ต้นกระเจียว พืชตระกูลขิงกากใยอาหารสูง ต้นกระเจียวเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณแก้ท้องผูก ลดคอเลสเตอรัล ลดกรดในกระเพาะอาหาร โทษของกระเจียวมีอะไรบ้างต้นกระเจีียว ดอกกระเจียว สรรพคุณของกระเจียว ประโยชน์ของกระเจียว

ต้นกระเจียวในประเทษไทย

ในประเทศไทยพบว่ามีการปลูกต้นกระเจียว มากภาคเหนือ และ ภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดชัยภูมิ พบตามทุ่งหญ้าตามป่า ฤดูกาลที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต คือ ฤดูฝน ที่จังหวัดชัยภูมิมีเทศกาลทุ่งดอกกระเจียวบาน เป็นเอกลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดชัยภูมิ

ต้นกระเจียว มี 2 ชนิด คือ ต้นกระเจียวแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Curcuma sessilis Gage. และ ต้นกระเจียวขาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Curcuma parviflora Wall ชื่อเรียกอื่นๆของกระเจียว เช่น ว่านมหาเมฆ อาวแดง กาเตียว กระเจียว จวด กระเจียวสี กระเจียวป่า เป็นต้น

ลักษณะของต้นกระเจียว

ต้นกระเจียว เป็นไม้ดอกพื้นบ้าน พืชล้มลุก ขยายพันธุ์โดยการแตกกอ เหง้า กระจายพันธุ์มากในประเทศพม่า และ ประเทศไทย มักขึ้นตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และที่โล่งๆทั่วไป ต้นกระเจียวแดง มีลำต้นอยู่ใต้ดิน  มีเหง้าอยู่ใต้ดิน อายุยาว ลักษณะของต้นกระเจียว ลำต้นกระเจียว ใบกระเจีว ดอกกระเจียว และ ผลกระเจียว มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นกระเจียว สูงได้ประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นกออยู่รวมกันมากๆ ลำต้นออำมาจากหัว ซึ่งกระเจียวมีหัวอยู่ใต้ดิน เรียก เหง้า มีขนาดใหญ่ ทรงรี สีน้ำตาล ภายในเหง้าเป็นสีขาว
  • ใบกระเจียว ลักษะของใบออกเป็นกาบ รวมตัวกันแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง
  • ดอกกระเจียว ต้นกระเจียวออกดอกเป็นช่อ รูปทรงกระบอก ดอกจะชูออกจากปลายลำต้น ดอกเป็นสีเหลือง สีขาว สีชมพู ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี
  • ผลกระเจียว ต้นกระเจียวออกผลเป็นรูปไข่ มีขนหนาแน่น เมล็ดรูปทรงคล้ายหยดน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจียว

สำหรับกระเจียว นิยมนำมารับประทานหน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว ทานเป็นผักสด โดยนักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเจียวขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม โปรตีน 1.3 กรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม แคลเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2 มิลลิกรัม และ วิตามินต่างๆ คือ วิตามินเอ วิตามินบี1 และ วิตามินบี2

ประโยชน์ของกระเจียว

สำหรับการใช้ประโยชน์ของกระเจียว นั้นนิยมนำมารับประทานเหมือนผักพื้นบ้านทั่วไป โดยรับประทานหน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว นำมาลวก กินเป็นผักสด นิยมรับประทานกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ ขนมจีนน้ำยา ซึ่งประโยชน์จากการรับประทานกระเจียวนอกจากจะเป็นอาหารแล้ว มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคอีกด้วย

สรรพคุณของกระเจียว

ต้นกระเจียว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ตั้งแต่ เหง้า ดอก หน่ออ่อน และ ดอก โดยรายละเอียดดังนี้

  • ลำต้นกระเจียว มีกากใยอาหารสูง ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวขับถ่ายได้ดี ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยขับสารพิษตกค้าในร่างกาย หน่ออ่อนใช้เป็นยาสมานแผล
  • ดอกกระเจียว มีรสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม สรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องอืด รักษาท้องเฟ้อ ลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยแก้มดลูกอักเสบสำหรับสตรีหลังคลอด
  • เหง้าของกระเจียว สรรพคุณเป็นยาแก้ปวดเมื่อย

โทษของกระเจียว

สำหรับการกินกระเจียว ไม่นิยมกิน ใบ และ เหง้า ของกระเจียว เนื่องจากมีรสเผ็ดร้อนเหมือนขิง ข่า ตะไคร้ หากกินมากๆ ก็มีความเป็นพิษต่อร่างกาย แต่การกินกระเจียว จะกิน หน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว โดยก่อนการกินให้นำไปลวกก่อน

ต้นกระเจียว คือ พืชล้มลุก พืชตระกูลขิง มีกากใยอาหารสูง ลักษณะของต้นกระเจียว เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกระเจียว เช่น นำมาลวกกินเป็นผักสด แก้ท้องผูก ลดคอเลสเตอรัล ลดกรดในกระเพาะอาหาร โทษของกระเจียว มีอะไรบ้าง

รากสามสิบ ( Shatavari ) สมุนไพร เขตร้อน ต้นรากสามสิบเป็นอย่่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดความดัน ลดไขมันในเลือด บำรุงกำลัง ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก โทษรากสามสิบรากสามสิบ ต้นรากสามสิบ สรรพคุณของรากสามสิบ ประโยชน์ของรากสามสิบ

รากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ คือ Asparagus racemosus Willd. พืชตระกูลเดียวกับหน่อไม้ฝรั่ง ชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ เช่น สามร้อยราก ผักหนาม ผักชีช้าง จ๋วงเครือ เตอสีเบาะ พอควายเมะ ชีช้าง ผักชีช้าง จั่นดิน ม้าสามต๋อน สามสิบ ว่านรากสามสิบ ว่านสามสิบ ว่านสามร้อยราก สามร้อยผัว สาวร้อยผัว ศตาวรี เป็นต้น

รากสามสิบ เจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน พบมากในเขตป่าร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง เขาหินปูน ป่าผลัดใบ และ ป่าโปร่ง มีต้นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารอาหารในรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีองค์ประกอบทางเคมีสารที่สำคัญ ประกอบด้วย ได้แก่ asparagamine cetanoate daucostirol sarsasapogenin shatavarin racemosol rutin alkaloid steroidal และ saponins

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ เป็น ไม้เถา จัดเป็นไม้เนื้อแข็ง การขยายพันธุ์ของรากสามสิบ ใช้ เหง้า หน่อ และ เมล็ด การปลูกรากสามสิบให้ปลูกในช่วงฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด ปลูกเป็นไม้ประดับ โดยลักษณะของต้นรากสามสิบมีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นเป็นเถา ไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณไม่เกิน 4 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว หรือ สีขาวแกมเหลือง เถาของรากสามสิบมีขนาดเล็ก เรียบ เรียว ลื่น และ มีลักษณะผิวมัน ตามข้อเถามีหนามแหลม
  • ใบรากสามสิบ มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว แข็ง มีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปเข็มขนาดเล็ก ปลายใบแหลม
  • ดอกรากสามสิบ ดอกของรากสามสิบออกดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายกิ่ง และ ตามซอกใบ รวมถึง ข้อของเถา ดอกมีสีขาวและ ดอกมีกลิ่นหอม ดอกของรากสามสิบจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะของผลกลม ผิวเรียบ ลักษณะมัน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีแดงอมม่วง ภายในผลมีเมล็ดสีดำ ผลของรากสามสิบจะออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี

ประโยชน์ของรากสามสิบ

สำหรับประโยชน์ของต้นรากสามสิบนั้น โดยหลักๆนั้นนำมาทำเป็นยาบำรุงร่างกายและรักษาโรค ซึ่งจะกล่าวในส่วนของสรรพคุณของรากสามสิบ นอกจากนั้น สามารถทำมาทำอาการ เป็นผักสดนำมาลวกกินเป็นเครื่องเคียง สามารถนำทำทำอาหารแปรรูปจากรากสามสิบ เช่น รากสามสิบแช่อิ่ม รากสามสิบเชื่อม เป็นต้น รากสามสิบสามารถนำมาทำสบู่ และ ใช้ซักเสื้อผ้า รากสามสิบช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินชุ่มน้ำ

สรรพคุณของรากสามสิบ

สำหรับการใช้ประโยชน์ของรากสามสิบในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ได้ทั้งตน ใบ ผล และ รากของรากสามสิบ โดยรายละเอียดของสรรพคุณของรากสามสิบ มีดังนี้

  • ใบรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับน้ำนม ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ทั้งต้นของรากสามสิบ นำมาต้มกับน้ำดื่มใช้รักษาโรคคอพอก แก้อาการตกเลือด
  • ผลของรากสามสิบ เป็นยาแก้พิษไข้ รักษาอาการบิดเรื้อรัง
  • รากของรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้กระษัย กระตุ้นระบบประสาท แก้วิงเวียนศรีษะ ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคคอพอก แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาการติดเชื้อที่หลอดลม ช่วยขับลม ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้อาการอาหารไม่ย่อย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องเสีย รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการประจำเดือนผิดปกติ แก้อาการตกเลือด รักษาภาวะหมดประจำเดือน  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตกขาว ทำให้มีบุตร กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนม ป้องกันการแท้ง แก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย ช่วยถอนพิษฝี แก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการปวดข้อและปวดคอ

ข้อควรระวังในการใช้รากสามสิบ

รากสามสิบมีช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย เป็นยาสมุนไพรที่ไม่ปลอดภัยนักต่อเพศหญิง มีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในมดลูก หรือ ก้อนเนื้อที่เต้านม เป็นต้น ดังนั้นการใช้สมุนไพรรากสามสิบต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน

น้ำรากสามสิบ

ส่วนผสมของน้ำรากสามสิบ ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม และ น้ำเปล่า 10 ลิตร วิธีทำน้ำรากสามสิบ นำรากสามสิบไปล้างให้สะอาด ปอกเปลือก และ ดึงไส้ของรากออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เคี่ยวประมาณ 3 ชั่วโมง เติมน้ำตาลเพิ่มรสชาติให้ทานง่าย

รากสามสิบแช่อิ่ม

ส่วนผสมสำหรับทำรากสามสิบแช่อิ่ม ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1.5 กิโลกรัม น้ำเปล่า 5 ลิตร วิธีทำรากสามสิบแช่อิ่ม นำรากสามสิบล้างให้สะอาด ปอกเปลือกและดึงไส้ออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เติมน้ำตาลทรายลงไป เคี่ยวจนน้ำตาลทรายละลายหมด เคี่ยวจนรากสามสิบเป็นสีเหลืองทอง

รากสามสิบ ( Shatavari ) คือ สมุนไพร ลดความดัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงกำลัง กระตุ้นระบบประสาท ต้นรากสามสิบ ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน นิยมนำรากมาใช้ประโยชน์ ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก ประโยชน์และสรรพคุณของรากสามสิบ โทษของรากสามสิบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove