฏิบัติตนที่ไม่ถูดต้องทำให้เกิดการทำร้ายกระเพาะอาหาร ข้อควรปฏิบัติตนให้พ้นจากโรคแผลเพ็บติกมี ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา อย่าปล่อยให้ท้องว่าง
  • งดการสูบบุหรี่
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลม
  • ลดการเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสม
  • หลีกหลี่ยงการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอย์ และแอสไพริน
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด หรือน้ำผลไม้ที่มีกรดสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • คลายเครียด
  • หากมีอาการแผลในกระเพาะอาหาร ให้พบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

แผลแพ็ปติก แผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic ulcer ) ภาวะเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร อาการโรค เช่น ปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว เจ็บที่ลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระมีสีดำ ปวดท้องตอนสายๆ ปวดท้องตอนกลางคืน

ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ( Urinary tract infection ) การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปวดเอว ปัสสาวะบ่อย ปวดเวลาปัสสาวะ เกิดขึ้นได้กับทุกคน รักษาอย่างไรท่อปัสสาวะอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคระบบขับถ่าย โรคไม่ติดต่อ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Urinary tract infection เรียกย่อๆว่า UTI เป็น โรค ที่ เกิดจากการติดเชื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่ ระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ ผู้ป่วย มีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะ ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็น ระบบของอวัยวะของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับไต โดยตรง เมื่อ ไต ทำหน้าที่กรองของเสีย จะส่งต่อไปที่ ท่อปัสสาวะ และ ขับของเสีย ออกในรูปแบบ น้ำปัสสาวะ  การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ใน เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย

น้ำปัสสาวะของมนุษย์ 

โดยปกติ ประกอบไปด้วย น้ำ และ เกลือ ซึ่ง น้ำปัสสาวะ จะไม่มีเชื้อโรค แต่ การติดเชื้อโรคของทางเดินปัสสาวะ เกิดมาจากภายใน ทางระบบทางเดินอาหาร หรือ อุจาระ ทำให้ ท่อปัสสาวะอักเสบ มีโอกาสทำให้ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้ และหาก เชื้อโรคลามเข้าท่อไต จะทำให้ กรวยไตอักเสบ  การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ อาจเกิดจาก เชื้ออีโคไล หรือ การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์

ผู้ที่มีโอกาสเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ คือ ผู้ป่วย นิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วย โรคต่อมลูกหมากโต ผู้ป่วยที่ ระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยประสาทไขสันหลังอักเสบ ในสตรีที่ใกล้คลอด

อาการของผู้ป่วยโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

อาการของผู้ป่วย โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ สามารถสังเกตุได้จากอาการต่างๆ ดังนี้ ปัสสาวะบ่อย รู้สึกเจ็บเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะมีหนองปน อยู่ บางราบมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะขุ่น

การวินิจฉัยโรคทางเดินปัสาวะอักเสบ

สำหรับการวินิจฉัย เพื่อตรวจหาดรค นั้น สามารถทำได้โดยการ นำปัสสาวะไปตรวจดูความบริสุทธ์ ตรวจหาเม็ดเลือดขาว และ เม็ดเลือดแดง และ เชื้อโรค  หรือ การส่องกล้องตรวจในกระเพาะปัสสาวะ

การรักษาผู้ป่วยทางเดินปัสสาวะอักเสบ

การรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ นั้น หากผู้ป่วยไม่มีอาการไข้ ปวดเอว ปวดเวลาปัสสาวะ แล้ว สามารถใช้ยารักษาได้ ซึ่ง การใช้ยารักษา โดยทั่วไปอาการจะหายในเวลา 1 ถึง 2 วัน แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมา อาการ มีไข้สูง ปวดเอว ต้องรักษาโดยการฉีดยาเข้าเส้น และในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิงมีอาการทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ นั้นต้องป้องกันโดย
รับประทานยา ไทรเมโทรพริม ( trimethoprim ) การรับประทานยาต้องรับประทานยานาน 6 เดือน

การป้องกันการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ

การป้องกันการเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ สามารถทำได้โดยให้ดื่มน้ำให้มาก ไม่ควรอั้นปัสสาวะ ให้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศก่อนการมีเพศสัมพันธ์ ห้ามใช้สารหรือสิ่งอื่นใดกับช่องคลอด ในเพศชาย การคลิบอวัยวะเพศ จะ ช่วยลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ได้

การปัสสาวะ ช่วยลดการเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ ได้ ดังนี้ สมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ จะ ช่วยป้องกันการเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ได้ รวมถึง โรคทางเพศสัมพันธ์บางโรค สมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ มีดังนี้

กระดังงา สมุนไพร สรพคุณของกระดังงา ประโยชน์ของกระดังงากระดังงา
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือยลูกเดือย
โหราเดือยไก่ สมุนไพร สรรพคุณของโหราเดือยไก่ ประโยชน์ของโหราเดือยไก่โหราเดือยไก่
ขี้เหล็กเทศ สมุนไพร ต้นขี้เหล็ก สมุนไพรบำรุงหัวใจขี้เหล็กเทศ

ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ( Urinary tract infection ) คือ ภาวะการติดเชื้อโรคที่ทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ ระบบทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดอาการ มีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะบ่อย ปวดเวลาปัสสาวะ การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย อาการของโรคเดินปัสสาวะอักเสบ การรักษา การป้องกัน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove