มะเร็งกล่องเสียง ( Laryngeal cancer ) เนื้องอกที่กล่องเสียง ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีก้อนที่คอเป็นก้อนโต มีหลายก้อนหรือก้อนเดียว เสียงแหบ เจ็บคอ น้ำหนักลดลงมาก มะเร็งกล่องเสียง โรคมะเร็ง เสียงแหบนานๆ โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งกล่องเสียง หมายถึง ภาวะผิดปรกติของเนื้อเยื่อบุผิวกล่องเสียง โดยเกิดเนื้องอกที่กล่องเสียง มะเร็งที่กล่องเสียงนั้น พบว่า มีอัตรการเกิด ร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ไม่ใช่มะเร็งที่พบบ่อย จัดว่าเป็น โรคหูคอจมูก ชนิกหนึ่ง มะเร็งกล่องเสียง นั้นจะพบมากในเพศชาย ที่มีประวัติการสูบบุหรี่ โดยกลุ่มคนที่เป็นมะเร็งกล่องเสียงมาก จะเป็น คนอายุ 50 ถึง 70 ปี การเกิดเนื้องอกที่กล่องเสียง นั้นสามารถเกิดได้ในทุกตำแหน่งของกล่องเสียง

หากพบว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียง ต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการลุกลามของมะเร็งสู่ยังอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดเลือดแดง หลอดอาหาร เป็นต้น แต่มะเร็งกล่องเสียง สามารถรักษาให้หยาขาดได้ หากเข้ารับการรักษาในระยะการเกิดโรคแรกๆ

ลักษณะของการแพร่กระจายของมะเร็งกล่องเสียง

การแพร่กระจายของมะเร็งกล่องเสียงนั้นมี 3 ลักษณะ คือ การแพร่กระจายโดยตรง การแพร่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลือง และ การแพร่กระจายสู่เส้นเลือด รายละเอียด ดังนี้

  1. การแพร่กระจายโดยตรง จะเกิดในระยะของมะเร็งกล่องเสียงในระยะสุดท้าย มะเร็งจะแทรกซึมเข้าสู่ชั้นเยื่อบุกล่องเสียงและเข้าสู่ ต่อมไทรอยด์ และ หลอดอาหาร ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ ที่อยู่ใกล้กับกล่องเสียง
  2. การแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองจะอยู่บริเวณหลอดเลือดแดงที่ลำคอ และจะแพร่กระจายไปตามหลอดเลือดดำในลำคอ รวมถึงเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่ลำคอ
  3. การแพร่กระจายเข้าสู่เส้นเลือด เมื่อเชื้อมะเร็งเข้าสู่เส้นเลือด จะทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น ปอด ตับ ไต กระดูก สมอง เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง นั้นทางการแพทย์ยังไม่ทราบสรุปถึงสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่สามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดมะเร็งกล่องเสียง มีดังนี้

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะกระตุ้นเยื่อบุกล่องเสียง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในกล่องเสียง กลายเป็นเนื้อร้ายได้
  • การสูบบุหรี่  ควันของบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง ทำให้เยื่อบุกล่องเสียง หยุดการเคลื่อนไหว หรือ ทำให้เคลื่อนไหวช้าลง และทำให้สารคัดหลั่ง หรือ สารระคายเคือง ตกค้างอยู่ในกล่องเสียง ส่งผลให้เยื่อบุกล่องเสียงหนาขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กลายเป็นเนื้อร้ายได้
  • การอักเสบของเยื่อบุกล่องเสียงชนิดเรื้อรัง การอักเสบแบบเรื้อรังทำให้เกิดการสร้างเซลล์ของร่างกายที่ผิดปรกติได้
  • สภาพแว้ล้อมที่มีมลพิษทางอากาศสูง การสูดดมอากาศที่มีพิษ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการสร้างเซลล์มะเร็ง
  • การติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสบางชนิดทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ที่ผิดปรกติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้
  • เคยมีประวัติการฉายรังสีก้อนเนื้อบริเวณลำคอ
  • ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศ  จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง จะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนรีเซบเตอร์ ( Estrogen receptor , ER ) สูงกว่าปรกติ

อาการของผู้ป่วนโรคมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กล่องเสียง นั้น จะมีอาการเด่นชัดที่ระบบร่างกายที่เกี่ยวข้องกับลำคอ เช่น การออกเสียง การกลืนอาหาร และ การหายใจ โดยรายละเอียดของอาการโรคมะเร็งกล่องเสียงมีดังนี้

  • มีอาการเสียงแหบแห้งเป็นเวลานาน เรื้อรังรักษาไม่หาย
  • ความสามารถในการกลืนอาหารลดลง มีลักษณะของการติดขัด และ เจ็บ รวมถึงสำลักอาหารด้วย
  • เกิดเสมหะ และ มีเลือดปน
  • หายใจลำบาก มีการหายใจติดขัด
  • มีอาการไม่ยากกินอาหาร เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักตัวลดลง เนื่องจากไม่กินอาหาร
  • มีก้อนที่คอ เป็นก้อนโต อาจจะมีหลายก้อนหรือมีก้อนเดียว
  • เจ็บคอบ่อย และ รักษาไม่หายสักที
  • มีอาการไอแบบเรื่องรัง
  • ปวดที่หูบ่อย

หากท่านมีอาการตามลักษณะดังที่กล่าวมาในข้างต้น แสดงว่าท่านมีโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งที่กล่องเสียง ควรเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยด่วน

การรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งที่กล่องเสียงนั้น จากที่กล่าวมาข้างต้น หากรักษาแต่เนิ่นๆ สามารถรักษาให้หายขาด และ กลับเข้าสู่การใช้ชีวิตอย่างปรกติได้ โดยการรักษานั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาด้วย การฉายรังสี การผ่าตัด และใบบางรายต้องเข้ารับการทำเคมีบำบัดด้วย โดยแนวทางการรักษาของแพยทย์ มีแนวทางดังนนี้

  • สำหรับผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก แพทย์จะรักษาด้วยการฉายรังสีเป็นหลัก หรือ จะผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อทำการรักษากล่องเสียงเอาไว้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาพูดได้อย่างปกติ
  • สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะมะเร็งลุกลาม นั้นต้องเข้ารับการผ่าตัดกล่องเสียง และฉายรังสี รวมถึงเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งผู้ป่วยจะไม่สามารถพูดไม่ได้อย่างเป็นปกติ ผู้ป่วยต้องฝึกพูดใหม่ ด้วยการออกเสียงผ่านหลอดอาหาร และ ใช้อุปกรณ์ช่วยพูดเสริม

การรักษามะเร็งที่กล่องเสียง สิ่งที่ต้องระวัง คือ ภาวะแทรกซ้อน หากปล่อยทิ้งไว้ มะเร็งจะลุกลามไปยังอวัยวะรอบข้าง ทำให้ ความสามารถในการ กลืนอาหาร และ การหายใจ ลำบาก และ การแพร่เข้าสู่อวัยวะต่างๆทั่วร่างกายผ่านทางเส้นเลือด จะทำให้ไม่สามารถรักษาได้

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งที่กล่องเสียง

สำหรับการป้องกันการเกิดมะเร็งกล่องเสียงนั้น ต้องป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งหมด รายละเอียดดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ หรือ เลิกสูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลลกอฮอร์ หรือ เลิกดื่มเหล้า
  • ไม่นำตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่มีมลละพิษทางอากาศสูง
  • ไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเป็นโรคกรดไหลย้อน
  • รับประทานอาหารให้มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

มะเร็งกล่องเสียง ( Laryngeal cancer ) เนื้องอกที่กล่องเสียง ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีก้อนที่คอ เป็นก้อนโต อาจจะมีหลายก้อนหรือมีก้อนเดียว การรักษาโรคและการป้องกันต้องทำอย่างไร

ริดสีดวงจมูก ( Nasal poly ) เนื้องอกในจมูก ติ่งเนื้อเมือกในจมูก การเกิดเนื้อเมือก เรียกว่า Polyp ไม่อันตรายแต่ทำให้มีปัญหาการหายใจ หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยนโรคริดสีดวงจมูก โรคทางเดินหายใจ โรคจมูก โรคต่างๆ

โรคริดสีดวงจมูก ภาษาอังกฤษ เรียก Nasal poly หรือเรียก เนื้องอกในจมูก หรือ ติ่งเนื้อเมือกในจมูก เป็นลักษณะ การเกิดเนื้อเมือก ที่เรียกว่า Polyp ที่เยื่อจมูก โดยมากจะมีโอกาสเป็นได้ทั้งสองข้างภายในรูจมูก ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อย่างไร แต่หากปล่อยให้เกิดก้อนโตมาก อาจทำให้มีปัญหาด้านการหายใจ แต่เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันว่า สาเหตุของการเกิดริดสีดวงจมูก อาการของโรค และการรักษา การป้องกันการเกิดโรค ในบทความนี้กัน

ริดสีดวงจมูก เป็นโรคหนึ่ง ของโรคทางจมูกและไซนัส ลักษณะเป็นก้อนเนื้อเมือกในโพรงจมูก ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และส่วนมากผู้ป่วยจะเกิดโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วย สำหรับโรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และพบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และในกลุ่มคนที่เป็นโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง มีการศึกษาสถิติของผู้ป่วยโรคนี้ พบว่าผู้ป่วยชายมีอัตราการเกิดโรคที่สูงกว่าเพศหญิง

สาเหตุของการเกิดริดสีดวงจมูก

เกิดจากไซนัสอักเสบ และโพรงจมูกอักเสบ นอกจากนั้นยัมมีสาเหตุอื่นๆอีก ที่ทำให้เกิดริดสีดวงที่โพรงจมูก โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดริดสีดวงจมูก ได้แก่

  • การอักเสบและการติดเชื้อของโพรงจมูก
  • ลักษณะทางกายวิภาคในโพรงจมูก ระบบประสาทและหลอดเลือด
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม
  • ปัจจัยมี่เป็นผลกระทบจากการเกิดโรคที่มีผลต่อโพรงจมูก เช่น ไซนัสอักเสบ, ภาวะภูมิแพ้ , โรคหอบหืด , ภาวะไวต่อยาแอสไพริน , ติดเชื้อรา , โรคซิสติกไฟโบรซิส เป็นต้น
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของขนเล็กที่เยื่อบุจมูก
  • ความผิดปกติของการขับเกลือแร่ของเซลล์ ทำให้มีน้ำเมือกมีความเหนียวข้น
  • ความผิดปกติของกระแสลมที่ผ่านเข้าไปในบริเวณโพรงจมูก เช่น โพรงจมูกส่วนกลางและรูเปิดของไซนัส

อาการของโรคริดสีดวงจมูก

จะเกิดก้อนริดสีดวง หรือ ติ่งเนื้อ ในโพรงจมูก ซึ่งลักษณะนี้จะทำให้ผู้ป่วย เกิดอาการคัดจมูก แน่นจมูก หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยน  การปล่อยให้อาการนี้เป็นนานโดยไม่รักษา ขนาดของก้อนเนื้อจะใหญ่ขึ้น จนทำให้ความสามารถในการสูดดมกลิ่นลดลง เกิดการจาม มีน้ำมูก หากถ้าเนื้อริดสีดวง ไปอุดกั้นรูเปิดของไซนัส จะทำให้ปวดหัวที่บริเวณหัวคิ้ว ปวดหัวที่บริเวณโหนดแก้ม เหมือนเป็นโรคไซนัส

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคริดสีดวงจมูกที่มีโรคไซนัสอักเสบ ร่วม นั้น ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดบริเวณใบหน้า มึนศีรษะ มีน้ำมูก ที่มีลักษณะเป็นหนอง สีเหลืองข้น หรือสีเขียวไหลออกมา หากน้ำหนองไหลลงคอ จะทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้มีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ปวดหู หายใจมีกลิ่นเหม็น และการรับรู้กลิ่นลดลง รวมทั้งการรับรู้รสชาติลดลง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคริดสีดวงจมูก

  • อาการไซนัสอักเสบแทรกซ้อน และทำให้เกิดอาการแน่นจมูก
  • อาจทำให้มีการผิดรปของจมูก เช่น ลักษณะของสันจมูกจะกว้าง
  • อาจทำลายกระดูกในโพรงจมูกได้
  • อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การวินิจฉัยโรคริดสีดวงจมูก

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการใช้เครื่องมือตรวจภายในโพรงจมูก และหลังโพรงจมูก ซึ่งหากริดสีดวงจมูก มีขนาดใหญ่ก็สามารถมองเห็นได้ สำหรับโรคนี้ วินิจฉัยจากอาการของโรคนั้นลำบาก เนื่องจากอาการของโรคเหมือนโรค หลายๆโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหวัด แต่อาการที่เด่นชัด คือ อาการแน่นที่จมูกตลอดเวลา

การรักษาโรคริดสีดวงจมูก

การรักษาริดสีดวงจมูกนั้น  เป็นการรักษา 2 ลักษณะ คือ การรักษาต้นเหตุของโรค คือ ก้อนเนื้อที่โพรงจมูก และรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ทำให้หายใจสะดวกขึ้น ลดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม อาการเสมหะไหลลงคอ ปัญหาการดมกลิ่น รักษาไซนัสอักเสบ โดยการรักษา มีดังนี้

  • การให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ชนิดพ่นจมูก เพื่อช่วยลดขนาดของริดสีดวงจมูก และป้องกันไม่ให้มีขนาดของริดสีดวงโตขึ้น
  • ให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ชนิดกิน หรือฉีด เพื่อช่วยเรื่องการรับกลิ่นให้ดีขึ้น
  • ทำการผ่าตัดเอาริดสีดวงจมูก แบบธรรมดา เรียกวิธีนี้ว่า Simple polypectomy เป็นการผ่าตัดเอาริดสีดวงที่จมูกออก โดยการใช้ลวดคล้องและดึงออกมา
  • ทำการผ่าตัดริดสีดวงจมูกและไซนัส โดยวิธีการส่องกล้อง จะตัดเอาริดสีดวงจมูกออก และผ่าตัดบริเวณรูเปิดไซนัสด้วย ทำให้โล่ง

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคริดสีดวงจมูก

  • ควรหลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ทำให้เกิดการคัดจมูก ทำให้คันจมูก หรือทำให้จาม
  • ห้ามสั่งน้ำมูกแรง ๆ เนื่องจากจะทำให้เยื่อเมือกจมุกช้ำ และอักเสบมากขึ้น
  • ห้ามใช้ยาหยอดจมูก ยาพ่นจมูก หรือยานัตถุ์ เนื่องจากจะทำให้เยื่อจมูกอักเสบมากขึ้น
  • ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
  • ให้ทำการรักษาโรคที่มีผลต่อการเกิดโรคริดสีดวงจมูก เช่น โรคติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น

ริดสีดวงจมูก ( Nasal poly ) เนื้องอกในจมูก ติ่งเนื้อเมือกในจมูก การเกิดเนื้อเมือก เรียกว่า Polyp ที่เยื่อจมูกมีโอกาสเป็นได้ทั้งสองข้างภายในรูจมูก ไม่อันตราย แต่หากปล่อยให้เกิดก้อนโต ทำให้มีปัญหาด้านการหายใจ ทำให้หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยน สาเหตุของโรคริดสีดวงจมูก อาการ การรักษา การป้องกัน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove