รากสามสิบ ( Shatavari ) สมุนไพร เขตร้อน ต้นรากสามสิบเป็นอย่่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดความดัน ลดไขมันในเลือด บำรุงกำลัง ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก โทษรากสามสิบรากสามสิบ ต้นรากสามสิบ สรรพคุณของรากสามสิบ ประโยชน์ของรากสามสิบ

รากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ คือ Asparagus racemosus Willd. พืชตระกูลเดียวกับหน่อไม้ฝรั่ง ชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ เช่น สามร้อยราก ผักหนาม ผักชีช้าง จ๋วงเครือ เตอสีเบาะ พอควายเมะ ชีช้าง ผักชีช้าง จั่นดิน ม้าสามต๋อน สามสิบ ว่านรากสามสิบ ว่านสามสิบ ว่านสามร้อยราก สามร้อยผัว สาวร้อยผัว ศตาวรี เป็นต้น

รากสามสิบ เจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน พบมากในเขตป่าร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง เขาหินปูน ป่าผลัดใบ และ ป่าโปร่ง มีต้นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารอาหารในรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีองค์ประกอบทางเคมีสารที่สำคัญ ประกอบด้วย ได้แก่ asparagamine cetanoate daucostirol sarsasapogenin shatavarin racemosol rutin alkaloid steroidal และ saponins

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ เป็น ไม้เถา จัดเป็นไม้เนื้อแข็ง การขยายพันธุ์ของรากสามสิบ ใช้ เหง้า หน่อ และ เมล็ด การปลูกรากสามสิบให้ปลูกในช่วงฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด ปลูกเป็นไม้ประดับ โดยลักษณะของต้นรากสามสิบมีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นเป็นเถา ไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณไม่เกิน 4 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว หรือ สีขาวแกมเหลือง เถาของรากสามสิบมีขนาดเล็ก เรียบ เรียว ลื่น และ มีลักษณะผิวมัน ตามข้อเถามีหนามแหลม
  • ใบรากสามสิบ มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว แข็ง มีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปเข็มขนาดเล็ก ปลายใบแหลม
  • ดอกรากสามสิบ ดอกของรากสามสิบออกดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายกิ่ง และ ตามซอกใบ รวมถึง ข้อของเถา ดอกมีสีขาวและ ดอกมีกลิ่นหอม ดอกของรากสามสิบจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะของผลกลม ผิวเรียบ ลักษณะมัน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีแดงอมม่วง ภายในผลมีเมล็ดสีดำ ผลของรากสามสิบจะออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี

ประโยชน์ของรากสามสิบ

สำหรับประโยชน์ของต้นรากสามสิบนั้น โดยหลักๆนั้นนำมาทำเป็นยาบำรุงร่างกายและรักษาโรค ซึ่งจะกล่าวในส่วนของสรรพคุณของรากสามสิบ นอกจากนั้น สามารถทำมาทำอาการ เป็นผักสดนำมาลวกกินเป็นเครื่องเคียง สามารถนำทำทำอาหารแปรรูปจากรากสามสิบ เช่น รากสามสิบแช่อิ่ม รากสามสิบเชื่อม เป็นต้น รากสามสิบสามารถนำมาทำสบู่ และ ใช้ซักเสื้อผ้า รากสามสิบช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินชุ่มน้ำ

สรรพคุณของรากสามสิบ

สำหรับการใช้ประโยชน์ของรากสามสิบในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ได้ทั้งตน ใบ ผล และ รากของรากสามสิบ โดยรายละเอียดของสรรพคุณของรากสามสิบ มีดังนี้

  • ใบรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับน้ำนม ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ทั้งต้นของรากสามสิบ นำมาต้มกับน้ำดื่มใช้รักษาโรคคอพอก แก้อาการตกเลือด
  • ผลของรากสามสิบ เป็นยาแก้พิษไข้ รักษาอาการบิดเรื้อรัง
  • รากของรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้กระษัย กระตุ้นระบบประสาท แก้วิงเวียนศรีษะ ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคคอพอก แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาการติดเชื้อที่หลอดลม ช่วยขับลม ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้อาการอาหารไม่ย่อย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องเสีย รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการประจำเดือนผิดปกติ แก้อาการตกเลือด รักษาภาวะหมดประจำเดือน  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตกขาว ทำให้มีบุตร กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนม ป้องกันการแท้ง แก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย ช่วยถอนพิษฝี แก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการปวดข้อและปวดคอ

ข้อควรระวังในการใช้รากสามสิบ

รากสามสิบมีช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย เป็นยาสมุนไพรที่ไม่ปลอดภัยนักต่อเพศหญิง มีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในมดลูก หรือ ก้อนเนื้อที่เต้านม เป็นต้น ดังนั้นการใช้สมุนไพรรากสามสิบต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน

น้ำรากสามสิบ

ส่วนผสมของน้ำรากสามสิบ ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม และ น้ำเปล่า 10 ลิตร วิธีทำน้ำรากสามสิบ นำรากสามสิบไปล้างให้สะอาด ปอกเปลือก และ ดึงไส้ของรากออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เคี่ยวประมาณ 3 ชั่วโมง เติมน้ำตาลเพิ่มรสชาติให้ทานง่าย

รากสามสิบแช่อิ่ม

ส่วนผสมสำหรับทำรากสามสิบแช่อิ่ม ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1.5 กิโลกรัม น้ำเปล่า 5 ลิตร วิธีทำรากสามสิบแช่อิ่ม นำรากสามสิบล้างให้สะอาด ปอกเปลือกและดึงไส้ออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เติมน้ำตาลทรายลงไป เคี่ยวจนน้ำตาลทรายละลายหมด เคี่ยวจนรากสามสิบเป็นสีเหลืองทอง

รากสามสิบ ( Shatavari ) คือ สมุนไพร ลดความดัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงกำลัง กระตุ้นระบบประสาท ต้นรากสามสิบ ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน นิยมนำรากมาใช้ประโยชน์ ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก ประโยชน์และสรรพคุณของรากสามสิบ โทษของรากสามสิบ

ผักแพว ผักไผ่ ( Vietnamese Coriander ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นผักสด ต้นผักแพวเป็นอย่างไร คุณค่าทางอาหาร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม ชขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร

ผักแพว มินต์เวียดนาม สมุนไพร สรรพคุณของผักแพว

ผักแพว หรือ ผักไผ่ เป็นผักพื้นบ้านที่รู้จักกันดี ใบมีกลิ่นหอม สรรพคุณ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องผูก แก้อาการท้องเสีย รักษาไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิค้านทานของร่างกาย ใช้รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาผื่น ลดอาการบวมแดง รักษาแผลอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อโรคของแผล มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของผิว บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยดับกลิ่นปาก รักษาแผลในช่องปาก ระงับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งผิวหนัง ป้องกันมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก บำรุงเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจวาย ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันโรคต้อกระจก

จาก สรรพคุณของผักแพว ข้างต้น ทำให้ผักแพวเป็น ผักสมุนไพร ที่น่าทำความรู้จักกันอย่างละเอียด ผักแพว นิยมรับประทานในกลุ่ม คนภาคเหนือและอีสาน เป็นผักที่ให้รสเผ็ดร้อน ทานคู่กับลาบ ซุปหน่อไม้ หรือน้ำพริก ทำให้รสชาติตัดกัน เข้ากันได้อย่างดี

ผักแพว ภาษาอังกฤษ เรียก Vietnamese Coriander มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Polygonum odoratum Lour. เป็นพืชตระกลูเดียวกันกับไผ่ สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของผักแพว คือ พริกม้า พริกม่า หอมจันทร์  ผักไผ่ จันทน์โฉม จันทน์แดง ผักไผ่น้ำ  ผักแพ้ว ผักแพรว ผักแจว พริกบ้า หอมจันทร์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการผักแพว

นักโภชนาการได้ศึกษาผักแพว ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 54 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น น้ำ 89.4 กรัม
กากใยอาหาร 1.9 กรัม โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม แคลเซียม 573 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 79 มิลลิกรัม วิตามิน เอ 8,112 IU วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.59 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.7 มิลลิกรัม และวิตามินซี 77 มิลลิกรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักแพว

ผักแพว เป็น พืชล้มลุก ลักษณะของลำต้น ตั้งตรง มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ขนาดลำต้นมีเล็ก ทรงกลม เป็นข้อปล้อง มีสีเขียวอมม่วงแดง ลักษณะรากของผักแพว เป็นรากฝอยแตกออกจากเหง้า ใบของผักแพว เป็นใบเดี่ยว ใบยาวทรงกระบอก ปลายแหลม มีกลิ่นหอม ผิวใบเรียบ เป็นมัน ใบมีสีเขียวสด ดอกของผักแพว ออกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก ดอกตูม สีม่วงแดง ดอกบานเต็มที่จะมีสีขาว เมล็ดของผักแพว เมล็ดมีขนาดเล็ก แก่เร็ว และร่วงง่าย

สรรพคุณทางสมุนไพรของผักแพว

ผักแพว สามารถใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรได้ทุกส่วน ทั้ง ลำต้น ใบ และราก รายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้น และใบของผักแพว ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องผูก แก้อาการท้องเสีย รักษาไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิค้านทานของร่างกาย ใช้รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาผื่น ลดอาการบวมแดง รักษาแผลอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อโรคของแผล
    มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของผิว บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยดับกลิ่นปาก รักษาแผลในช่องปาก ระงับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งผิวหนัง ป้องกันมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก บำรุงเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจวาย ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันโรคต้อกระจก
  • รากของผักแพว ใช้รักษาแผลติดเชื้อ รักษาโรคผิวหนัง

การเลือกซื้อผักแพว

ผักแพว ที่ดี ต้องสด การเลือกซื้อให้สังเกตุความสดของใบ ไม่เหี่ยว ไม่เหลือง ส่วนการเก็บรักษาผักแพว เก็บใส่ในถุงพลาสติกปิดให้สนิท หรือเก็บใส่กล่องพลาสติก แล้วนำไปแช่ตู้เย็นในช่องแช่ผัก

ผักแพว ผักไผ่ ( Vietnamese Coriander ) ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ใบมีกลิ่นหอม นิยมรับประทานเป็นผักสด ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของผักแพว คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว ประโยชน์ของผักแพว สรรพคุณของผักแพว ช่วยขับลม ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove