มะพร้าว สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใบมะพร้าว ผลมะพร้าว ต้นมะพร้าวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ แก้กระหาย โทษของมะพร้าวมีอะไรบ้าง

มะพร้าว ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของมะพร้าว

ต้นมะพร้าว ( coconut ) มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Coconut  มะพร้าวมีชื่อเรียก อื่นๆ เช่น ดุง เฮ็ดดุง โพล คอส่า พร้าว หมากอุ๋น เป็นชื่อเรียกที่ใช้เรียกมะพร้าวแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นของประเทศไทย เราจะพบว่าเรานำ มะพร้าว มาบริโภค น้ำ และเนื้อของมะพร้าว แต่เนื้อมะพร้าวนี้มีความมันสูง เรามีการนำเนื้อมะพร้าวแก่ มาคั้นทำกะทิ วัตถุดิบหลักของอาหารไทย ( Thai Food ) ตัวอย่าง อาหาร เมนูกะทิ (Coconut Milk Receipt)  ในส่วนของเนื้อมะพร้าวอ่อนเรานิยมนำมาบริโภคกันสดๆ

มะพร้าวกับสังคมไทย

มะพร้าวมีความสำคัญกับความเชื่อของสังคมไทย เชื่อว่าการปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน จะส่งเสริมให้อยู่เย็นเป็นสุข ส่วนด้านพิธีกรรมทางศาสนา นำมะพร้าวอ่อน เป็นเครื่องสังเวย เส้นไหว้ เนื่องจากเชื่อว่ามะพร้าวเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์  น้ำมะพร้าวใช้ล้างหน้าศพ เนื่องจากน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ทำให้ผู้ตายเดินทางไปยังภพภูมิหน้าได้อย่างเป็นสุข

มะพร้าว คือ ผลไม้ และ สมุนไพร ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน ต้นมะพร้าวถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมาย นำมาทำอาหาร เป็นยารักษาโรค เครื่องใช้ต่างๆ สรรพคุณของมะพร้าว ประกอบด้วย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยสมานแผล บำรุงผิว แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย ห้ามเลือด รักษาโรคกระเพราะ แก้อาเจียน แก้ปวดเอ็น แก้ปวดข้อ รักษาโรคผิวหนัง บำรุงผิวหนัง บำรุงสมอง รักษาโรคในช่องปาก แก้เจ็บปาก แก้ปวดฟัน แก้นิ่ว ป้องกันสมองเสื่อม ดับกระหาย สมานแผล

ลักษณะของต้นมะพร้าว

ต้นมะพร้าว เป็นไม้ยืนต้นความสูงประมาณ 20 เมตร โดยประมาณ ลำต้นกลม เปลือกของมะพร้าวแข็ง สีเทา ขรุขระ  ลักษณะใบเป็นแบบขนนก รูปพัด ยาว 80  เซ็นติเมตรโดยประมาณ ขอบใบเรียบ สีเขียว มะพร้าวออกตอกเป็นช่อแขนงที่ซอกใบ ผลของมะพร้าวมีสีเขียว และผลแก่จะมีสีน้ำตาล เนื้อมะพร้าวจะมีสีขาว มีน้ำในผลมะพร้าว

คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของ เนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าว โดยจากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าว ขนาด 100 กรัม ให้ พลังงาน 1,480 กิโลแคลอรี มีสารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 24.23 กรัม น้ำตาล 6.23 กรัม กากใยอาหาร 9 กรัม ไขมัน 33.49 กรัม โปรตีน 3.33 กรัม วิตามินบี 1 0.66 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.54 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 1.014 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.05 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.3 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.43 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 32 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 356 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 1.1 มิลลิกรัม

ส่วน น้ำมะพร้าว ขนาด 100 กรัม นักโภชนาการพบว่า ให้พลังงาน 79 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.71 กรัม น้ำตาล 2.61 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.72 กรัม วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.032 มิลลิกรัม วิตามินซี 2.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 250 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะพร้าว

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของมะพร้าว เราสามารถนำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์ ได้ ตั้งแต่ เปลือก กะลา น้ำมะพร้าว เนื้อมะพร้าว ราก และ เปลือกของต้นมะพร้าว

  • เปลือกของลูกมะพร้าว จะมีรสฝาดและขม สามารถนำมาใช้ห้ามเลือด แก้ปวด รักษาโรคกระเพาะ และแก้อาเจียน
  • กะลา เรานำกะลามาใช้ในการ แก้ปวดเอ็น และ แก้ปวดกระดูก นำกะลามาเผาถ่านและกิน ช่วยแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษในร่างกายได้ น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา สามารถนำมาทาแผล รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื่อน อุดฟัน แก้ปวดฟัน
  • เนื้อมะพร้าว เรานำเนื้อมพร้าวมาบริโภค ให้สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันสมองเสื่อม เนื้อมะพร้าวสามารถนำมาเคี้ยวเอาน้ำมันจากมะพร้าว นำมาทาผิว ช่วยรักษาแผล และ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้ปวดเมื่อยตามข้อและเอ็น
  • น้ำมะพร้าว เรานำมาบริโภค ช่วยแก้กระหาย นอกจากนั้นน้ำมะพร้าวยังสามารถ แก้พิษ แก้การอาเจียนเป็นเลือด แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ช่วยขับของเสีย ช่วยสมานแผล บำรุงผิว ทำให้ผิวกระชับ
  • รากของมะพร้าว สามารถนำมาต้ม และดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย และอมรักษาอาการปากเจ็บ
  • เปลือกของต้นมะพร้าว นำมาเผาแล้วทาแก้หิด และนำมาสีฟัน ช่วยแก้ปวดฟัน

มะพร้าว เป็นผลไม้ คุณสมบัติเด่น ๆ คือ สามารถนำมาใช้ทำเป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะทำเป็นอาหารคาวหวาน เพื่อบำรุงสุขภาพ และ รักษาโรคต่าง ๆ รวมไปถึงการผลิตน้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำตาล และยังทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้มากมาย

โทษของมะพร้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะพร้าว สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม แต่การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ หากรับประทานกะทิมากเกินไป หรือ รับประทานในปริมาณมากและติดต่อกัน จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันในร่างกาย ทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และ หัวใจได้

มะพร้าว คือ พืชพื้นเมือง สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตั้งแต่ ใบมะพร้าว ผลมะพร้าว ลักษณะของมะพร้าวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว สรรพคุณของมะพร้าว เช่น บำรุงผิวพรรณ แก้กระหาย โทษของมะพร้าว มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

ต้นคำฝอย ( Safflower ) นิยมใช้ประโยชน์จากดอกของคำฝอย สกัดได้สีส้มจากธรรมชาติ สรรพคุณขับประจำเดือน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ลดไขมันในเลือด ขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง

คำฝอย ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุรของคำฝอย

คำฝอย นั้นมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศตะวันออกกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในเขตหนาว และเขตร้อน สำหรับประเทศไทยมีการนำมาปลูกมากในภาคเหนือ เพื่อนๆหลายท่านคงไม่ทราบว่า ชาจากดอกคำฝอย เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นเครื่องดื่มที่ไร้ซึ่งคาเฟอีน แถมยังมี สรรพคุณทางยาอีกต่างหาก เป็นสมุนไพรไทยที่ดีมากๆ

ดอกคำฝอย ชื่อภาษาอังกฤษ เรียก Carthamus tinetorius L. ต้นคำฝอย เป็นต้นไม้ที่พบได้ทางภาคเหนือของประเทศ  ชื่อเรียกอื่นๆของคำฝอย เช่น ดอกคำ คำยอง คำยุง คำหยุม เป็นต้น ดอกคำฝอย พบว่ามีบันทึกไว้ในกระดาษปาปิรัสของอียิปต์ ว่ามีการปลูกต้นคำฝอยบริเวณลุ่มน้ำยูเฟรติส สำหรับใช้เป็นสีผสมน้ำมันสำหรับพิธีกรรมการทำมัมมี่ และในปัจจุบันก็มีการปลูกต้นคำฝอยในพื้นที่อียิปต์ อินเดีย จีน และแถบประเทศที่มีอากาศเย็น เพื่อใช้สำหรับเป็นสีผสมอาหาร ผสมเนยแข็ง และสีย้อมผ้า เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของคำฝอย

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาประโยชน์ของเมล็ดและดอกของคำฝอย พบว่า มีน้ำมัน 35 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 8-17 เปอร์เซ็นต์ กรดโอเลอิก 10-60 เปอร์เซ็นต์ กรดลิโนเลอิก 60-80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลีบดอกคำฝอยปริมาณ 100 กรัม มีสารอาหารและสารเคมีประกอบ ประกอบด้วย น้ำมัน 0.83 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 5 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 1.9 เปอร์เซ็นต์ กากใยอาหาร 10.4 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 530 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 287 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.3 มิลลิกรัม สารคาร์ทามีดีน ( carthamidine ) ให้สีเหลือง และ สารคาร์ทามีน ( carthamine ) ให้สีแดง

ลักษณะของต้นคำฝอย

ต้นคำฝอย เป็นไม้ล้มลุก ความสูงประมาณ 1 เมตร ขอบใบเป็นหยักเหมือนฟันเลื่อย ปลายของใบจะแหลม เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกง่ายและชอบอากาศเย็น โดยลักษณะของต้นคำฝอย มีดังนี้

  • ลำต้นคำฝอย เป็นลักษณะสัน แตกกิ่งก้านมาก เป็นพืชที่มีอายุสั้น ทนแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีการระบายน้ำได้ดี โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกจะอยู่ระหว่าง 5-15 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมในช่วงออกดอกคือ 24-32 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาการปลูกประมาณ 80-120 วันจนเก็บเกี่ยว
    ต้นคําฝอย
  • ใบคำฝอย มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปวงรี ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหรือรูปขอบขนาน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ใบมีความกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-12 เซนติเมตร
  • ดอกคำฝอย ออกดอกรวมกันเป็นช่ออัดแน่นบนฐานดอกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกคำฝอยมีลักษณะกลมคล้ายดอกดาวเรือง เมื่อดอกคำฝอยบานใหม่ ๆ จะมีกลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีส้ม เมื่อแก่จัดดอกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ที่ดอกมีใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอกอยู่
  • ผลคำฝอย ลักษณะของผลคล้ายรูปไข่หัวกลับ ผลเบี้ยว ๆ มีสีขาวงาช้างปลายตัด มีสัน 4 สัน ขนาดของผลยาวประมาณ 0.6-0.8 เซนติเมตร ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ด้านในผลมีเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมยาวรี เปลือกแข็ง มีสีขาว ขนาดเล็ก เมื่อผลแก่แห้งเมล็ดจะไม่แตกกระจาย

สรรพคุณของคำฝอย

การนำเอาต้นคำฝอย มาทำสมุนไพรนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ดอกสดและดอกแก่ เกสร และ เมล็ด โดยรายละเอียดดังนี้

  • ดอกคำฝอย จะมีรสหวาน ดอกคำฝอยมีสรรพคุณทางยา บำรุงโลหิต บำรุงระบบประสาท บำรุงหัวใจ ขับประจำเดือน ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันไขมันอุดตัน
  • ดอกคำฝอยแก่ เรานำมาทำสีผสมอาหารหากนำดอกคำฝอยแก่มาแช่น้ำจะให้สีเหลือง สามารถนำมาผสมในอาหารหรือผสมขนมให้สีสันที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ดอกคำฝอยแก่ เรานิยมนำมาชงเป็นชา ที่แก่มาชงกับน้ำร้อน
  • เกสรของดอกคำฝอย มีสรรพคุณช่วย บำรุงโลหิต ช่วยขับประจำเดือน
  • เมล็ดของดอกคำฝอย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง หากนพเมล็ดมาบดและทาจะช่วยแก้อาการบวมได้

โทษของคำฝอย

สำหรับการนำคำฝอยมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  1.  สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากดอกคำฝอย มีฤทธิ์ขับประจำเดือน และทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว อาจทำให้แท้งลูกได้
  2. ควรระมัดระวังการใช้ดอกคำฝอยร่วมกับยาในกลุ่มต้านเกร็ดเลือดแข็งตัว

แม้ว่าดอกคำฝอยจะเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณแทบจะครอบจักรวาล แต่ก็ยังมีข้อควรระวังก่อนทานเช่นกัน ดอกคำฝอยมักถูกใช้เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพร โดยจัดรวมกลุ่มใช้ด้วยกันกับยา หรือพืชตัวอื่นๆ จะไม่ใช้ดอกคำฝอยเดี่ยวๆ เพราะต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม มิเช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อระบบเลือดได้ หากทานดอกคำฝอยมากเกินไป หรือติดต่อกันนานเกินไป อาจส่งผลให้มีอาการโลหิตจางได้ ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะ หรืออาจทำให้โลหิตประจำเดือนมามากผิดปกติ

ต้นคำฝอย ( Safflower ) คือ พืชสมุนไพร มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศตะวันออกกลาง ต้นคำฝอยนิยมใช้ประโยชน์จาก ดอกของคำฝอย ดอกคำฝอย สามารถสกัดเอาสีส้มได้ ใช้ผสมอาหาร  คุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอย สรรพคุณของคำฝอย เช่น ขับประจำเดือน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ลดไขมันในเลือด ขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง แก้บวม บำรุงระบบประสาท


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove