ตะไคร้ สมุนไพรไทย น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีประโยชน์ นิยมนำมาทำอาหารไทย เช่น ต้มยำ แกงต่างๆ สรรพคุณของตะไคร้ เช่น บำรุงผิว ช่วยขับลม เป็นต้น

ตะไคร้ สมุนไพร

ต้นตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemongrass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ตะไคร้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย นิยมนำลำต้นตะไคร้มาประกอบอาหาร มีสรรพคุณทางยา เช่น ช่วยเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาการปวด แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลม เป็นต้น ประเภทของตะไคร้มี 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ เป็นต้น

ประโยชน์ของตะไคร้ นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารไทยหลายชนิด เช่น ต้มยำ ใช้เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร กลิ่นหอมของตะไคร้ใช้ไล่ยุงได้ดี น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่าง ๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม รวมถึงสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตะไคร้ผงอบแห้ง ชาตะไคร้ เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การปลูกตะไคร้ เราใช้การปักชำลำต้นของตะไคร้ ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร
  • ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
  • ดอกตะไคร้ ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ จะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ 

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ลำต้นตะไคร้มาทำอาหาร ซึ่งนักโภขนาการได้ศึกษาตะไคร้ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม ตามินเอ 43 ไมโครกรัม มีไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

สารสำคัญพบในน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ ( Volatile oil ) ประกอบด้วย ซิทราล ( Citral ) ซึ่งพบมากที่สุด 90%
ทรานซ์ ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีน ออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับประโยชน์ของตะไคร้มีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทั้งต้น หัว ราก ต้น ใบ

  • รากของตะไคร้ สามารถใช้แก้ปวดท้อง และรักษาอาการท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็น ยาขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหนองใน และช่วยดับกลิ่นคาวอาหารได้ด้วย
  • ใบสดของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดอาการไอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดได้ แก้อาการปวดศีรษะ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ จำเป็นต้องใช้อย่างถูกต้องและใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะไม่เกิดโทษ ซึ่งโทษของตะไคร้มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

มะเฟือง สมุนไพร นิยมรับประทานผลมะเฟืองเป็นอาหาร ต้นมะเฟืองเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเฟือง เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงร่างกาย โทษของมะเพือง มีอะไรบ้าง

มะเฟือง สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณมะเฟือง

ต้นมะเฟือง ( Star fruit ) ชื่อวิทาศาสตร์ของมะเฟือง คือ acerrhoa carambola L เป็น ผลไม้ สมุนไพรรูปทรงเหมือนดวงดาว รสเปรี้ยวอมหวาน เป็นพืชท้องถิ่นของอินโดนีเซีย อินเดีย ศรีลังกา ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไทย มาเลเซีย

มะเฟือง นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ซึ่งอาหารที่มีมะเฟือง เช่น น้ำมะเฟือง แหนมเนือง สลัดหมูย่าง เป็นต้น สรรพคุณของมะเฟือง บำรุงผิว ลดการเกิดสิว ช่วยขับปัสสาวะ แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ร้อนใน บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ลดความร้อนในร่างกาย ป้องกันโรคโลหิตจาง รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน รักษานิ่ว

สายพันธ์มะเฟือง

สำหรับสายพันธุ์มะเฟืองที่พบในไทย มี 4 สายพันธ์ ได้แก่ สายพันธ์พื้นเมือง สายพันธ์กวางตุ้ง สายพันธ์ไต้หวัน และ สายพันธ์มาเลเซีย รายละเอียด ดังนี้

  • มะเฟืองสายพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ รสเปรี้ยว มีทั้งลูกใหญ่และลูกเล็ก
  • มะเฟืองสายพันธุ์กวางตุ้ง ลักษณะเด่น คือ ผลสีขาว ขอบสีเขียว รสหวาน
  • มะเฟืองสายพันธุ์ไต้หวัน ลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ กลีบบาง ขอบบิด รสหวาน
  • มะเฟืองสายพันธุ์มาเลเซีย ลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ น้ำเยอะ หวานอมเปรี้ยว

ลักษณะของต้นมะเฟือง

ต้นมะเฟือง เป็นไม้ผล ไม้ผลยืนต้นขนาดกลาง ลักษณะเป็นทรงพุ่ม ซึ่งมีทั้งลักษณะตั้งตรง และกึ่งเลื้อย ความสูงไม่เกิน 10 เมตร ลำต้นเปราะ เป็นไม้เนื้ออ่อน แกนกลางมีไส้คล้ายฟองน้ำมีสีแดงอ่อน ใบของมะเฟืองคล้ายใบมะยม ใบประกอบสีเขียว ประกอบด้วยใบย่อย 5-11 ใบ ดอกเป็นสีม่วงขาว ดอกจะออกเป็นพวง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง และตาข้างตามกิ่งและลำต้น มีดอกสีชมพูอ่อนไปจนถึงเกือบแดง ผลของมะเฟือง ผลมีก้นแหลมเป็นเหลี่ยมมีร่องลักษณะเป็นพูประมาณ 4-6 พู สีเขียว ผลสุกจะมีสีเหลือง รสชาติ เปรี้ยว อมหวาน

คุณค่าทางอาหารของมะเฟือง

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะเฟืองสุก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 31 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.73 กรัม น้ำตาล 3.98 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.33 กรัม โปรตีน 1.04 กรัม ลูทีนและซีแซนทีน 66 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.014 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.016 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.367 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.391 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.017 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 12 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 34.4 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 3 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.08 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.037 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะเฟือง

มะเฟือง สามารถนำมาใช้เป็นสรรพคุณทางสมุนไพร โดยการบริโภคผลของมะเฟือง ผลมะเฟืองสด สามารถบริโภคสดได้ เช่น เป็นเครื่องเคียง แหนมเนือง ในอาหารเวียดนาม การกินมะเฟืองสด ต่อเนื่องประมาณ 15 วัน จะช่วยให้ขับปัสสาวะสะดวก นอกตากนี้สามารถนมาทำเป็นน้ำมะเฟืองได้ ได้สรรพคุณทางยาครบ และรสชาติอร่อย

มะเฟือง นั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลบริ้วรอยแผลเป็น มีประโยชน์ต่อผิวพรรณลดการเกิดสิว ลดจุดด่างดำ ทำให้ผิวใบหน้าขาวสดใสและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยการผ่าผลสุกและนำมาแตะทั่วใบหน้า ทิ้งไว้สักครู่จึงล้างออก

ข้อควรระวังในการรับประทานมะเฟือง

ในผลของมะเฟืองนั้นมีกรดออกซาลิกสูง ซึ่งกรดชนิดนี้ส่งผลต่อการทำงานของไต การรับสารออกซาลิกเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก จะเพิ่มโอกาสเป็นโรคนิ่ว หรือ ไตวายเฉียบพลัน สำหรับ คนที่อยู่ในภาวะขาดน้ำจากอาการท้องเสีย หากรับประทานมะเฟือง หรือดื่มน้ำมะเฟืองมากๆ จะเป็นอันตรายต่อไต ดังนั้น การรับประทานมะเฟืองต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด

มะเฟือง คือ ไม้ผล สมุนไพร นิยมรับประทานผลมะเฟือง เป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะเฟืองเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเฟือง เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงร่างกาย โทษของมะเพือง มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove