ตะไคร้ สมุนไพรไทย น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีประโยชน์ นิยมนำมาทำอาหารไทย เช่น ต้มยำ แกงต่างๆ สรรพคุณของตะไคร้ เช่น บำรุงผิว ช่วยขับลม เป็นต้น

ตะไคร้ สมุนไพร

ต้นตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemongrass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ตะไคร้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย นิยมนำลำต้นตะไคร้มาประกอบอาหาร มีสรรพคุณทางยา เช่น ช่วยเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาการปวด แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลม เป็นต้น ประเภทของตะไคร้มี 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ เป็นต้น

ประโยชน์ของตะไคร้ นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารไทยหลายชนิด เช่น ต้มยำ ใช้เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร กลิ่นหอมของตะไคร้ใช้ไล่ยุงได้ดี น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่าง ๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม รวมถึงสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตะไคร้ผงอบแห้ง ชาตะไคร้ เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การปลูกตะไคร้ เราใช้การปักชำลำต้นของตะไคร้ ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร
  • ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
  • ดอกตะไคร้ ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ จะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ 

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ลำต้นตะไคร้มาทำอาหาร ซึ่งนักโภขนาการได้ศึกษาตะไคร้ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม ตามินเอ 43 ไมโครกรัม มีไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

สารสำคัญพบในน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ ( Volatile oil ) ประกอบด้วย ซิทราล ( Citral ) ซึ่งพบมากที่สุด 90%
ทรานซ์ ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีน ออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับประโยชน์ของตะไคร้มีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทั้งต้น หัว ราก ต้น ใบ

  • รากของตะไคร้ สามารถใช้แก้ปวดท้อง และรักษาอาการท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็น ยาขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหนองใน และช่วยดับกลิ่นคาวอาหารได้ด้วย
  • ใบสดของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดอาการไอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดได้ แก้อาการปวดศีรษะ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ จำเป็นต้องใช้อย่างถูกต้องและใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะไม่เกิดโทษ ซึ่งโทษของตะไคร้มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

แตงกวา ( Cucumber ) สมุนไพร ประโยชน์ของแตงกวา สรรพคุณของแตงกวา บำรุงผิวพรรณ แก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย พืชใช้บำรุงความงามทำให้ผิวพรรณดีแตงกวา สมุนไพร สรรพคุณของแตงกวา

ต้นแตงกวา ภาษาอังกฤษ เรียก Cucumber ชื่อวิทยาศาสตร์ของแตงกวา คือ Sucumis sativus Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของแตงกวา เช่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตงช้าง แตงร้าน แตงปี แตงยาง แตงเห็น แตงอ้ม ตาเสาะ อึ่งกวย เป็นต้น ชื่อของแตงกวาจะเรียกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย นิยมนำผลแตงกวามารับประทานเคียงกับน้ำพริก ลาบ อาหารจานเดียวต่างๆ เช่น ข้าวผัด ข้าวมันไก่ หมูแดง หมูกรอบ สลัดผัก เป็นต้น

ประโยชน์ของแตงกวา น้ำของแตงกวา สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เช่น ครีมล้างหน้า เจลล้างหน้า สบู่ล้างหน้า ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด เป็นต้น  แตงกวานำมาทำทรีตเมนต์ ช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ลดสิว บำรุงผิวหน้า นอกจากนั้นนำผลแตงกวามาทำอาหารรับประทาน โดยเมนูแตงกวา เช่น ยำแตงกวา ต้มจืดแตงกวา ส้มตำแตงกวา  เป็นต้น

ลักษณะของต้นแตงกวา

ต้นแตงกวา พืชล้มลุก ชนิดไม้เถา อายุเพียงหนึ่งปี เป็นพืชอายุสั้น ปลูกได้ในทุกสภาพดินชอบดินร่วนซุยปนทราย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแตงกวา มีดังนี้

  • ลำต้นของแตงกวา เป็นลำต้นเดี่ยว ลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ลำต้นกลม เถาแข็งแรงและเหนียว สีเขียว ลำต้นจะเกาะตามกิ่งไม้หรือสิ่งที่ยึดเกาะได้ดี ลำต้นมีขนหยาบ สีขาว
  • ใบแตงกวา เป็นใบประกอบ ขนาดเท่าฝ่ามือ ใบมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม สีเขียว มีก้านใบยาว ใบมีขนหยาบ
  • ดอกแตงกวา ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกมีสีเขียว และ สีเหลือง ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกจะยาว ไม่มีลูกเล็กๆ ติดที่โคนดอก
  • ผลของแตงกวา ลักษณะทรงกลมยาวเป็นทรงกระบอก เนื้อผลฉ่ำน้ำ รสจืด ผลมีสีเขียวเข้ม
  • เมล็ดของแตงกวา ลักษณะของเมล็ดรีแบน ปลายแหลม สีขาว เมล็ดอยู่ภายในผล มีหลายเมล็ดในผล

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวา

สำหรับต้นแตงกวานั้น นิยมรับประทานผลของแตงกวาเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้มีการศึกษา คุณประโยชน์ของแตงกวา พบว่า แตงกวา ขนาด 100 กรัม มีความชื้นร้อยละ 96.4  โปรตีนร้อยละ 0.4 ไขมันร้อยละ 0.1 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 2.8 และแร่ธาตุต่างๆ ตัวผลของแตงกวา มีสารเอนไซม์อยู่หลายชนิด เช่น เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน  Oxidase Ascorbic acid  Dehydroginase  Succinic malic  ซึ่งส่วนของ เถ้าและเมล็ดของแตงกวา มี ฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูง

  • กากใยอาหาร ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • สารไฟโตนิวเทรียนท์ ( Phytochemicals ) เป็นสารตามธรรมชาติที่พบได้ในอาหารจำพวกพืชผักผลไม้ ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) คิวเคอร์บิทาซิน ( Cucurbitacin ) และลิกแนน ( Lignan ) เป็นต้น
  • สารต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidants ) แตงกวามีสารที่ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกายได้
  • วิตามิน แตงกวาอุดมไปด้วยวิตามินต่างๆที่เป็นประโยชน์สุขภาพ ประกอบกด้วย วิตามินเอ วิตามินบี และ วิตามินซี เป็นต้น
  • แร่ธาตุ แตงกวามีแร่ธาตุหลายชนิดที่อาจเป็นผลดีต่อสุขภาพผิวและระบบหมุนเวียนโลหิตได้ เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณของแตงกวา

สำหรับการนำเอาแตงกวามาใช้ประโยชน์ ด้านสมุนไพร การรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ผลสด ใบ เมล็ด และ เถา โดยรายละเอียดของสรรพคุณของแตงกวา มีดังนี้

  • ผลสดของแตงกวา สรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง รักษาแผลไฟลวก แก้ผด ผื่น คัน ช่วยกระชับรูขุมขน ทำให้ผิวเรียบตึง ทำให้ผิวที่หยาบกร้านอ่อนนุ่มลง
  • ใบของแตงกวา สรรพคุณแก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของแตงกวา สรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ
  • เถาของแตงกวา สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต แก้บิด รักษาหนองใน ขับปัสสาวะ

โทษของแตงกวา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแตงกวาด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • แตงกวามีกรดยูริกในน้ำเมือกใสๆ ร่างกายก็อาจจะสะสมกรดยูริกเข้าไปมากเกินไป  ถ้าหากร่างกายกำจัดออกไม่หมด
  • ใบแตงกวาสด มีรสขม มีความเป็นพิษ ไม่ควรรับประทานใบแตงกวาสด
  • เถาแตงกวาสดมีความเป็นพิษรสขม ไม่ควรรับประทานเถาแตงกวาสด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove