ซิฟิลิส Syphilis มีตุ่มแดงๆที่อวัยวะเพศ ไม่เจ็บแต่ขอบแผลนูน ต่อมน้ำเหลืองโตแต่กดไม่เจ็บ ตำแหน่งที่พบแผลบ่อย คือ อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด ริมฝีปาก แผลจะหายไปเองได้  เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา แผลตามร่างกาย ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ ผื่นแดง มีตุ่มแดงๆที่อวัยวะเพศ

ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรค

โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเชื้อโรคเข้าสู่เยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ สามารถติดต่อกันได้ในระยะแรก เพราะว่าในระยะนี้ยังไม่มีอาการให้เห็น และผู้ป่วยจะเริ่มมีหูด ในระยะต่อมา นอกจากการติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ แล้ว ยังพบว่า สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัสเชื้อโรคทางการสัมผัสมือ นั่งโถส่วมร่วมกัน ผิวหนังมี่มีแผล และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก

สาเหตุของโรคซิฟิลิส

  • เชื้อที่เป็นสาเหตุ : เกิดจากเชื้อซิฟิลิส ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “ทรีโพนีมาพัลลิดุม” (Treponema pallidum) มีลักษณะคล้ายเกลียวสว่าน (Spirochete bacteria) เชื้อชอบอยู่ในที่ที่มีความชื้นและตายได้ง่ายในที่ที่มีความแห้ง และถูกทำลายได้ง่ายด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • การติดต่อ : สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 1 และถ้าสัมผัสกับน้ำเหลืองที่ผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 2 (ระยะออกดอก) ก็จะมีโอกาสที่จะรับเชื้อได้เช่นกัน นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดจากแม่ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์โดยผ่านทางรกและในขณะคลอดได้ด้วย ส่วนโรคในระยะที่ 3 มักจะเป็นระยะที่ไม่มีการติดต่อ
    • เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือก เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องปาก เยื่อบุตา หรือเข้าผ่านทางรอยถลอกหรือบาดแผลเล็กน้อยที่ผิวหนัง เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและไปจับตามอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคตามอวัยวะและทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว
    • เนื่องจากเชื้อซิฟิลิสเป็นเชื้อที่อ่อนแอและตายได้ง่าย ดังนั้น เชื้อจึงไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสมือหรือเสื้อผ้า การนั่งโถส้วม การจับลูกบิดประตู การใช้ช้อนส้อม การเล่นในอ่างอาบน้ำหรือสระว่ายน้ำร่วมกัน
  • ระยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการ) : ประมาณ 10-90 วัน (โดยเฉลี่ยคือประมาณ 21 วัน)

อาการของผู้ป่วยโรคซิฟิลิส อาการมี 4 ระยะ คือ Primary Secondary Latent และTertiary

  • อาการระยะแรก(Primary Syphilis) ผู้ป่วยจะเป็นแผลที่ริมแผลแข็ง หลังจากนั้นประมาณไม่เกิน 3 เดือนจะมีตุ่มแดงๆเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ไม่เจ็บแต่ขอบแผลจะนูน จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต แต่กดแล้วไม่เจ็บ ตำแหน่งที่พบแผลบ่อย คือ อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด และ ริมฝีปาก แผลจะหายไปเองได้ แต่เชื้อโรคจะยังอยู่ในกระแสเลือด ผู้ป่วยต้องตรวจเลือด
  • อาการในระยะที่ 2(Secondary Syphilis) ภายใน 6 เดือน ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ จากสาเหตุข้ออักเสบ มีผื่นสีแดงน้ำตาล ตาม มือ เท้าแต่ไม่คัน มีหูดในบริเวณที่อับชื้นของร่างกาย ผื่นสีเทาจะขึ้นบริเวณปาก คอ และปากมดลูก มีอาการผมร่วง มีไข้ คั้นเนื้อคั้นตัว อาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ
  • อาการในระยะที่ 3 (Latent Stage) ระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการของโรคให้เห็น ระยะนี้ผู้ป่วยจะทราบว่าเป็นโรคด้วยการตรวจเลือดเท่านั้น อาการของโรคเหมือนระยะที่สอง
  • อาการในระยะที่ 4 (Late Stage) เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด สมอง อาจทำให้ตาบอด และกระดูกหักง่าย ในระยะนี้เป็นระยะที่ไม่มีทางรักษาแล้ว

การตรวจว่าเราติดเชื้อซิฟิลิสหรือไม่ เราสามารถทำได้โดย เอาหนองจากแผลไปตรวจเชื้อ หรือการตรวจเลือด

การรักษาโรคซิฟิลิส

สามารถรักษาได้โดยการให้ยา Penicillin และต้องเข้ารับการตรวจเลือดตามระยะที่หมอกำหนด

  • สำหรับซิฟิลิสในระยะที่ 1 และ 2 แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) ให้ในขนาด 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อเพียงครั้งเดียว (สำหรับระยะที่ 2 อาจฉีดซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา) แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์อาจให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) ครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หรือดอกซีไซคลีน (Doxycycline) ครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 15 วัน แต่ถ้ารับประทานยาเตตราไซคลีนไม่ได้ แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดเดียวกันแทน นาน 15 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสในระยะแฝง (เป็นมานานมากกว่า 2 ปี ตั้งแต่เริ่มเป็นแผลริมแข็ง) หรือแผลซิฟิลิสเรื้อรัง หรือซิฟิลิสเข้าระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular syphilis) แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) ให้ครั้งละ 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อ เป็นจำนวน 3 ครั้ง โดยฉีดห่างกันทุก 1 สัปดาห์ แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline), ดอกซีไซคลีน (Doxycycline) หรืออิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดดังกล่าวข้างต้นแทน นาน 30 วัน
  • ในรายที่เป็นซิฟิลิสเข้าระบบประสาท (Neurosyphilis) แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาด 2-4 ล้านยูนิต เข้าหลอดเลือดดำ ทุก 4 ชั่วโมง นาน 14 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาดอกซีไซคลีน (Doxycycline) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิส แพทย์จะให้การรักษาตามระยะของโรคเหมือนผู้ป่วยทั่วไป ถ้าผู้ป่วยแพ้ยาเพนิซิลลิน แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสแต่กำเนิด แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาดวันละ 50,000 ยูนิต/กิโลกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง นาน 10 วัน

การป้องกันโรคซิฟิลิส

สำหรับการป้องกันโรคซิฟิลิส สามารถทำได้โดย การรักษาสุขอนามัย ป้องกันไม่ให้แผลตามร่างกายติดเชื้อ และใช้ถุงยางอนามัยป้องกันการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ วิธีที่ดีที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเพียงคนเดียว และทราบผลเลือดของคู่นอนด้วยว่าปกติ ไม่ติดเชื้อ

  • คู่นอนควรจะต้องแจ้งถึงสถานะการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ รวมทั้งซิฟิลิส เพื่อจะได้ป้องกันการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติด เพราะจะทำให้ขาดสติและเพิ่มการมีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงได้
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิส
  • หลีกเลี่ยงการเที่ยวหรือการสำส่อนทางเพศ และถ้าจะหลับนอนกับคนที่สงสัยว่าเป็นโรค ควรป้องกันการติดเชื้อโดยสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยป้องกันได้เกือบ 100%
  • แผลของอวัยวะเพศ เช่น ซิฟิลิส เกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ทั้งที่ถุงยางครอบถึงหรือไม่ถึงได้ การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซิฟิสได้
  • การใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารฆ่าเชื้ออสุจิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Nonoxynol-9 นั้นไม่ได้ผลดีไปกว่าถุงยางที่ไม่มีสารชนิดนี้ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงไม่แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารชนิดนี้เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งซิฟิลิสไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการล้างอวัยวะเพศ การปัสสาวะ หรือสวนล้างช่องคลอดทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและร่างกายอยู่เสมอ รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดีโดยการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ
  • ไปพบแพทย์เสมอเมื่อมีอาการดังกล่าว อย่ารักษาด้วยตัวเอง หรือไปพบแพทย์เมื่อมีความกังวลในอาการหรือสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงซิฟิลิส

ซิฟิลิส ( Syphilis ) ติดเชื้อแบคทีเรียที่ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา แผลตามร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ ผื่นแดง มีตุ่มแดงๆเป็นแผลที่อวัยวะเพศ เมื่อเชื้อโรคจะเข้าสู่กระแสเลือด สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย โรคซิฟิลิส มี 4 ระยะ คือ Primary Secondary Latent และ Tertiary

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

เชื้ออีโคไล E.coli เป็นแบคทีเรียในอาหารที่ไม่สะอาด อาหารบูด ทำให้ท้องร่วง ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ อันตรายถึงสมองอักเสบ รักษาโรคและป้องกันติดเชื้ออีโคไลทำอย่างไรEscherichia coli E. coli เชื้อแบคทีเรีย

Escherichia coli ( E. coli ) คือ เชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบในลําไส้ของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ซึ่งปกติแล้วแบคทีเรียชนิดนี้ไม่ทําอันตรายต่อร่างกายสิ่งมีชีวิต และเมื่ออาศัยอยู่ในลําไส้ก็จะช่วยย่อยอาหาร แต่หาก E. coli เข้าสู่อยวัยวะอื่นๆของร่างกาย จะทำให้อวัยวะนั้นๆติดเชื้ออย่างรุนแรงได้ เช่น โรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น และ เชื้อ E. coli บางสายพันธุ์ที่ทําให้เกิดโรคท้องเสียได้ หากเชื้อโรคปนเปื่อนในอาหารที่เรารับประทาน

กลไกของการติดเชื้ออีโคไล

เชื้ออีโคไลจะสร้างชิกา สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ STX1( Shiga toxin 1 ) และ STX2 ( Shiga toxin 2 ) เชื้ออีโคไล จะสร้างโปรตีนชื่ออินติมิน( Intimin ) ซึ่งเชื้อนี้ใช้ในการเข้าไปเกาะเซลล์ที่เยื่อบุผนังของลำไส้ และจะสร้างสารพิษชนิดเอนเทอโรฮีโมลัยซิน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก และไตวายในที่สุด

ชนิดของเชื้อแบคทีเรีย E. coli

กลไกการก่อโรค เมื่อเชื้อ E. coli เข้าสู่ร่างกาย จะสร้างสารพิษต่างๆ สารพิษ enterotoxin ทําให้เกิดอาการท้องร่วงแบบเฉียบพลัน ถ่ายเหลวเป็นน้ํา สร้างสารพิษ Shiga ทําให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นต้น ซึ่งเชื้ออีโคไล E.coli ( Escherichia coli ) มีหลายชนิด  ประกอบด้วย  Enterotoxigenic E coli (ETEC), Enterohemorrhagic E coli (EHEC), Enteropathogenic E coli (EPEC),Enteroinvasive E coli (EIEC),Enteroaggregative E coli (EAEC),Shiga-toxin producing E coli (STEC) รายละเอียดของเชื้อโรคแต่ละชนิด มีดังนี้

  • ETEC (Enterotoxigenic E coli) เชื้อโรคชนิดนี้ทำให้อุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปเกาะที่ผนังของลำไส้เล็กและปล่อยสารพิษเข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้ เป็นสาเหตุของอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EHEC (Enterohemorrhagic E coli ) เชื้อโรคชนินนี้ทำให้มีการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เชื้อโรคชนิดนี้จะสร้างสารพิษในลำไส้ทำให้มีเลือดออกเวลาถ่ายอุจจาระ
  • STEC (Shiga-toxin producing E coli ) เชื้อโรคนี้จะเข้าไปจับที่ผนังของลำไส้ใหญ่ จากนั้นจะปล่อยสารพิษหลายชนิด ซึ่งสารพิษเป็นพิษต่อผนังหลอดเลือด
  • EPEC (Enteropathogenic E coli ) เชื้อโรคชนิดนี้ จะทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ตามลำไส้เล็ก
  • EIEC (Enteroinvasive E coli ) เชื้อชนิดนี้ ทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายลำไส้ใหญ่ และปล่อยสารพิษ จนทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EAEC (Enteroaggregative E coli )เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก และปล่อยสารพิษ(toxin) เข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้

สาเหตุของการติดเชื้ออีโคไล

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรีย E. coli เกิดจากการรับเชื้อ E. coli ทางอาหารหรือการสัมผัส โดยสามารถสรุปสาเหตุทั่วไปที่อาจทำให้ได้รับเชื้อ E. coli มีดังนี้

  • การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อ E. coli
  • มือที่สัมผัสเชื้อโรค และ เข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างๆ เช่น แผล ปาก หู จมูก เป็นต้น
  • การสัมผัสมูลสัตว์ที่มีเชื้อโรค E coli ปะปน
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ E coli
  • การว่ายน้ำในสระน้ำ หรือ แหล่งน้ำ ที่มีเชื้อ E. coli ปะปน

อาการของผู้ป่วยติดเชื้ออีโคไล

หากเกิดกับเด็กทารกและเด็กเล็ก พบว่าอาการผุ้ติดเชื้อไม่แน่นอน อาการคล้ายในเด็กโต คือ ท้องร่วงจากการติดเชื้อไวรัส ต่อมาจะเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ หากเชื้อโรคเข้ากระแสเลือด จะทำให้ มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อ้วก ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาหารซึมเศร้า หากรักษาช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

หากเกิดกับเด็กโต จะเกิดทางเดินอาหารอักเสบ หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลว อาจจะถ่ายมีเลือดปน ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้  หากเชื้อโรคเข้ากระแสเลือด จะทำให้ มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อ้วก ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาหารซึมเศร้า หากรักษาช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้ออีโคไล

ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ยังไม่มีวิธีรักษาผู้ติดเชื้อโรคชนิดนี้โดยเฉพาะ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้น และ หายเป็นปกติได้เอง สิ่งที่สามารถทำได้ คือ ประคับประครองผู้ป่วยไม่ให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ และ ไม่ให้อ่อนเพลียเกินไป

การป้องกันการติดเชื้ออีโคไล

วิธีรักษาผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย อีโคไล แต่ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น และควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดในกลุ่มสเตอรอยด์ เช่น ยาแอสไพริน เพราะจะยาตัวนี้จะไปทำลายไตของผู้ป่วย สามารถทำได้โดยการ รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ทานอาหารที่ปรุงสุก

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และถูกสุขลักษณะ
  • ควรเก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไว้ในอุณหภูมิต่ำ
  • สำหรับผักสด ควรล้างน้ำให้สะอาด โดยการปล่อยน้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาที
  • ในการประกอบอาหารควรปรุงให้สุกในระดับอุณหภูมิ 71  องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมืออยู่เสมอ
  • เมื่อมีอาการท้องเสียขั้นรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน และอย่ารับประทานยาระงับถ่ายอุจจาระ

การติดเชื้ออีโคไล E.coli ทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องร่วง ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือ สมองอักเสบ Mr. Theodur Escherich คือ ผู้ค้นพบเชื้อโรค E coli เชื้ออีโคไล สามารถอาศัยอยู่ในสถานที่ที่ขาดออกซิเจนได้ การรักษาโรคติดเชื้ออีโคไล และ การป้องกันการเกิดโรคติดเชื้ออีโคไล

เชื้ออีโคไล E.coli ทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องร่วง ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือ สมองอักเสบ เชื้ออีโคไลอาศัยอยู่ที่ที่ขาดออกซิเจนได้ การรักษาโรคและป้องกันทำอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove