มะเร็งช่องปาก ( Oral cancer ) เนื้อร้ายที่ช่องปาก เกิดจากการสูบบุหรี่ อาการมีก้อนในช่องปาก ลิ้นและเยื้อบุช่องปากมีฝ้าสีขาว แผลในปากหายยาก ไม่สามารถกินอาหารได้

มะเร็งช่องปาก โรคมะเร็ง โรคในช่องปาก เป็นมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก เป็นการเกิดเนื้อร้ายที่ช่องปาก เป็นโรคที่ทรมาน ทำให้ไม่สามารถกินอาหารได้ อาการของโรคมะเร็งช่องปากเป็นอย่างไร อะไรคือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค การรักษาและการดูแลผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก ทำอย่างไร รวมอยู่ในบทความนี้

ช่องปาก คือ อวัยวะเริ่มต้นของระบบทางเดินอาหาร ที่มีอวัยวะหลายส่วน ได้แก่ ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก ลิ้น รวมถึงเนื้อเยื่อใต้ลิ้น ด้วยซึ่งอวัยวทั้งหมดในช่องปากสามารถเกิดเนื้อร้ายได้ โรคมะเร็งช่องปาก ทางการแพทย์ เรียก Oral cancer สำหรับมะเร็งช่องปาก พบว่า ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นโรคมะเร็งช่องปาก พบมากในกลุ่มคนวัยกลางคน อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และโอกาสในการเกิดโรค ผู้ชายมีโอกาสเกิดมากกว่าผู้หญิง

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งในช่องปาก

เราได้รวบรวมสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก มาซึ่งส่วนใหญ่กิดจากการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องการใช้สารเสพติดและการพักผ่อนน้อย โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ประกอบด้วย

  • การสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • การกินอาหารที่มีส่วนผสมของสารก่อมะเร็งเป็นประจำ เช่น การเคี้ยวหมากพลู เป็นต้น
  • การอักเสบในช่องปากเป็นประจำ การอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดการระคายเคือง หากเกิดนานๆ เซลล์และเนื้อเยื่อในช่องปากสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อร้ายได้
  • การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma virus) เป็นการติดเชื้อไวรัสจากการมีเพศสัมพัน์ทางปาก
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งในอวัยวะใกล้เคียงกับช่องปาก เช่น มะเร็งลำคอ และมะเร็งศีรษะ

ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของมะเร็งในช่องปากมากที่สุด คือ การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ จากสถิติของผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก พบว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก สูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นประจำ

อาการผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปาก

อาการของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากนั้น จะมีอาการให้เห็นชัดเจนในอวัยวะที่อยู่ในช่องปาก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • บริเวณลิ้นและเยื้อบุช่องปาก จะมีฝ้าสีขาวหรือสีแดง
  • เกิดแผลที่ช่องปาก และแผลในช่องปากนั้นหายยาก ใช้เวลามากกว่า 14 วันถึงหาย
  • ที่ช่องปาก เช่น เหงือก พื้นปาก เพดานปาก มีก้อนเนื้อเกิดขึ้น และขนาดของก้อนเนื้อจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ก้อนเนื้อนี้ไม่มีอาการเจ็บปวด
  • สุขภาพฟันไม่แข็งแรง เช่น ฟันโยก ฟันหลุด
  • การเคี้ยวอาหารและการกลืนอาหาร เกิดความยากลำบาก
  • เกิดโลหิตไหลผิดปรกติที่ช่องปาก
    มีก้อนที่ลำคอ ซึ่งคือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ โต คลำได้จากมีโรคมะเร็งลุกลาม แต่มักไม่มีอาการเจ็บปวด
    อนึ่ง หากโรคมะเร็งช่องปาก แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ก็อาจมีอาการตามอวัยวะนั้น ๆที่โรคแพร่กระจายไปได้ เช่น มะเร็งกระจายไปกระดูก อาจมีอาการปวดตามกระดูกในส่วนต่าง ๆที่โรคแพร่กระจายไป

อาการหลักๆของมะเร็งช่องปากนั้น สังเกตุจากผ้าและก้อนเนื้อที่อวัยวะในช่องปาก หากเกิดความผิดปรกติ อย่าปล่อยให้นาน ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที่

ระยะของการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก นั้นสามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่1 ถึงระยะที่ 4 โดยรายละเอียดของระยะการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก มีดังนี้

  • ระยะที่ 1  เริ่มเกิดก้อนเนื้อ ที่มีขนาดยังไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร ในระยะนี้จะสัมผัสได้ว่ามีก้อนเนื้อแต่ยังไม่เกิดการรบกวนการดำรงชีวิตนัก
  • ระยะที่ 2 ขนาดของก้อนเนื้อร้ายใหญ่ขึ้น แต่ขนาดยังไม่เกิน 4 เซ็นติเมตร ขนาดของเนื้อร้ายเริ่มใหญ่ในระยะนี้เกิดความระคายเคืองในช่องปาก และรวบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ระยะที่ 3 ขาดของก้อนเนื้อร้ายใหญ่ขึ้น และลามไปที่คอและต่อมน้ำเหลือง ในระยะนี้การเกิดมะเร็งยังอยู่ที่ลำคอไม่ลามไปส่วนอื่นๆของร่างกาย
  • ระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งลุกลามเข้าเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆในร่างกาย เชื้อโรคแพร่กระจายเข้าสู่กระแสโลหิต เป็นระยะสุดท้าย

การแพร่กระจายของมะเร็งช่องปาก นั้นสามารแพร่กระจายได้ 3 ทาง คือ

  • การแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง
  • การแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ
  • การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด

การวินิจฉัยโรคมะเร็งช่องปาก

ในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งช่องปาก นั้นสามารถตรวจโรคได้จากาการตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่ง วิธีตรวจโรคมะเร็งช่องปาก สามารถทำได้ ดังนี้

  • ตรวจชิ้นเนื้อ เป็นการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็ง
  • การตรวจเลือด การเจาะเลือด เพื่อตรวจและประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป เช่น ดูค่าเบาหวาน ดูการทำงานของไขกระดูก ดูการทำงานของไต ดูการทำงานของตับ ดูระดับเกลือแร่ในร่างกาย
  • เอกซเรย์ปอด เพื่อตรวจดูการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งที่จะเข้าสู่ปอด และช่องอก
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อดูสภาพร่างกาย
  • ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจดูการลุกลามของเชื้อมะเร็งในอวัยวะต่างๆ
  • ตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง เพื่อสุขภาพภายในช่องท้องและตับ
  • ตรวจสแกนกระดูก เพื่อดูสุขภาพกระดูก
  • ตรวจสุขภาฟัน

ในการตรวจโรคมะเร็งนั้น จำเป็นต้องตรวจอย่างลเอียด เพื่อประเมินการเกิดโรคและระยะของโรค และเพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งช่องปาก ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งช่องปาก แต่สามารถสังเกตุอาการของโรคได้จากอาการของโรคมะเร็งช่องปาก เช่น มีแผลในช่องปากที่รักษาไม่หาย มีฝ้าในช่องปาก มีก้อนเนื้อในช่องปาก เป็นต้น

การรักษามะเร็งช่องปาก

สำหรับการรักษามะเร็งในช่องปากนั้น หลังจากการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคแล้ว การรักษานั้นก็เหมือนการรักษาโรคมะเร็งทั่วไป คือ รักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัด ซึ่งต้องทำทั้ง 3 อย่างควบคู่กัน

  • การรักษามะเร็งช่องปาก ด้วยการผ่าตัด จะใช้การผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่เกินระยะที่ 3 โดยจะตัดเอาก้อนเนื้อร้ายออก อาจต้องตัดต่อมน้ำเหลืองลำคอออกด้วย หากปรเมินว่าอาจลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • การรักษามะเร็งช่องปาก ด้วยการฉายรังสี วิธีนี้จะใช้ 2 วิธี คือ การฉายรังสีและการฝังแร่ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งแต่การฉายรังสีนั้น ต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของเนื้อร้าย
  • การรักษามะเร็งช่องปาก โดยใช้เคมีบำบัด เป็นการให้เคมีเพื่อทำลายเนื้อร้าย ทำลายเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย

การรักษามะเร็งในวิธีต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งการเลือกการรักษาจะต้องอยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งช่องปาก

การรักษามะเร็งช่องปากนั้น ต้องใช้ทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงหลายอย่างที่ตามมาหลังจากการรักษาโรค เราสามารถสรุปผลข้างเคียงของการรรักษาโรคมะเร็งได้ ดังนี้

  • ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด คือ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บ ปวดที่แผล การติดเชื้อเกิดได้ง่าย เนื่องจากช่องปากเป็นอวัยวะที่ถูกสัมผัสได้ง่าย
  • ผลข้างเคียงของการแายรังสี คือ ต้องดูแลผิวหนังให้ดี เนื่องจากการฉายรังสีจะส่งผลกระทบต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อที่ถูกฉายรังสี
  • ผลข้างเคียงของการทำเคมีบำบัด คือ ร่างกายของผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ภาวะเกล็ดเลือดต้ำ และการทำงานของไขกระดูกต่ำ

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

เราสังเกตุได้ว่าการเกิดมะเร็งช่องปาก ส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่ตรวจสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และการใช้ชีวิตไม่ถูกต้อง เป็นอันตรายต่อสุขภาพในช่องปาก การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและการหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและสมบูรณ์คือ การป้องกันการเกิดมะเร็งช่องปากที่ดีที่สุด เราสามารถสรุปการป้องกันมะเร็งในช่องปากได้ดังนี้

  • หากใช้ฟันปลอม ให้ล้างแลทำความสะอาดฟันปลอมอย่าให้มีสิ่งแปลกปลอม
  • ให้ทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟัน อย่างถูกวิธีอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง
  • ให้อมน้ำบาม้วนปากหลังจากรับประทานอาหาร เพื่อล้างคราบสกปรก และเชื้อโรคที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง
  • หมั่นตรวจสุขภาพในช่องปากเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง
  • ไม่สูบบุหรี
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์

มะเร็งช่องปาก จักว่าเป็นโรคอันตราย ซึ่งความรุนแรงของโรคนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ระยะของโรค อายุและความแข็งแรงของผู้ป่วย รวมถึง โรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเหล่านี้หากเป็นร่วมกับมะเร็งในช่องปาก จะมีความอันตรายมากขึ้น ดังนั้น การดูแลสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญ

มะเร็งช่องปาก ( Oral cancer ) การเกิดเนื้อร้ายที่ช่องปาก โรคมะเร็ง โรคในช่องปาก เป็นโรคที่ทรมาน การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรค มีก้อนในช่องปาก ลิ้นและเยื้อบุช่องปากมีฝ้าสีขาว แผลในปากหายยาก ไม่สามารถกินอาหารได้ ปัจจัยเสี่ยง สาเหตุ อาการ การรักษาโรค ทำอย่างไร

โรคพิษสุนัขบ้า ( hydrophobia ) ติดเชื้อไวรัสเรบีส์จากหมากัด ส่งผลต่อสมอง อาการมีไข้ เป็นเหน็บ การเคลื่อนไหวรุนแรง ควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ขยับร่างกายบางส่วนไม่ได้

โรคพิษสุนัขบ้า โรคกลัวน้ำ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ภาษาทางการแพทย์ เรียก โรคพิษสุนัขบ้า ว่า  hydrophobia เป็นโรคที่คนไทยรู้จักกันในโรคกลัวน้ำ เป็น โรคติตเชื้อที่มาจากสัตว์  ซึ่งอาการรุนแรง กระทบกับระบบประสาทและสมอง ซึ่งเชื้อโรค ที่ทำให้เกิดโรคคือ เชื้อไวรัส ทำให้สมองอักเสบฉับพลัน หากมีอาการ มีไข้ เป็นเหน็บ การเคลื่อนไหวรุนแรง ตื่นเต้นควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ขยับร่างกายบางส่วนไม่ได้ กลัวน้ำ เป็นอาการเบื้องตนของโรคพิษสุนัขบ้า

โรคติดเชื้อจากสุนัข โรคพิษสุนัขบ้า นี้มีคนเสียชีวิตปีละ 50,000 คน และเสียชีวิตจากการโดนสุนัขที่มีเชื้อโรคถึงร้อยละ 95 พบว่าทวีปเอเชียและแอฟริกา มีอัตราการการเกิดโรคสูงสุด โรคพิษสุนัขบ้า จัดว่าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์  (Rabies) เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนท โดยไวรัสชนดนี้จะทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เสียชีวิต

สาเหตุของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า

เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ ที่อยู่ในน้ำลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทำให้เกิดอาการอักเสบ ซึ่งไวรัสนี้จะพบมากในสุนัขค้างคาว และหนู เชื้อไวรัสเรบีส์เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดอาการอักเสบที่ผิวหนัง นอกจากเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังแล้ว ทางการหายใจก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ เช่น การเข้าไปในถ้ำที่มีค้างคาว จำเป็นต้องมีการป้องกัน หลังจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เชื้อโรคจะทำลายระบบประสาท และเสียชีวิตในที่สุด

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค คือ หมา และแมว เรามีวิธีในการสังเกตุสัตว์ที่มีโอกาสติดเชื้อพิษสุนัขบ้า ได้ 2 ลัษณะ คือ สัตว์มีอาการดุร้าย และสัตว์มีอาการซึมเศร้า ซึ่งลักษณะอาการมีรายละเอียด ดังนี้

  • ลักษณะสัตว์มีอาการดุร้าย สำหรับสัตว์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า นั้น ในระยะแรก สังเกตุจากสัตว์มีพฤติกรรมผิดปรกติ เช่น สัตว์ไม่มีอาการดุร้ายเข้ากับคนได้ แต่อยู่ดีๆก็แยกตัวออกจากคน และมีอาการหวุดหงิด จากนั้น สุนัขจะหลบตัวอยู่ในที่มืด ไม่ตอบสนองต่อเสียง และสิ่งแวดล้อม สุนัขจะมีอาการกระวนกระวาย ไล่งับแมลง หรือทุกอย่างที่อยู่ข้างหน้า เช่น ดิน ก้อนหิน กิ่งไม้ จากนั้นเริ่มวิ่งพล่าน และดุร้าย ไล่กัดคน และทุกอย่างที่อยู่ข้างหน้า สุนัขจะเริ่มหอนผิดปกติ ลิ้นห้อย น้ำลายไหลยืด จากนั้นสุนัขจะอ่อนแรง ตัวแข็ง และตายในที่สุด สุนัขที่ล้มแล้วลุกขึ้นไม่ได้ จะตายภายใน 3 วัน
  • ลักษณะของสัตว์ที่มีอาการซึมเศร้า สำหรับสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้าและอาการซึมเศร้า สังเกตุยาก โดยเริ่มจากเหมือนมีอาการเป็นหวัด มีไข้ ซึม นอนซม ไม่กินอาหาร ชอบหลบตัวในที่มืดๆ  สัตว์จะไม่มีอาการดุร้ายให้เห็นแต่จะกัดหากถูกรบกวน สุนัขจมีอาการเหมือนก้างติดคอ ไอ ใช้ขาตะกุยคอ หลังจากนั้นสุนัขจะเป็นอัมพาต และจะภายใน 10 วัน

สำหรับสุนัขที่มีโอกาสติดเชื้อพิษสุนัขบ้านั้น ส่วนมากจะพบมากในสุนัขอายุน้อย เพศเมีย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความแข้งแรงน้อยจึงทำให้ไม่สามารถทนต่อการติดเชื้อได้

การแพร่เชื้อพิษสุนัขบ้าสู่คน

สำหรับการแพร่เชื้อสู่คนนั้น เราสามารถสรุปได้ 2 ลักษณะ คือ การโดนกับ หรือ สัมผัสเชื้อโรคจากการเลีย ซึ่งทั้ง 2 ลักษณ คือ การสัมผัสน้ำลายของสัตว์ เข้าสู่ร่างกาย เราได้สรุปมาให้ดังนี้

  1. การถูกสุตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด เป็นการสัมผัสเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง
  2. การถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าเลีย ซึ่งหากโดยเลียในส่วนของร่างกายที่อ่อนแอ เช่น มีแผลอยู่ ก็สามารถทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้

อาการของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า นั้นเราสามารถแบ่งลักษณะอาการได้ 3 ระยะ คือ ระยะนำโรค ระยะเริ่มมีอาการทางระบบประสาท และระยะสุดท้าย คือ ระยะไม่รู้สึกตัว รายละเอียดของระยะต่างๆ ของโรคพิษสุนัขบ้ามีดังนี้

  • ระยะแรก คือ ระยะนำของโรค ภาษาอังกฤษ เรียก Prodrome เป็นระยะที่มีอาการหลายอย่างไม่เฉพาะเจาะจงหากไม่ทราบว่าโดนสุนัขกัดจะวินิจฉัยยาก โดยลักษณะผู้ป่วยจะมีอาการต่าง ดังนี้ มีไข้ต่ำแต่ไม่สูง ประมาณ 38 องศาเซลเซียส แต่มีอาการหนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เจ็บคอ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ และอารมณ์ไม่ปรกติ มีอาการปวด ที่แผล รวมถึง คันและชา ปวดแสบปวดร้อน และลามไปทั่วทั้งแขนและขา
  • ระยะที่สอง คือ เริ่มแสดงอาการทางระบบประสาท ภาษาอังกฤษ เรียก Acute neurologic หลังจากมีอาการในระยะที่หนึ่ง ไม่เกิน 10 วัน ลักษณะอาการทางระบบประสาทจะมี 3 อาการ คือ คุ้มคลั้ง อัมพาต และอาการแบบไม่เหมือนต้นแบบ รายละเอียดของอาการในระยะนี้มีดังนี้
    • ลักษณะอาการคลุ้มคลั่ง (Furious rabies) อาการนี้พบมากร้อยละ 80 ของผุ้ป่วยจะมีอาการคลุ้มคลั่ง ในระยะแรก จะมีไข้ เห็นภาพหลอน ไม่ชอบแสงและเสียง จากนั้นจะเริ่มไม่เป้นตัวของตัวเอง เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย จะอาละวาด ผู้ป่วยจะมีอาการกลัวน้ำ กลัวลม ทั้งสองอาการกลัวน้ำและกลัวลมจะพบในผุ้ป่วยทุกราย เมื่อระบบประสาทเริ่มผิดปรกติ จะมีอาการน้ำลายไหล น้ำตาไหล เหงื่อออกมาก ขนลุก อวัยวะเพศแข็งตัว และหลั่งน้ำอสุจิบ่อย โดยไม่ตั้งใจ หลังจากนั้นจะซึมฌสณ็ษ หมดสติ และเสียชีวิตภายใน 7 วัน
    • ลักษณะอาการอัมพาต(Paralytic rabies) อาการลักษณะนี้พบได้เพียงร้อยละ 20 ของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ป่วยจะมีไข้ และกล้ามเนื้อแขนและขาอ่อนแรง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ การกลัวน้ำ และกลัวลม ผู้ป่วยที่มีอาการลักษณะนี้พบว่าจะเสียชีวิตใน 2 สัปดาห์
    • ลักษณะแสดงอาการไม่ตรงต้นแบบ (Non-classic) เป็นลักษณะอาการไม่เหมือนโรคพิษสุนัขบ้า เช่น มีอาการปวดประสาท กล้ามเนื้ออ่อนแรง ต่อมาเป้นอัมพาตครึ่งซีก มีอาการชัก การเคลื่อนไหวผิดปกติ แต่ไม่พบว่ามีอาการกลัวน้ำ และกลัวลม
  • ระยะสุดท้าย (Coma) เป็นระยะผุ้ป่วยไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยทุกรายเมื่อแสดงอาการในระยะสุดท้ายจะไม่รู้สึกตัว มีอาการหมดสติ และเสียชีวิตด้วยระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว

การรักษาผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า

ปัจจุบันไม่มีวิธีรักษาโรคพิษสุนัขให้หายขาด การรักษาสามารภทำด้เพียงการรักษาตามอาการ และควรนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

  • สำรับผู้ป่วยที่โดนสัตว์กัด ให้รีบพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสพิษสันัขบ้า โดยต้องฉีด 5 ครั้งในเวลา 30 วัน
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคชัดเจน การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยานอนหลับเพื่อลดการคลุ้มคลั่ง ให้ยาแก้ชัก และให้สารอาหารทางเส้นเลือด เนื่องจากผุ้ป่วยกินอาหารเองไม่ได้ และติดตามดูอาการไปจนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิต
  • สำหรับผู้ป่วยที่แสดงอาการแต่ไม่ชัดเจน อาจต้องเจาะหลัง เพื่อตรวจหาเชื้อพิษสุนัขบ้า ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นต้น

ข้อควรปฏิบัติหากถูกสุนัขกัด

หากเราถูกสุนัขและสัตว์ที่เราสงสัยว่ามีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด มีข้อควรปฏิบัต ดังนี้

  1. ให้ล้างแผลทันที ล้างด้วยฟองสบู่และน้ำสะอาด ล้างด้วยแอลกอฮอล์ และทายาที่แผลด้วยน้ำยาเบตาดีน แล้วรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที
  2. นำสุนัขไปตรวจโรคพิษสุนัขบ้า ในบางรายแนะนำให้ขังสุนัขเพื่อดูอาการผิดปรกติ แต่อาจจะสายเกินไป เอาไปตรวจเลย จะได้รักษาทัน
  3. ให้รีบไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

หากท่านโดนสุนัขกัด หรือพบเห้นว่ามีสุนัขไล่กัดคน สิ่งที่ต้องทำ คือ แจ้งหน่วยงานในพื้นที่ทราบ ประสานกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ เพื่อควบคุมการเกิดโรคพิษสันัขบ้า นำสัตว์ไปตรวจโดย ส่งห้องปฏิบัติการ ให้กักขังสัตว์ไว้ในที่ปลอดภัย และเฝ้าดูอาการ ไม่ควรฆ่าสัตว์โดยไม่จำเป็น แต่หากเป็นสัตว์ใหญ่ อย่าง วัว ควาย ต้องตัดหัว ใส่ถุงพลาสติกแช่น้ำแข็ง นำส่งห้องปฏิบัติการนำไปตรวจ

ซึ่งต้องทำอย่างระมัดระวัง หากทำม่ดีจะทำให้การตรวจสอบยาก ล้างมือให้สะอาดหลังจากเก็บซาก

การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า คือ อย่าให้ถูกสัตว์กัด และการฉีดยาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคพิษสุนัขบ้า แต่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบล่วงหน้า นั้นต้องฉีด 3 เข็ม ในระยะเวลา 30 วัน โดยบุคคลที่ควรฉีด คือ คนที่ต้องคลุกคลีกกับสัตว์อย่างหมาและแมว ส่วนของการฉีดวัคซีนป้องการเชื้อพิษสุนัขบ้าหลังจากโดนกัดนั้น ใช้วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ชนิดที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง เนื่องจากประสิทธิภาพสูง ฉีดจำนวน 5 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการแพ้ต่อระบบประสาท

สำหรับการฉีดยาวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้านั้น มี 2 แบบ คือ แบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และแบบฉีดเข้าชั้นผิวหนัง

โรคพิษสุนัขบ้า ( hydrophobia ) การติดเชื้อไวรัสเรบีส์ จากโดนหมากัด โรคสมอง อาการมีไข้ เป็นเหน็บ การเคลื่อนไหวรุนแรง ตื่นเต้นควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ขยับร่างกายบางส่วนไม่ได้ อาการเบื้องตนของโรคพิษสุนัขบ้า โรคกลัวน้ำ โรคติดต่อ กระทบต่อระบบประสาทและสมอง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove