กระเพรา Basil สมุนไพร รู้จักกันดีในสังคมไทย ผัดใบกระเพราอาหารยอดนิยม สรรพคุณของกระเพรา แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม กระเพรามีโทษหรือไม่ รู้จักกับกระเพรา

กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา

กระเพรา ภาษาอังกฤษ เรียก Basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเพรา คือ Ocimum sanctum, Linn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระเพรา เช่น กระเพราแดง กระเพราขาว ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อด ห่อตูปลา ห่อกวอซู เป็นต้น กระเพรา เป็นพืชพื้นเมืองของเขตร้อนของทวีปเอเชียและแอฟริกา ซึ่งพบมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เป็นต้น ผักสวนครัว พืชอายุสั้น พบเห็นได้ทั่วไปในบ้านของสังคมไทย สรรพคุณของกระเพราแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคผิวหนัง ไล่แมลง แก้ไอ ขับเสมหะ

ประโยชน์ของกะเพรา  นิยมนำใบกระเพราใช้ประกอบอาหาร ใบกระเพรามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสเผ็ดร้อน เพิ่มรสชาติให้กับอาหาร น้ำมันหอมระเหยของใบกระเพรามีสารสำคัญ ประกอบด้วย ไลนาลูออล ( linalool ) และ เมทิลคาวิคอล ( methylchavicol ) สามารถนำมาใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ น้ำมันหอมระเหยจากกระเพรามีประโยชน์มากมายและราคาสูง

ลักษณะของต้นกระเพรา

ต้นกะเพรา พืชล้มลุก ที่มีความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร สามารถขยายพันธุ์โดยการเพราะเมล็ดพันธ์  ปลูกง่าย ไม่ต้องการแสงมาก ไม่ต้องการการดูแลมาก ลักษณะของต้นกระเพรา มีดังนี้

  • ลำต้นกระเพรา แตกกิ่งก้านสาขา ความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร โคนลำต้นค่อนข้างแข็ง ลำต้นมีขนและมีกลิ่นหอม
  • ใบกระเพรา ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบเป็นทรงรี ปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนโดยเฉพาะยอด ใบสีเขียว เรียกกะเพราขาว ใบสีแดงเรียกกะเพราแดง
  • ดอกกระเพรา ลักษณะดอกออกเป็นแบบช่อฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง รูปคล้ายระฆัง ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน
  • เมล็ดกระเพรา  เมล็ดกลมเล็กๆ สีน้ำตาล อยู่ในดอกแห้งของกระเพรา นำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือกเมื่อแก่หรือแห้ง เมล็ดจะเป็นสีดำอยู่ข้างในซึ่งหุ้มด้วยกลีบเลี้ยง 

คุณค่าทางโภชนาการของกระเพรา

สำหรับการรับประทานกระเพราเป็นอาหารนิยมรับประทานส่วนใบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบกระเพราสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 23 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย ไขมัน 0.6 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.4 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0.1 กรัม โซเดียม 4 มิลลิกรัม  โพแทสเซียม 295 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 2.7 กรัม กากใยอาหาร 1.6 กรัม น้ำตาล 0.3 กรัม โปรตีน 3.2 กรัม และ วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามืนดี วิตามินบี  วิตามินบี วิตามินอี วิตามินเค และสารอาหารอื่นๆ เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก  แมกนีเซียม ไทอามิน ไรโบพลาวิน ไนอาซิน  ซิงค์ และ ฟอสฟอรัส

น้ำมันหอมระเหยของกระเพรามีสารสำคัญยู่หลายชนิด เช่น  โอวิมอล ( ocimol ) เมทิลคาวิคอล ( methylchavicol ) แคลิโอฟิลลีน ( caryophyllene ) ไลนาลูออล ( linalool ) บอร์มีออล ( bormeol ) ยูจีนอล ( eugenol )  และ แคมฟีน ( camphene )

สรรพคุณของกระเพรา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเพรา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ ทั้งส่วน ใบ เมล็ด และราก รายละเอียด ของสรรพคุณของกระเพรา มีดังนี้

  • ใบสดของกระเพรา มีน้ำมันหอมระเหย ประกอบไปด้วย ไลนาลูออล ( linalool ) และ เมทิลคาวิคอล ( methylchavicol ) สรรพคุณใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
  • ใบแห้งของกระเพรา สรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด
  • เมล็ดของกระเพรา นำเมล็ดไปแช่น้ำ เมล็ดจะพองเป็นเมือกสีขาว นำไปพอกในบริเวณตา จะไม่ทำให้ตาเราช้ำ
  • รากของกระเพรา ใช้รากแห้ง นำมาชงหรือต้มดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

โทษของกระเพรา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเพรา มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ซึ่งโทษของกระเพรา มีดังนี้

  • น้ำยางจากกะเพรา มีความเป็นพิษ อย่าให้ยางสัมผัสผิว เพราะจะทำให้ระคายเคือง
  • การปลูกกระเพราเชิงพาณิยช์อาจมีสารตกค้างในใบกระเพรา ดังนั้นหากเป็นใบกระเพราที่ไม่ทราบที่มาหรือไม่แน่ใจใว่สะอากปราศจาคสารตกค้าง ให้ล้างให้สะอาดก่อนนำมาทำอาหาร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

แมงลัก นิยมนำมาบริโภคใบและเมล็ด ต้นแมงลักเป็นอย่างไร สรรพคุณของแมงลัก เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ คุณค่าทางโภชนาการและโทษของแมงลักมีอะไรบ้างแมงลัก เมล็ดแมงลัก ใบแมงลัก สมุนไพร

ต้นแมงลัก ( Hairy Basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมงลัก คือ Ocinum canum . Sim. ชื่อเรียกอื่นๆของแมงลัก เช่น มังลัก ขาวมังลัก ผักอี่ตู่ กอมก้อขาว เป็นต้น ใบแมงลัก มีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว และ เพิ่มความหอมของอาหารได้ดี เมนูอาหาร ที่นำใบแมงลักมาทำอาหาร เช่น แกงเลียง แกงหน่อไม้ เป็นต้น

แมงลักในประเทศไทย

สำหรับแมงลักในประเทศไทย จัดว่าเป็นพืชเศรษบกิจชนิดหนึ่ง มีการปลูกแมงลัก เพื่อผลิตใบสดและเมล็ดแมงลักในเชิงพาณิชย์ สามารถพบเห็นแมงลักได้ทั่วไปตามตลาด สายพันธุ์แมงลัก ที่นิยมปลูก คือ แมงลักสายพันธ์ศรแดง ที่มีลักษณะใบใหญ่ แหล่งปลูกต้นแมงลัก พบได้ทั่วไปทั่วประเทศ

ลักษณะของต้นแมงลัก

ต้นแมงลัก เป็นพืชล้มลุก  อายุสั้นไม่ถึง 1 ปี นิยมกินเป็นอาหาร ต้นแมงลัก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำและการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแมงลัก มีดังนี้

  • ลำต้นของแมงลัก เนื้อไม้ของต้นแมงลักอ่อน อวบน้ำ ความสูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างเป็นทรงเหลี่ยม เปลือกลำต้นสีเขียว มีระบบรากเป็นแก้วและรากฝอย รากของต้นแมงลักสามารถลึกได้ถึง 30 เซ็นติเมตร
  • ใบแมงลัก ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ออกตามกิ่งของต้นแมงลัก ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมน มีขนอ่อนปกคลุมทั่วใบ
  • ดอกแมงลัก ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ ดอกออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีเขียว
  • เมล็ดแมงลัก อยู่ภายในดอกแก่ของต้นแมงลัก เมล็ดแมงลักมีลักษณะรีแบน สีดำ สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก

ต้นแมงลัก นั้นนำมาใช้ประโยชน์บริโภคใบสดและเมล็ด โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเม็ดแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 420 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 54 กรัม โปรตีน 15 กรัม ไขมัน 16 กรัม กากใยอาหาร 54 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 32 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10,666 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.30 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 78 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 2.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม และ โปรตีน 2.9 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก

สำหรับน้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก มีมากในใบแมงลัก ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด มี 3 ชนิด ประกอบด้วย

  • น้ำมันหอมระเหยที่มี methyl cinnamate
  • น้ำมันหอมระเหยที่มี d-camphor
  • น้ำมันหอมระเหยที่มี polyuronide

สรรพคุณของแมงลัก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแมงลัก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นใช้ประโยชน์จาก ใบแมลงลัก และ เมล็ดแมงลัก โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของแมงลัก มีดังนี้

  •  เมล็ดแมงลัก สรรพคุณยาระบายอ่อนๆ ทำให้อุจจาระอ่อนตัว ลดอาการท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น เสริมการสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม ช่วยอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดน้ำหนัก
  • ใบแมงลัก สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ป้องกันโรคมะเร็ง แก้เจ็บคอ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาไข้หวัด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องผูก ป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษากลากน้ำนม

โทษของเม็ดแมงลัก

สำหรับการรับประทานแมงลัก ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานเม็ดแมงลักมากเกินไป อาจทำให้เกิดโทษได้ โดย ข้อควรระวังในการรับประทานแมงลัก มีรายละเอียด ดังนี้

  • หากรับประทานเมล็ดแมงลักมากเกินไป จะทำให้รู้สึกแน่นท้อง ไม่สบายตัว
  • เม็ดแมงลัก ที่ยังไม่พองตัวอย่างเต็มที่ หากรับประทานเข้าไป เมล็ดแมงลักอาจดูดน้ำจากกระเพาะอาหาร จนเกิดเป็นก้อนภายในกระเพาะอาหาร ทำให้อุดตันในลำไส้ ทำให้ท้องผูก
  • เม็ดแมงลัก ไม่ครวรับประทานพร้อมกับยาอื่น ๆ เพราะ เมล็ดแมงลักอาจดูดสรรพคุณของยา เหล่านั้นได้

แมงลัก คือ พืชสมุนไพร ตระกูลเดียวกับโหระพาและกระเพรา นิยมนำมาบริโภคใบและเมล็ด ลักษณะของต้นแมงลักเป็นอย่างไร สรรพคุณของแมงลัก เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ คุณค่าทางโภชนาการและโทษของแมงลัก มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove