มะละกอ นิยมรับประทานผลมะละกอเป็นอาหาร สรรพคุณของมะละกอ เช่น บำรุงระบบทางเดินอาหาร บำรุงสายตา เป็นยาระบาย ทำความรู้จักกับมะละกอกันให้มากขึ้น

มะละกอ สมุนไพร สรรพคุณของมะละกอ

มะละกอ ภาษาอังกฤษ เรียก papaya ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะละกอ คือ Carica papaya L สำหรับชื่ออื่นของมะละกอ เช่น บักหุ่ง ก้วยลา แตงต้น มะก้วยเทศ มะเต๊ะ ลอกอ เป็นต้น นิยมนำผลมะละกอมาประกอบอาหาร ตัวอย่างเมนูอาหารที่มีมะละกอเป็นส่วนประกอบ เช่น ส้มตำ แกงส้ม เป็นต้น ผลสุกก็รับประทานเป็นผลไม้สด หวานอร่อย มะละกอไม่ใช่พืชท้องถิ่นของประเทศไทย โดยมีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกา ซึ่งชาวต่างชาตินำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ต่อมาได้รับความนิยมในการรับประทานจึงมีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันมะละกอถือเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย มีการปลูกมะละกอเชิงพาณิชย์อย่างหลากหลาย

สรรพคุณของมะละกอ ช่วยดูแลช่องปาก ดูแลเหงือกและฟัน ช่วยยาถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย บำรุงสายตาและระบบประสาท ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน สารต้านอนุมูลอิสระ

ลักษณะของต้นมะละกอ

ต้นมะละกอ เป็นพืชล้มลุกอายุสั้น สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสถาพดิน ไม่ชอบน้ำขัง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะละกอ มีดังนี้

  • ลำต้นมะละกอ ลำต้นมะละกอตั้งตรง ลักษณะกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นอวบน้ำ ไม่มีแก่นลำต้น ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบมะละกอ ลักษณะใบเดี่ยว ก้านใบยาว ขอบใบหยัก ฟันเลื่อย ใบมะละกอมีขนอ่อนๆ ผิวใบสากมือ สีเขียว ก้านใบของมะละกอ มีลักษณะกลม บวมน้ำ ออกมาจากข้อของลำต้น
  • ดอกมะละกอ ลักษณะดอกเป็นช่อ สีขาวนวล กลิ่นหอม ออกดอกออกตามซอกใบ
  • ผลมะละกอ ลักษณะเรียวยาว ปลายผลแหลม ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ผลดิบมะละกอเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกมะละกอเป็นสีส้มเมล็ดของผลดิบสีขาว เมล็ดของผลสุกมีสีดำ

สายพันธ์ของมะละกอ

สายพันธ์มะละกอมีหลายสายพันธ์ แนะนำสายพันธ์ต่างๆของมะละกอ มีดังนี้

  • พันธุ์แขกดำ ลักษณะทรงพุ่มเตี้ย แข็งแรง ผลดิบเนื้อหนา ผลสุกสีส้มอมแดงเหมาะสำหรับบริโภคสุกและดิบ มะละกอแขกดำ มีหลายสายพันธ์ เช่น มะละกอแขกดำศรีสะเกษ มะละกอแขกดำท่าพระ1 มะละกอแขกดำท่าพระ2 มะละกอแขกดำท่าพระ3 แขกดำดำเนิน
  • พันธุ์ปากช่อง เป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดเล็กตรงตามความต้องการของตลาดยุโรป
  • พันธุ์โกโก้ เป็นมะละกอพันธุ์เตี้ย ลำต้นแข็งแรง ลำต้นอ่อนมีสีม่วงอยู่ประปราย
  • พันธุ์แขกนวล เป็นพันธุ์ที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์แขกดำปลูกมากที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
  • พันธุ์สายน้ำผึ้ง เป็นมะละกอพันธุ์เตี้ย ก้านใบยาวกว่าพันธุ์แขกดำ แต่แข็งแรงน้อยกว่า
  • พันธุ์จำปาดะ มีลำต้นขนาดใหญ่ แข็งแรง
  • พันธุ์โซโล ( Sunrise Solo ) เป็นมะละกอพันธุ์ที่นิยมปลูกมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่มลรัฐฮาวาย
  • มะละกอพันธุ์ครั่ง มีสีแดง อมม่วงอ่อน ตามก้านใบ และเป็นจุด ๆ ตามลำต้นสีเหมือนฝรั่งดิบ
  • มะละกอฮอลแลนด์ ลำต้นใหญ่สีเขียว
  • มะละกอพันธุ์ฟลอริด้า โทเลอแร้นต์ ได้มาจากการคัดเลือกของ Dr. R. Conover แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริด้า ระหว่างปี ค.ศ.1979-1980
  • พันธุ์ซันไรซ์ เป็นมะละกอผลเล้กกระทัดรัด น้ำหนักเฉลี่ย 400-500 กรัม เนื้อสีแดงเข้ม รสชาติอร่อย มีกลิ่นหอม

ประโยชน์ของมะละกอ

  1. มะละกอมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด ซึ่งช่วยให้สุขภาพของคุณแข็งแรง
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอยู่เสมอ
  3. ช่วยในการชะลอวัย ลดเลือน และป้องกันการเกิดริ้วรอยต่าง ๆ
  4. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
  5. สามารถนำมาใช้เป็นทรีตเมนต์ทำหน้าให้หน้าใสได้อีกด้วย ด้วยการนำมะละกอสุกผสมกับน้ำผึ้งและนมสด แล้วนำมาปั่นให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำมาทาผิวหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออก
  6. ใช้นำมารับประทานเป็นผลไม้หรือของว่าง
  7. ใช้นำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้ม ส้มตำ เป็นต้น
  8. สามารถนำมะละกอไปใช้หมักให้เนื้อนุ่มได้อีกด้วย เพราะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Papain ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผงหมักสำเร็จรูปที่เราเห็นขายกันอยู่ตามท้องตลาดนั่นเอง
  9. นำมาแปรรูป การแปรรูปมะละกอ เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น

ประโยชน์ของมะละกอนั้นก็มีค่อนข้างมาก มีสรรพคุณเป็นทั้งยารักษาโรค โดยสรรพคุณมะละกอก็เช่น ใช้เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอ

สำหรับการรับประทานมะละกอเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลมะละกอ ทั้งผลมะละกอดิบและผลมะละกอสุก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะละกอ มีรายละเอียด ดังนี้

ค่าทางโภชนาการของมะละกอดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 43 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.82 กรัม น้ำตาล 7.82 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.26 กรัม โปรตีน 0.47 กรัม วิตามินเอ 47 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 274 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.023 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.357 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.191 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.038 มิลลิกรัม วิตามินบี9 38 ไมโครกรัม วิตามินซี 62 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.3 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.04 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 8 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม และ ไลโคปีน 1,828 ไมโครกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอสุก ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม วิตามินซี 70 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 4 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม และ วิตามินบี3 0.4 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางยาของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะละกอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก ราก ผล และ ยางจากผลดิบ รายละเอียด มีดังนี้

  • ผลของมะละกอ ทั้งผลดิบและผลสุก นำมาต้มกิน สามารถช่วย ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ขับน้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ผลมะละกอมี แคลเซี่ยม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน  มีวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีและช่วยป้องกันเลือดอกตามไรฟัน มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาและระบบประสาท
  • ผลสุกของมะละกอ สามารถใช้เป็นยาระบาย ในอาการท้องผูกได้ดี
  • ยางจากผลดิบของมะละกอ สามารถใช้เป็นยาช่วยย่อย และฆ่าพยาธิ
  • รากของมะละกอ ใช้ขับปัสสาวะได้ดี

โทษของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะละกิมีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ซึ่งโทษของมะละกอ มีดังนี้

  • ไม่ควรรับประทานมะละกอสุกในปริมาณมาก ๆ หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจจะทำให้ผิวของคุณเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้
  • ยางของมะละกอ มีฤทธ์เป็นพิษ สามารถนำมาหมักเนื้อเป็นเนื้อเปื่อยได้ ไม่ควรรับประทานยางมะละกอ แบบสดๆ โดยไม่ผ่านความร้อน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ตะไคร้ สมุนไพรไทย น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีประโยชน์ นิยมนำมาทำอาหารไทย เช่น ต้มยำ แกงต่างๆ สรรพคุณของตะไคร้ เช่น บำรุงผิว ช่วยขับลม เป็นต้น

ตะไคร้ สมุนไพร

ต้นตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemongrass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ตะไคร้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย นิยมนำลำต้นตะไคร้มาประกอบอาหาร มีสรรพคุณทางยา เช่น ช่วยเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาการปวด แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลม เป็นต้น ประเภทของตะไคร้มี 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ เป็นต้น

ประโยชน์ของตะไคร้ นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารไทยหลายชนิด เช่น ต้มยำ ใช้เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร กลิ่นหอมของตะไคร้ใช้ไล่ยุงได้ดี น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่าง ๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม รวมถึงสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตะไคร้ผงอบแห้ง ชาตะไคร้ เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การปลูกตะไคร้ เราใช้การปักชำลำต้นของตะไคร้ ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร
  • ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
  • ดอกตะไคร้ ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ จะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ 

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ลำต้นตะไคร้มาทำอาหาร ซึ่งนักโภขนาการได้ศึกษาตะไคร้ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม ตามินเอ 43 ไมโครกรัม มีไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

สารสำคัญพบในน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ ( Volatile oil ) ประกอบด้วย ซิทราล ( Citral ) ซึ่งพบมากที่สุด 90%
ทรานซ์ ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีน ออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับประโยชน์ของตะไคร้มีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทั้งต้น หัว ราก ต้น ใบ

  • รากของตะไคร้ สามารถใช้แก้ปวดท้อง และรักษาอาการท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็น ยาขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหนองใน และช่วยดับกลิ่นคาวอาหารได้ด้วย
  • ใบสดของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดอาการไอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดได้ แก้อาการปวดศีรษะ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ จำเป็นต้องใช้อย่างถูกต้องและใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะไม่เกิดโทษ ซึ่งโทษของตะไคร้มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove