รากสามสิบ ( Shatavari ) สมุนไพร เขตร้อน ต้นรากสามสิบเป็นอย่่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดความดัน ลดไขมันในเลือด บำรุงกำลัง ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก โทษรากสามสิบรากสามสิบ ต้นรากสามสิบ สรรพคุณของรากสามสิบ ประโยชน์ของรากสามสิบ

รากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ คือ Asparagus racemosus Willd. พืชตระกูลเดียวกับหน่อไม้ฝรั่ง ชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ เช่น สามร้อยราก ผักหนาม ผักชีช้าง จ๋วงเครือ เตอสีเบาะ พอควายเมะ ชีช้าง ผักชีช้าง จั่นดิน ม้าสามต๋อน สามสิบ ว่านรากสามสิบ ว่านสามสิบ ว่านสามร้อยราก สามร้อยผัว สาวร้อยผัว ศตาวรี เป็นต้น

รากสามสิบ เจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน พบมากในเขตป่าร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง เขาหินปูน ป่าผลัดใบ และ ป่าโปร่ง มีต้นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารอาหารในรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีองค์ประกอบทางเคมีสารที่สำคัญ ประกอบด้วย ได้แก่ asparagamine cetanoate daucostirol sarsasapogenin shatavarin racemosol rutin alkaloid steroidal และ saponins

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ เป็น ไม้เถา จัดเป็นไม้เนื้อแข็ง การขยายพันธุ์ของรากสามสิบ ใช้ เหง้า หน่อ และ เมล็ด การปลูกรากสามสิบให้ปลูกในช่วงฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด ปลูกเป็นไม้ประดับ โดยลักษณะของต้นรากสามสิบมีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นเป็นเถา ไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณไม่เกิน 4 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว หรือ สีขาวแกมเหลือง เถาของรากสามสิบมีขนาดเล็ก เรียบ เรียว ลื่น และ มีลักษณะผิวมัน ตามข้อเถามีหนามแหลม
  • ใบรากสามสิบ มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว แข็ง มีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปเข็มขนาดเล็ก ปลายใบแหลม
  • ดอกรากสามสิบ ดอกของรากสามสิบออกดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายกิ่ง และ ตามซอกใบ รวมถึง ข้อของเถา ดอกมีสีขาวและ ดอกมีกลิ่นหอม ดอกของรากสามสิบจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะของผลกลม ผิวเรียบ ลักษณะมัน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีแดงอมม่วง ภายในผลมีเมล็ดสีดำ ผลของรากสามสิบจะออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี

ประโยชน์ของรากสามสิบ

สำหรับประโยชน์ของต้นรากสามสิบนั้น โดยหลักๆนั้นนำมาทำเป็นยาบำรุงร่างกายและรักษาโรค ซึ่งจะกล่าวในส่วนของสรรพคุณของรากสามสิบ นอกจากนั้น สามารถทำมาทำอาการ เป็นผักสดนำมาลวกกินเป็นเครื่องเคียง สามารถนำทำทำอาหารแปรรูปจากรากสามสิบ เช่น รากสามสิบแช่อิ่ม รากสามสิบเชื่อม เป็นต้น รากสามสิบสามารถนำมาทำสบู่ และ ใช้ซักเสื้อผ้า รากสามสิบช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินชุ่มน้ำ

สรรพคุณของรากสามสิบ

สำหรับการใช้ประโยชน์ของรากสามสิบในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ได้ทั้งตน ใบ ผล และ รากของรากสามสิบ โดยรายละเอียดของสรรพคุณของรากสามสิบ มีดังนี้

  • ใบรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับน้ำนม ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ทั้งต้นของรากสามสิบ นำมาต้มกับน้ำดื่มใช้รักษาโรคคอพอก แก้อาการตกเลือด
  • ผลของรากสามสิบ เป็นยาแก้พิษไข้ รักษาอาการบิดเรื้อรัง
  • รากของรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้กระษัย กระตุ้นระบบประสาท แก้วิงเวียนศรีษะ ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคคอพอก แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาการติดเชื้อที่หลอดลม ช่วยขับลม ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้อาการอาหารไม่ย่อย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องเสีย รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการประจำเดือนผิดปกติ แก้อาการตกเลือด รักษาภาวะหมดประจำเดือน  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตกขาว ทำให้มีบุตร กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนม ป้องกันการแท้ง แก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย ช่วยถอนพิษฝี แก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการปวดข้อและปวดคอ

ข้อควรระวังในการใช้รากสามสิบ

รากสามสิบมีช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย เป็นยาสมุนไพรที่ไม่ปลอดภัยนักต่อเพศหญิง มีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในมดลูก หรือ ก้อนเนื้อที่เต้านม เป็นต้น ดังนั้นการใช้สมุนไพรรากสามสิบต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน

น้ำรากสามสิบ

ส่วนผสมของน้ำรากสามสิบ ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม และ น้ำเปล่า 10 ลิตร วิธีทำน้ำรากสามสิบ นำรากสามสิบไปล้างให้สะอาด ปอกเปลือก และ ดึงไส้ของรากออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เคี่ยวประมาณ 3 ชั่วโมง เติมน้ำตาลเพิ่มรสชาติให้ทานง่าย

รากสามสิบแช่อิ่ม

ส่วนผสมสำหรับทำรากสามสิบแช่อิ่ม ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1.5 กิโลกรัม น้ำเปล่า 5 ลิตร วิธีทำรากสามสิบแช่อิ่ม นำรากสามสิบล้างให้สะอาด ปอกเปลือกและดึงไส้ออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เติมน้ำตาลทรายลงไป เคี่ยวจนน้ำตาลทรายละลายหมด เคี่ยวจนรากสามสิบเป็นสีเหลืองทอง

รากสามสิบ ( Shatavari ) คือ สมุนไพร ลดความดัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงกำลัง กระตุ้นระบบประสาท ต้นรากสามสิบ ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน นิยมนำรากมาใช้ประโยชน์ ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก ประโยชน์และสรรพคุณของรากสามสิบ โทษของรากสามสิบ

ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ต้นขนุนเป็นอย่างไร สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้อาการเมาสุราขนุน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของขนุน

ต้นขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้าน ที่เป็นที่รู้จักกันในสังคมไทย เป็น พืชมงคล ที่นิยมปลูกหลังบ้าน ด้วยชื่อของขนุน หนุนนำความเจริญสู่เจ้าของบ้าน เม็ดขนุน จากการศึกษาพบว่ามีสารพรีไบโอติก ที่ช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดีและการดูดซึมสารอาหารของลำไส้เล็กได้ดี ช่วยให้ร่างกานดูซึม แร่ธาตุต่างๆได้ดี และยังมีสารป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน สรรพคุณของขนุน  คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมา นำเสนอขนุน ผลไม้ไทย ให้ทุกคนได้รู้จักกันอย่างละเอียด

ต้นขนุน มีชื่อภาษาอังกฤษ เรียก Jackfruit ขนุน มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Artocarpus heterophyllus Lam ส่วนชื่อเรียกอื่นๆ ของขนุน อาทิ เช่น ขะนู นะยวยซะ เนน นากอ มะหนุน หมากหมี้ เป็นต้น ขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้านของไทย ผลสุกของขนุน มีรสหวาน กรอบ มีกลิ่นหอม อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ ไทอามิน ไนอาซิน แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก สังกะสี โซเดียม และกรดโฟลิก ขนุนมีไขมันและคอเลสเตอรอลน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่ การกินเมล็ดขนุน ช่วยเร่งน้ำนมได้

คุณค่าทางโภชนาการของขนุน

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของขนุน ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.25 กรัม น้ำตาล 19.08 กรัม กากใยอาหาร 1.5 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 1.72 กรัม วิตามินเอ 5 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 61 ไมโครกรัม ลูทีน และ ซีแซนทีน 157 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.105 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.055 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.92 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.235 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.329 มิลลิกรัม วิตามินบี9 24 ไมโครกรัม วิตามินซี 14.7 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.34 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.23 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.043 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 448 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นขนุน

ต้นขนุน เป็นไม้ยืนต้น ที่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 30 เมตร ขนุนสามารถขยายพันธ์ได้โดยการใช้เมล็ด ลักษณะของต้นขนุน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นและกิ่งของต้นขนุน จะมีน้ำยางเป็นสีขาว ซึ่งน้ำยางจะเหนียว สามารถนำมาใช้ห้ามเลือด รักษาแผลอักเสบได้ดี
  • ใบของต้นขนุน เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10เซนติเมตร ปลายใบมีลักษณะแหลม ผิวของในเรียบ มีสีเขียว เนื้อใบหนา
  • ดอกของขนุน ออกเป็นช่อ มีสีเขียว ออกดอกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ซึ่งดอกของขนุนจะกลายเป็นผลของขนุนในเวลาต่อมา สำหรับผลของต้นขนุน
  • ผลขนุน มีลักษณะ กลมหรือรี ผลมีสีเขียว ผลดิบเนื้อในจะเป็นสีขาว เมื่อผลสุกเนื้อในจะเป็นสีเหลือง และมีรสหวาน ภายในผลจะมีเมล็ดจำนวนมากขนาดใหญ่

ขนุน มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธ์มีความแตกต่างกันออกไป สำหรับสายพันธ์ขนุนที่นิยมปลูกในประเทศไท นั้น ได้แก่ พันธุ์ตาบ๊วย มีลักษณะเด่น เนื้อสีเหลือง ผลใหญ่ เนื้อหนา พันธุ์ฟ้าถล่ม ลักษณะเด่น ผลขนาดใหญ่ กลม เนื้อเป็นสีเหลืองทอง และพันธุ์ทองสุดใจ ลักษณะเด่น ผลยาว ใหญ่ และเนื้อเป็นสีเหลือง

สรรพคุณของขนุน

สำหรับ ขนุน นั้นนิยมรับประทานผลสุก เนื่องจากมีรสหวาน กลิ่นหอม รสหวานช่วยให้ร่างกายมีกำลังวังชา ประโยชน์ของขนุน มีมากมายหลายส่วน ตั้งแต่รากของขนุน เนื้อไม้ ผล เมล็ด เปลือก ยางของขนุน เป็นต้น โดยรายละเอียดของประโยชน์ด้านการรักษาโรคของขนุน มีดังนี้

  • เปลือกผลขนุน ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ผลขนุน ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา
  • รากขนุน ช่วยแก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของขนุน ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงน้ำนม ขับน้ำนม ทำให้น้ำนมของแม่เพิ่มมากขึ้น
  • ไส้ในของผลขนุน ช่วยลดอาการตกเลือด
  • รากของขนุน ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ ช่วยบำรุงเลือด
  • ใบของขนุน ช่วยป้องกันแผลเป็นหนอง รักษาโรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย รักษาอาการปวดหู รักษาหูน้ำหนวก ช่วยระงับประสาท แก้โรคลมชัก ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • แก่นไม้ต้นขนุน ช่วยสมานแผล รักษากามโรค รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บำรุงเลือด
  • ยางของต้นขนุน ช่วยลดอาการบวมอักเสบของแผล ป้องกันแผลเป็นหนอง ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว

โทษของขนุน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขนุน พบว่าสารสกัดจากขนุน ทำให้รู้สึกง่วง ข้อควรระวังในการบริโภคขนุน มีดังนี้

  • ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควรรับประทานผลขนุนสุก เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีที่อยู่ระหว่างกำลังให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ขนุนเพื่อรักษาโรค เพราะ ขนุนจะซึมผ่านน้ำนมจนเกิดอันตรายต่อทารก
  • ควรหยุดใช้สารสกัดจากขนุนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะ อาจทำให้รู้สึกง่วงซึม

ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง สรรพคุณของขนุน เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove