กระเพรา ( Sacred Basil ) ผักสวนครัว สมุนไพร ใบมีกลิ่นหอม สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม คุณค่าทางโภชนาการของกระเพรา นิยมนำมาทำอาหาร เมนูผัดกระเพรา

กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา

กระเพรา ( Sacred Basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเพรา คือ Ocimum sanctum, Linn. ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของกระเพราแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคผิวหนัง ไล่แมลง แก้ไอ ขับเสมหะ คุณค่าทางโภชนาการของกระเพรา กระเพรา ถือเป็นผักสวนครัวที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากเป็นผักที่มีกลิ่นหอมหอม และให้รสเผ็ด จึงนิยมนำมาทำอาหาร เมนูผัดกระเพรา

คุณค่าทางโภชนาการของกระเพรา

นักโภชนาการ พบว่าในกระเพรา ประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร เหล็ก โปรตีน เบต้าแคโรทีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบี1 วิตามินเอ วิตามินบี 2  ในใบของกะเพรา จะมีน้ำมันหอมระเหย อยู่หลายชนิด เช่น  โอวิมอล (ocimol) เมทิลคาวิคอล (methylchavicol) แคลิโอฟิลลีน (caryophyllene) ไลนาลูออล(linalool) บอร์มีออล (bormeol) ยูจีนอล (eugenol)  และแคมฟีน (camphene)

กะเพรา ต้นกระเพรา กระเพรา วิกิพีเดีย กระเพรา ภาษาอังกฤษ กระเพราหมู ข้าวกระเพรา กระเพราะ กระเพราไก่ กระเพรา พจนานุกรม กระเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ocimum sanctum, Linn. ชื่ออื่นๆ ของกระเพรา เช่น กระเพราแดง กระเพราขาว ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อด ห่อตูปลา ห่อกวอซู

ลักษณะของต้นกระเพรา

กะเพรา เป็น พืชล้มลุก ความสูงประมาณ 1-2 ฟุต โคนของลำต้น จะมีเนื้อไม้แข็ง มีขน มีกลิ่นหอม ใบของกระเพรามีสีเขียว มีขน ใบมีกลิ่นหอม กิ่งก้านเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนปลายของกิ่งจะอ่อน ดอกออกเป็นช่อ เมล็ดของกระเพรา เมื่อแก่เมล็ดจะเป็นสีดำ การขยายพันธุ์ของกระเพรา ใช้เมล็ด หรือลำต้น

  • ต้นกระเพรา เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30 – 60 ซม. โคนลำต้นค่อนข้างแข็ง ตามลำต้นมีขน มีกลิ่นหอม
  • ใบกระเพรา เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนโดยเฉพาะยอด ใบสีเขียว เรียกกะเพราขาว ใบสีแดงเรียกกะเพราแดง
  • ดอกกระเพรา เป็นแบบช่อฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. ประกอบด้วยดอกเล็กๆ ออกเป็นวงรอบแกนช่อเป็นชั้นๆ ก้านดอกยาว 2-3 มม. และกางออกตั้งฉากกับแกนช่อ กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูปคล้ายระฆัง ปลายแยกเป็น ส่วน ส่วนบนมีกลีบเดียวค่อนข้างกลม ส่วนกลางแยกเป็น แฉก ปลายแหลมเรียว ด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบดอกสีขาว (กะเพราขาว) หรือชมพูปนม่วงแดง (กะเพราแดง) ด้านบนมี กลีบ ด้านล่างมี กลีบ ขนาดยาวกว่าด้านบน ตรงกลางกลีบเว้าตื้นๆ ปลายกลีบม้วนพับลง
  • ผลกระเพรา แห้งแล้วแตกออก
  • เมล็ดกระเพรา  รูปไข่สีน้ำตาลมีขนาดเล็ก  มีจุดสีเข้มเมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือกเมื่อแก่หรือแห้ง เมล็ดจะเป็นสีดำอยู่ข้างในซึ่งหุ้มด้วยกลีบเลี้ยง 

สรรพคุณของกระเพรา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเพรา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ ทั้งส่วน ใบ เมล็ด และราก รายละเอียด ของสรรพคุณของกระเพรา มีดังนี้

  • ใบสดของกระเพรา จะมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบไปด้วย ไลนาลูออล(linalool) และ เมทิลคาวิคอล (methylchavicol) สามารถนำมาใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
  • ใบแห้งของกระเพรา นำมาบดใช้ชงดื่มเป็นชา สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด
  • เมล็ดของกระเพรา นำเมล็ดไปแช่น้ำ เมล็ดจะพองเป็นเมือกสีขาว นำไปพอกในบริเวณตา จะไม่ทำให้ตาเราช้ำ
  • รากของกระเพรา ใช้รากแห้ง นำมาชงหรือต้มดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

ส้มโอ ( Pomelo ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาและสรรพคุณช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะ แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงกระดูกและฟัน พบมากในจังหวัดนครปฐม วิตามินซีและแคลเซียมสูงส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของส้มโอ

ต้นส้มโอ ชื่อสามัญ Pomelo ( Pomelo มาจากคำว่า Pampelmoose ในภาษาดัตซ์ ซึ่งแปลว่า “ ส้มที่มีขนาดเท่าฟักทอง ” ) ส้มโอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus maxima (Burm.) Merr. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) ส้มโอ จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลากหลายและยังมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคต่าง ๆ เพราะ อุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด โดยส่วนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ก็มีหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นผล เปลือก ใบ และเมล็ด ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกและผลซึ่งเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

ส้มโอในประเทศไทย

ส้มโอ นิยมรับประทานผลส้มโอเป็นอาหาร จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกส้มโอเชิงพาณิชย์เพื่อบริโภคภายในประเทศ สำหรับการปลูกส้มโอในประเทศไทยในช่วงแรกๆ มีการปลูกบริเวณที่ราบลุ่มรอบๆแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมากมีการแพร่กระจายการปลูกทั่วภาคกลาง สำหรับสายพันธ์ส้มโอที่นิยมปลูกทางการค้า มี 7 สายพันธ์ ประกอบด้วย ส้มโอทับทิมสยาม ส้มโอทองดี ส้มโอขาวน้ำผึ้ง ส้มโอขาวใหญ่ ส้มโอขาวพวง ส้มโอขาวแตงกวา ส้มโอท่าข่อย และ ส้มโอปัตตาเวีย

ส้มโอกับความเชื่อในสังคมไทย

ส้มโอ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ จึงมีการนำส้มโอมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชิวิต รวมถึงพิธีกรรมต่างๆในสังคม เช่น พิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ส้มโอใช้แทนสัญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ เราจึงเห็นส้มโอเป็นเครื่องเซ่นไหว้สำคัญ

ลักษณะของต้นส้มโอ

ต้นส้มโอ เป็นไม้ยืนต้น สามารถขยายพันธ์ส้มโอสามารถใช้การเพาะเมล็ดพันธ์ การติดตา การตอนกิ่ง และ การเสียบกิ่ง ลักษณะของต้นส้มโอ มีขนาดสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นของส้มโอมีสีน้ำตาล ใบรูปมนรี ขอบใบเป็นคลื่น ปลายใบมน เหมือนโคนใบ ดอกของส้มโอออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบมีสีขาว ผลของส้มโอ กลม มีเปลือกหนา น้ำมันมาก ผลอ่อนของส้มโอจะมีสีเขียว เมื่อผลของส้มโอแก่จะเป็นสีเหลืองอ่อน

ประโยชน์ของส้มโอ

ส้มโอ จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลากหลายและยังมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคต่าง ๆ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด โดยส่วนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ก็มีหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นผล เปลือก ใบ และเมล็ด ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกและผลซึ่งเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ

นักโภชนาการได้การศึกษาคุรค่าทางโภชนาการของส้มโอ ขนาด 100 กรัม พบว่า พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.62 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม ไขมัน 0.04 กรัม โปรตีน 0.76 กรัม วิตามินบี 1 0.034 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.22 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.036 มิลลิกรัม วิตามินซี 61 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.11 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.017 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 216 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ
ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม

สรรพคุณของส้มโอ

สามารถนำมาใช้ ทั้งส่วน ผล เปลือกของผล ใบ เมล็ด ดอก รายละเอียด มีดังนี้

  • ผลสดของส้มโอ ใช้ขับลมในลำไส้ แก้อาการเมาค้างได้ ส้มโอมีวิตามินซี และแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันได้ดี
  • เปลือกของผลส้มโอ นำมาใช้ ขับเสมหะ จุกแน่นหน้าอก บรรเทาอาการไส้เลื่อน
  • ใบของส้มโอ นำมาต้มและพอกหัว บรรเทาอาการปวดหัว นำใบมาใช้เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ดอกของส้มโอ สามารถนำมาแก้อาการจุกสียดที่กระเพาะอาหาร
  • เมล็ดของส้มโอ สามารถใช้แก้ไข้หวัด แก้ไอ ปวดท้องน้อยและรักาาโรคกระเพาะอาหาร

โทษของส้มโอ 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากส้มโอ ด้านการรักษาโรคและการรับประทาน มีข้อควรระวัง ซึ่งโทษของส้มโอ มีดังนี้

  • เปลือกส้มโอมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งหากเข้าตา จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา และ ไม่ควรรับประทานเปลือกส้มโอแบบสดๆ เพราะจะทำให้เกิดอาการเวียดศรีษะ อาเจียนได้
  • เมล็ดส้มโอ มีความขมมาก หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้อาเจียนได้

ส้มโอ ( Pomelo ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ สรรพคุณของส้มโอ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงกระดูก และฟัน ส้มโอพบมาก ในจังหวัดนครปฐม ส้มโอมีวิตามินซีและแคลเซียมสูง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove