ริดสีดวงจมูก ( Nasal poly ) เนื้องอกในจมูก ติ่งเนื้อเมือกในจมูก การเกิดเนื้อเมือก เรียกว่า Polyp ไม่อันตรายแต่ทำให้มีปัญหาการหายใจ หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยนโรคริดสีดวงจมูก โรคทางเดินหายใจ โรคจมูก โรคต่างๆ

โรคริดสีดวงจมูก ภาษาอังกฤษ เรียก Nasal poly หรือเรียก เนื้องอกในจมูก หรือ ติ่งเนื้อเมือกในจมูก เป็นลักษณะ การเกิดเนื้อเมือก ที่เรียกว่า Polyp ที่เยื่อจมูก โดยมากจะมีโอกาสเป็นได้ทั้งสองข้างภายในรูจมูก ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อย่างไร แต่หากปล่อยให้เกิดก้อนโตมาก อาจทำให้มีปัญหาด้านการหายใจ แต่เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันว่า สาเหตุของการเกิดริดสีดวงจมูก อาการของโรค และการรักษา การป้องกันการเกิดโรค ในบทความนี้กัน

ริดสีดวงจมูก เป็นโรคหนึ่ง ของโรคทางจมูกและไซนัส ลักษณะเป็นก้อนเนื้อเมือกในโพรงจมูก ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และส่วนมากผู้ป่วยจะเกิดโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วย สำหรับโรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และพบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และในกลุ่มคนที่เป็นโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง มีการศึกษาสถิติของผู้ป่วยโรคนี้ พบว่าผู้ป่วยชายมีอัตราการเกิดโรคที่สูงกว่าเพศหญิง

สาเหตุของการเกิดริดสีดวงจมูก

เกิดจากไซนัสอักเสบ และโพรงจมูกอักเสบ นอกจากนั้นยัมมีสาเหตุอื่นๆอีก ที่ทำให้เกิดริดสีดวงที่โพรงจมูก โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดริดสีดวงจมูก ได้แก่

  • การอักเสบและการติดเชื้อของโพรงจมูก
  • ลักษณะทางกายวิภาคในโพรงจมูก ระบบประสาทและหลอดเลือด
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม
  • ปัจจัยมี่เป็นผลกระทบจากการเกิดโรคที่มีผลต่อโพรงจมูก เช่น ไซนัสอักเสบ, ภาวะภูมิแพ้ , โรคหอบหืด , ภาวะไวต่อยาแอสไพริน , ติดเชื้อรา , โรคซิสติกไฟโบรซิส เป็นต้น
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของขนเล็กที่เยื่อบุจมูก
  • ความผิดปกติของการขับเกลือแร่ของเซลล์ ทำให้มีน้ำเมือกมีความเหนียวข้น
  • ความผิดปกติของกระแสลมที่ผ่านเข้าไปในบริเวณโพรงจมูก เช่น โพรงจมูกส่วนกลางและรูเปิดของไซนัส

อาการของโรคริดสีดวงจมูก

จะเกิดก้อนริดสีดวง หรือ ติ่งเนื้อ ในโพรงจมูก ซึ่งลักษณะนี้จะทำให้ผู้ป่วย เกิดอาการคัดจมูก แน่นจมูก หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยน  การปล่อยให้อาการนี้เป็นนานโดยไม่รักษา ขนาดของก้อนเนื้อจะใหญ่ขึ้น จนทำให้ความสามารถในการสูดดมกลิ่นลดลง เกิดการจาม มีน้ำมูก หากถ้าเนื้อริดสีดวง ไปอุดกั้นรูเปิดของไซนัส จะทำให้ปวดหัวที่บริเวณหัวคิ้ว ปวดหัวที่บริเวณโหนดแก้ม เหมือนเป็นโรคไซนัส

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคริดสีดวงจมูกที่มีโรคไซนัสอักเสบ ร่วม นั้น ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดบริเวณใบหน้า มึนศีรษะ มีน้ำมูก ที่มีลักษณะเป็นหนอง สีเหลืองข้น หรือสีเขียวไหลออกมา หากน้ำหนองไหลลงคอ จะทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้มีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ปวดหู หายใจมีกลิ่นเหม็น และการรับรู้กลิ่นลดลง รวมทั้งการรับรู้รสชาติลดลง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคริดสีดวงจมูก

  • อาการไซนัสอักเสบแทรกซ้อน และทำให้เกิดอาการแน่นจมูก
  • อาจทำให้มีการผิดรปของจมูก เช่น ลักษณะของสันจมูกจะกว้าง
  • อาจทำลายกระดูกในโพรงจมูกได้
  • อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การวินิจฉัยโรคริดสีดวงจมูก

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการใช้เครื่องมือตรวจภายในโพรงจมูก และหลังโพรงจมูก ซึ่งหากริดสีดวงจมูก มีขนาดใหญ่ก็สามารถมองเห็นได้ สำหรับโรคนี้ วินิจฉัยจากอาการของโรคนั้นลำบาก เนื่องจากอาการของโรคเหมือนโรค หลายๆโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหวัด แต่อาการที่เด่นชัด คือ อาการแน่นที่จมูกตลอดเวลา

การรักษาโรคริดสีดวงจมูก

การรักษาริดสีดวงจมูกนั้น  เป็นการรักษา 2 ลักษณะ คือ การรักษาต้นเหตุของโรค คือ ก้อนเนื้อที่โพรงจมูก และรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ทำให้หายใจสะดวกขึ้น ลดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม อาการเสมหะไหลลงคอ ปัญหาการดมกลิ่น รักษาไซนัสอักเสบ โดยการรักษา มีดังนี้

  • การให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ชนิดพ่นจมูก เพื่อช่วยลดขนาดของริดสีดวงจมูก และป้องกันไม่ให้มีขนาดของริดสีดวงโตขึ้น
  • ให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ชนิดกิน หรือฉีด เพื่อช่วยเรื่องการรับกลิ่นให้ดีขึ้น
  • ทำการผ่าตัดเอาริดสีดวงจมูก แบบธรรมดา เรียกวิธีนี้ว่า Simple polypectomy เป็นการผ่าตัดเอาริดสีดวงที่จมูกออก โดยการใช้ลวดคล้องและดึงออกมา
  • ทำการผ่าตัดริดสีดวงจมูกและไซนัส โดยวิธีการส่องกล้อง จะตัดเอาริดสีดวงจมูกออก และผ่าตัดบริเวณรูเปิดไซนัสด้วย ทำให้โล่ง

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคริดสีดวงจมูก

  • ควรหลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ทำให้เกิดการคัดจมูก ทำให้คันจมูก หรือทำให้จาม
  • ห้ามสั่งน้ำมูกแรง ๆ เนื่องจากจะทำให้เยื่อเมือกจมุกช้ำ และอักเสบมากขึ้น
  • ห้ามใช้ยาหยอดจมูก ยาพ่นจมูก หรือยานัตถุ์ เนื่องจากจะทำให้เยื่อจมูกอักเสบมากขึ้น
  • ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
  • ให้ทำการรักษาโรคที่มีผลต่อการเกิดโรคริดสีดวงจมูก เช่น โรคติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น

ริดสีดวงจมูก ( Nasal poly ) เนื้องอกในจมูก ติ่งเนื้อเมือกในจมูก การเกิดเนื้อเมือก เรียกว่า Polyp ที่เยื่อจมูกมีโอกาสเป็นได้ทั้งสองข้างภายในรูจมูก ไม่อันตราย แต่หากปล่อยให้เกิดก้อนโต ทำให้มีปัญหาด้านการหายใจ ทำให้หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยน สาเหตุของโรคริดสีดวงจมูก อาการ การรักษา การป้องกัน

มะเร็งตับ ( Liver Cancer ) เนื้อร้ายที่ตับเกิดจากการติดเชื้อมีก้อนที่ตับ อาการปวดท้องข้างขวาส่วนบนปวดร้าวหลัง ท้องบวม น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุมะเร็งตับ โรคตับ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งตับ เป็น โรคที่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูง โรคหนึ่งของโลก เป็น โรคที่พบบ่อย ผู้ป่วย โรคมะเร็งตับในระยะแรก ยังไม่มีอาการแสดง ส่วนมากจะได้รับการวินิจฉัยโรคเมื่ออาการกำเริบ ทำให้เราต้องให้ความสำคัญกับการ สังเกตุโรคมะเร็ง ชนิดนี้ว่ามีลักษณะอาการอย่างไร สาเหตุของโรคนี้เป็นอย่างไร การรักษามะเร็งตับ และ การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ

โรคมะเร็งตับ ภาษาอังกฤษ เรียก liver cancer เป็น โรคที่พบมากในคนวัยทำงาน มีการศึกษาสถิติในปี พ.ศ. 2543 พบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ สูงถึง 564,000 คน แบ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 34 และเพศชาย ร้อยละ 66  สำหรับประเทศไทย มีการสำรวจในช่วง พ.ศ. 2554 ถึง 2546  พบว่า มีผู้ป่วยสูงถึง 47,439 8 คน เป็น โรคมะเร็ง ที่มีผู้ป่วยมาก เป็นอันดับ 3 รองจาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร

ชนิดของมะเร็งตับ

สำหรับ ชนิดของมะเร็งตับ ที่พบ มี 2 ชนิด คือ  มะเร็งของเซลล์ตับ ภาษาอังกฤษ เรียก hepatocellular carcinoma และ มะเร็งของท่อน้ำดีในตับ ภาษาอังกฤษ เรียก cholangiocarcinoma

สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ

สำหรับ สาเหตุของโรคมะเร็งตับ เรายังไม่สามารถสรุปสาเหตุได้อย่างชัดเจนนัก แต่สามารถสรุปเป็น ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อตับ และ โรคมะเร็งตับ มีดังนี้

  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี
  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
  • โรคตับแข็ง
  • การกินอาหารปนเปื้อน เชื้อรา ชนิดอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) เชื้อราชนิดนี้ พบได้ในธัญพืช ที่มีความชื้น
  • ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ
  • ท่อน้ำดีในตับอักเสบเรื้อรัง

โรคมะเร็งตับ เป็นลักษณะของการถูกกระทบกระเทือนต่อตับ ทำให้ตับถูกทำร้าย เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งตับ ในระยะแรก จะยังไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัดนั้น อาการทั่วไป คือ ปวดท้องข้างขวาส่วนบน อาการปวดร้าวหลัง อาการปวดร้าวที่ไหล่ ท้องบวมขึ้น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีก้อนบริเวณตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง หายใจเหนื่อยหอบจากน้ำในท้องดัน คันตามตัวมาก เป็นต้น

ระยะของโรคมะเร็งตับ

มีการแบ่ง ระยะของโรคมะเร็งตับ ได้เป็น 4 ระยะ รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งตับ ระยะที่ 1 จะพบก้อนเนื้อขนาดเล็กที่ตับ มีเพียงก้อนเนื้อก้อนเดียว
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อมีการลุกลามเข้าสู่หลอดเลือดที่ตับ ก้อนเนื้อมีจำนวนมากขึ้น แต่ยังมีขนาดเล็กอยู่
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 3 ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดโตขึ้น และลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 4 มะเร็งเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายเข้าสู่อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น สมอง กระดูก ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

การตรวจวินิจฉัยโรค มะเร็งตับ นั้น เริ่มจากการ การซักประวัติ อาการที่พบในผู้ป่วย จากนั้นตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจเลือด เพื่อ ดูการทำงานของตับ และ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ตรวจรังสีที่ตับและช่องท้อง ทำการตรวจอัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และการตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษามะเร็งตับ

สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งตับ นั้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ขนาดของเซลล์มะเร็ง และการแพร่กระจายของมะเร็ง ซึ่ง การรักษา จะต้องอยู่ในวินิจฉัยของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่ง การรักษา ประกอบด้วย การผ่าตัด การฉายรังสีรักษา การทำเคมีบำบัด และการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ แต่สำหรับการปลูกถ่ายตับนั้นเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 70 ปี

แต่สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งตับ ที่ดีที่สุด คือ การลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับ และ หมั่นตรวจคัดกรองหามะเร็งตับ เนื่องจากร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ มาจาก การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี การตรวจการทำงานของตับและ ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ ด้วยการเจาะเลือด จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุด

ข้อควรปฏิบัตสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

ผู้ป่วยมะเร็งตับ ต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ เราแยกการดูแลตัวเอง 3 ส่วน คือ การดูแลตัวเองในด้านทั่วไป ด้านอาหาร และการออกกำลังกาย รายละเอียดดังนี้

  • ด้านการดูแลตนเองทั่วไป
    • ให้รักษาภาพสุขอนามัยพื้นฐาน ของผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด ตลอดชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีกจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าปรกติ เนื่องจากภูมิต้านทานโรคค่อนข้างต่ำกว่าคนปรกติ
    • ควบคุมการเกิดโรค เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน เนื่องจากโรคเหล่านี้จะมีผลต่อสุขภาพโดยรวม
    • หากเกิดกับหญิงสาวหรือผู้หญิงวัยเจริพันธ์ แนะนำให้ คุมกำเนิด เพื่อสุขภาพมารดา แต่หากจำเป็นต้องมีการตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์ อย่างใกล้ชิด
    • ไปพบแพทย์ตามนัดห้ามขาด
    • หลังจากรักษาโรคมะเร็งแล้ว ช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังการรักษา ถือว่าเป็นช่วงพักฟื้น ค่อยๆปรับตัวให้เข้าสู่ภาวะปกติ ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์
  • ด้านการรับประทานอาหาร
    • เลิกการบุหรี่และดื่มสุรา และสารเสพติดทุกชนิด เนื่องจาก สารเหล่านั้นมีพิษเป็นสารก่อมะเร็ง รวมถึงการจำกัดการดื่มกาเฟ ด้วย
    • การรับประทานอาหาร ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทาน ผักและผลไม้ให้มากๆ  ลดอาหารที่มี ไขมัน แป้ง น้ำตาลและอาหารรสเค็มจัด
  • ด้านการออกกำลังกาย
    • ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอตลอดชีวิต ค่อยๆปรับจนเข้าภาวะปกติ โดยควรออกกำลังกายให้เหมาะสมตามสุขภาพของตนเอง และเลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับโรค เช่น เลือกการว่ายน้ำเมื่อมีโรคของข้อต่างๆ เป็นต้น และพยายามเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกาย

โรคมะเร็งตับ ( Liver Cancer ) คือ การเกิดเนื้อร้าย เกิดจากาการติดเชื้อที่ตับแบบเรื้อรัง จนเกิดพังผืดและมะเร็งที่ตับ โรคนี้มีอัตราการตายสูง มะเร็งตับ ระยะแรกไม่แสดงอาการ อาการที่พบ คือ ปวดท้องข้างขวาส่วนบนปวดร้าวหลัง ไหล่ ท้องบวม น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีก้อนที่ตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง หายใจเหนื่อยหอบ คันตามตัว เป็นต้น สาเหตุของมะเร็งตับ การรักษามะเร็งตับ การดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove