รากสามสิบ ( Shatavari ) สมุนไพร เขตร้อน ต้นรากสามสิบเป็นอย่่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดความดัน ลดไขมันในเลือด บำรุงกำลัง ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก โทษรากสามสิบรากสามสิบ ต้นรากสามสิบ สรรพคุณของรากสามสิบ ประโยชน์ของรากสามสิบ

รากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ คือ Asparagus racemosus Willd. พืชตระกูลเดียวกับหน่อไม้ฝรั่ง ชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ เช่น สามร้อยราก ผักหนาม ผักชีช้าง จ๋วงเครือ เตอสีเบาะ พอควายเมะ ชีช้าง ผักชีช้าง จั่นดิน ม้าสามต๋อน สามสิบ ว่านรากสามสิบ ว่านสามสิบ ว่านสามร้อยราก สามร้อยผัว สาวร้อยผัว ศตาวรี เป็นต้น

รากสามสิบ เจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน พบมากในเขตป่าร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง เขาหินปูน ป่าผลัดใบ และ ป่าโปร่ง มีต้นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารอาหารในรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีองค์ประกอบทางเคมีสารที่สำคัญ ประกอบด้วย ได้แก่ asparagamine cetanoate daucostirol sarsasapogenin shatavarin racemosol rutin alkaloid steroidal และ saponins

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ เป็น ไม้เถา จัดเป็นไม้เนื้อแข็ง การขยายพันธุ์ของรากสามสิบ ใช้ เหง้า หน่อ และ เมล็ด การปลูกรากสามสิบให้ปลูกในช่วงฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด ปลูกเป็นไม้ประดับ โดยลักษณะของต้นรากสามสิบมีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นเป็นเถา ไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณไม่เกิน 4 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว หรือ สีขาวแกมเหลือง เถาของรากสามสิบมีขนาดเล็ก เรียบ เรียว ลื่น และ มีลักษณะผิวมัน ตามข้อเถามีหนามแหลม
  • ใบรากสามสิบ มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว แข็ง มีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปเข็มขนาดเล็ก ปลายใบแหลม
  • ดอกรากสามสิบ ดอกของรากสามสิบออกดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายกิ่ง และ ตามซอกใบ รวมถึง ข้อของเถา ดอกมีสีขาวและ ดอกมีกลิ่นหอม ดอกของรากสามสิบจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะของผลกลม ผิวเรียบ ลักษณะมัน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีแดงอมม่วง ภายในผลมีเมล็ดสีดำ ผลของรากสามสิบจะออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี

ประโยชน์ของรากสามสิบ

สำหรับประโยชน์ของต้นรากสามสิบนั้น โดยหลักๆนั้นนำมาทำเป็นยาบำรุงร่างกายและรักษาโรค ซึ่งจะกล่าวในส่วนของสรรพคุณของรากสามสิบ นอกจากนั้น สามารถทำมาทำอาการ เป็นผักสดนำมาลวกกินเป็นเครื่องเคียง สามารถนำทำทำอาหารแปรรูปจากรากสามสิบ เช่น รากสามสิบแช่อิ่ม รากสามสิบเชื่อม เป็นต้น รากสามสิบสามารถนำมาทำสบู่ และ ใช้ซักเสื้อผ้า รากสามสิบช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินชุ่มน้ำ

สรรพคุณของรากสามสิบ

สำหรับการใช้ประโยชน์ของรากสามสิบในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ได้ทั้งตน ใบ ผล และ รากของรากสามสิบ โดยรายละเอียดของสรรพคุณของรากสามสิบ มีดังนี้

  • ใบรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับน้ำนม ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ทั้งต้นของรากสามสิบ นำมาต้มกับน้ำดื่มใช้รักษาโรคคอพอก แก้อาการตกเลือด
  • ผลของรากสามสิบ เป็นยาแก้พิษไข้ รักษาอาการบิดเรื้อรัง
  • รากของรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้กระษัย กระตุ้นระบบประสาท แก้วิงเวียนศรีษะ ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคคอพอก แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาการติดเชื้อที่หลอดลม ช่วยขับลม ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้อาการอาหารไม่ย่อย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องเสีย รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการประจำเดือนผิดปกติ แก้อาการตกเลือด รักษาภาวะหมดประจำเดือน  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตกขาว ทำให้มีบุตร กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนม ป้องกันการแท้ง แก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย ช่วยถอนพิษฝี แก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการปวดข้อและปวดคอ

ข้อควรระวังในการใช้รากสามสิบ

รากสามสิบมีช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย เป็นยาสมุนไพรที่ไม่ปลอดภัยนักต่อเพศหญิง มีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในมดลูก หรือ ก้อนเนื้อที่เต้านม เป็นต้น ดังนั้นการใช้สมุนไพรรากสามสิบต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน

น้ำรากสามสิบ

ส่วนผสมของน้ำรากสามสิบ ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม และ น้ำเปล่า 10 ลิตร วิธีทำน้ำรากสามสิบ นำรากสามสิบไปล้างให้สะอาด ปอกเปลือก และ ดึงไส้ของรากออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เคี่ยวประมาณ 3 ชั่วโมง เติมน้ำตาลเพิ่มรสชาติให้ทานง่าย

รากสามสิบแช่อิ่ม

ส่วนผสมสำหรับทำรากสามสิบแช่อิ่ม ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1.5 กิโลกรัม น้ำเปล่า 5 ลิตร วิธีทำรากสามสิบแช่อิ่ม นำรากสามสิบล้างให้สะอาด ปอกเปลือกและดึงไส้ออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เติมน้ำตาลทรายลงไป เคี่ยวจนน้ำตาลทรายละลายหมด เคี่ยวจนรากสามสิบเป็นสีเหลืองทอง

รากสามสิบ ( Shatavari ) คือ สมุนไพร ลดความดัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงกำลัง กระตุ้นระบบประสาท ต้นรากสามสิบ ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน นิยมนำรากมาใช้ประโยชน์ ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก ประโยชน์และสรรพคุณของรากสามสิบ โทษของรากสามสิบ

จำปูน พืชสมุนไพร ดอกมีกลิ่นหอม เหมือน กระดังงา พืชประจำจังหวัดพังงา ประโยชน์และสรรพคุณของจำปูนมีอะไรบ้าง ดอกจำปูนมีกลิ่นหอม นำมาทำเครื่องหอม บำรุงความงามจำปูน ต้นจำปูน ดอกจำปูน สมุนไพร

ต้นจำปูน มีชื่อสามัญว่า Jum-poon ชื่อวิทยาศาสตร์ของจำปูน คือ  Anaxagorea siamensis พืชตระกูลเดียวกับกระดังงา ชื่อเรียกอื่นๆของจำปุน คือ บุหงาปมปุน ถิ่นกำเนิดของจำปูนอยู่ในแถบประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ เจริญเติบโตได้ดีตามป่าดิบชื้น สำหรับประเทศไทยพบต้นจำปูน ตามภาคใต้และภาคตะวันออก

การปลูกต้นจำปูน 

ต้นจำปูน เจริญเติบโตช้าในช่วงแรก ซึ่งต้นกล้าในปีแรก สูงเพียง 10 เซนติเมตรเท่านั้น สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่ควรปลูกในดินร่วนที่ระบายน้ำดี ชอบความชื้นสูง ไม่ควรให้โดนแดดมากเกินไป ดอกจำปูนได้รับความนิยมมาก

ลักษณะของต้นจำปูน

ต้นจำปูน เป็นพืชขนาดเล็ก ดอกจำปูนแข็งสีขาวนวล กลิ่นหอมแรง การขยายพันธุ์ใช้การตอนกิ่งและการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นจำปูน มีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นของจำปูน ขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาทรงพุ่ม ความสูงประมาณ 200 เซ็นติเมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นเรียบ สีเทาอมน้ำตาล
  • ใบของจำปูน รูปรี ใบออกเรียงสลับกัน โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีสีเขียวเข้ม ลักษณะมัน
  • ดอกของจำปูน เป็นดอกเดี่ยวๆ กลีบดอกรูปไข่ หนาและแข็ง กลีบด้านนอกมีสีเขียว กลีบด้านในมีสีขาว ดอกที่บานเต็มที่มีกลิ่นหอมแรง โดยเฉพาะตอนเช้าและตอนเย็นๆ  ดอกจำปูนออกได้ตลอดทั้งปี
  • ผลของจำปูน ลักษณะกลม โคนผลเรียว ปลายผลเป็นปุ่มกลมกว้าง ภายในผลมีเมล็ดสีดำขนาดเล็ก คล้ายรูปหยดน้ำ

ประโยชน์ของจำปูน

ต้นจำปูนนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกในกระถาง กลิ่นหอมชื่นใจ ยอดอ่อนของต้นจำปูนสามารถนำมาทำอาหารรับประทานได้

สรรพคุณของจำปูน

สำหรับจำปูนนิยมนำดอกมาใช้ประโยชน์ สรรพคุณของต้นจำปู แยกตามส่วนต่างๆ มีดังนี้

  • ดอกจำปูน มีน้ำมันหอมระเหยให้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท นำมาทำเครื่องหอม แก้อาการเวียนหัว ทำให้เพิ่มอารมณ์และความรู้สึกทางเพศ
  • เปลือกต้นจำปูน ใช้แก้บิด แก้ไข้พิษ
  • ใบจำปูน ใช้ขับไส้เดือนในท้อง
  • ผลของจำปูน ใช้ขับเลือด
  • เมล็ดของจำปูน ใช้ลดไข้
  • กระพี้ของจำปูน ใช้ฟอกโลหิต
  • แก่นของจำปูน ใช้แก้โรคกลาก
  • รากของจำปูน ใช้ขับเลือด

โทษของจำปูน

สำหรับรากของจำปูน และ ผลของจำปูน มีฤทธิ์ในการขับเลือด สำหรับสตรีมีครรภ์และคนเป็นโรคโลหิตจางควรระมัดระวังในการใช้ประโยชน์จากรากและผลของจำปูน