กาฬโรค ติดเชื้อแบคทีเรียจากการโดนหมัดหนูกัด ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม อาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย เลือดออกตามปากจมูก ผู้ป่วยอาจนิ้วเน่าได้

กาฬโรค โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

กาฬโรค หรือ มรณะดำ เป็นโรคติดต่อที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากในช่วงเวลาหนึ่ง มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเยอร์ซิเนีย เปสติส ( Yersinia pestis ) โดยมีหนูและหมัดหนูเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถแพร่เชื้อโรคโดยทางอากาศ การสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง หรือ อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

กาฬโรคในประเทศไทย

มีข้อมูลจากพงศาวดารอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182 กล่าวว่า กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.1893 ซึ่งตรงกับ ค.ศ.1350 มีการระบาดใหญ่ของ Black Death ในยุโรป และจากข้อมูลพบว่ามีการระบาดของกาฬโรคในจีน ระยะเวลาต่อมา พบว่า กาฬโรคจากเมืองจีนยังได้มีการแพร่กระจายเข้ามาในไทยอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

สำหรับรายงานการระบาดของกาฬโรคอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย มีรายงานเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2447 ว่า พบการระบาดเกิดขึ้นที่บริเวณตึกแดงและตึกขาว ซึ่งเป็นโกดังเก็บสินค้าที่จังหวัดธนบุรี สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากหนูที่มีเชื้อกาฬโรคที่ติดมาจากเรือสินค้าจากเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย จากนั้นมีการระบาดจากธนบุรีเข้ามาฝั่งพระนคร แต่ไม่มีสถิติจำนวนผู้ป่วยตายที่แน่นอน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 มีรายงานว่าเกิดกาฬโรคระบาดที่จังหวัดนครปฐม มีคนตาย 300 คน และครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 มีรายงานผู้ป่วย 2 รายตาย 1 ราย ที่ตลาดตาคลี นครสวรรค์ ซึ่งถือเป็นรายงานการระบาดของกาฬโรคครั้งสุดท้ายในประเทศไทย จากนั้นไม่มีรายงานกาฬโรคเกิดขึ้นในประเทศไทยจนปัจจุบันนี้

การติดเชื้อกาฬโรค

สำหรับการติดเชื้อกาฬโรค นั้นมีหลายสาเหตุ ซึ่งเกิดจากปัจจัย 4 ปัจจัย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ถูกหมัดที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้กัด ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงคือคนที่อยู่ใกล้ชิดสัตว์ที่มีหมัด เช่น ในเขตชนบท หรือในเขตที่มีหนูมาก การออกค่ายอยู่ป่า การไปปิกนิกตามทุ่งหญ้า ป่าเขา หรือเป็นสัตวแพทย์ เป็นต้น
  • การสัมผัสเนื้อเยื่อหรือสิ่งคัดหลั่งต่างๆ จากสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรค เช่น การแล่เนื้อหรือลอกหนังสัตว์
  • การหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำลายของสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรคปอดเข้าไป โดยเฉพาะจากแมว
  • ติดต่อระหว่างคนสู่คน ซึ่งเกิดจากการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคปอดเข้าไป ทั้งนี้ ในทางกลับกันสัตว์ก็สามารถติดกาฬโรคจากคนได้ด้วยวิธีการเดียวกัน

อาการของกาฬโรค

สำหรับการแสดงอาการของโรค หลังจากการถูกหมัดหนูกัดแล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ เชื้อโรคจะเจริญเติบโตยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ที่สุด โดยจะเริ่มแสดงอาการคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน  ซึ่งอาการของโรคสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ อาการจากต่อมน้ำเหลืองอักเสย อาการจากติดเชื้อในกระแสเลือด และ อาการจากปอดอักเสบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการกาฬโรคชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองบวม แดง กดเจ็บ ซึ่งอาจปวดมากจนขยับแขนหรือขาไม่ได้ ตำแหน่งที่มักพบจะเป็นบริเวณขาหนีบ หรือ รักแร้
  • อาการกาฬโรคชนิดติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นลักษณะอาการที่ลุกลามจากต่อมน้ำเหลืองอักเสบ โดยแสดงอาการไข้สูง ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว เลือดออกในอวัยวะต่างๆ สามารถเสียชีวิตได้ภายใน 1 สัปดาห์
  • อาการกาฬโรคปอดบวม เป็นอาการที่จะเกิดหลังจากมีอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการปอดบวม ไอเป็นน้ำ เสมหะไม่เหนียว ต่อมาจะมีเลือดปน อ่อนเพลีย มีไข้ หากไม่ได้รับการรักษา อาจเสียชีวิตภายใน 3 วัน

การรักษากาฬโรค

สำหรับแนวทางการรักษาโรคกาฬโรคในปัจจุบัน สามารถใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรค ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะอย่างแรงประมาณ 7 – 10 วัน แต่แนวทางการรักษาต้องป้องกันการแพร่เชื้อโรคอย่างเคร่งครัด บุคลากรที่ทำการรักษาต้องมีความระมัดระวังอย่างเคร่งครัด ด้านการป้องกันการติดเชื้อโดยสวมถุงมือ ปิดปากและจมูก ควรทำลายเชื้อจากเลือด น้ำเหลือง และหนองของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อโรค

ภาวะโรคแทรกซ้อนจากกาฬโรค

สำหรับโรคแทรกซ้อนของกาฬโรค มีอาการต่างๆที่ต้องระวัง เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้าเน่าจากการขาดเลือด เกิดอาการช็อกอย่างรุนแรง อาการปอดบวม อาการหายใจล้มเหลว อาโลหิตเป็นพิษ และ อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การป้องกันกาฬโรค

แนวทางการป้องกันกาฬโรค ที่สำคัญคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่สามารถทำให้ติดเชื้อโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ดูแลสุขอนามัยให้สะอาด กำจัดแหล่งอาหารของหนู โดยสรุปแล้วแนวทางการป้องกันกาฬโรค มีดังนี้

  • หลักการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของกาฬโรคที่สำคัญคือ การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขอนามัย รวมทั้งให้ความรู้ด้านสุขศึกษากับประชาชน และการเฝ้าระวังการเกิดขึ้นของโรค
  • การควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง ไม่ให้มีกองขยะที่จะเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์หนูได้ อาคารต่างๆต้องมีระบบป้องกันการเข้าถึงของหนูและการกำจัดหนูที่ถูกวิธี ตามบ้านเรือนก็ควรเก็บอาหารให้มิดชิด ไม่ให้หนูเข้าถึง รอบๆบ้านไม่ควรมีกองขยะ กองไม้ และควรเก็บอาหารของสัตว์เลี้ยงและกองฟืนให้มิดชิด
  • หากพบซากหนู หรือสัตว์อื่นๆตาย ควรกำจัดให้ถูกวิธี โดยการสวมถุงมือยาง สวมหน้ากากปิดปากปิดจมูกก่อนการสัมผัสซากสัตว์นั้นๆ และอาจใช้วิธีฝังกลบซึ่งต้องลึกพอ ห้ามทิ้งลงถังขยะธรรมดาทั่วไป ท่อระบายน้ำ หรือคูคลองต่างๆ สำหรับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยว กับสัตว์ต่างๆก็ต้องใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดป้องกันการถูกหมัดกัด สวมถุงมือและหน้ากากอนามัยเสมอ
  • สัตว์ที่เลี้ยงไว้ ได้แก่ หมา แมว กระต่าย หนูพันธุ์ต่างๆ กระรอก กระแต เป็นต้น ควรกำจัดหมัดให้อย่างสม่ำเสมอ
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าชนิดต่างๆ หากไปเที่ยวป่า เที่ยวเขา ควรป้องกันตัวเองจากการถูกหมัดกัด เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าแขน/ขายาว
  • หากคนหรือสัตว์เลี้ยงในบ้านไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคจะต้อง กินยาปฏิชีวนะป้องกัน (โดยการปรึกษาแพทย์)
  • ในอดีตมีวัคซีนสำหรับป้องกันกาฬโรค แต่ป้องกันได้เฉพาะการเกิดกาฬโรคของต่อมน้ำเหลือง และปัจจุบันได้หยุดการผลิตไปแล้ว ขณะนี้กำลังมีการพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ที่ป้องกันโรคได้ดีขึ้น แต่วัตถุประสงค์ไม่ได้เพื่อให้ใช้ในประชากรทั่วๆไป โดยจำกัดการใช้เฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อกาฬโรคเท่านั้น รวมถึงในกรณีที่เกิดสงครามที่มีการใช้อาวุธเชื้อโรคจากเชื้อกาฬโรค

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

โบทูลิซึม ( Botulism ) ภาวะการติดเชื้อโบทูลินัมท็อกซิน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หนังตาตก ภาวะการหายใจล้มเหลว แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไรโบทูลิซึม โรค โรคติดเชื้อ โรคระบบประสาท

โรคโบทูลิซึ่ม ( Botulism ) ภาวะการติดเชื้อโรคที่เป็นโรคร้ายแรงที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ในช่วง พ.ศ. 2493-2502 ( ค.ศ. 1950-1959 ) ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการภาวะการหายใจล้มเหลวภายในเวลา 60 วัน ซึ่งในระหว่างการติดเชื้อผู้ป่ยจะเกิดภาวะแทรกซ้อนง่าย  สำหรับประเทศไทยมีการพบการอุบัติของโรคโบทูลิซึมใน ปีพ.ศ. 2549 ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 190 คนในคราวเดียว

โรคโบทูลิซึม ( Botulism ) เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ แบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบอยู่ได้ทั่วไป ตามพื้นดิน ในน้ำจืด และในน้ำทะเล เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม คือ ในสภาพอากาศที่ไม่มีออกซิเจน แบคทีเรียจะแบ่งตัวสร้างสปอร์ ( Spore ) และปล่อยพิษออกมา เรียกว่า Botulinum toxin

โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin ) มี  7 ชนิด คือ ชนิด A B C D E F และ G ซึ่งแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามกลไกในการสลายโปรตีน โบทูลินัมท็อกซินจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทกล้ามเนื้อทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ แต่ในการกลับกับสามารถระงับอาการเจ็บปวด และ ช่วยลดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติได้ โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin ) จึงถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆได้เช่นกัน

ประวัติของโบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin )

โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin ) พบครั้งแรกในยุคสงครามนโปเลียน ตั้งแต่ พ.ศ. 2338-2356 มีการค้นพบคนที่มีอาการป่วยเป็นอัมพาต พบว่ามีการเชื่อมโยงกับไส้กรอก ซึ่ง ภาษาละติน เรียก botulus ใน พ.ศ. 2365 มีการตีพิมพ์งานวิจัย พบว่าพิษที่สกัดออกมาจากไส้กรอก ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนแรง และเหงื่อไม่ออก สารพิษตัวนี้ใช้รักษาความผิดปกติต่างๆของระบบประสาทได้

จากนั้น 75 ปีต่อมา Emile-Pierre van Ermengen ค้นพบว่าสาเหตุของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเหงื่อไม่ออก เกิดจากสารพิษที่ถูกผลิตขึ้นจากแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) เรียกว่า โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin )

ชนิดของโรคโรคโบทูลิซึ่ม ( Botulism )

โรคที่เกิดจากโบทูลินั่มท็อกซิน ( botulinum toxin ) สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด โดยแยกจากสาเหตุของการติดเชื้อ ประกอบด้วย

  • Foodborne botulism คือ โรคโบทูลิซึ่มที่เกิดจากการกิน ซึ่งอาหารมีการปนเปื้อนสารโบทูลินั่มท็อกซิน พบบ่อยในอาหารกระป๋อง สำหรับประเทศไทยผู้ป่วยโบทูลิซึ่มส่วนใหญ่พบว่ามาจากการกินหน่อไม้บรรจุปี๊บ
  • Intestinal botulism คือ โรคโบทูลิซึ่มที่เกิดจากการกินสปอร์ของแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum )
  • Wound botulism คือ โรคโบทูลิซึ่มที่เกิดจากบาดแผลเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) มักพบได้ในกลุ่มผู้ที่ใช้สารเสพติดโดยการฉีดยา
  • Biological weapon คือ การรับเชื้อที่เกิดจากการสร้างเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) ซึ่งพบมีการผลิตโบทูลินั่มท็อกซินเพื่อเป็นอาวุธสงครามชีวภาพในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
  • Iatrogenic botulism คือ การใช้โบทูลินั่มท็อกซิน ( botulinum toxin ) ชนิด A เพื่อรักษาโรคบางชนิด

สาเหตุของโรคโบทูลิซึม ( Botulism )

โรคโบทูลิซึม ( Botulism ) เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ แบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบอยู่ได้ทั่วไป ตามพื้นดิน ในน้ำจืด และในน้ำทะเล เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม คือ ในสภาพอากาศที่ไม่มีออกซิเจน แบคทีเรียจะแบ่งตัวสร้างสปอร์ ( Spore ) และปล่อยพิษออกมา เรียกว่า Botulinum toxin

อาการโรคโบทูลินั่ม

สำหรับอาการของโรคเมื่อเกิดการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีไข้แต่จะมีอาการหัวใจจะเต้นช้า ความดันเลือดปรกติ ต่อมาผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการอ่อนแรง โดยเริ่มจากใบหน้า ภาวะการกลืนอาหาร ภาวะการหายใจ จากนั้นจะเกิดอาการกับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ แขน และขา ผู้ป่วยจะมีอาการพูดไม่ชัด ปากแห้ง หนังตาตก หากเกิดภาวะรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวเสียชีวิตได้

การรักษาโรคโบทูลิซึม ( Botulism )

แนวทางการรักษาโรคโบทูลิซึม ( Botulism )  แพทยืจะใช้การรักษาด้วยการให้ยาต้านพิษ และ ประคับประครองอาการต่างๆของโรค ซึ่งต้องเฝ้าระวังระบบประสาทการหายใจล้มเหลว ด้วยการให้เครื่องช่วยหายใจ แนวทางการรักษาโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) มีดังนี้

  • การให้ยาต้านพิษ ในผู้ป่วยที่ไม่ใช่เด็กทารก จะให้สารต้านพิษ Botulinum toxin ซึ่งผลิตจากเซรุ่มที่ได้จากม้า (Equine antitoxin) แต่สำหรับเด็กทารก แพทย์จะให้ยาสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี/Antibody) ซึ่งผลิตจากเซรุ่มของคน (Human botulism immune globulin) เนื่องจากการให้ Equine antitoxin พบว่าไม่สามารถรักษาได้ นอกจากนั้น การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum ก็พบ ว่า ไม่มีประโยชน์เช่นกัน
  • การรักษาแผล โดยจะรักษาในผู้ป่วยที่มีบาดแผล ปากของบาดแผลที่แคบจะต้องถูกเปิดให้กว้างขึ้น เพื่อให้ออกซิเจนเข้าไปสัมผัสกับบาดแผลให้ทั่วถึง ซึ่งจะทำให้เชื้อนี้ไม่ผลิตพิษขึ้นมาอีก และให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียนี้ในผู้ป่วยที่มีบาดแผลด้วย แม้ว่าประ โยชน์ที่ได้รับยังไม่ชัดเจนก็ตาม
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องเฝ้าติดตามระ บบการหายใจ โดยหากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรง จนเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว ก็ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก ก็ต้องใช้ยาระบาย/ยาแก้ท้องผูก หรือการสวนทวารช่วย หรือหากมีอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ก็ต้องใช้ยาลดอาการ หรือใส่สายให้อา หารและดูดเอาอากาศและน้ำย่อยออกมา หรือผู้ป่วยที่ปัสสาวะไม่ออก ก็ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น

การป้องกันโรคโบทูลิซึม ( Botulism )

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคนี้ คือ การลดภาวะเสี่ยงต่างๆในการติดเชื้อโรคและการทำร่างกายให้แข็งแรง เพื่อสามารถต้านเชื้อโรคได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ไม่แนะนำให้เด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี บริโภคน้ำผึ้ง ยกเว้นจะนำไปปรุงเป็นอาหารที่ผ่านความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 116 องศาเซลเซียส ร่วมกับการเพิ่มความกดอากาศขณะปรุง เช่น การตุ๋น หรือการอบ เพื่อทำลายสปอร์ของเชื้อโรคโบทูลิซึมที่อาจปนเปื้อน
  • หลีกเลี่ยงการอาหารหมักดอง
  • การรับประทานอาหารกระป๋องรวมถึงนมผง ต้องรับประทานจากผู้ผลิตที่เชื้อถือเรื่องความสะอาดได้ ดูฉลาก อย. บริโภคก่อนวันหมดอายุ และไม่เลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีรอยบุบ รอยแตก รอยรั่ว บวม โป่ง เป็นสนิม
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับฉีดป้องกันพิษ Botulinum toxin
  • รับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขอนามัย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove