แผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic ulcer ) อาการปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว เจ็บที่ลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระสีดำ ปวดท้องตอนสายๆและตอนกลางคืนโรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหาร

แผลเพ็ปติก ภาษาอังกฤษ เรียก Peptic ulcer เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคแผลเพ็ปติก เป็นโรคยอดฮิต ของคนบนโลก พบว่าประชากรประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของประชากรโลกมีโอกาสเป็น เป็นโรคนี้ หากปวดท้องเวลากลางคืน ให้สันนิษฐานได้เลยว่า ท่านอยาจจะเกิดโรคแผลเพปติก แล้ว

โรคนี้เป็นอาการผิดปรกติของเยื่อบุกระเพาะอาหาร คือ เกิดแผลที่กระเพาะอาหาร โรคนี้สามารถเรียกอีกโรคหนึ่งว่า โรคแผลกระเพาะอาหาร โรคแผลจียู หรือ โรคแผลลำไส้เล็กส่วนต้น โอกาสของการเกิดโรคนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย แต่จากสิถิติพบว่า คนอายุ 30 ปี ขึ้นไปมีโอกาสเกิดโรคเพ็ปติก มากกว่าคนที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดแผลที่กระเพาะอาหารนั้น เกิดจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร มากในขณะที่ความสามารถในการต่อต้านกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง ทำให้กรดเกิดการกัดเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผล ซึ่งเราได้รวมสาเหตุของสาเหตุการเกิดแผลเพ็ปติก ได้ดังนี้

  1. แผลในกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เอชไพโลไร(H.pylori) เกิดจากการกินอาหารหรือน้ำดื่ม ที่ไม่สะอาด มีสิ่งเจือปน เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะเกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบและมีแผล
  2. แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากการรับประทานยาต้านอาการอักเสบ ยาแก้ปวดเช่น ซึ่งยาในกลุ่มเหล่านี้จะทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารได้ หากใช้ยาเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง อาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น มีอาการเลือดออก แผลในกระเพาะอาหารทะลุ ซึ่งหากผู้ป่วยมีอายุมากขึ้นเท่าไร โอกาสของความรุนแรงของโรคก็มากขึ้นตามไปด้วย
  3. แผลในกระเพาะอาหารจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งพบว่าผู้ที่มีอาการโรคนี้เรื้อรัง ทายาทมีโอกาสเกิดโรคนี้มากถึง 3 เท่า
  4. การสูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเกิดแผลของลำไส้เล็กส่วนต้นได้
  5. กลุ่มคนที่มีความเครียดสูง ความเครียดเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคนี้เป็นแผลกำเริบได้
  6. การดื่มสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน
  7. การรับประทานอาหารที่มีรสจัด และผลไม้ที่มีความเป็นกรดสูง

อาการของผู้ป่วยโรคแผลเพ็ปติก

ลักษณะของอาการโรคแผลเพ็ฟติก นั้น ผู้ป่วยจะปวดท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นๆ หายๆ มีอาการเรื้อรัง มักจะปวดก่อนหรือหลังการรับประทานอาหาร อาการจะ ปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียนและเรอเปรี้ยว สำหรับผู้ป่วยที่เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น จะมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง ปวดท้องตอนสายๆ และปวดท้องตอนกลางคืน ทำให้นอนหลับไม่สบายตัว ลักษณะอาการจะเกิดหลังจากการกินข้าวไปแล้ว 3 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยเป็นหนักๆ จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด มีอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระมีสีดำ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคแผลเพ็ปติก

การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เรื้อรังนั้น จะส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนของการแผลในกระเพาะอาหารนั้นมีความอันตราย ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหารมากอาจเกิดการช็อก จากการเสียเลือด เกิดภาวะการขาดธาตุเหล็ก สังเกตุได้จากอุจจาระเป็นสีดำ อาการแทรกซ้อนยังสามารถเกิด ลำไส้อุด ท้องผูก อาเจียนรุนแรง ปวดท้องรุนแรง ตับอ่อนอักเสบ และมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

การรักษาผู้ป่วยโรคแผลแพ็ปติก

สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคแผลแพ็ปติก นั้นสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาและการผ่าตัด ซึ่งรายละเอีย ดังนี้

  • การรักษาโดยการให้ยาลดในกระเพาะอาหาร ซึ่งยาลดกรดในกระเพาะอาหารนั้น ให้รับประทานก่อนการรับประทานอาหาร
  • การรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุของการเกิดโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยต้องรับประทานอาหารนานติดต่อกัน 2 สัปดาห์
  • การรักษาโดยการให้ยาแก้อาการอักเสบ ซึ่งยาแก้อักเสบนั้น ใช้สำหรับรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหาร ที่เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาโดยการผ่าตัดนั้น จะใช้รักษาในลักษณะของผุ้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง และมีอาการหนัก ไม่สามารถใช้การรักษาด้วยยา หรือจำเป็นต้องรักษาอย่างเร่งด้วย ลักษณะของผู้ป่วยอาการแบบใดที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด คือเมื่อเกิดโรคแผลเพ็ปติกขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยรายละเอียดของอาการที่ต้องระวังมี ดังนี้
    1. หากพบว่ามีอาการอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระสีดำ หน้ามืด จะเป็นลม ให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
    2. หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง  นานเกิน 6 ชั่วโมง มีอาการอาเจียน ท้องแข็ง เป็นอาการแทรกซ้อนจากกระเพาะอาหารทะลุ หรือลำไส้ตีบตัน ต้องเข้ารับการผ่าตันโดยด่วน
    3. หากผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร กลืนลำบาก น้ำหนักลด ตัวซีด ตาเหลือง ตับโต ม้ามโต มีก้อนในท้อง อาเจียนรุนแรง อาจเกิดอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจ สงสัยอาจเป็นโรคหัวใจขาดเลือด นิ่วน้ำดี

ข้อแนะนำในการปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคแผลเพ็บติก

สำหรับอาการโรคแผลเพ็บติก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่สาเหตุหลัก คือ การปฏิบัติตนที่ไม่ถูดต้องทำให้เกิดการทำร้ายกระเพาะอาหาร ข้อควรปฏิบัติตนให้พ้นจากโรคแผลเพ็บติกมี ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา อย่าปล่อยให้ท้องว่าง
  • งดการสูบบุหรี่
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลม
  • ลดการเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสม
  • หลีกหลี่ยงการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอย์ และแอสไพริน
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด หรือน้ำผลไม้ที่มีกรดสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • คลายเครียด
  • หากมีอาการแผลในกระเพาะอาหาร ให้พบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

แผลแพ็ปติก แผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic ulcer ) ภาวะเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร อาการโรค เช่น ปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว เจ็บที่ลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระมีสีดำ ปวดท้องตอนสายๆ ปวดท้องตอนกลางคืน

บัวหลวง ( Lotus ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดัน ชะลอการหลั่ง แต่ต้องกินปริมาณที่เหมาะสม ต้นบัวหลวงเป็นอย่างไรบัวหลวง สมุนไพร ต้นบัว ประโยชน์ของบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นสมุนไพร มีสรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันเลือด ซึ่งสรรพคุณเหล่านี้ ช่วยในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของท่านชาย ช่วยชลอการหลั่งได้ หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เรามาให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ชื่อ บัวหลวง กันอย่างละเอียด ว่า บัวหลวงมีลักษณะทางพันธุศาสตร์อย่างไร สรรพคุณของบัวหลวงมีอะไรบ้าง

ต้นบัวหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Lotus มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. ชื่อเรียกอื่นๆของบัวหลวง เช่น โกกระณต บัว บัวอุบล บัวฉัตรขาว บัวฉัตรชมพู บัวฉัตรสีชมพู บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช สัตตบุษย์ เป็นต้น

ลักษณะของต้นบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นพืชล้มลุก อายุยืน อยู่ตามแหล่งน้ำ อยู่ในพื้นที่ ที่มีน้ำขัง รายละเอียดของต้นบัวหลวง มีลักษณะ ดังนี้

  • เหง้าของบัวหลวงอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าจะเป็นท่อนยาว มีปล้อง สีเหลืองอ่อน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ในระดับความลึกของน้ำที่ประมาณ  50 เซนติเมตร
  • การขยายพันธ์ของบัวหลวงใช้การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดและการแตกไหลบัว
  • ใบของบัวหลวง ใบลักษณะใบเดี่ยว กลมและมีขนาดใหญ่ ขอบของใบเรียบ จะมีก้านใบจะติดอยู่ตรงกลางของใบบัว อยุ่ด้านล่าง สำหรับก้านบัวจะมีหนาม
  • ดอกบัวหลวง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาว สีชมพู ดอกบัวมีกลิ่นหอม ในดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่เป็นจำนวนมาก และล้อมรอบอยู่บริเวณฐานรองดอก เราเรียกส่วนฐานนั้นว่า “ฝักบัว”ภายในฝักบัวจะมีเม็ดบัว
  • ฝักบัวหลวง จะมีผลอ่อนสีเขียว ในฝักบัวจะมีผลบัว เมื่อฝักบัวแก่ เม็ดบัวจะขยาย สำหรับดีบัว คือ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัว

คุณค่าทางโภชนาการของบัวหลวง

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของรากบัวหลวง ขนาด 100 กรัม นั้นให้พลังงาน พลังงาน 66 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย สารอาหาร คาร์โบไฮเดรต 16 กรัม น้ำ 81 กรัม น้ำตาล 0.5 กรัม เส้นใยอาหาร 3 กรัม ไขมัน 0.07 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม วิตามินบี1 0.127 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม โคลีน 25 มิลลิกรัม วิตามินซี 27 มิลลิกรัม แคลเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.22 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 36 มิลลิกรัม โซเดียม 45 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.33 มิลลิกรัม

สรรพคุณของบัวหลวง

การนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์นั้น สามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วน ประกอบด้วย ทั้งต้น รากและเหง้า ใบบัว เม็ดบัวหลวง ดีบัว ดอกบัว รายละเอียด ดังนี้

  • สรรพคุณของต้นบัวหลวงทั้งต้น ใช้แก้พิษ ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด
  • สรรพคุณของรากบัวและเหง้าบัว ช่วยห้ามเลือด ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยขับเสมหะ
  • สรรพคุณของฝักบัวหลวง ใช้แก้พิษเห็ดเมา ช่วยสมานแผลในมดลูก แก้ไอ เป็นยาชูกำลัง
  • สรรพคุณของใบบัว นำมาใช้แก้อาการบวม อาการอักเสบ
  • สรรพคุณของเม็ดบัวหลวง ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี  ช่วยบำรุงไขข้อและเส้นเอ็น รักษาโรคเกี่ยวกับข้อกระดูก ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อน ลดอาการฝันเปียก ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยบำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงตับ ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยขับเสมหะ เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยบำรุงประสาทและสมอง เป็นยาชูกำลัง
  • สรรพคุณของดีบัว ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อน ลดอาการฝันเปียก ช่วยแก้อหิวาตกโรค ช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด ช่วยรักษาการติดเชื้อในช่องปาก ช่วยทำให้เส้นเลือดขยาย
  • สรรพคุณของดอกบัวหลวง ช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย  ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี  ช่วยแก้อาการช้ำใน ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน ช่วยห้ามเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ เป็นยาบำรุงหัวใจ
    ฝักบัวหลวง ช่วยขับรกออกมาให้เร็วขึ้น

คำแนะนำสำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์
การนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์นั้นมีข้อแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อและการนำเอาบัวหลวงมาใช้ประโยชน์ ซึ่งรายละเอียดมี ดังนี้

  • บัวหลวงมีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งได้ แต่บัวหลวงที่มีขายในประเทศไทยนั้นมีหลายแหล่ง เช่นประเทศจีน ซึ่งบัวหลวงของจีนนั้นจะมีขนาดของเมล็ดที่ใหญ่กว่าบัวหลวงของไทย แต่คุณค่าทางอาหารบัวหลวงของไทยมีคุณค่ามากกว่าบัวหลวงของจีนหลายเท่า
  • การรับปรัทานสารสกัดจากบัวหลวงนั้นต้องระวังอาจมีสารเจือปนที่มีพิษต่อร่างกายได้ การรับประทานบัวหลวงให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรรับประทานสดๆจากต้น
  • การเลือกซื้อบัวหลวงนั้น ควรเลือกซื้อบัวที่สดและมีเมล็ดขนาดใหญ่ สีเขียวอ่อน
  • การเลือกซื้อเม็ดบัวอบแห้ง ควรระวังสิ่งเจือปนที่ไม่สะอาด เช่น ฝุ่นละออง กลิ่นสาบ กลิ่นเหม็นหืน ขั้วเม็ดดำคล้ำ เป็นต้น
  • หากต้องการให้สรรพคุณของเม้ดบัวมากขึ้น ให้นำเม็ดบัวมาปรุงอาหารร่วมกับลำไยอบแห้ง
  • สำหรับผู้ที่แพ้เกสรดอกไหม้ ให้ระวังเรื่องการบริโภคบัวหลวง เนื่องจากบัวหลวงมีเกสรดอกไม้
  • บัวหลวงทำให้ท้องผูก ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื่องการขับถ่ายไม่ควรบริโภคบัวหลวง

บัวหลวง ( Lotus ) สมุนไพร ประโยชน์ของบัวหลวง สรรพคุณของบัวหลวง บำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันช่วยชลอการหลั่ง แต่ต้องกินปริมาณที่เหมาะสม ลักษณะของต้นบัวหลวงเป็นอย่างไร ต้นบัวหลวง คำแนะนำสำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์