โรคท้าวแสนปม ( Neurofibromatosis ) มีตุ่มและติ่งเนื้อขึ้นตามร่างกายจำนวนมาก เกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซมคู่ที่ 22 ทำให้ผิวหนังผิดปรกติ ลำบากในการใช้ชีวิตโรคท้าวแสนปม โรคผิวหนังผิดปกรติ โรคไม่ติดต่อ สาเหตุของโรคท้าวแสนปม

ท้าวแสนปม ภาษาอังกฤษ เรียก Neurofibromatosis ผู้ป่วยมีอาการ คือ มีตุ่มและติ่งเนื้อขึ้นตามร่างกายจำนวนมาก สามารถพบได้ในคน 50000 คน พบว่ามีผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม 1 คน โรคนี้สร้างปัญหากับมนุษย์ในเรื่องการเข้าสังคม สร้างความลำบากในการใช้ชีวิต จากการศึกษาของแพทย์ เกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 22 ทำให้ผิวหนังมีความผิดปรกติ

เรามาทำความรู้จักกับ โรคท้าวแสนปม ว่า สาเหตุของโรค การรักษา ต้องทำอย่างไร โรคท้าวแสนปมหากไม่รักษา สามารถส่งผลต่อโรคอื่นๆ ที่ตามมา เช่น เนื้องอกที่ระบบประสาท กระดูกผิดรูป อาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท และเป็นมะเร็งของระบบประสาทได้ ความอันตรายของโรคท้าวแสนปม คือ พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม เป็นมะเร็ง และยังสร้างความทรมานทั้งในด้านร่างกายและจิตใจมาก

สาเหตุของโรคท้าวแสนปม

โรคท้าวแสนปม มีสาเหตุจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ไม่ใช่โรคผิวหนัง และ ไม่ใช่โรคติดต่อ โรคท้าวแสนปม เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 22 เป็น โรคเกี่ยวกับความผิดปรกติของยีนส์ในร่างกาย หากพ่อแม่เป็นโรคนี้ลูกมีโอกาสในการเป็นโรคนี้เช่นกัน โรคท้าวแสนปม เป็น โรคพันธุกรรม ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติ ของกระดูก ระบบประสาท เนื้อเยื่ออ่อน และ ผิวหนัง ความรุนแรงของโรค นี้อยู่ที่โรคแทรกซ้อนที่เกิดกับระบบประสาท ซึ่ง โรคท้าวแสนปม มี 2 ชนิด คือ NF-1 และ NF-2

อาการของผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม

เราสามารถจำแนก อาการของผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม แยกตามชนิดของโรค คือ NF-1 และ NF-2 รายละเอียดของอาการของโรค มีดังนี้

  1. อาการผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 1 (NF-1) อาการของโรคมี 7 อาการ ซึ่ง ผู้ป่วยหากมาอาการ 2 ใน 7 อาการ ถือว่า เป็นโรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 1 อาการทั้ง 7 ประกอบด้วย
    • มีปานสีกาแฟใส่นม มีลักษณะของปานเด่นชัด ลักษณะไม่เรียบ ส่วนมากสามารถพบได้มากกว่า 6 ตำแหน่ง ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีขนาดใหญ่
    • มีก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง เป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง พบจำนวนมากตามผิวหนัง ซึ่ง ผู้ป่วยร้อยละ 5 มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งที่ผิวหนังหรือมะเร็งเม็ดเลือด ลักษณะเป็นก้อนสีน้ำตาลหรืออมชมพู
    • มีกระ ที่รักแร้ หรือขาหนีบ จะพบมากในคนที่อายุเข้าสู่วัยรุ่น และที่กระ จะพบก้อนเนื้องอก ชนิดเพล็กซิฟอร์มได้บ่อย
    • มีเนื้องอกของเส้นประสาทตา ในบางรายเนื้องอกนี้ ทำให้เกิดปัญหาความดันเพิ่มขึ้นภายในศีรษะอาจทำให้ชัก และเกิดความผิดปกติของเส้นประสาทสมองได้
    • มีเนื้องอกที่ม่านตา ลักษณะเนื้องอกเป็นรูปโดม พบที่ชั้นผิวของม่านตา สามารถตรวจได้จากการส่องกล้อง
    • มีความผิดปกติของกระดูก เช่น กระดูกต้นขางอก ขาโก่ง ในผู้ป่วยบางราย กระดูกใบหน้าผิดรูป เช่น ตาโปน กระดูกสันหลังคด งอ
    • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคท้าวแสนปม โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคท้าวแสนปมได้ ร้อยละ 50
  2. อาการของโรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 2 (NF-2) สำหรับ โรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 2 สามารถพบได้บ่อย ในคน 50000 คน พบว่ามีผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม ชนิดนี้ 1 ราย โรคท้าวแสนปมชนิดนี้ จะไม่แสดงอาการของโรคให้เห็นอย่างชัดเจนทางผิวหนัง มีอาการอยู่ 7 อาการ ซึ่งหากพบว่ามีอาการ 2 ใน 7 มีความเสี่ยงเป็นโรคท้าวแสนปม ได้ เราสามารถสังเกตุอาการของโรค ได้ดังนี้
    • มีเนื้องอก ที่บริเวณหูชั้นใน
    • ระบบประสาทการ สำหรับการได้ยินไม่ดี ฟังไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยชัดเจน
    • การควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าไม่ดี มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง
    • มีอาการเวียนหัว
    • ควบควมการทรงตัวไม่ได้บ่อย ๆ
    • การเดิน มีปัญหา เนื่องจากระบบประสาทขาไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
    • เป็นโรคต้อกระจกตั้งแต่อายุน้อย ๆ

การรักษาโรคท้าวแสนปม

การรักษาโรคท้านแสนปม นี้นั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้อนเนื้อ ถ้าก้อนเนื้อมีที่เดี่ยว สามารถผ่าตัด รักษาได้ แต่อาจจะเหลือร่องรอยอยู่บ้าง แต่ผิวหนังจะดีขึ้น โดยทั่วไปการรักษาให้หยาขาดเลยนั้น ทำได้ยาก แต่การรักษานอกจากการผ่าตัดแล้วการรักษาตามอาการของโรค ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น การรักษาต้องพบแพทย์ตลอดชิวิต เพื่อตรวจดูลักษณะของผิวหนัง และ รักษาสภาพผิวหนัง ให้กลับมาปรกติที่สุด

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม

เนื่องจากโรคนี้เป็น โรคทางพันธุกรรม การมีครอบคร้วสำหรับผู้ป่วยโรคนี้เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา เนื่องจากหากถ่ายทอดสู่ลูกและหลาน ก็จะสร้างความทรมานทั้งร่างกายและจิตใจให้ลูกหลาน หากมีความจำเป็น ควรอยู่ในการดูแลและคำแนะนำจากแพทย์

โรคท้าวแสนปม ท้าวแสนปม ( Neurofibromatosis ) มีตุ่มและติ่งเนื้อขึ้นตามร่างกายจำนวนมาก เกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 22 ทำให้ผิวหนังมีความผิดปรกติ โรคนี้สร้างปัญหากับมนุษย์ในเรื่องการเข้าสังคม สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตโรคผิวหนัง สาเหตุโรคท้าวแสนปม อาการโรคท้าวแสนปม การรักษาโรคท้าวแสนปม

ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โรคยูซี ( Ulcerative colitis ) เยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่อักเสบ เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร อุจาระมีเลือด มีไข้สูง อ่อนเพลีย ผิวซีด น้ำหนักลดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคติดเชื้อ โรคในช่องท้อง โรคไม่ติดต่อ

ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง หรือ โรคยูซี มาจากภาษาอังกฤษ ว่า Ulcerative colitis เป็น โรคระบบทางเดินอาหาร เกิดขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ เป็น การอักเสบของลำไส้ใหญ่ แบบต่อเนื่อง ระยะยาว รักษาไม่ขายขาดสักที วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง กันว่า สาเหตุของการเกิดโรคเกิดจากอะไร อาการของผู้ป่วยเป็นอย่างไร การวินิจฉัยและการรักษาทำอย่างไร รวมถึงการดูแลผู้ป่วยโรคนี้ ต้องทำอย่างไร

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ นี้ ปัจจุบันยังไม่ทราบ สาเหตุการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ เป็นแผลเรื้อรังอย่างชัดเจนนัก โรคนี้จะมีอาการสำคัญสังเกตุได้จากอุจจาระมีความผิดปกติ หากไม่รักษาอาจ ส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบแบบเรื้อรัง นี้จะพบมากในคนตะวันตกมากกว่าคนเอเชีย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ รวมถึงประเทศแถบอากาศหนาวอย่าง สวีเดน นอร์เวย เป็นต้น สำหรับประเทศไทยนั้นพบน้อย ซึ่งจะพบมากในคนในแถบเมืองใหญ่

สาเหตุของการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

สำหรับ สาเหตุของการเกิดโรค นี้แบบเรื้อรังนั้น ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุได้ชัดเจนนัก แต่เรื่องของการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้น มีผลต่อสาเหตุของโรค รวมถึงปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม รวมถึงพฤติกรรมของผู้ป่วยเองมีผลต่อการเกิดโรคมาก เป็นที่ยอมรับว่าน่าเกิดจากผู้ป่วยบางคนมีพันธุกรรมบางอย่างที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเมื่อร่วมกับปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมบางชนิด แต่สามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคได้พอประมาณ ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่ามีในผู้ป่วยโรคนี้ ร้อยละ 10 มีบิดาหรือมารดา เป็นโรคนี้ด้วย และร้อยละ 36 ของผู้ป่วยมีพี่น้องพ่อแม่เดียวกันเป็นโรคนี้เช่นกัน จากข้อมูลดังกล่าว สามารถระบุว่า พันธุกรรมมีผลต่อสาเหตุของการเกิดโรค
  • ระบบลำไส้ผิดปรกติ โดยไม่ตอบสนองต่อภูมิต้านทานโรค รวมถึงไม่มีการต่อต้านเชื้อโรค ที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งลักษณะของการผิดปรกติต่อระบบภูมิต้านทานโรคนั้น เม็ดเลือดขาวมีส่วนต่อความผิดปรกตินี้ เนื่องจากระบบภูมิต้านทานโรคมาจากเมฺดเลือดขาว
  • การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้น ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบ และรักษาไม่ขายขาด ทำให้เกิดแผลเรื้อรัง ส่วนใหญ่โรคลำไส้ใหญ่อักเสบจะสันนิษฐานว่ามาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หากทราบสาเหตุชัดเจนสามารถใช้ ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อได้
  • การสูบบุหรี่ เราพบว่า ผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง เป็นคนสูบบุหรี่ส่วนมาก
  • กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มที่มีประวัติการใช้ยาแก้ปวด กลุ่มเอ็นเสดส์ (NSAIDs) ซึ่งยากลุ่มนี้อาจเป็นสาเหตุของโรคได้
  • ความเครียด หรือ การถูกกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง ทำให้เกิดโรคและเป็นสาเหตุของการกำเริบของโรค
  • เคยมีประวัติการผ่าตัดโรคไส้ติ่งอักเสบ ก็อาจเป็นสาเหตุ เพราะจากสถิติของผู้เกิดโรคผู้เคยผ่าตัวไส้ติ่งมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ไม่เคยผ่าตัดไส้ติ่งมาก่อน

ผลข้างเคียงของผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

สำหรับโรคนี้ไม่ใช่โรคอันตราย แต่จำเป็นต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ลำไส้ใหญ่เกิดการพองตัวและเน่า ลำไส้ใหญ่เกิดการตีบตัน และ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากโรคแทรกซ้อนแล้ว การปวดท้องส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วย

อาการของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

อาการของปผู้ป่วยที่พบ คือ ปวดท้องแบบเกร็ง กดที่ท้องจะเจ็บมาก มีอาการท้องเสีย ในผู้ป่วยบางคน อุจาระมีเลือดปน มีไข้สูง เหนื่อย อ่อนเพลีย ผิวซีด เป็นโลหิตจาง และน้ำหนักตัวลด สำหรับอาการของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบแบบเรื้อรัง นั้นมี 2 แบบ สามารถจำแนก คือ โรคCrohn’s disease และ โรคulcerative colitis รายละเอียด ดังนี้

  • โรค Crohn’s disease จะเกิดที่ระบบทางเดินอาหารได้ทุกส่วน ตั้งแต่ปากจนถึงทวารหนัก ซึ่งส่วนมากจะเกิดบริเวณลำไส้เล็กส่วนปลายและลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ลักษณะของโรคนี้ สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ ผนังลำไส้อักเสบบวม เหมือนเป็นฝี ผนังลำไส้อักเสบเป็นแผลจนทะลุ และผนังลำไส้เกิดการอักเสบกระจายทั่วลำไส้ใหญ่
  • โรค Ulcerative colitis จะเกิดขึ้นที่ลำไส้ใหญ่เท่านั้น จะเกิดที่ผนังลำไส้ โดยผู้ป่วย จะมีอาการ เช่น ข้ออักเสบ ตาอักเสบ ตับอักเสบ รวมด้วย

การวินิจฉัยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

สำหรับการวินิจฉัยโรคนี้ สามารถ สังเกตุจากอาการผิดปรกติของอุจจาระ ได้ จากนั้นต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อยืนยันการเกิดโรคและสาเหตุของโรค เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง รายละเอียดการตรวจวินิจฉัยโรคมีรายละเอียด ดังนี้

  • การตรวจหาสารภูมิต้านทาน ชนิด Antineutro phil cytoplasmic antibodies (ANCA)
  • การตรวจอุจจาระ เพื่อหาไข่พยาธิ และเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค
  • การตรวจหาค่าการตกตะกอนของเลือด
  • การตรวจเลือด ดูปริมาณเม็ดเลือดแดง ปริมาณเกล็ดเลือด และสารอาหารในเลือด เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค
  • การตรวจทางรังสี ด้วยการสวนแป้งที่ทวารหนักและเอกซเรย์ สามารถตรวจภาวะแทรกซ้อนของโรคได้
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และการตัดชิ้นเนื้อลำไส้ใหญ่ เพื่อทำการตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

สำหรับ การรักษาโรค นั้น สามารถใช้ การรักษาด้วยยา ได้ ซึ่งจากการวินิจฉัยโรคจะทำให้สามารถทราบว่าต้องใช้ยารักษาอะไรบ้าง ซึ่ง การรักษานั้นเป็น การรักษาอาการอักเสบของลำไส้  ยารักษาไม่ให้อาการกำเริบ ยาช่วยบรรเทาอาการของโรค ยาบรรเทาอาการแทรกซ้อน และยารักษาโรคที่อาจจะเกิดกับอวัยวะข้างเคียง รายละเอียดดังนี้

  • การใช้ยา รักษาอาการอักเสบของลำไส้ จะเป็นยากลุ่ม ยาสเตียรอยด์ (Steroids) และยากลุ่มต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory agents) สำหรับการรักษาอื่นๆ เช่น การให้ยาปฎิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยในลำไส้ใหญ่ รวมถึงการเปลี่ยนถ่ายเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
  • การใช้ยารักษา เพื่อควบคุมอาการอักเสบกำเริบ ซึ่งผู้ป่วยต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการลำไส้อักเสบกำเริบ ต้องอยู่ในการควบคุมการสั่งยาของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  • การใช้ยาช่วยบรรเทาอาการอื่นๆ ที่เป็นผลกระทบจาก ลำไส้ใหญ่อักเสบ เช่น การรักษาอาการถ่ายเหลว อาการท้องร่วง สามารถให้น้ำเกลือแร่ทดแทนการเสียน้ำในร่างกาย แต่ถ้าการถ่ายอุจจาระมีเลือดปนในปริมาณมากต้องให้เลือดทดแทนการเสียเลือดเป็นต้น
  • การรักษาอาการจากภาวะแทรกซ้อน เช่น หากลำไส้ใหญ่แตกหรือทะลุ จะมีเลือดออกมาก ซึ่งอาจไม่สามารถควบคุมได้ ต้องได้รับการโดยด่วน

ดูแลและป้องกันโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

สำหรับการดูแลและป้องกัน โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง นั้นผู้ป่วยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค และ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การดูแลและป้องกันโรคนั้น ต้องปรับเรื่องการออกกำลังกายและอาการที่รับประทานในแต่ละวัน รวมถึงพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดอาหาร ชนิดใดเป็นพิเศษ แต่ควรงดอาหารที่ไม่ดีต่อระบบการย่อยอาหาร หรือทำให้ลำไส้ทำงานหนัก เช่น อาหารเผ็ด อาหารเปรี้ยว และงดการกินอาหารในปริมาณมากเกินไป อาหารจำพวก อาหารดิบ อาหารปรุงสุกๆดิบๆ อาหารค้างคืน อาหารหมักดอง ก็ต้องเลิกรับประทาน

การบำบัดรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบด้วยวิธีธรรมชาติ

สำหรับ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ นั้นมีวิธีในการรักษาแบบธรรมชาติ ซึ่งเรารวมรวมให้ความรู้ เช่น การฝังเข็ม การปรับการรับประทานอาหาร การใช้สมุนไพร การทานอาหารเสริม และการนวนฝ่าเท้า ซึ่งรายละเอียดดังนี้

  • การฝังเข็มรักษา การฝังเข็มนั้นช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ การฝังเพื่อลดอาการปวด ลดการอักเสบ ควบคุมการทำงานของลำไส้ให้เป็นปกติ เป็นลักษณะการรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค
  • การปรับการรับประทานอาหาร โดยลดอาหารบางชนิด ที่ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานหนัก โดยรับประทานอาหารในปริมาณที่น้อย แต่กินบ่อย ๆ ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานเบาลง โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว มะเขือเทศ อาหารเผ็ด กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ข้าวโพดหวาน ผักที่มีแป้งสูง เช่น ถั่ว รวมถึงงดอาหารจำพวก พาสต้า และขนมปัง
  • การใช้สมุนไพร มีสมุนไพร หลายชนิด ช่วยรักษาโรคลำไส้เล็กอักเสบได้
  • การใช้อาหารเสริม ผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง อาจขาดสารอาหารบางชนิด สามารถใช้อาหารเสริมทดแทนการขาดสารอาหารได้
  • การนวดกดจุดที่ฝ่าเท้า การนวดฝ่าเท่า ช่วยบรรเทาอาการของโรคลำไส้ เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โรคยูซี ( Ulcerative colitis ) เยื่อบุผิวของลำไส้ใหญ่อักเสบ ทำให้เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร อุจาระมีเลือดปน มีไข้สูง เหนื่อย อ่อนเพลีย ผิวซีด เป็นโลหิตจาง น้ำหนักตัวลด โรคระบบทางเดินอาหาร เกิดที่ลำไส้ใหญ่ รักษาไม่หายขาด สาเหตุ อาการ การรักษาทำอย่างไร ผู้ป่วยต้องทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove