ต้นเผือก Taro สมุนไพร คาร์โบไฮเดรตสูง ทดแทนข้าวได้ ต้นเผือกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้อักเสบ แก้ปวดเมื่อย โทษของเผือกเผือก ต้นเผือก ประโยชน์ของเผือก สรรพคุณของเผือก

เผือก มีชื่อสามัญว่า  Taro ชื่อวิทยาศาสตร์ของเผือก คือ Colocasia esculenta (L.) Schott จัดเป็นพืชตระกูลบอน ชื่อเรียกกอื่นๆของเปือก คือ โอ่วไน โอ่วถึง โทวจือ เป็นต้น สำหรับสายพันธ์ของต้นเผือกนั้นมีมากกว่า 200 สายพันธุ์

ต้นเผือก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกกันมากทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน อินเดีย แอฟริกา และในหมู่เกาะในอเมริกากลาง สำหรับ ประเภทของเผือก สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเอดโด ( eddoe ) และ ประเภทแดชีน ( dasheen ) สำหรับ เผือกในเมืองไทย นิยมปลูกกัน 4 สายพันธ์ คือ เผือกหอม เผือกเหลือง เผือกไหหลำ และ เผือกตาแดง

เผือกในประเทศไทย

จากเนื้อหาข้างต้นที่กล่าวถึง สายพันธ์เผือก ในประเทศไทย มี 4 สายพันธ์ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เผือกหอม เป็นเผือกประเภทแดซีน ( dasheen type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดของหัวใหญ่ มีกลิ่นหอม หนัก ลำต้นมีขนาดใหญ่ ใบใหญ่  นิยมปลูกเพื่อรับประทาน และ เพื่อการค้า
  • เผือกเหลือง เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddone type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดหัวเล็ก เปลือกของหัวสีเหลือง ไม่นิยมนำมารับประทาน
  • เผือกตาแดง เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddone type ) ลักษณะเด่น คือ ปลายหัวจะมีสีแดง มีลูกเผือกจำนวนมาก ใบเล็ก สีแดง ไม่นิยมนำมารับประทาน
  • เผือกไหหลำ เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddoe type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดหัวเล็ก หัวเผือกเป็นทรงกระบอก เรียวยาว ไม่นิยมรับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของเผือก

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเผือก ซึ่งพบว่าเผือกมีสารอาหารต่างๆมากมาย โดยได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ และ ใบเผือก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 112 กิโลแคลอรี  มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 26.46 กรัม น้ำตาล 0.40 กรัม กากใยอาหาร 4.1 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม น้ำ 70.64 กรัม วิตามินA 76 หน่วยสากล วิตามินB1 0.095 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.025 มิลลิกรัม วิตามิน B3 0.600 มิลลิกรัม วิตามิน B5 0.303 มิลลิกรัม วิตามิน B6 0.283 มิลลิกรัม วิตามิน B9 22 ไมโครกรัม วิตามิน C 4.5 มิลลิกรัม วิตามินE 2.38 มิลลิกรัม วิตามินK 1.0 ไมโครกรัม แคลเซียม 43 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.383 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 84 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 591 มิลลิกรัม โซเดียม 11 มิลลิกรัม สังกะสี 0.23 มิลลิกรัม ทองแดง 0.172 มิลลิกรัม และ ซีลีเนียม 0.7 ไมโครกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบเผือกขนาด ต่อ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 42 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัม น้ำตาล 3 กรัม กากใยอาหาร 3.7 กรัม ไขมัน 0.74 กรัม โปรตีน 5 กรัม วิตามินเอ 241 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 2,895 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,932 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.209 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.456 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.513 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.146 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 129 ไมโครกรัม วิตามินซี 52 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.02 มิลลิกรัม วิคามินเค 108.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 107 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.714 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 60 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 648 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นเผือก

ต้นเผือก พืชล้มลุก มีอายุหลายปี มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน วิธีขยายพันธุ์เผือก สามารถขยายพันธ์ได้ 4 วิธี คือ การเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ การใช้หัวพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยลักษณะของต้นเผือก มีลักษณะ ดังนี้

  • หัวของเผือก มีลักษณะกลม สีน้ำตาล มีขนาดใหญ่ ขนาดและรูปร่างของหัวเผือแตกต่างกันตามพันธ์ของเผือก เผือกมีลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร
  • ใบเผือก ใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ลักษณะของใบ เป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบกลม ใบยาวถึง 1 เมตร
  • ดอกเผือก จะออกดอกเป็นช่อ เป็นออกเดี่ยว หรือ หลายๆช่อ ช่อดอกสั้นกว่ากาบ ดอกจะทยอยบานเรื่อย ๆ
  • ผลเผือก เป็นสีเขียว เปลือกบาง ไม่มีเมล็ด

ประโยชน์ของเผือก

สำหรับประโยชน์ของเผือก นั้น สามารถนำมาทำเป็นอาหาร บำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค โดย ใบของเผือกสามารถรับประทานเป็นผัก ส่วนหัวของเผือกสามารถนำมาทานแทนข้าวได้ ส่วนประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคจะกล่าวในส่วนของเนื้อหาเรื่องสรรพคุณของเผือก

สรรพคุณของเผือก

เผือกนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค ได้ ทั้งส่วนของ หัวเผือก ใบ และ ก้านใบ โดยลักษณะ ดังนี้

  • หัวเผือก สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาลดไข้ ช่วยป้องกันฟันผุ บำรุงกระดูก ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องเสีย ช่วยบำรุงไต
  • ใบของเผือก สรรพคุณใช้ รักษาบาดแผล แก้ปวด ลดอาการอักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • น้ำยางของเผือก สรรพคุณใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • กาบใบของเผือก สรรพคุณใช้ รักษาบาดแผล แก้พิษจากแมลงกัดต่อย แก้ปวด ลดอาการอักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของเผือก

สำหรับการบริโภคและการใช้ประโยชน์จาเผือก มีข้อควรระวังอยู่บ้าง คือ ต้นเผือกทั้งต้น มีผลึกแคลเซียมออกซาเลต ( Calcium oxalate ) มีฤทธิ์ทำให้คัน ไม่ควรรับประทานเผือกแบบดิบๆ ซึ่งการกินเผือกแบบดิบๆ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ คันในช่องปาก ทำให้ลิ้นชา ได้

ต้นเผือก ( Taro ) คือ พืชล้มลุก สมุนไพร ใช้เป็นอาหาร บำรุงร่างกาย ต้นเผือกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของเผือก ประโยชน์ของเผือก สรรพคุณของเผือก บำรุงร่างกาย แก้อักเสบ แก้ปวดเมื่อย โทษของเผือก เรื่องน่ารู้ทั้งหมดเกี่ยวกับเผือก

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder cancer มะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ อาการปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ที่เยื่อบุผนังของกระเพาะปัสสาวะ เกิดการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ จนเกิดเนื้องอก และ เป็นเนื้อมะเร็งในที่สุด สามารถลุกลามเข้าสู่อวัยวะอื่นๆได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด และตับ

ชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด ซึ่งการแบ่งชนิดของโรคนั้นแบ่งออกได้ตามลักษณะของเซลล์มะเร็ง โดยชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีรายละเอียด ดังนี้

  • Transitional cell carcinoma ( TCC ) พบมากที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเกิดมะเร็งชนิดนี้
  • Squamous cell carcinoma ( SCC ) พบว่าผู้ป่วยมะเร็งจากชนิดนี้ ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์รูปสี่เหลี่ยม ทำให้ระคายเคือง เช่น พยาธิใบไม้ในเลือด
  • Adenocarcinoma พบว่าผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ เกิดร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • Small cell carcinoma พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ Neuroendocrine cells
  • Sarcomas เป็นชนิดที่พบได้น้อยมาก โดยเกิดในเซลล์กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ยังไม่หาสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่พบว่ามีปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยรายละเอียดของปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรค มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่ หรือ การสูดดมควันบุหรี่
  • การได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น สารอะนิลีน ( Aniline ) สารไฮโดรคาร์บอน  ( Hydrocarbon ) เป็นสารเคมีใช้ในการย้อมผ้า และ ใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ยาง และ สายไฟ
  • การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือด ( Schistosomiasis ) พยาธิชนิดนี้จะวางไข่ฝังที่ผนังของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคืองแบบเรื้อรัง
  • การรับยาเคมีบำบัด เช่น ยา Cyclophosphamide
  • เป็นความผิดปรกของร่างกายจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีระยะของโรค 4 ระยะ คือ ระยะ 1-4 โดยแตกต่างกันที่ระดับความรุนแรงของโรค โดยรายละเอียดดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 1 เกิดมะเร็งบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 2 เนื้อมะเร็งบางส่วนลุกลามเข้าสู่กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 3 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ผนังกระเพาะปัสสาวะ และ เนื้อเยื่อรอบๆกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 4 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ตับ หรือ ปอด เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะแสดงอาการอย่างชัดเจนที่การปัสสาวะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนี้

  • ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด
  • ปัสสาวะมากผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย มีอาการแสบ หรือ ขัดตอนปัสสาวะ
  • มีอาการปวดหลัง
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมโต บริเวณขาหนีบ หรือ ไหปลาร้า
  • อาจมีอาการไอ หายใจลำบาก ปวดกระดูก

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการวินิจฉัยโรคนั้น หากผู้ป่วยมีอาการตามอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ตามที่กล่าวมาในข้างต้น เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ และ ลักษณะของอาการที่เกิดขึ้น จากนั้น ต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดย การตรวจร่างกายและตรวจชิ้นเนื้อ มีรายละเอียด ดังนี้

  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูปริมาณของเม็ดเลือดแดงและเซลล์มะเร็งที่ปะปนมากับปัสสาวะ
  • การส่องกล้องตรวจทางเดินปัสสาวะ เพื่อตรวจดูโครงสร้างภายในของกระเพาะปัสสาวะกับท่อปัสสาวะ เพื่อให้เห็นเนื้องอกได้อย่างชัดเจน
  • การตรวจชิ้นเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ การนำชื้นเนื้อต้องสงสัยไปตรวจ เพื่อดูว่าชิ้นเนื้อนั้นๆ เป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
  • การตรวจทางรังสีวิทยา โดยใช้การ เอกซเรย์ ซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ หรือ อัลตราซาวด์ ตรวจที่บริเวณช่องท้อง เพื่อดูตำแหน่งและขนาดของมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นั้น ต้องทำการรักษาโดยการกำจัดก้อนมะเร็ง บรรเทาอาการของโรค และ การรักษาโดย การใช้ เคมีบำบัด การให้ยาฆ่ามะเร็ง การรังสีบำบัด และ การผ่าตัด แต่การเลือกใช้วิธีการรักษาต้องอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ โดยรายละเอียดของการรักษามะเร็งกระเพาปัสสาวะ มีดังนี้

  • การรักษาด้วนเคมีบำบัด โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะผ่านทางสายสวน เพื่อรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้น อาจใช้การรักษาด้วยรังสีบำบัด ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
  • การให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง จะใช้หลังจากการตัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะออกไปแล้ว ให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำใหม่
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด วิธีนี้ทำเพื่อกำจัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะใกล้เคียง ซึ่งการผ่าตัดนั้นใช้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยส่องกล้องซึ่งผ่านทางท่อปัสสาวะ และ การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะผ่านทางช่องท้อง ซึ่งการผ่าตั้นนั้น แพทย์อาจต้องตัดกระเพาะปัสสาวะบางส่วนออก รวมถึงอวัยวะข้างเคียงออก เช่น ท่อไต ต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกราน ต่อมลูกหมาก ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ มดลูก รังไข่ และ ช่องคลอดบางส่วน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
  • การรักษาด้วยรังสีบำบัด วิธีการรังสีบำบัดนั้นจะทำหลังจากการผ่าตัด หรือ ใช้การเคมีบำบัดร่วม สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สร้างความลำบากต่อร่างกายแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้แย่ขึ้นไปอีก คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งก่อนการรักษาโรคและหลังการรักษาโรค โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วย

  • การเกิดโรคโลหิตจาง
  • เกิดความผิดปรกติเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือ ปัสสาวะไม่ออก
  • เกิดภาวะท่อปัสสาวะตีบตัน ทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือ ปัสสาวะยาก
  • เกิดกรวยไตคั่งปัสสาวะ
  • เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เกิดการลามของมะเร็ง จนเกิดมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด หรือ กระดูก เป็นต้น
  • ทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ทำให้เกิดวัยทองก่อนวัยอันควร

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนั้นยังไม่มีวิธีทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการปฏิบัติมีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ หรือ ไม่สูบบุหรี่ หรือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
  • ไม่เที่ยวสถานท่องเที่ยวกลางคืน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ การที่เราไม่สูบบุหรี่แต่การสูดดมควันบุรหรี่ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้ดื่มน้ำตามปรริมาณความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • หากมีอาการผิดปรกติที่ระบบขัยถ่าย เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ให้รีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Bladder cancer ) คือ มะเร็งเกิดที่กระเพาะปัสสาวะ ส่งผลต่อระบบการปัสสาวะ อาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะทำอย่างไร สาเหตุของการเกิดโรค การป้องกันการเกิดโรค