ทุเรียน ( Durian ) ภาษามลายู แปลว่า หนาม มีกลิ่นเฉพาะตัว ต้นทุเรียนเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดไข้ แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ รักษาแผลพุพอง โทษของทุเรียนทุเรียน ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของทุเรียน

ต้นทุเรียน ( Durian ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทุเรียน คือ Durio zibethinus L. ได้รับฉายาว่า ราชาแห่งผลไม้ เนื้อทุเรียนเหมือนคัสตาร์ด  รสชาติคล้ายอัลมอนด์ บางคนบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นเหม็นรุนแรง ทุเรียนสามารถรับประทานได้ทั้งสุกและห่าม

ลักษณะของต้นทุเรียน

ต้นทุเรียน เป็น ไม้ยืนต้น การขยายพันธุ์ทุเรียน ทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การติดตา การทาบกิ่ง และ การเสียบยอด ลักษณะของต้นทุเรียน มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของทุเรียน ลำต้นตั้งตรง ความสูงของต้นทุเรียน ประมาณ 25 ถึง 50 เมตร เปลือกของต้นทุเรียนมีสีเทาแก่ ผิวขรุขระหลุดลอกออกเป็นสะเก็ด เปลือกทุเรียนไม่มียาง
  • ใบของทุเรียน ใบเป็นใบเดี่ยว กระจายทั่วกิ่ง ใบรูปไข่ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเรียบลื่น มีไขนวล ใบด้านบนมีสีเขียว ท้องใบเป็นสีน้ำตาล ขอบใบเรียบ
  • ดอกของทุเรียน ออกดอกเป็นดอกช่อ เกิดตามลำต้น และกิ่งก้านยาว  มีสีขาวหอม คล้ายรุประฆัง
  • ผลของทุเรียน ผลสดเป็นรูปรีถึงกลม เปลือกทุเรียนมีหนามแหลม ผลมีสีเขียว ผลสุกมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในมีสีเหลืองอ่อน เนื้อในนิ่ม รสหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อทุเรียนสุก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 174 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 27.09 กรัม กากใยอาหาร 3.8 กรัม ไขมัน 5.33 กรัม โปรตีน 1.47 กรัม วิตามินเอ 44 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.374 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.74 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.23 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.316 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม  ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.325 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม  และ ธาตุสังกะสี 0.28 มิลลิกรัม

สรรพคุณของทุเรียน

ทุเรียน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรค ได้หลายส่วนประกอบ ทั้ง เนื้อทุเรียน รากทุเรียน ใบทุเรียน เปลือกทุเรียน รายละเอียด ดังนี้

  • เนื้อทุเรียน สามารถช่วยทำให้ฝีแห้ง ช่วยแก้โรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ
  • รากทุเรียน สามารถใช้ลดไข้ได้ ช่วยแก้อาการท้องร่วง
  • ใบทุเรียน สามารถใช้ลดไข้ได้ ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้ดีซ่าน ช่วยทำให้หนองแห้ง
  • เปลือกของทุเรียน สามมรถใช้ช่วยแก้ตานซาง ช่วยรักษาโรคคางทูม ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย ช่วยแก้ฝี ช่วยรักษาแผลพุพอง ใช้สมานแผล ใช้ไล่ยุงและแมลง

ข้อควรรู้ในการกินทุเรียน

การกินทุเรียน มีสิ่งที่ผู้บริโภคควรทราบ ดังนี้

  • ทุเรียนมีแคลอรี่สูง ทุเรียน 4 เม็ด ให้พลังงาน 400 กิโลแคลอรี่ เท่ากับน้ำอัดลม 2 กระป๋อง
  • ทุเรียนมีปริมาณน้ำตาลสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยง รวมถึงคนที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และไขมันในโลหิตสูง
  • ทุเรียนมีฤทธิ์ร้อน ไม่ควรกินทุเรียนร่วมกับเหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทั้งหลาย

โทษของทุเรียน

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มี แคลอรี่และน้ำตาลสูง ทุเรียนจึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วย โรคเบาหวาน อาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินทุเรียน เพราะทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น เป็นอันตราต่อลูกในท้อง ไม่ควรกินทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ กาแฟ

ทุเรียน ( Durian ) คำว่า ทุเรียน มาคำจากภาษามลายู แปลว่า หนาม ผลไม้ที่กลิ่นเฉพาะตัว คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน ประโยชน์ของทุเรียน ลักษณะของต้นทุเรียน สรรพคุณของทุเรียน ช่วยแก้โรคผิวหนัง ลดไข้ แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยทำให้หนองแห้ง ช่วยรักษาแผลพุพอง โทษของทุเรียน

บัวหลวง ( Lotus ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดัน ชะลอการหลั่ง แต่ต้องกินปริมาณที่เหมาะสม ต้นบัวหลวงเป็นอย่างไรบัวหลวง สมุนไพร ต้นบัว ประโยชน์ของบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นสมุนไพร มีสรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันเลือด ซึ่งสรรพคุณเหล่านี้ ช่วยในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของท่านชาย ช่วยชลอการหลั่งได้ หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เรามาให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ชื่อ บัวหลวง กันอย่างละเอียด ว่า บัวหลวงมีลักษณะทางพันธุศาสตร์อย่างไร สรรพคุณของบัวหลวงมีอะไรบ้าง

ต้นบัวหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Lotus มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. ชื่อเรียกอื่นๆของบัวหลวง เช่น โกกระณต บัว บัวอุบล บัวฉัตรขาว บัวฉัตรชมพู บัวฉัตรสีชมพู บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช สัตตบุษย์ เป็นต้น

ลักษณะของต้นบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นพืชล้มลุก อายุยืน อยู่ตามแหล่งน้ำ อยู่ในพื้นที่ ที่มีน้ำขัง รายละเอียดของต้นบัวหลวง มีลักษณะ ดังนี้

  • เหง้าของบัวหลวงอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าจะเป็นท่อนยาว มีปล้อง สีเหลืองอ่อน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ในระดับความลึกของน้ำที่ประมาณ  50 เซนติเมตร
  • การขยายพันธ์ของบัวหลวงใช้การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดและการแตกไหลบัว
  • ใบของบัวหลวง ใบลักษณะใบเดี่ยว กลมและมีขนาดใหญ่ ขอบของใบเรียบ จะมีก้านใบจะติดอยู่ตรงกลางของใบบัว อยุ่ด้านล่าง สำหรับก้านบัวจะมีหนาม
  • ดอกบัวหลวง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาว สีชมพู ดอกบัวมีกลิ่นหอม ในดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่เป็นจำนวนมาก และล้อมรอบอยู่บริเวณฐานรองดอก เราเรียกส่วนฐานนั้นว่า “ฝักบัว”ภายในฝักบัวจะมีเม็ดบัว
  • ฝักบัวหลวง จะมีผลอ่อนสีเขียว ในฝักบัวจะมีผลบัว เมื่อฝักบัวแก่ เม็ดบัวจะขยาย สำหรับดีบัว คือ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัว

คุณค่าทางโภชนาการของบัวหลวง

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของรากบัวหลวง ขนาด 100 กรัม นั้นให้พลังงาน พลังงาน 66 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย สารอาหาร คาร์โบไฮเดรต 16 กรัม น้ำ 81 กรัม น้ำตาล 0.5 กรัม เส้นใยอาหาร 3 กรัม ไขมัน 0.07 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม วิตามินบี1 0.127 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม โคลีน 25 มิลลิกรัม วิตามินซี 27 มิลลิกรัม แคลเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.22 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 36 มิลลิกรัม โซเดียม 45 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.33 มิลลิกรัม

สรรพคุณของบัวหลวง

การนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์นั้น สามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วน ประกอบด้วย ทั้งต้น รากและเหง้า ใบบัว เม็ดบัวหลวง ดีบัว ดอกบัว รายละเอียด ดังนี้

  • สรรพคุณของต้นบัวหลวงทั้งต้น ใช้แก้พิษ ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด
  • สรรพคุณของรากบัวและเหง้าบัว ช่วยห้ามเลือด ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยขับเสมหะ
  • สรรพคุณของฝักบัวหลวง ใช้แก้พิษเห็ดเมา ช่วยสมานแผลในมดลูก แก้ไอ เป็นยาชูกำลัง
  • สรรพคุณของใบบัว นำมาใช้แก้อาการบวม อาการอักเสบ
  • สรรพคุณของเม็ดบัวหลวง ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี  ช่วยบำรุงไขข้อและเส้นเอ็น รักษาโรคเกี่ยวกับข้อกระดูก ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อน ลดอาการฝันเปียก ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยบำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงตับ ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยขับเสมหะ เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยบำรุงประสาทและสมอง เป็นยาชูกำลัง
  • สรรพคุณของดีบัว ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อน ลดอาการฝันเปียก ช่วยแก้อหิวาตกโรค ช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด ช่วยรักษาการติดเชื้อในช่องปาก ช่วยทำให้เส้นเลือดขยาย
  • สรรพคุณของดอกบัวหลวง ช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย  ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี  ช่วยแก้อาการช้ำใน ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน ช่วยห้ามเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ เป็นยาบำรุงหัวใจ
    ฝักบัวหลวง ช่วยขับรกออกมาให้เร็วขึ้น

คำแนะนำสำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์
การนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์นั้นมีข้อแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อและการนำเอาบัวหลวงมาใช้ประโยชน์ ซึ่งรายละเอียดมี ดังนี้

  • บัวหลวงมีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งได้ แต่บัวหลวงที่มีขายในประเทศไทยนั้นมีหลายแหล่ง เช่นประเทศจีน ซึ่งบัวหลวงของจีนนั้นจะมีขนาดของเมล็ดที่ใหญ่กว่าบัวหลวงของไทย แต่คุณค่าทางอาหารบัวหลวงของไทยมีคุณค่ามากกว่าบัวหลวงของจีนหลายเท่า
  • การรับปรัทานสารสกัดจากบัวหลวงนั้นต้องระวังอาจมีสารเจือปนที่มีพิษต่อร่างกายได้ การรับประทานบัวหลวงให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรรับประทานสดๆจากต้น
  • การเลือกซื้อบัวหลวงนั้น ควรเลือกซื้อบัวที่สดและมีเมล็ดขนาดใหญ่ สีเขียวอ่อน
  • การเลือกซื้อเม็ดบัวอบแห้ง ควรระวังสิ่งเจือปนที่ไม่สะอาด เช่น ฝุ่นละออง กลิ่นสาบ กลิ่นเหม็นหืน ขั้วเม็ดดำคล้ำ เป็นต้น
  • หากต้องการให้สรรพคุณของเม้ดบัวมากขึ้น ให้นำเม็ดบัวมาปรุงอาหารร่วมกับลำไยอบแห้ง
  • สำหรับผู้ที่แพ้เกสรดอกไหม้ ให้ระวังเรื่องการบริโภคบัวหลวง เนื่องจากบัวหลวงมีเกสรดอกไม้
  • บัวหลวงทำให้ท้องผูก ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื่องการขับถ่ายไม่ควรบริโภคบัวหลวง

บัวหลวง ( Lotus ) สมุนไพร ประโยชน์ของบัวหลวง สรรพคุณของบัวหลวง บำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันช่วยชลอการหลั่ง แต่ต้องกินปริมาณที่เหมาะสม ลักษณะของต้นบัวหลวงเป็นอย่างไร ต้นบัวหลวง คำแนะนำสำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove