ชะคราม ( Seablite ) พบได้ตามชายทะเล ใบชะครามนิยมนำมาทำอาหาร มีรสเค็ม คุณค่าทางอาหารของชะคราม ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน รักษาคอพอก บำรุงสายตาชะคราม ใบชะคราม สรรพคุณของชะคราม ประโยชน์ของชะคราม

ต้นชะคราม มีชื่อสามัญว่า Seablite ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะคราม Suaeda maritime (L.) Dumort. จัดเป็นพืชในตระกูล Chenopodiaceae  ชื่อเรียกอื่นๆของชะคราม คือ ชักคราม ส่าคราม ชั้วคราม ล้าคราม ล่าคราม เป็นต้น ต้นชะครามถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย และ ทุกๆพื้นที่ทีีติดกับทะเล เจริญเติบโตได้ดีตามป่าโกงกาง ชายทะเล และ นาเกลือ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาของชะคราม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด ขนาด 100 กรัม พบว่ามี สารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 1.81% ไขมัน 0.15% กากใยอาหาร 2.40% คาร์โบไฮเดรต 2.97% แคลเซียม 36.68 มิลลิกรัม โซเดียม 2,577 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม และ 1,265 ไมโครกรัม

ส่วนคุณค่าทางโภชนาการของใบชะคราม พบว่ายังมีสารอาหารสำคัญแต่เจือจางลงไปบ้าง ในการศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของใบชะครามลวก ขนาด 100 กรัม พบว่า มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 1.58% ไขมัน 0.15% กากใยอาหาร 2.10% คาร์โบไฮเดรต 2.49% แคลเซียม 43.27 มิลลิกรัม
โซเดียม 1,656 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม 1,265 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นชะคราม

สำหรับ ต้นชะคราม เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี การขยายพันธ์ใช้การปักชำ มีลำต้นแตกกิ่งทรงพุ่มขนาดเล็ก จัดว่าเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง แต่ เติบโตเฉพาะพื้นที่ติดกับทะเล ลักษณะของต้นชะครามมี ดังนี้

  • ลำต้นชะคราม สูงประมาณไม่เกิน 150 เซ็นติเมตร ลำต้นอ่อนมีสีเขียว ลำต้นแก่มีสีน้ำตาลอมแดง ผิวของลำต้นเป็นตุ่มๆ เนื้อไม้อ่อน
  • รากของชะคราม มีรากแก้วแทงลึกลงดิน และรากแขนง
  • ใบชะคราม เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นทรงกระบอกเกือบกลม เรียวยาว ปลายใบแหลม ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ต่อมาที่เจริญเต็มที่จะมีสีเทาเงินอมเขียว ใบชะครามแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือ สีคราม
  • ดอกชะคราม ออกเป็นช่อ ออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกชะครามอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง ส่วนกลีบดอกชะครามแก่มีสีแดงเรื่อ
  • ผลชะคราม ทรงกลม ขนาดเล็ก เปลือกผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ส่วนเปลือกผลแก่มีสีน้ำตาล ด้านในผลชะครามมีเมล็ด 1 เมล็ด

ประโยชน์ชะคราม

สำหรับประโยชน์ของชะครามนั้นนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ให้รสชาติเค็ม  นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของแกงส้ม แกงมัสมั่น เป็นต้น ส่วนใบของชะครามมีสรรพคุณทางยามากมาย นำมาสะกัดน้ำมันเป็นส่วนผสมของยาสระผม ทำให้ผมเงางาม

สรรพคุณชะคราม

สำหรับประโยชน์ของชะครามในด้าน การบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรคนั้น สามารถแยกสรรพคุณของส่วนต่างๆของชะครามได้ ดังนี้

  • ใบของชะคราม ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา แก้อาการตามัว รักษากลากเกลื้อน แก้อาการผื่นคัน ลดอาการบวมของแผล ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย รักษารากผม แก้ผมร่วง
  • รากของชะคราม ใช้เป็นยาบำรุงกระดูก แก้พิษฝีภายใน ดับพิษในกระดูก แก้น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน แก้โรคผิวหนัง และ รักษาเส้นเอ็นพิการ
  • ลำต้นของชะคราม รักษารากผม แก้ผมร่วง

น้ำมันชะคราม

สำหรับคุณสมบัติขงน้ำมันชะคราม ใช้ดูแลเส้นผมทำให้ผมเงางาม ลดการหลุดร่วง วิธีทำน้ำมันชะคราม เตรียมวัตถุดิบ ประกอบด้วย ใบชะคราม 2 กิโลกรัม เนื้อมะพร้าวขูด 5 กิโลกรัม และ น้ำเปล่า 5 ลิตร

วิธีทำน้ำมันชะคราม โดยนำใบชะครามมาต้มในน้ำเดือด จากนั้นคนมาคั้นน้ำทิ้ง เหลือกากของใบชะคราม ให้นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆและใส่เนื้อมะพร้าวขูดและคลุกเคล้าให้เข้ากัน เติมน้ำเปล่าลงไป และ คั้นเอาน้ำของทั้งสามส่วน กรองด้วยผ้าขาวบาง และ นำไปเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนกระทั่งนำมันออกมา ช้อนเอาเฉพาะน้ำมัน และ กรองเอาเศษต่างๆออก ก็จะได้น้ำมันชะคราม

ชะคราม ( Seablite ) คือ สมุนไพร พืชล้มลุก ที่สามารถพบได้ตามพื้นที่ชายทะเล ใบชะครามนิยมนำมาทำอาหาร ใบมีรสเค็ม คุณค่าทางอาหารของชะคราม ประโยชน์และสรรพคุณของชะครามมีอะไรบ้าง ใบชะคราม  ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา

หูดงอนไก่ ( Genital wart ) ติ่งเนื้อผิวหนังอวัยวะเพศเกิดจากติดเชื้อไวรัส HPV เรียก หูดอวัยวะเพศ หูดกามโรค อาการติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ไม่เจ็บ ไม่อันตรายหูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ โรคติดต่อ

สาเหตุของการเกิดหูดหงอนไก่

สาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ เกิดจากติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( HPV ) บางสายพันธุ์ ซึ่งร้อยละ 90 ของผู่ป่วยโรคหูดหงอนไก่ เกิดจากไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ย่อย 6 และ 11 ซึ่งการติดโรคหูดหงอนไก่ มักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยมักเกิดในวัยรุ่น เชื้อไวรัสเอชพีวีเมื่อเข้าสู่ร่างการ เชื้อโรคจะมีระยะในการฟักตัวของโรค 30 วัน ถึง 2 ปี แต่จากสถิติพบว่าส่วนมากจะแสดงอาการภายใน 120 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย เมื่อผิวหนังได้รับเชื้อผ่านทางการสัมผัสผิวหนัง เชื้อไวรัสก็จะเจริญเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ที่ผิดปกติ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี สายพันธ์ย่อยที่ 6 และ 11 โดยสามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ ได้ดังนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย ไม่สวมถุงยางอนามัย
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนมีเชื้อไวรัสเอชพีวี หรือ มีประวัติติดเชื้อโรคไวรัสเอชพีวี
  • การนิยมเปลี่ยนคู่นอน

อาการของหูดหงอนไก่

เมื่อได้รับเชื้อไวรัสเอชพีวีเข้าสู่ร่างการ เชื้อโรคจะมีระยะในการฟักตัวของโรค 30 วัน ถึง 2 ปี แต่จากสถิติพบว่าส่วนมากจะแสดงอาการภายใน 120 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย เมื่อผิวหนังได้รับเชื้อผ่านทางการสัมผัสผิวหนัง เชื้อไวรัสก็จะเจริญเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการต่างๆมากมาย คือ เกิดเมือก ( Mucosa ) ที่อวัยวะเพศ ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ทวารหนัก ช่องปาก ในลำคอ จากนั้นจะเกิดรอยต่างๆ ลักษณะเป็นตุ่มเดียวหลายตุ่ม คล้ายดอกกะหล่ำ สีชมพู ผิวขรุขระ เพิ่มจำนวนมากขึ้น สร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วย

การรักษาโรคหูดหงอนไก่

การรักษาเนื่องจากสาเหตุของการเกิดหูดหงอนไก่ คืิอ เชื้อไวรัสเอชพีวี การรักษาต้องกำจัดเชื้อไวรัส พร้อมๆกับการกำจัดติ่งเนื้อออกไป ด้วยใช้วิธีทางการแพทยต่างๆ เช่น ความร้อนจัด ความเย็นจัด หรือ ยาเคมีบำบัดบางชนิด วิธีรักษาหูดหงอนไก่ สามารถสรุปได้ดังนี้

  • ใช้ไฟฟ้าจี้ ( Electrocauterization ) จี้ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ เพื่อตัดติ่งเนื้อออก ซึ่งวิธีนี้มีข้อเสีย คือ ควันที่เกิดจากการจี้ในระหว่างการรักษาหูดนั้น จะมีเชื้อไวรัส HPV ปนอยู่ หากสูดดมเข้าไป อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ HPV ที่ทางเดินหายใจได้
  • ใช้ความเย็นจี้ ( Cryotherapy ) ใช้สำลีชุบไนโตรเจนเหลวป้ายที่รอยติ่งเนื้อ ความเย็นจะสัมผัสติ่งเนื้อประมาณ 15 วินาที อาจทำให้มีรอยดำหลังการรักษา และ มีอาการเจ็บ ขณะรักษา
  • การผ่าตัดหูดหงอนไก่ออก วิธีนี้ลดปัญหาการกลับมาเกิดซ้ำของหูดหงอนไก่ได้มากที่สุด ใช้ในกรณีผู้ป่วยไม่ตอบสนองจากวิธีอื่นๆ
  • ใช้การทาน้ำยาPodophyllin วิธีนี้อาจมีอาการระคายเคือง แสบผิวในจุดที่โดนแต้มยา
  • ใช้การทาด้วยน้ำยาTrichloroacetic acid การรักษาด้วยวิธีนี้อาจทำให้มีอาการแสบ และ ระคายเคืองที่ผิวตรงจุดที่โดนทา

ผลข้างเคียงของโรคหูดหงอนไก่

ผลข้างเคียงของการเกิดหูดหงอนไก่ นั้นสิ่งแรก คือ ไม่น่ามอก หรือ ไม่น่าสัมผัส ทำให้รู้สึกขยะแขยง อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ระบบสืบพันธุ์ และ มะเร็งทวารหนักได้ ซึ่งสามารถสรุปผลข้างเคียงต่างๆ ได้ดังนี้

  • หากเกิดกับสตรีมีครรภ์ หูดหงอนไก่ อาจมีขนาดใหญ่จนเกิดการกีดขวางทางคลอด และเชื้อโรคมีโอกาสติดสู่เด็ทารกได้ ทำให้เกิดหูดในกล่องเสียง ทำให้เด็กทารกออกเสียง หรือ หายใจไม่สะดวก
  • หากเกิดกับชายในกลุ่ม รักร่วมเพศ มักพบหูดหงอนไก่รอบทวารหนัก หรือ เกิดในทวารหนัก ซึ่งการรักษายาก ทำให้เกิดภาวะทวารหนักตีบตัน ขับถ่ายยาก ทำให้ท้องผูก สามารถทำให้เกิดมะเร็งทวารหนักได้
  • หากเกิดหูดหงอนไก่ที่ทางเดินหายใจ ซึ่งพบมากที่สุด คือ เกิดหูดที่กล่องเสียง ทำให้เสียงแหบ และ เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่

การรักษาในปัจจุบัน ไม่สามารถรักษาให้หายขาด ดังนั้นการป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่ เป็นสิ่งที่ควรทำ และ ทำได้ง่ายกว่าการรักษาโรค โดยต้องลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคทั้งหมด สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอนของตน
  • ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยการสวมถุงยางอนามัย
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี

โรคหูดงอนไก่ ( Genital wart ) คือ การติ่งเนื้อ ก้อนผิวหนังที่อวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV เรียกอีกชื่อว่า หูดอวัยวะเพศ หรือ หูดกามโรค เกิดได้กับทุกเพศ อาการของโรค คือ เกิดติ่งเนื้อขรุขระที่อวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก  ไม่เจ็บ และ ไม่อันตราย สาเหตุ อาการ การรักษา และ การป้องกัรนโรคทำอย่างไร