มะเร็งลำไส้เล็ก เนื้อร้ายที่ลำไส้เล็ก อาการปวดท้องหลังกินอาหาร ปวดท้องถึงหลัง เบื่ออาหาร มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร สีอุจจาระผิดปรกติ มีก้อนบริเวณท้องส่วนบนขวามะเร็งลำไส้เล็ก โรคระบบทางเดินอาหาร โรคมะเร็ง เนื้อร้าย

มะเร็งลำไส้เล็ก เกิดจากอะไร สาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งลำไส้เล็ก คืออะไร รักษาโรคมะเร็งลำไส้เล็ก อย่างไร สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็กต้องดูแลอย่างไร โรคในระบบทางเดินอาหาร ความผิดปรกติของเซลล์ในร่างกาย โรคมะเร็งที่พบได้ไมบ่อย ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้เล็ก มีอะไรบ้าง

ลำไส้เล็ก

ทำความรู้จักกับ ลำไส้เล็ก หน้าที่ของลำไส้เล็ก นั้นคือ การย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารที่ถูกย่อยเข้ากระแสเลือด เพื่อนำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ประโยชนื ซึ่ง ลำไส้เล็ก นั้นมีความสำคัญต่อร่างกาย ซึ่งใน ลำไส้เล็ก นั้นบทบาทมากที่สุด ในลำไส้เล็กจะมี ติ่งที่ยื่นออกมา เราเรียกติ่งนี้ว่า วิลไล ภาษาอังกฤษ เรียก Villi ส่วนนี้ เป็นส่วนสำคัญที่ใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซึมสารอาหารของ ลำไส้เล็ก

โครงสร้างลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็ก นั้นมีลักษณะเป็นท่อ เป็นกล้ามเนื้อ มีความยาวประมาณ 10 เมตร เป็นจุดที่เชื่อมต่อจากส่วนปลายของกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก นั้นจะสร้างน้ำย่อยออกมา เพื่อประโยชน์ในการย่อยอาหาร และการดูดซึมอาหารให้ได้มากที่สุด ลำไส้เล็ก(Small intestine) สามารถแบ่งได้ 3 ส่วน ประกอบด้วย ลำไส้เล็กตอนต้น เรียก Duodenum ลำไส้เล็กส่วนกลาง เรียก Jejurium  และ ลำไส้เล็กส่วนปลาย เรียก lleum โดยรายละเอียดของลำไส้เล็กส่วนต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำไส้เล็กส่วนต้น ( Duodenum ) คือส่วนที่ต่อจากกระเพาะอาหาร ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สั่นที่สุด เมื่อเทียบกับลำไส้เล็กส่วนอื่นๆ
  • ลำไส้เล็กส่วนกลาง ( Jejunum ) ส่วนนี้จะมีความยาวประมาณ 9 ฟุต อยู่ต่อจากลำไส้เล็กส่วนต้น
  • ลำไส้เล็กส่วนปลาย ( Ileum ) เป็นส่วนของลำไส้เล็กที่อยู่ปลาย อยู่ติดกับลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่มีความยาวมากที่สุด เป็นส่วนที่มีความสามารถในการดูดซึมสารอาหารมากที่สุด ของลำไส้เล็ก

โรคมะเร็งลำไส้เล็ก

สำหรับอัตราการเกิด โรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้นเราไม่พบว่ามีการป่วย โรคมะเร็งลำไส้เล็ก ในอัตราที่สูง โดย อัตราการเกิดมะเร็งลำไส้เล็ก ไม่ถึงร้อยละ 1 ของการเกิดมะเร็งในอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย แต่โรคมะเร็งชนิดนี้ เราจะพบว่าผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีอัตราการเกิดที่สูงกว่าช่วงอายุที่ต่ำกว่า 50 ปี และอัตราการเกิดโรคเพศชายจะมีอัตราส่วนที่สูงกว่าเพศหญิง

มะเร็งลำไส้เล็ก คือ การเกิดความผิดปรกติของเซลล์ร่างกายบริเวณลำไส้เล็ก ลักษณะเป็นเนื้องอก ก้อนเนื้อร้าย ที่ลามมาจากอวัยวะใกล้เคียง หรือสามารถแพร่่ไปสู่อวัยวะใกล้เคียงได้ เช่น กระเพาะอาหาร ท่อน้ำดี ตับอ่อน เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้เล็ก

การเกิด โรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น ในปัจจุบันเรายัง ไม่สามารถทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิด มะเร็งลำไส้เล็ก ได้แน่ชัดนัก แต่มีการพบสารบางตัว ที่ออกมาจากน้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำดี เช่น กรดลิโธโคลิก(Lithocholic) เป็นต้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็ง มาจาก พันธุกรรม โรคเนื้องอกชนิดดีบริเวณเยื่อบุผิว เนื้องอกชนิดต่อมขนอ่อน แผลที่ลำไส้เล็ก เป็นต้น

ประเภทของมะเร็งลำไส้เล็ก

การเกิดมะเร็งลำไส้เล็ก เราพบว่ามีหลายลักษณะ ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของมะเร็งลำไส้เล็กได้ 4 ประเภท มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดต่อม เกิดต่อมที่เยื่อเมือกลำไส้เล็กส่วนต้น และต่อมนี้เกิดการพัฒนาเป็นเนื้องอก
  2. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดคาซินอย ( Carcinoid ) เป็นการเกิดเนื้อร้ายจากเซลล์enterochromaffin โดยทั่วไปแล้วเนื้องอกที่เกิดขึ้น จะมีขนาดเล็กและส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นที่ลำไส้เล็กเพียงจุดเดียว แต่เมื่อเนื้องอกนี้พัฒนาตัวจนมีขนาดใหญ่ขึ้น จะสามารถลามจนเกิดเนื้อร้ายได้
  3. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดกล้ามเนื้อเรียบ เป็นการเกิดชั้นของกล้ามเนื้อ ลักษณะเรียบ ที่ลำไส้เล็ก
  4. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดเนื้อร้ายของต่อมน้ำเหลือง เป็นเนื้องอกชนิดร้าย เกิดจากต่อมน้ำเหลืองที่ผนังลำไส้เล็ก แต่มะเร็งชนิดนี้ มีความแตกต่างจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่รุกล้ำถึงลำไส้เล็ก

อาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็ก

อาการของมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น ก็จะเกิด การผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเราสามารถสรุป อาการของโรคมะเร็งลำไส้เล็ก ได้ดังนี้

  1. มีอาการปวดท้องส่วนบน ปวดท้องตื้อๆ หลังรับประทานอาหาร อาการปวดสามารถลามไปปวดบริเวณหลัง
  2. มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  3. มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร แบบเรื้อรัง สังเกตุอาการจาก สีอุจจาระผิดปรกติ มีเลือดปนที่อุจจาระ อุจจาระมีสีดำ
  4. น้ำหนักตัวลดลง ร่างกายอ่อนแอ โลหิตจางฃ
  5. มีก้อนบริเวณท้องส่วนบนขวา เกิดจากเนื้องอก เนื้อร้าย มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น

วิธีการรักษามะเร็งลำไส้เล็ก

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น หากพบว่ามีมะเร็ง ต้องทำการรักษาด้วยการตัดเนื้อร้ายออกและการฉายรังสี การทำเคมีบำบัด เพื่อป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย เราสามารถสรุป วิธีการรักษามะเร็งลำไส้ ได้ดังนี้

  • การรักษามะเร็งลำไส้เล็กด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดแพทยืจะทำการผ่าตัดลำไส้เล็ก หัวตับอ่อน การผ่าตัดท่อลำไส้เล็กแบบเป็นช่วงๆ และการผ่าตัดส่วนของกระเพาะอาหาร เป็นการตัดเนื้อร้ายออกจากร่างกาย แต่การผ่าตัดยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเนื้อร้ายสามารถเจริญเติบโตได้ ดังนัั้น ต้องมีการรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปด้วย
  • การรักษามะเร็งลำไส้เล็กด้วยการฉายรังสีและการทำเคมีบำบัด เป็นการทำให้เนื้อร้าย และเซลล์มะเร็งผ่อ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้อีก

วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็ก

สำหรับ การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น การลดการทำงานของระบบทางเดินอาหาร การใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญ วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็ก มีดังนี้

  • ผู้ป่วยต้องเลิกการบุหรี่
  • ผู้ป่วยต้องไม่ดื่มสุรา
  • ผู้ป่วยต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชาและกาแฟ
  • อาหารสำหรับผู้ป่วยต้องเป็นอาหารเบาๆ ไม่รสจัด หรือเผ็ด
  • การใช้ยาที่มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารต้องปรึกษาแพทย์
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหาร เช่น ผลไม้และผักสด
  • ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ครบห้าหมู่
  • รักษาความสะอาดของภาชนะที่มีส่วนในการรับประทานอาหาร และความสะอาดของสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย

โรคมะเร็งลำไส้เล็ก เกิดเนื้องอกที่ลำไส้เล็ก ปวดท้องหลังรับประทานอาหาร ลามไปถึงหลัง ก้อนเนื้อร้าย สามารถแพร่่ไปสู่อวัยวะใกล้เคียงได้ โรคนี้เกิดจากอะไร แนวทางการรักษาทำอย่างไร สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็กต้องดูแลอย่างไร

แผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic ulcer ) อาการปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว เจ็บที่ลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระสีดำ ปวดท้องตอนสายๆและตอนกลางคืนโรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหาร

แผลเพ็ปติก ภาษาอังกฤษ เรียก Peptic ulcer เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคแผลเพ็ปติก เป็นโรคยอดฮิต ของคนบนโลก พบว่าประชากรประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของประชากรโลกมีโอกาสเป็น เป็นโรคนี้ หากปวดท้องเวลากลางคืน ให้สันนิษฐานได้เลยว่า ท่านอยาจจะเกิดโรคแผลเพปติก แล้ว

โรคนี้เป็นอาการผิดปรกติของเยื่อบุกระเพาะอาหาร คือ เกิดแผลที่กระเพาะอาหาร โรคนี้สามารถเรียกอีกโรคหนึ่งว่า โรคแผลกระเพาะอาหาร โรคแผลจียู หรือ โรคแผลลำไส้เล็กส่วนต้น โอกาสของการเกิดโรคนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย แต่จากสิถิติพบว่า คนอายุ 30 ปี ขึ้นไปมีโอกาสเกิดโรคเพ็ปติก มากกว่าคนที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดแผลที่กระเพาะอาหารนั้น เกิดจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร มากในขณะที่ความสามารถในการต่อต้านกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง ทำให้กรดเกิดการกัดเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผล ซึ่งเราได้รวมสาเหตุของสาเหตุการเกิดแผลเพ็ปติก ได้ดังนี้

  1. แผลในกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เอชไพโลไร(H.pylori) เกิดจากการกินอาหารหรือน้ำดื่ม ที่ไม่สะอาด มีสิ่งเจือปน เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะเกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบและมีแผล
  2. แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากการรับประทานยาต้านอาการอักเสบ ยาแก้ปวดเช่น ซึ่งยาในกลุ่มเหล่านี้จะทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารได้ หากใช้ยาเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง อาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น มีอาการเลือดออก แผลในกระเพาะอาหารทะลุ ซึ่งหากผู้ป่วยมีอายุมากขึ้นเท่าไร โอกาสของความรุนแรงของโรคก็มากขึ้นตามไปด้วย
  3. แผลในกระเพาะอาหารจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งพบว่าผู้ที่มีอาการโรคนี้เรื้อรัง ทายาทมีโอกาสเกิดโรคนี้มากถึง 3 เท่า
  4. การสูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเกิดแผลของลำไส้เล็กส่วนต้นได้
  5. กลุ่มคนที่มีความเครียดสูง ความเครียดเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคนี้เป็นแผลกำเริบได้
  6. การดื่มสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน
  7. การรับประทานอาหารที่มีรสจัด และผลไม้ที่มีความเป็นกรดสูง

อาการของผู้ป่วยโรคแผลเพ็ปติก

ลักษณะของอาการโรคแผลเพ็ฟติก นั้น ผู้ป่วยจะปวดท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นๆ หายๆ มีอาการเรื้อรัง มักจะปวดก่อนหรือหลังการรับประทานอาหาร อาการจะ ปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียนและเรอเปรี้ยว สำหรับผู้ป่วยที่เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น จะมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง ปวดท้องตอนสายๆ และปวดท้องตอนกลางคืน ทำให้นอนหลับไม่สบายตัว ลักษณะอาการจะเกิดหลังจากการกินข้าวไปแล้ว 3 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยเป็นหนักๆ จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด มีอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระมีสีดำ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคแผลเพ็ปติก

การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เรื้อรังนั้น จะส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนของการแผลในกระเพาะอาหารนั้นมีความอันตราย ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหารมากอาจเกิดการช็อก จากการเสียเลือด เกิดภาวะการขาดธาตุเหล็ก สังเกตุได้จากอุจจาระเป็นสีดำ อาการแทรกซ้อนยังสามารถเกิด ลำไส้อุด ท้องผูก อาเจียนรุนแรง ปวดท้องรุนแรง ตับอ่อนอักเสบ และมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

การรักษาผู้ป่วยโรคแผลแพ็ปติก

สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคแผลแพ็ปติก นั้นสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาและการผ่าตัด ซึ่งรายละเอีย ดังนี้

  • การรักษาโดยการให้ยาลดในกระเพาะอาหาร ซึ่งยาลดกรดในกระเพาะอาหารนั้น ให้รับประทานก่อนการรับประทานอาหาร
  • การรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุของการเกิดโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยต้องรับประทานอาหารนานติดต่อกัน 2 สัปดาห์
  • การรักษาโดยการให้ยาแก้อาการอักเสบ ซึ่งยาแก้อักเสบนั้น ใช้สำหรับรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหาร ที่เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาโดยการผ่าตัดนั้น จะใช้รักษาในลักษณะของผุ้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง และมีอาการหนัก ไม่สามารถใช้การรักษาด้วยยา หรือจำเป็นต้องรักษาอย่างเร่งด้วย ลักษณะของผู้ป่วยอาการแบบใดที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด คือเมื่อเกิดโรคแผลเพ็ปติกขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยรายละเอียดของอาการที่ต้องระวังมี ดังนี้
    1. หากพบว่ามีอาการอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระสีดำ หน้ามืด จะเป็นลม ให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
    2. หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง  นานเกิน 6 ชั่วโมง มีอาการอาเจียน ท้องแข็ง เป็นอาการแทรกซ้อนจากกระเพาะอาหารทะลุ หรือลำไส้ตีบตัน ต้องเข้ารับการผ่าตันโดยด่วน
    3. หากผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร กลืนลำบาก น้ำหนักลด ตัวซีด ตาเหลือง ตับโต ม้ามโต มีก้อนในท้อง อาเจียนรุนแรง อาจเกิดอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจ สงสัยอาจเป็นโรคหัวใจขาดเลือด นิ่วน้ำดี

ข้อแนะนำในการปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคแผลเพ็บติก

สำหรับอาการโรคแผลเพ็บติก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่สาเหตุหลัก คือ การปฏิบัติตนที่ไม่ถูดต้องทำให้เกิดการทำร้ายกระเพาะอาหาร ข้อควรปฏิบัติตนให้พ้นจากโรคแผลเพ็บติกมี ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา อย่าปล่อยให้ท้องว่าง
  • งดการสูบบุหรี่
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลม
  • ลดการเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสม
  • หลีกหลี่ยงการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอย์ และแอสไพริน
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด หรือน้ำผลไม้ที่มีกรดสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • คลายเครียด
  • หากมีอาการแผลในกระเพาะอาหาร ให้พบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

แผลแพ็ปติก แผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic ulcer ) ภาวะเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร อาการโรค เช่น ปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว เจ็บที่ลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระมีสีดำ ปวดท้องตอนสายๆ ปวดท้องตอนกลางคืน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove