เยื่อบุตาอักเสบ ( Conjunctiva ) การอักเสบของเยื่อเมือกใสที่ตาขาวเกิดจากติิดเชื้อโรค อาการ เช่น ตาแดง แสบตา คันตา ระคายเคืองตา การรักษาโรคขึ้นอยู่กับสาเหตุ

เยื่อบุตาอักเสบ โรคตา เยื่อบุตาติดเชื้อ

โรคเยื่อบุตาอักเสบ ( Conjunctiva ) ภาวะที่เยื่อบุตาอักเสบ การอักเสบของเยื่อเมือกใสที่คลุมตาขาวและบุด้านในของเปลือกตา เกิดจากติิดเชื้อโรค ทำให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง แสบตา คันตา ระคายเคืองตา การรักษาโรคขึ้นอยู่กับสาเหตุ เยื่อบุตาอักเสบรักษาอย่างไร เยื่อบุตา โรคตา สาเหตุ การรักษา อาการ ตาแดง ระคายเคืองตา จากการติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อแบคทีเรีย

เยื่อบุตา ภาษาอังกฤษ เรียก Conjunctiva อยู่ใต้เยื่อตาของคนเรา ซึ่งจะมีเนื้อเยื่อที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อในระบบน้ำเหลือง และเซลล์เม็ดเลือดขาว การที่เยื่อบุตาอักเสบอาจจะเกิดจากภูมิแพ้ หรือ เกิดจากการติดเชื้อโรคบางอย่าง

เนื่องจากตาเป็นอวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงมาก และเส้นเลือดเหล่านี้สามารถตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ได้เร็วและง่ายมาก เมื่อดวงตาสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เยื่อบุตาจึงมีโอกาสอักเสบได้จากหลายสาเหตุ โรคตา โรคทางตา ส่วนมาก ภาวะเยื่อบุตาอักเสบนั้น ไม่ใช่โรคร้ายอันตรายต่อร่างกาย ร่างกายสามารถซ่อมแซมและรักษาให้หายได้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่ควรระวังสำหรับการเกิดเยื่อบุตาอักเสบในทารก ที่มีอายุไม่ถึง 2 เดือน หากพบว่าเกิดกับเด็กทารกให้รีบปรึกษาแพทย์ดดยด่วน

ชนิดของอาการเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากอาการภูมิแพ้ สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด ดังนี้

  • Seasonal allergic conjunctivitis เป็นอาการเยื่อบุตาอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดในสาเหตุที่มาจากภูมิแพ้ โดยอาการสำคัญ คือ มีน้ำตาไหล เคืองตา เกิดกับดวงตาทั้งสองข้าง และมักจะเป็นตามฤดูกาล
  • Perrennial allergic conjunctivitis เป็นการเกิดภูมิแพ้ที่พบไม่มากเท่าชนิดแรก อาการเหมือนชนิดแรกแต่เบากว่า
  • Atopic Keratoconjuntivitis เป็นอาการเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดร่วมกับการเกิดผื่นของผิวหนังที่หนังตาและใบหน้า โดยจะพบว่ามี อาการตาแดง เคืองตา คันตา และมีน้ำตาไหล

สาเหตุที่ทำให้เยื่อตาอักเสบ

สำหรับ สาเหตุของการทำให้เยือตาอักเสบ เราสามารถแยกปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้ ดังนี้

  1. เยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส ไวรัสที่พบบ่อย คือเชื้อไวรัส Picornavirus หรือ ไวรัส Adenovirus
  2. เยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบททีเรียที่ทำให้เป็นโรคเรื้อรัง อันเป็นเหตุให้คนตาบอดจำนวนมาก คือ เชื้อแบคทีเรีย Clamydia คือโรค ริดสีดวงตาที่เกิดจาก
  3. เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ เช่น อาหารทะเล ฝุ่นละออง ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เชื้อรา

อาการของเยื่อตาอักเสบ

สำหรับอาการของโรคเยื่อตาอักเสบ คือ ตาแดง มีขี้ตา เจ็บตา เคืองตา เหมือนมีผงอยู่ในตา น้ำตาไหล การมองเห็นยังปกติดี หรืออาจพร่ามัวบ้าง เพราะมีน้ำตาและขี้ตามาบัง เช็ดออกแล้วสายตาจะปกติ เราสามารถแยก อาการของโรคโดยแยกตามสาเหตุของการเกิดภาวะเยื่อบุตาอักเสบ ได้ดังนี้

  • อาการของเยื่อบุตาอักเสบ ที่เกิดจากการระคายเคืองทั่วไป พบว่า ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง น้ำตาไหล
  • อาการของเยื่อบุตาที่เกิดจากการอักเสบจากการติดเชื้อ พบว่า อาการของผู้ป่วยมีอาการแสบร้อนที่ดวงตา เหมือนมีก้อนกรวดบริเวณดวงตา และ ที่ขนตาจะมีเมือกเหนียวเกาะอยู่
  • อาการของเยื่อบุตาที่เกิดการอักเสบจากภูมิแพ้ พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการคันตา จามและหายใจไม่ออก ตาแห้ง เจ็บตา และเกิดตุ่มไขมันเหมือนสิวขนาดเล็กๆ ที่เปลือกตาด้านบน

อาการเยื่อบุตาอักเสบ สามารถแยกลักษณะของโรคตามอาการ มีดังนี้

  • ตาแดงที่ตาขาวหรือเปลือกตาด้านใน
  • มือาการคันและแสบที่ตา
  • สายตาพล่ามัว
  • เยื่อบุตามีอาการบวม
  • มีน้ำตามากผิดปกติ
  • น้ำตาไหลและตาแฉะ
  • มีเม็ดเล็ก ๆ อยู่ในตา
  • สายตามีความไวต่อแสง
  • ขี้เหลืองติดที่เปลือกหรือขนตาจนนวนมากตอนตื่นนอน
  • มีอาการอื่นร่วม เช่น มีไข้ อาการหวัด

หากพบว่าเกิดอาการใดอาการหนึ่งในข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

การรักษาเยื่อตาอักเสบ

  1. หยอดน้ำตาเทียม เพื่อให้ความสบายตา
  2. ทำความสะอาดและรักษาความสะอาดบริเวณใบหน้า
  3. ใส่แว่นกันแดด จะช่วยให้สบายตาขึ้นและป้องกันฝุ่นเข้าตา
  4. ใช้ยาหยอดตา เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรีย
  5. ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคเยื่อบุตาอักเสบ

  • สำหรับผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ ให้หลีกเลี่ยงการเกิดอาการแพ้ของตนเอง
  • หากรู้สึกระคายเคืองตา ให้ใช้น้ำสะอาดล้างตา
  • หากมีอาการบวมที่เปลือกตา ให้ใช้การประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะละกอ
ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้ง ผักบุ้ง
ปอผี สมุนไพร ผักกระเดียง สรรพคุณของปอผีปอผี
ผักกระเดียง
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุก
ชะพลู
อัญชัน สมุนไพร ดอกอัญชัน ประโยชน์ของอัญชัน
อัญชัน

อหิวาตกโรค ( Cholera ) โรคติดต่อร้ายแรง จากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิตกินอาหารไม่สะอาดอหิวาตกโรค โรคห่า โรคติดต่อ โรคระบบทางเดินอาหาร

สาเหตุของการเกิดอหิวาตกโรค

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนที่ระบบทางเดินอาหาร ชื่อ แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) เชื้อแบคทีเรียได้หลั่งสารซิกัวทอกซิน ( Ciguatoxin: CTX ) เมื่อสารซิกัวทอกซินรวมตัวกับโซเดียม หรือ คลอไรด์ ที่ลำไส้ ทำให้เกิดการกระตุ้นการขับน้ำออกจากร่างกาย โดยการอุจจาระ ซึ่งเป็นอาการอย่างกะทันหัน แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี จะปนเปื้อนอยู่ตามสิ่งปฏิกูล อุจจาระ ซึ่งเชื้อโรคหากกระจายอยู่ในแหล่งน้ำ ก็มีโอกาสปะปนกับอาหาร และ พืชผัก ผลไม้ ต่างๆได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรค

อหิวาตกโรคเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด ดังนั้น ปัจจัยต่างๆที่มีโอกาสทำให้เกิดอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะสุขอนามัยไม่ดี เชื่ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายตามแหล่งน้ำ หากการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่สะอาด ผิดหลักการอนามัย ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย
  • ภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ( Hypochlorhydria/Chlorhydria ) การที่ร่างกายไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เมื่อเชื้ออหิวาเข้าสู่ร่างกาย ก็สามารถแพร่กระจาย และ เจริญเติบโต จนปล่อยสารพิษ เข้าสู่ร่างกาย
  • การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอหิวาตกโรค เชื้ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายผ่านอุจจาระของผู้ป่วย เมื่ออยู่ใกล้ ก็มีดอกาสในารเกิดโรคเช่นกัน
  • การกินอาหารไม่สะอาด และ ไม่ปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน อาหารทะเล พวกหอย หากปรุงไม่สุกมีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดอหิวาตกโรคได้

การวินิจฉัยอหิวาตกโรค

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการซักประวัติ และ สังเกตุอาการเบื้องต้นก่อน จากนั้น ต้องทำการคตรวจร่างกาย ตรวจอุจจาระ การวินิจฉัยโรค สามารถระบุสาเหตุ ของอาการท้องร่วง เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง

อาการของผู้ป่วยอหิวาตกโรค

เมื่อเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae )เข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะเวลาในการเกิดโรคจะเกิดภายใน 2 ชั่วโมง ถึง 5 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาในการฟักตัวของโรค เมื่อเกิดอาการของอหิวาตกโรค จะแสดงอาการ ท้องเสียอย่างเฉียบพลัน ถ่ายเป็นน้ำ อุจจาระมีสีขาวลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว อุจจาระมีกลิ่นเหม็นคาว คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีไข้ ซึ่งอาการของโรคสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • มีอาการปวดท้อง แบบปวดบิด
  • เกิดภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ โดยแสดงอาการ กระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง ผิวหนังแห้ง ไม่มีน้ำตา กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม หรือ ไม่ถ่ายปัสสาวะ อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ

การรักษาอหิวาตกโรค

สำหรับการรักษาอหิวาตกโรค ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันที่ โดยให้การรักษาอาการร่างกายขาดน้ำก่อน และ แพทย์จะพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการฆ่าเชื้อโรค หลังจากตรวจอุจจาระและทราบเชื้อโรคที่ชัดเจน โดยรายละเอียดของการรักษาอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ให้น้ำเกลือ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำและเกลือแร่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป
  • ให้สารอาหารน้ำทดแทน ( Intravenouse Fluids ) ในกรณีที่ผู้้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง จำเป็นต้องให้สารน้ำทางน้ำเกลือเพื่อป้องกันการช็อคอย่างเฉียบพลัน
  • ให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องมาจากเชื้ออหิวา เช่น ยาดอกซีไซคลิน ( Doxycycline ) ยาอะซีโธรมัยซิน ( Azithromycin )

ภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค

ความอันตรายของอหิวาตกโรค นอกจากการขาดน้ำแล้ว โรคแทรกซ้อน เป็นอีกหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง โดยภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ( Hypoglycemia ) ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะอันตราย หากเกิดกับเด็ก อาจทำให้เกิดอาการชัก ไม่ได้สติ และถึงขั้นเสียชีวิต
  • ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ( Hypokalemia ) ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ส่งผลต่อระบบหัวใจและเส้นประสาท เป็นอันตรายต่อชีวิต
  • ภาวะไตวาย การเสียสมดุลย์ของน้ำในร่างกาย ทำให้ไตไม่ทำงาน ส่งผลต่อของเสียต่างๆ ตกค้างในร่างกาย เป็นอันตรายต่อชีวิต

การป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค โดยหลักๆ คือ การรักษาความสะอาด ของสิ่งแวดล้อมและอาหาร โดยการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาด งดการกินน้ำแข็ง เพราะ อาจมีสิ่งเจือปนในน้ำแข็งได้
  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ปรุงอาหารสุก และ กินอาหารที่สุกเท่านั้น
  • ทำความสะอาด วัตถุดิบของอาหาร ทั้ง ผัก ผลไม้ โดยล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบอาหาร และ รับประทาน
  • รับการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค
  • หากมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคอยู่ใกล้ ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ

อหิวาตกโรค ( Cholera ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) ที่ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยสาเหตุเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด อาการของโรคอหิวาตกโร ถ่ายเหลว อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิต การรักษาโรค และ การป้องกันโรค โรคอหิวาตกโรค คือ โรคเป็นติดต่อ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove