เยื่อบุตาอักเสบ อาการตาแดง แสบตา น้ำตาไหลผิดปรกติ ระคายเคืองตา เกิดจากการติดเชื้อโรค การรักษาใช้การใช้ยาหยอดตาเพื่อฆ่าเชื้อ และ พักสายตาให้ร่างกายพื้นฟูตัวเอง

เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง โรคตา โรคติดเชื้อ

เยื่อบุตา ( Conjunctiva ) คือ เยื่อตาของคนเรา ซึ่งจะมีเนื้อเยื่อที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อในระบบน้ำเหลือง และเซลล์เม็ดเลือดขาว การที่เยื่อบุตาอักเสบอาจจะเกิดจากภูมิแพ้ หรือ เกิดจากการติดเชื้อโรคบางอย่าง

ภาวะเยื่อบุตาอักเสบ คือ ภาวะการอักเสบของเยื่อบุตา ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อจากสาเหตุต่างๆ ทำให้เกิดความผิดปรกติที่ดวงตา สังเกตุได้จาก ตาเป็นสีแดง รู้สึกคัน หรือ แสบตา ร่างกายสามารถหายเองได้

เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงมาก และ สามารถตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อดวงตาสัมผัสสิ่งระคายเคือง จึงเป็นโอกาสทำให้ดวงตาเกิดการอักเสบได้ ภาวะเยื่อบุตาอักเสบ ส่วนมากไม่อันตรายต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายสามารถซ่อมแซมและรักษาให้หายได้เองภายใน 14 วัน

ชนิดของโรคเยื่อบุตาอักเสบ

สำหรับการแบ่งชนิดของอาการเยื่อบุตาอักเสบ สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ Seasonal allergic conjunctivitis , Perrennial allergic conjunctivitis และ Atopic Keratoconjuntivitis รายละเอียดของชนิดการอักเสบของเยื่อบุตา มีดังนี้

  • Perrennial allergic conjunctivitis เป็นการเกิดภูมิแพ้ที่พบไม่มากเท่าชนิดแรก อาการเหมือนชนิดแรกแต่เบากว่า
  • Seasonal allergic conjunctivitis เป็นอาการเยื่อบุตาอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดในสาเหตุที่มาจากภูมิแพ้ โดยอาการสำคัญ คือ มีน้ำตาไหล เคืองตา เกิดกับดวงตาทั้งสองข้าง และมักจะเป็นตามฤดูกาล
  • Atopic Keratoconjuntivitis เป็นอาการเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดร่วมกับการเกิดผื่นของผิวหนังที่หนังตาและใบหน้า โดยจะพบว่ามี อาการตาแดง เคืองตา คันตา และมีน้ำตาไหล

สาเหตุของโรคเยื่อตาอักเสบ

สาเหตุของการเกิดโรคเยื่อบุตาอักเสบ สามารถแยกสาเหตุของการเกิดโรคจากปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ซึ่ง มีปัจจัย 2 ลักษณะ คือ การติดเชื้อโรค และ การเกิดภูมิแพ้ รายละเอียด ดังนี้

  1. สาเหตุของเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อโรค ซึ่งมีสาเหตุจากทั้งไวรัสและแบคทีเรีย เชื้อไวรัสที่พบบ่อย คือ เชื้อไวรัส Picornavirus หรือ ไวรัส Adenovirus ส่วน เชื้อแบคทีเรียที่พบ คือ เชื้อแบคทีเรีย Clamydia เป็นเชื้อแบคทีเรียอันตราย จากริดสีดวงตา เป็นสาเหตุให้คนตาบอดจำนวนมาก
  2. เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ เกิดการได้รับการระคายเคืองดวงตา เช่น อาหารทะเล ฝุ่นละออง ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เป็นต้น

อาการของเยื่อตาอักเสบ

การแสดงอาการของโรคเยื่อตาอักเสบจะแสดงอาการที่ดวงตา คือ ตาแดงที่ตาขาวหรือเปลือกตาด้านใน มีอาการคันและแสบที่ตา สายตาพล่ามัว เยื่อบุตามีอาการบวม มีน้ำตามากผิดปกติ น้ำตาไหลและตาแฉะ มีเม็ดเล็กๆอยู่ในตา สายตามีความไวต่อแสง ขี้ตาเหลืองติดที่เปลือกตาจำนวนเวลาตื่นนอน และ มีอาการอื่นร่วม เช่น มีไข้ อาการหวัด เป็นต้น ซึ่งลักษณะอาการเยื่อบุตาจะแสดงอาการต่างกันใน 3 ลักษณะ คือ อาการจากการระคายเคืองตา อาการจากการติดเชื้อ และ อาการจากภูมิแพ้ ลักษณะอาการต่างๆ มีดังนี้

  • อาการของเยื่อบุตาอักเสบจากการระคายดวงตา ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง น้ำตาไหลผิดปรกติ
  • อาการของเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อโรค ผู้ป่วยจะแสดงอาการแสบร้อนที่ดวงตา รู้สึกเหมือนมีก้อนกรวดบริเวณดวงตา และ ที่ขนตาจะมีเมือกเหนียวเกาะอยู่
  • อาการของเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะแสดงอาการคันตา มีอาการจามและหายใจไม่ออก ตาแห้ง รู้สึกเจ็บตา เกิดตุ่มไขมันเหมือนสิวขนาดเล็กๆที่เปลือกตาด้านบน

หากพบว่าเกิดอาการใดอาการหนึ่งในข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

แนวทางการรักษาโรคเยื่อตาอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาอาการเยื่อบุตาอักเสบ เน้นรักษาที่สาเหตุของการเกิดโรคและให้ร่างกายได้ฟื้นฟูร่างกายเอง แนวทางการปฏิบัติในการรักษาโรคเยื่อบุตาอักเสบ มีดังนี้

  1. หยอดน้ำตาเทียม เพื่อให้ความสบายตา
  2. ทำความสะอาดและรักษาความสะอาดบริเวณใบหน้า
  3. ใส่แว่นกันแดด จะช่วยให้สบายตาขึ้นและป้องกันฝุ่นเข้าตา
  4. ใช้ยาหยอดตา เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรีย
  5. ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคเยื่อบุตาอักเสบ

สำหรับแนวทางการดูแลตัวเองเมื่อป่วยโรคเยื่อบุตาอักเสบ สำหรับผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ ให้หลีกเลี่ยงการเกิดอาการแพ้ของตนเอง หากรู้สึกระคายเคืองตา ให้ใช้น้ำสะอาดล้างตา และ หากมีอาการบวมที่เปลือกตา ให้ใช้การประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม

การป้องกันโรคเยื่อบุตาอักเสบ

สำหรับสาเหตุและปัจจัยของโรคเยื่อบุตาอักเสบ คือ การได้รับการระคายเคืองดวงตา การติดเชื้อ และ อาการภูมิแพ้ แนวทางการป้องกันโรค คือ การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ให้สวมแว่นเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนดวงตา จากสิ่งระคายเคือง และ เชื้อโรคต่างๆ
  • หากรู้ว่าตนเองมีภาวะภูมิแพ้ ให้หลีกเลี่ยงการรับสารก่อภูมิแพ้สู่ร่างกาย
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

เยื่อบุตาอักเสบ อาการตาแดง แสบตา น้ำตาไหลผิดปรกติ และ ระคายเคืองตา เกิดจากการติดเชื้อต่างๆ แนวทางการรักษาใช้การใช้ยาหยอดตาเพื่อฆ่าเชื้อ และ การพักสายตาให้ร่างกายพื้นฟูตัวเอง

โรคคอตีบ Diphtheria ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินหายใจ อาการร้ายแรง ทำให้อักเสบที่เยื่อบุจมูก คอ และ หลอดลม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ร่างกายอ่อนแรงได้

โรคคอตีบ โรคหูคจมูก โรคติดเชื้อ โรคลำคอ

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) เป็นโรคเกิดจากทางเดินหายใจติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Chorynebac terium diphtheriae ปัจจุบันเป็นโรคพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ตั้งแต่เป็นทารกอายุ 2 เดือนอย่างทั่วถึง แต่ยังเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อนที่ยังไม่พัฒนาหรือกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย โรคคอตีบจัดเป็นโรครุนแรงเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต (ตาย) ได้ ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคขึ้นกับการได้รับยาต้านสารพิษและยาปฏิชีวนะอย่างรวดเร็วภายใน 1 – 2 วันหลังมีอาการ ซึ่งช่วยลดอัตราเสียชีวิตลงเหลือประมาณ 1% แต่ถ้ามาพบแพทย์ล่าช้า หรือเมื่อผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 5 ปี หรืออายุสูงตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือเกิดผลข้างเคียงแล้ว อัตราเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20%

สาเหตุของการเกิดโรคคอตีบ

สำหรับต้นเหตุของโรคคอตีบเกิดจาก เชื้อแบคทีเรียคอตีบ ชื่อว่า โครินแบคทีเรียดิฟทีเรีย ( Corynebacterium diphtheriae ) เชื้อคอตีบ หลังจากนั้นเชื้อชนิดนี้จะปล่อยสารพิษ (Exotoxin) ออกมาทำลายเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะเยื่อบุคอหอย กล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาท โรคคอตีบสามารถติดต่อได้จากการรับเชื้อทางปากหรือหายใจ จากผู้ที่มีเชื้อโรค เช่น การไอ การจาม การสัมผัสน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย หลังจากได้รับเชื้อ 2-10 วันผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ

อาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ  

ผู้ป่วยจะมี น้ำมูก เจ็บคอ มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว พบว่ามีอาการต่อมน้ำเหลืองโต หายใจและกลืนน้ำลายลำบาก จะมีแผลที่ผิวหนัง มีอาการอักเสบที่แผล เจ็บ และมีหนองเขียวที่แผล หากไม่รักษาให้ทันท่วงที จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ คือ การอักเสบที่กล้ามหัวใจ จะทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลว  เกิดภาวะน้ำท่วมปอด การเต้นของหัวใจจะผิดปกติ หรืออาจจะส่งผลถึงเส้นประสาทที่สมอง อาจเป็นอัมพาต เกิดปากเบี้ยว ตาเข มือเท้าชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถสรุบอาการของโรคคอตีบได้ดังนี้

  • มีไข้มักไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส (Celsius) อาจรู้สึกหนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย เจ็บคอมาก กิน/ดื่มแล้วเจ็บคอมากจึงกิน/ดื่มได้น้อย
  • หายใจลำบาก หายใจไม่ออก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
  • คออาจบวมและไอมีเสียงดังเหมือนสุนัขเห่า
  • มีแผ่นเยื่อในจมูก ต่อมทอนซิล ลำคอ และกล่องเสียง ก่ออาการค่อยๆมีเสียงแหบลงเรื่อยๆ และน้ำมูกอาจมีเลือดปน/น้ำมูกเป็นเลือด
  • อาจมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอบวมโตซึ่งโตได้ทั้งสองข้าง
  • หลังจากมีอาการทางเดินหายใจแล้ว อาจพบมีแผลบริเวณผิวหนังพบได้ทั่วตัวแต่พบบ่อยบริเวณแขนและขา แผลมีลักษณะเหมือนแผลทั่วไป แต่เมื่อตรวจเชื้อจะพบว่าเกิด จากเชื้อโรคคอตีบ

ระยะของโรคคอตีบ

สำหรับอาการของโรคคอตีบนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ระยะ ตามลักษณะของอาการของโรค คือ คอตีบระยะฟักตัวของโรค และ คอตีบระยะติดต่อ ซึงรายละเอียดของโรคคอตีบแต่ละระยะ มีดังนี้

  • คอตีบระยะฟักตัวของโรค  ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนแสดงอาการจะใช้เวลาประมาณ 1-7 วัน (โดยเฉลี่ย 3 วัน) แต่อาจนานได้ถึง 10 วัน และผู้ป่วยมักมีอาการอยู่นาน 4-6 สัปดาห์หรืออาจนานกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ในบางกรณีผู้ติดเชื้ออาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยก็ได้ ซึ่งกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ (Carrier) มักจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญในชุมชน
  • คอตีบระยะติดต่อ ผู้ที่มีอาการของโรคคอตีบจะมีเชื้ออยู่ในจมูกและลำคอได้นาน 2-3 สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แล้วเชื้อจะหมดไปภายใน 1 สัปดาห์

การรักษาโรคคอตีบ

แนวทางการรักษาโรคคอตีบ สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น penicillin หรือ Erythromycin ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาเพื่อฆ่าเชื้อโรค กับแพทย์ ประมาณ 2 สัปดาห์ ผ่าตัดเอาแผ่นฝ้าขาวออกเพื่อไม่ให้อุดหลอดลม พักผ่อนให้มากๆ

การป้องกันโรคคอตีบ

แนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคคอตีบ สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ สรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคคอตีบได้ ดังนี้

  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆซึ่งรวมทั้งเชื้อโรคคอตีบและลดการติดโรคที่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำเช่น ติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์
  • ใช้หน้ากากอนามัย
  • การร่วมมือกันในชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีสุขอนามัยที่ดี
  • โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (DTP vaccine) หรือฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก (DT vaccine)
  • ผู้ที่สัมผัสโรคหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการป้องกัน ซึ่งแพทย์จะเพาะเชื้อจากคอหอย ติดตามอาการเป็นเวลา 7 วัน และให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดเดียวกันกับที่ใช้รักษา แต่ให้รับประทานป้องกันเพียง 7 วัน และจะฉีดวัคซีนป้องกันให้ถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อนหรือฉีดไม่ครบ แต่ถ้าเคยฉีดวัคซีนป้องกันมาแล้วและเข็มสุดท้ายได้รับมานานเกิน 5 ปี แพทย์จะฉีดวัคซีนกระตุ้นให้อีกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยในระยะติดต่อ ควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับผู้ป่วย

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ อาการร้ายแรง ทำให้อักเสบที่เยื่อบุจมูก คอ และ หลอดลม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอักเสบ และ อ่อนแรง ได้ การรักษาโรคคอตีบ การป้องกันโรคคอตีบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove