โรคท้องมาน ภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไรโรคท้องมาน โรคท้องโต โรคท้องบวม โรคตับ

ความหมายของโรคท้องมาน จากพจนานุกรมราชบัณฑิตย์สถาน พ.ศ. 2542 ท้องมาน ท้องบวม หมายถึง ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง มีอาการให้ท้องโตเหมือนสตรีมีครรภ์ ภาวะที่เกิดมีน้ำคั่งในช่องท้องมากผิดปกติ จนเป็นสาเหตุให้ท้องขยายใหญ่โตขึ้น

ชนิดของโรคท้องมาน

โรคท้องมาน นั้นโดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) และ ascites neutrophil โดยแบ่งจากปริมาณน้ำในท้องและสาเหตุของการท้องโต รายละเอียด ดังนี้

  • Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) คำนวณจากอัตราส่วนของโปรตีนแอลบูมินในน้ำที่ขังนช่องท้อง เปรียบเทียบกับระดับของโปรตีนแอลบูมินในเลือด
  • ascites neutrophil มากกว่า 250 cells/ml หรือมากกว่า 50% บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง และหากสงสัยว่ามีมะเร็งหรือ pancreatic ascites ก็ควรส่งตรวจ cytology หรือ amylase ร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่มำให้เกิดโรคท้องมาน

การเกิดภาวะน้ำขังในช่องท้องนั้น สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ทั้งชนิด B และ C
  • การดื่มสุราบ่อย จนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โระมะเร็ง และ โรคไต
  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน

จากปัจจัยของการเกิดโรค เราจึงสามามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน ได้ดังนี้

  • โรคตับ ร้อยละ75 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมาน จะมีภาวะป่วยโรคตับแข็ง น้ำในช่องท้องมีผลมาจากความดันเลือดในตับสูงขึ้น ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคตับแข็ง มีภาวะโรคท้องมาน 10 ปี มีอาการท้องบวม เท้าบวม มีน้ำในช่องอก มีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • โรคมะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ หรือ เชื้อมะเร็งที่กระจายเข้าสู่ช่องท้อง เป็นต้น ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคท้องมาน เป็นโรคมะเร็ง
  • มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เป็นผุ้ป่วยโรคไต
  • ขาดสารอาหาร มีภาวะขาดแอลบูมิน เป็น โปรตีนจากไข่ขาว
  • เกิดภาวะการอักเสบที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค โรคภูมิแพ้
  • เกิดภาวะโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุรา หรือ การเกิดอุบัติเหตุกระทยที่ตับอ่อน
  • การอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ที่ตับ

อาการโรคท้องมาน

สำหรับความรุนแรงของโรคท้องมาน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เรียกว่า Grading of ascites โดยรายละเอียดดังนี้

  • ระดับที่ 1 ( Grade 1) มีอาการของโรคท้องมานเพียงเล็กน้อย สามารถตรวจพบได้โดยการอัลตร้าซาวน์
  • ระดับที่ 2 ( Grade 2) มีอาการของโรคปานกลาง การตรวจร่างกายประจำปี สามารถพบได้
  • ระดับที่ 3 ( Grade 3) มีอาการหนัก มีภาวะท้องตึงแน่น

ผู้ป่วยโรคท้องมาน สามารถสังเกตุอาการของโรคได้ โดยมีลักษณะของโรค ดังนี้

  • ท้องโต แน่นท้อง อาจทำให้หนังท้องปริและมีน้ำซึมออกมาได้ ในบางรายพบว่ามีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย
  • มีอาการเหนื่อยหอบและหายใจติดขัด
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • อาการของป่วยจากตับ เช่น ดีซ่าน นมโต ฝ่ามือแดง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยดรคแพทยืจะทำการ ตรวจร่างกาย และ สอบถามประวัติการเกิดโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ ดูดน้ำในช่องท้องออกมาตรวจ อัลตราซาวน์ช่วยในการเจาะดูดสารน้ำในช่องท้อง

การรักษาโรคท้องมาน

การรักษาโรคท้องมาน ต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรค ก่อนและรักษาที่สาเหตุของโรค โดยแนวทางการรักษาโรคท้องมาน การรักษาเพื่อลดระดับน้ำในท้องทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น ช่วยรักษาสมดุลของเกลือ และช่วยในการปรับละดับน้ำในร่างกายและหลอดเลือดมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาอาการท้องมานขึ้นกับโรคที่เป็นสาเหตุ
  • ถ้าเกิดจากโรคมะเร็งแพร่กระจาย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดและเคมีบำบัด
  • ปรับเรื่องการกินอาหาร ลดอาหารที่มีโซเดียม และ อาหารที่มีรสเค็ม
  • รักษาโรคตับ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคตับแข็ง ให้จำกัดปริมาณโซเดียมในร่างกาย
  • ให้ยาขับปัสสาวะ โดยขนาดของยาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการตอบสนอง แลเต้องให้ยาโดยหลีกเลี้ยงการปัสสาวะในเวลากลางคืน
  • เจาะช่องท้องเพื่อระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ถึง 5 ลิตรต่อครั้ง
  • ผ่าตัดเพื่อทำทางระบายน้ำในช่องท้อง
  • ผ่าตัดเปลี่ยนตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะรุนแรง หรือมีภาวะตับวาย

โรคท้องมาน ความผิดปรกติของร่างกายจากภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไร ท้องบวม โรคท้องโตผิดปรกติ

 

โรคไฮเปอร์ หรือ สมาธิสั้น ภาวะการขาดสมาธิ มักเกิดกับเด็กไม่เกิน 6 ขวบ ผู้ป่วยสมาธิสั้นร้อยละ 40 สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ การรักษาโรคและป้องกันทำอย่างไรโรคไฮเปอร์ โรคสมาธิสั้น การรักษาสมาธิสั้น อาการสมาธิสั้น
เพื่อความเข้าใจโรคสมาธิสั้น ภาษาอังกฤษ Attention Deficit Hyperactivity Disorder เรียกย่อๆว่า ADHD อย่างถูกต้อง พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเข้าใจและอธิบายให้บุตรหลานเข้าใจถึงความจำเป็นในการรักษาโรค แต่ไม่ควรดูแลเด็กมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะในการใช้ชีวิต แต่ก็ไม่ควรละเลยต่อการดูแลรักษา การลดการกระตุ้นอารมณ์ เช่น การเล่นรุนแรง การล้อเลียนเด็ก จะช่วยให้ทุกอย่างไม่แย่ลงไป

การสังเกตเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นหรือโรคไฮเปอร์ สามารถสังเกตุได้จาก พฤติกรรม 2 อย่าง คือ การมีสมาธิและความซุกซน โดยรายละเอียดการสังเกตุเด็กไฮเปอร์ มีดังนี้

  • ลักษณะการขาดสมาธิ ( attention deficit ) พบว่ามีอาการให้สังเกตุ คือ ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ ไม่มีสมาธิในขณะเล่นหรือทำงาน ไม่ค่อยฟังเวลาพูด ไม่ตั้งใจฟัง ไม่มีระเบียบ วอกแวก ขี้ลืม เป็นต้น
  • ลักษณะการซน ( hyperactivity ) พบว่าอาการที่สามารถสังเกตุได้ คือ ยุกยิกอยู่ไม่สุข ลุกเดินบ่อย ชอบวิ่ง ชอบปีน พูดไม่หยุด เล่นเสียงดัง ตื่นตัวตลอดเวลา รอคอยไม่เป็น

สาเหตุของโรคสมาธิสั้น

สาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้น ไม่สามารถสรุปสาเหตุได้อย่างชัดเจน แต่จากการศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อโรคสมาธิสั้น สามารถสรุปปจัจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น มักมีญาติพี่น้องที่เคยมีปัญหาสามธิสั้น
  • โครงสร้างของสมองตั้งแต่กำเนิด จากการสแกนสมองของคนทั่วไป เปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น พบว่า พื้นที่บางส่วนของสมองผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น ไม่เหมือนกับสมองคนปรกติ
  • การขาดการดูแลที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น แม่ชอบสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ รวมถึงการเสพสารเสพติดขณะตั้งครรภ์
  • การได้รับสารพิษจนเกิดความผิดปรกติของสมอง เช่น ได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก

อย่างไรก็ตาม แต่การให้เด็กดูโทรทัศน์ เล่นเกม ดูอินเตอร์เน้ต หรือ การทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างพอดี ย่อมเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงดูเด็ก

อาการของผู้ป่วยสมาธิสั้นหรือโรคไฮเปอร์

สำหรับอาการโรคไฮเปอร์ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคได้ ซึ่งเราจะสรุปไว้ได้ ดังนี้

กลุ่มอาการโรคไฮเปอร์ สำหรับกลุ่มอาการของโรคไฮเปอร์ สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มอาการ คือ กลุ่มอาการซึมเศร้า และ กลุ่มอาการกร้าวร้าว ทั้งนี้อยู่ที่การดูแลสภาพแวดล้อมของเด็ก และหากได้รับการดูแลอย่างดี จะสามารถเปลี่ยนเป็นความสามารถพิเศษได้ รายละเอียดของกลุ่มอาการดรคไฮเปอร์ มีดังนี้

  • โรคไฮเปอร์กลุ่มอาการซึมเศ้รา จะมีอาการ หงอยเหงา ไม่กล้าแสดงออก ขี้อาย ชอบเก็บตัว ไม่เข้าสังคม คนกลุ่มนี้มีโอกาสเสี่ยงการทำร้ายตนเองจน หรือ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
  • โรคไฮเปอร์กลุ่มอาการกร้าวร้าว จะมีอาการต่อต้านสังคม ชอบใช้ความรุ่นแรง ชอบขวางโลก ขาดการยั้งคิดต่อการกระทำผิด อารมณ์แปรปรวน คนกลุ่มนี่้เป็นอันตรายต่อสังคม

อาการของผุ้ป่วยสมาธิสั้น สามารถแบ่งอาการของโรคให้สามารถสังเกตุได้ 3 อาการ ดังนี้

  • อาการซนผิดปรกติ ( Hyper Activity ) ความซนะมากกว่าเด็กทั่วไป ไม่อยู่นิ่งตลอดเวลา
  • อาการวอกแวก สามารถตอบสนองสิ่งเร้าง่าย การทำงานต่างๆไม่ค่อยสำเร็จ
  • อาการหุนหันพลันแล่น ( Impulsive ) เด็กมักจะแสดงออกในลักษณะการรอคอยไม่เป็น มักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อตัวเด็กได้ง่าย

การรักษาโรคสมาธิสั้น

สำหรับการรักษาโรคสมาธิสั้นหรือโรคไฮเปอร์นั้น ต้องรักษาด้วยการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการใช้ยารักษาโรค โดยรายละเอียดการรักษาโรคไฮเปอร์ มีดังนี้

  • การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม ( Behavioral modification ) การปรับพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นต้องใช้เวลานาน และ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ โดยให้อยู่ในการดูแลและคำแนะนำของแพทย์ เราสามารถทำข้อตกลงกับเด็ก ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน สร้างแรงจูงใจ และให้คำชมเชย หากสามารถทำได้ตามเป้าหมาย
  • การรักษาด้วยการใช้ยา ในปัจจุบันนิยมใช้ยารักษามากขึ้น เนื่องจากได้ผลรวดเร็ว และสามารถทำควบคู่กับการปรับพฤติกรรมได้ การรักษาด้วยยานั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การแสดงออกทางความรุนแรง เป็นต้น

การป้องกันโรคสมาธิสั้น

สาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้น นั้นยังไม่ชัดเจนนั้น การป้องกันการเกิดโรคสมาธิสั้น ต้องทำการลดความเสี่ยงตั้งแต่การตั้งครรภ์และการเลี้ยงดุเด็ก โดยมีข้อแนะนำการป้องกันการเกิดโรคไฮเปอร์ ดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา และไม่ใช้สารเสพติดในขณะตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น สารตะกั่ว เป็นต้น
  • ปรับพฤติกรรมและรับมือกับสถานการณ์ที่แตกต่างอย่างเหมาะสม เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก

โรคไฮเปอร์ หรือ สมาธิสั้น คือ ภาวะการขาดสมาธิในการตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ไม่ใส่ใจคำสั่ง ไม่อยู่นิ่งๆ ไม่อดทน เด็กไม่เกิน 6 ขวบจะแสดงออกได้ชัดเจน ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นร้อยละ 40 สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ลักษณะอาการของโรค สาเหตุของโรค การรักษาโรคและการป้องกันทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove