ตะไคร้ พืชล้มลุก สมุนไพรไทย ต้นตะไคร้มีกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหยตะไคร้มีประโยชน์มากมาย ลักษณะของต้นตะไคร้ สรรพคุณบำรุงผิว ช่วยขับลม บำรุงระบบประสาท โทษของตะไคร้

ตะไคร้ สมุนไพร

ต้นตะไคร้ ( Lemongrass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf สมุนไพร นิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของตะไคร้ ยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาการปวด แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลมในลำไส้ แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง บำรุงผิว บำรุงระบบประสาท เป็นต้น

ต้นตะไคร้ Lemongrass )  เป็นพืชตระกูลหญ้า เป็นพืชล้มลุก ใบของตะไคร้เป็นเรียวยาว ใบมีขน ทั้งต้นตะไคร้มีกลิ่นฉุน สามารถขยายพันธ์โดยแตกหน่อ เราสามารถแบ่งตะไคร้ได้เป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งตะไคร้เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การปลูกตะไคร้ เราใช้การปักชำลำต้นของตะไคร้ ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร
  • ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
  • ดอกตะไคร้ ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ จะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ 

การศึกษาของตะไคร้ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม เส้นใย 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม และ เถ้า 1.4 กรัม

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับประโยชน์ของตะไคร้มีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทั้งต้น หัว ราก ต้น ใบ

  • ทั้งต้นของตะไคร้  นิยมใช้เป็นยา ใช้รักษาโรคหอบหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยทำเป็นยาทานวด นำมารับประทาน ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อได้
  • หัวของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยา ใช้รักษากลากเกลื้อน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะขัด รักษานิ่ว บำรุงไฟธาตุ เป็นยาแก้อาเจียน ยาลดความดันโลหิตสูง แก้กษัยเส้น และแก้ไข้ เป็นต้น
  • รากของตะไคร้ สามารถใช้แก้ปวดท้อง และรักษาอาการท้องเสีย
  • ต้นตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็น ยาขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหนองใน และช่วยดับกลิ่นคาวอาหารได้ด้วย
  • ใบสดของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดอาการไอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดได้ แก้อาการปวดศีรษะ

ตะไคร้ ชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Lemongrass ชื่อวิทยาศาสตร์ ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ตะไคร้มีประโยชน์ เป็นทั้งยารักษาโรค และมีประโยชน์ทางโภชนาการสูง เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณอื่นๆของตะไคร้ เช่น ช่วยไล่แมลง ล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยซ่อมแซมและบำรุงระบบประสาท ช่วยรักษาอาการอักเสบ ช่วยบำรุงผิว

โทษของตะไคร้

พิษของน้ำมันตะไคร้ ปริมาณน้ำมันตะไคร้ ที่ทำให้หนูขาวตายที่ครึ่งหนึ่งของจำนวนหนูขาวทั้งหมด ด้วยการให้ทางปาก  ที่ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และการให้น้ำมันหอมระเหยทางกระเพาอาหารแก่กระต่ายที่ทำให้กระต่ายตายที่ครึ่งหนึ่ง พบว่า มีปริมาณความเข้มข้นเดียวกันกับการให้แก่หนูขาว

พิษเฉียบพลันของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ที่ความเข้มข้น 1,500 ppm ในระยะเวลา 60 วัน กลับพบว่า หนูขาวที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีการเติบโตเร็วกว่ากลุ่มที่ไม้ได้รับ และค่าทางเคมีของเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

ชะพลู พืชพื้นบ้าน นิยมรับประทานใบชะพลูเป็นอาหาร ลักษณะของต้นชะพลู คุณค่าทางโภชนาการของชะพลู สรรพคุณช่วยขับลม ลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของชะพลู

ชะพลู สมุนไพร สรรพคุณของชะพลู

ชะพลู ( Wildbetal Leafbush ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพูล คือ Piper sarmentosum Roxb. สมุนไพร พืชล้มลุก สรรพคุณของชะพลู แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาหารปวดเมื่อย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ และขับเสมหะ ลักษณะเด่นของชะพลู คือ มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหาร เราจะพบบ่อย โดยนำใบชะพลูมาทำเป็น เครื่องเคียง ทานกับแหนมคลุก หรือน้ำพริก

ต้นชะพลู มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Piper sarmentosum Roxb. ชื่ออื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ ชื่อเรียกของชะพลูก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น ต้นชะพลู มักมีการจำสับสนกับพลูทั้งที่เป็นคนละชนิดกัน ซึ่งใบจะรสไม่จัดเท่ากับพลูและยังมีขนาดเล็กกว่า สำหรับสรรพคุณของชะพลูที่สำคัญนั้นก็ได้แก่ ช่วยบำรุงธาตุ ขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยในการขับเสมหะ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของชะพลู

นักโภชนาการได้ศึกษา ประโยชน์ทางโภชนาการของชะพลู พบว่า ในชะพลู 100 กรัม จะมี โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 2.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.2 กรัม แคลเซียม 298 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 กรัม วิตามินบี1 0.09 กรัม วิตามินบี2 0.2 กรัม ไนอาซีน 3.4 กรัม วิตามินซี 22 กรัม เบต้าแคโรทีน 414 ไมโครกรัม ใยอาหาร 6.9 กรัม

ลักษณะของต้นชะพลู

ต้นชะพลู เป็นพืชล้มลุกมีขนาดเล็ก เป็นเถาเลื้อยรวมกัน ใบชะพลูมีสีเขียวสดเป็นมัน ปลายใบชะพลูแหลม คล้ายรูปหัวใจ มีกลิ่นฉุน รสเผ็ดเล็กน้อย ดอกชะพลูมีสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อรูปทรงกระบอกยาว

สรรพคุณของชะพลู

เราพบว่าชะพลูสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ทุกส่วน รายละเอียด ดังนี้

  • ดอกของชะพลู นำมาอบแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
  • รากของชะพลู  ช่วยขับเสมหะ ขับลมในลำไส้
  • ลำต้นของชะพลู สามารถใช้ขับเสมหะได้
  • ใบชะพลู จะมีรสเผ็ดร้อน นำมารับประทาน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน มีสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้ป้องกันโรคมะเร็ง แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ บำรุงเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงกระดูก บำรุงสายตา ช่วยแก้ท้องอืด

ประโยชน์ของชะพลู

ใบชะพลูมีสารบีตา-แคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปูในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลาในใบมีออกซาเลทสูง จึงไม่ควรรับประทานมากเป็นประจำ

ชะพลูเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้ รากขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้

ข้อควรระวังในการบริโภคชะพลู

หากรับประทานในปริมาณมากหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน แคลเซียมที่มีอยู่ในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ดังนั้นคุณจึงควรดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อให้สารออกซาเลตเจือจางลง

ชะพลูเป็นผักสมุนไพร ที่ใช้บริโภค ช่วยขับลมได้ดี เราได้รวมสมุนไพรอื่นๆที่ช่วยขับลมได้ มีดังนี้

ชะมวง สมุนไพร สรรพคุณของชะมวง ประโยชน์ของชะมวงชะมวง
ส้มแขก สมุนไพร สรรพคุณของส้มแขก ประโยชน์ของส้มแขกส้มแขก
ว่านชักมดลูก สมุนไพร สรรพคุณของว่านชักมดลูก ประโยชน์ของว่านชักมดลูกว่านชักมดลูก
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชายกระชาย
สะเดา ผักสะเดา สมุนไพร สรรพคุณของสะเดาสะเดา
ดอกชมจันทร์ สมุนไพร สรรพคุณของชมจันทร์ ชมจันทร์
ว่านมหาหงส์ สมุนไพร สรรพคุณของว่านมหาหงส์ ประโยชน์ของว่านมหาหงส์ว่านมหาหงส์

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove