โรคเหน็บชา โรคขาดวิตามินบี1 มี 2 ลักษณะ โรคเหน็บชาในเด็ก โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ เป็นโรคระบบประสาทในประเทศไทยที่พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง กินปลาร้า กินอาหารดิบ

โรคเหน็บชา อาการมือเท้าชา โรคระบบประสาท โรคขาดวิตามินบี1

  • อาการชา หมายถึง ภาวะอวัยวะไม่สามารถรับความรู้สึกได้ หรือ ความสามารถในการสัมผัสบางอย่างเสียไปชั่วขณะหนึ่ง เช่น  ไม่เจ็บ ไม่รู้สึก ไม่ร้อนไม่เย็น เป็นต้น
  • อาการเหน็บ หมายถึง อาการเจ็บ ที่มาจากสาเหตุการกดทับ ขาหรือแขนนานๆ จนบางครั้งมีอาการอ่อนแรงจนเหยียดขาไม่ออกและลุกขึ้นไม่ได้

เหน็บชาในผู้ใหญ่

สำหรับอาการเหน็บชาในผู้ใหญ่ สามารถแบ่งลักษณะของอาการได้ 3 ประเภท คือ เหน็บชาชนิดผอมแห้ง เหน็บชาชนิดเปียก และ เหน็บชาชนิดWernicke-Korsakoff Syndrome  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เหน็บชาชนิดผอมแห็ง ( Dry Beriberi ) มี อาการชาแบบไม่บวม ชาปลายมือและปลายเท้า กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงไม่มีกำลัง โดยเฉพาะที่ขาส่วนล่าง อาจทดสอบได้โดยให้ผู้ป่วยนั่งยอง ๆ แล้วลุกขึ้นเอง ซึ่งผู้ป่วยจะทำไม่ได้ เจ็บปวด พูดไม่ชัด พูดติดขัด อาเจียน มีความผิดปกติทางจิตใจ สับสน ตาขยับเองโดยที่ไม่รู้ตัว อัมพาต
  • เหน็บชาชนิดเปียก ( Wet Beriberi ) มีอาการบวมร่วมกับอาการชาปลายมือปลายเท้า มีอาการบวม น้ำคั่งในช่องท้อง น้ำคั่งในช่องปอด ขาส่วนล่างบวม หอบเหนื่อย หายใจตื้นขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ตื่นนอนขึ้นมามีอาการหายใจตื้น หัวใจโตและเต้นเร็ว อาจทำให้หัวใจวายในกรณีไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
  • เหน็บชา Wernicke-Korsakoff Syndrome พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง เคลื่อนไหวลูกตาได้น้อย เดินเซ มีความผิดปกติทางจิตใจ ผู้ที่เป็นมากอาจทำให้เกิดอาการทางจิตที่เรียกว่า Korsakoff’s Psychosis

สาเหตุของโรคเหน็บชา

โรคเหน็บชานั้นมีสาเหตุมาจาก พฤติกรรมการกินอาหาร โดยร่างกายได้รับวิตามินบี1 ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พฤติกรรมที่ทำให้ขาดวิตามินบี 1 คือ การกินข้าวที่ซาวน้ำออกมากๆ กินอาหารที่มี ใบชา ใบเมี่ยง หมากพลู ปลาร้า ปลาส้มดิบ แหนมดิบ หอยลายดิบ ปลาน้ำจืดดิบ เป็นต้น หรือ ความผิดปรกติของร่างกายจากความสามารถในการเผาพลาญวิตามินบี1 เร็วขึ้น เช่น การตั้งครรภ์ ภาวะหญิงให้นมบุตร เด็กวัยเจริญเติบโต เป็นต้น นอกจากพฤติกรรมการบริโภค การเปรี่ยนแปลงของร่างกาย ยังมีสาเหตุอื่น เช่น การผ่าตัดทางเดินอาหาร การฟอกไต  โรคพิษสุราเรื้อรัง การบกพร่องทางพันธุกรรม เป็นต้น

กลุุ่มคนที่เสี่ยงการเกิดโรคเหน็บชา

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชา เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมเข้ากับสาเหตุของการเกิดโรคที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • สตรีที่ตั้งครรภ์
  • สตรีหลังการตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาการให้นมบุตร
  • เด็กวัยเจริญเติบโต
  • กลุ่มคยวัยทำงานที่ทำงานหนัก เช่น กรรมกร ชาวนา นักกีฬา เป็นต้น
  • คนมีอายุมาก
  • คนที่รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 น้อย
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องฟอกไต
  • บุตรหลานของผู้ที่มีประวัติเป้นโรคเหน็บชา
  • นักดื่ม ที่ชอบดื่มสุราเป็นประจำ รวมถึงผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง

อาการของผู้ป่วยโรคเหน็บชา

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคเหน็บบชานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาการของผู้ป่วยเหน็บชาในเด็ก และ อาการของผู้ป่วยเหน็บชาในผู้ใหญ่ โดยรายละเอียดของอาการของโรค มีดังนี้

  • อาการโรคเหน็บชาในเด็ก ( Infantile beriberi ) จะพบในทารก อายุไม่เกิน 6 เดือน พบได้กับทารกที่กินนมแม่ ที่ขาดสารอาหาร ขาดวิตามินบี1 จะมีอาการซึม หน้าเขียว ตัวเขียว หอบเหนื่อย ตัวบวม ขาบวม หัวใจโต หัวใจเต้นเร็ว ร้องเสียงแหบ ร้องไม่มีเสียง ตากระตุก หนังตาบนตก ชักหมดสติ เป็นต้น
  • อาการโรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ ( Adult beriberi ) ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องอืดเฟ้อ มีอาการชา  ความจำเสื่อม แต่ตรวจร่างกายแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ ต่อมา ผู้ป่วยจะรู้สึกชาบริเวณปลายมือปลายเท้า มีอาการปวดแสบและเสียวแปลบร่วมด้วย บางรายอาจเป็นตะคริว แขนขาไม่มีแรง โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ โรคเหน็บชาชนิดผอมแห้ง โรคเหน็บชาชนิดเปียก และ Wernicke-Korsakoff syndrome

วิธีรักษาโรคเหน็บชา

การรักษาโรคเหน็บชานั้นเกิดจากขาดวิตามินบี 1 การรักษาแพทย์จะให้วิตามินบี 1 เสริมในขนาด 10 ถึง 20 มิลลิกรัม เป็นการเสริมวิตามินโดยการกิน หรือ ฉีดก็ได้ สำหรับในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย ต้องให้ยาฉีดวิตามินบี 1 คู่กับการให้ยาขับปัสสาวะ และจำเป็นอาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเลือด และตรวจพิเศษอื่น ๆ สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมการกิน ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

การป้องกันเหน็บชา

การป้องกันโรคเหน็บชา นั้นสามารถป้องกันจากสาเหตุของการเกิดโรค โดยสามารถสรุปการป้องกันโรคเหน็บชาได้ ดังนี้

  • เพิ่มการกินอาหารประเภทธัญพืช เนื่องจากเป็นอาหารที่มี วิตามินบี 1 สูง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู โดยเฉพาะ เนื้อวัว เนื้อปลา และ เนื้อหมูไม่ติดมัน ตับ ไต และไข่แดง นม เป็นต้น
  • กินผักที่มีวิตมินบี1 สูง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ฟักทอง กะหล่ำดาว ผักโขม เป็นต้น

โรคเหน็บชา เรียกอีกโรค คือ โรคขาดวิตามินบี1 แบ่งได้ 2 ลักษณะ โรคเหน็บชาในเด็ก และ โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาและการป้องกันการเกิดโรค โรคจากระบบประสาทในประเทศไทย พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง กินปลาร้า กินอาหารดิบ

โรคไทรอยด์ ( Thyroid gland ) ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออกง่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น

ไทรอยด์เป็นพิษ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ไทยรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ของร่างกายมนุษย์ ซึ่งต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่หลักคือ ผลิตฮอร์โมน ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ จึงหมายถึง ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนผิดปกติ และการขาดไอโอดีน หรือการมีไอโอดีนในร่างกายมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดโรคกับต่อมไทรอยด์ได้

ไทรอยด์เป็นพิษ ( Hyperthyroidism , Overactive Thyroid ) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ ซึ่งระบบประสาทจะไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้

ความผิดปรกติของไทรอยด์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ

  1. ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน เป็น ภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินความจำเป็น  ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักตัวลด ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนบ่อย
  2. ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด (Hypothyroidism) เป็นภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง รู้สึกหนาว ระบบความจำเสื่อม ตัวบวม ท้องผูก ถ้าเกิดกับเด็กจะทำให้ตัวการเจริญเติบโตของเด็กไม่ดี ตัวจะแคระแกรน
  3. ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ เป็นภาวะที่ฮอร์โมนของร่างกายหลั่งออกมาปกติ แต่มีความผิดปกติที่ตรงต่อมไทรอยด์

สาเหตุของการเกิดไทรอยด์เป็นพิษ

สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นเกิดขึ้นจาก การทำงานมากกว่าปรกติของต่อมไทรอยด์ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย สามารถแยกสาเหตุได้ 3 สาเหตุหลัก ๆ ประกอบด้วย

  • การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
  • การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอรโมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้
  • เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้
  • การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ

อาการของโรคไทยรอยด์

สำหรับอาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ นั้น ผู้ป่วยจะมีความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบการเผาผลาญ ของร่างกายถูกกระตุ้น ทำให้น้ำหนักตัวลดลง นอนไม่หลับ ท้องเสียง่าย เนื่องจากระบบทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงาน ตาโปนเยื่อหลังนัยน์ตาขยาย ในผู้หญิงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน ซึ่งสามารถสรุปอาการของโรคเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
  • นอนหลับยาก
  • มีปัญหาสายตา เช่น ตาโปน เห็นภาพซ้อน เป็นต้น
  • สุขภาพผมเปลี่ยนไป ผมเปราะบางขาดง่าย และมีอาการผมร่วง
  • ผู้หญิงมีรอบเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมีสีจางและมาไม่สม่ำเสมอ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณต้นขาและต้นแขน
  • เล็บยาวเร็วผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • มือสั่นตลอดเวลา
  • มีอาการคัน
  • เหงื่อออกมาก
  • ผิวหนังบาง
  • น้ำหนักลด แต่มีความอยากอาหารมากขึ้น
  • อาจพบเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นในเพศชาย

มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid carcinoma) มีทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง จะพบมากในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้หญิง

การรักษาโรคไทรอยด์

โรคของต่อมไทรอยด์สามารถรักษาได้อย่างไร เมื่อเราพบว่าร่างกายมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน สามารถทำการรักษาได้โดย กินยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือ การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน
เมื่อเราพบว่าร่างกายเป็นภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป สามารถรักษาได้โดย การกินยาไทรอยด์เพิ่มระดับฮอร์โมน และให้ยาขับน้ำ เพื่อลดการบวมของร่างกาย
หากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมไทยรอยด์ จะต้องทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และกินยาน้ำแร่รังสีไอโอดีน รวมถึงฉายรังสีรักษา

การดูแลตนเองเมื่อเป็นไทยรอยด์

เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวหรือสังเกตเห็นมีก้อนเนื้อผิดปกติในบริเวณต่อมไทรอยด์ และ/หรือลำคอ ควรรีบพบแพทย์เสมอภายใน 1 – 2 สัปดาห์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีกว่า ใช้เวลารักษาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่าการรักษาในระยะที่เป็นโรคเรื้อรังหรือเป็นโรคมะเร็งในระยะลุกลาม

ป้องกันไม่ให้เกิดโรคของต่อมไทรอยด์

การป้องกันโรคไทยรอยด์ในทางการแพทย์นั้น โรคต่อมไทรอยด์ ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอก ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ดังนั้น การป้องกันโรคไทรอยด์ เราต้อง รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของ ไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาหารที่มีสารไอโอดีย เช่น อาหารทะเล เกลือทะเล นอกจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน การออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโนคนี้ได้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove